เปิดจม.บิ๊กตู่ถึงเจ้าสัว ขอให้ทำโครงการช่วยปชช.ส่งเป็นเอกสารในสัปดาห์หน้า ไม่รับบริจาค
20 เมษายน 2563
มติชนออนไลน์
จดหมายถึงเจ้าสัว / รายงานข่าวเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ทำหนังสือถึง 20 มหาเศรษฐีแล้ว โดยจดหมายดังกล่าว ลงวันที่ 20 เม.ย. มีข้อความระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลก ทำร้ายและทำลายชีวิต ความสัมพันธทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นช่วงเวลาที่คนไทยและประเทศไทยต้องการความร่วมมืออย่างมากที่สุดจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนหรือองค์กรที่มีความรู้ ความสามารถมีความเข้มแข็ง จึงสื่อสารมายังท่านในฐานะเป็นผู้อาวุโสของสังคม
จดหมายระบุต่อไปว่า ผมซาบซึ้งใจที่หลายท่านได้ลงมือช่วยเหลือประชาชนไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการขอให้ทุกท่านทำเพิ่มเติม โดยใช้ศักยภาพของท่านมาทำให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนคนไทยที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผมขอให้ท่านทำเอกสาร นำเสนอสิ่งที่ท่านพร้อมจะทำเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือพี่น้องคนไทย โดยผมไม่ขอรับเป็นเงินบริจาค แต่ผมขอให้ท่านลงมือทำโครงการที่จะออกไปช่วยเหลือประชาชนคนไทยทุกกลุ่มทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนทางด้านใดก็ตาม หรือด้วยวิธีการใดก็ตามขอให้เป็นการช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งสิ่งใดที่ท่านเห็นว่ารัฐบาลจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับโครงการนั้นได้ขอให้ท่านโปรดส่งมาให้ผมรับทราบภายในสัปดาห์หน้า ก็จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย
ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
....
“โรบินยู้ด”
“จดหมายน้อย” ของนายกฯ ที่ขอให้เจ้าสัวช่วยแก้ปัญหาประเทศในลักษณะ “คนรวยช่วยคนจน” เหมือนจะซื่อและตรงไปตรงมา แต่ที่สุดแล้วจะซ้ำเติมปัญหามากกว่า เพราะอย่างแรกก็คือการไม่ตระหนักว่า “ความเข้มแข็ง” ของคนและองค์กรในระบบทุนนั้นไม่ได้มาจากความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเป็นเรื่องของการใช้กลยุทธ์นอกตำราหรือกระทั่ง “วิชามาร” เพื่อเอาชนะในเกมที่ไม่เคยแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการสั่งสมความมั่งคั่งของนายทุนก็มีการขูดรีดและการเอารัดเอาเปรียบเป็นฐาน แรงงานต้องเคลื่อนไหวเรียกร้องและเจรจาต่อรองกว่าจะได้ส่วนแบ่งที่เป็นธรรมมา การจะยกย่องบุคคลที่ “เข้มแข็ง” ในโลกธุรกิจเป็น “ผู้อาวุโสของสังคม” เพื่อขอคำปรึกษาจึงต้องพิจารณาเป็นรายไป ไม่สามารถเหมารวมอย่างง่ายได้
ขณะเดียวกันก็ต้องแยกให้ออกว่าการให้ความช่วยเหลือสังคมของภาคธุรกิจเป็นความตั้งใจจริงหรือว่าเป็นเพียงกลวิธีกลบเกลื่อนความผิดที่ภาคธุรกิจได้ก่อไว้ในการดำเนินกิจการ เช่น กิจกรรมจำพวก CSR (Corporate Social Responsibility) ของภาคธุรกิจแม้โดยหลักการจะดูดีเพราะเป็นการคำนึงถึงสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมแทนที่จะมุ่งสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว ทว่าในทางปฏิบัติหลายกรณีกิจกรรมเหล่านี้กลับถูกใช้ในการสร้างภาพเพื่อกลบเกลื่อนความผิดหรือเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม พร้อมกับยังคงเดินหน้าทำธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป การแสดงความซาบซึ้งในการช่วยเหลือสังคมของภาคธุรกิจ พร้อมกับเสนอตัวที่จะอำนวยความสะดวกให้โดยไม่เท่าทันกลยุทธ์เหล่านี้ จึงมีแต่จะช่วยให้ภาคธุรกิจพ้นผิด พร้อมกับสร้างความเสียหายให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การดึงเจ้าสัวให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาประเทศซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้การกำหนดและการดำเนินนโยบายสาธารณะถูกแทรกแซง ครอบงำ หรือนำไปสู่การเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ โดยเฉพาะหากเป็นกรณีที่เจ้าสัวเหล่านี้เป็นคู่สัญญาหรือว่าได้สัมปทานจากรัฐ ขณะเดียวกันก็เป็นการเลือกที่จะรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะเฉพาะของคนบางกลุ่ม ทั้งที่วิกฤติครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนจนที่ได้รับผลกระทบมากสุด จะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อเสนอของเจ้าสัวจะแก้ปัญหาประเทศโดยเฉพาะคนจนได้อย่างแท้จริง หากไม่ฟังความเห็นคนกลุ่มอื่นร่วมด้วย หรือเอาเข้าจริงโครงการที่เสนอมาก็อาจจะเป็นอีกกิจกรรมสร้างภาพให้กับบรรษัทของเจ้าสัว ขณะที่อีกด้านเจ้าสัวก็ยังคงประกอบธุรกิจที่มีลักษณะขูดรีดและเอาเปรียบแรงงานรวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ข้อเรียกร้องใน “จดหมายน้อย” จึงไม่ได้เป็นการ “ปล้นคนรวยช่วยคนจน” เหมือนที่โรบินฮู้ดทำ ที่ทำให้ทั้งความมั่งคั่งและความนับหน้าถือตาของคนรวยลดลง ตรงกันข้าม หากไม่รอบคอบระมัดระวังพอก็จะเป็นการช่วยเพิ่ม “ทุนทางสัญลักษณ์” จำพวกชื่อเสียงและความนับหน้าถือตาให้กับเจ้าสัว ซึ่งเจ้าสัวสามารถแปลงไปใช้ในการสั่งสม “ทุนทางเศรษฐกิจ” จำพวกทรัพย์สินเงินทอง พร้อมกับลวงหลอกให้คนจนสำนึกในบุญคุณและอยู่ภายใต้การเอารัดเอาเปรียบของเจ้าสัวต่อไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_2149411
20 เมษายน 2563
มติชนออนไลน์
จดหมายถึงเจ้าสัว / รายงานข่าวเปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ทำหนังสือถึง 20 มหาเศรษฐีแล้ว โดยจดหมายดังกล่าว ลงวันที่ 20 เม.ย. มีข้อความระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลก ทำร้ายและทำลายชีวิต ความสัมพันธทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นช่วงเวลาที่คนไทยและประเทศไทยต้องการความร่วมมืออย่างมากที่สุดจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนหรือองค์กรที่มีความรู้ ความสามารถมีความเข้มแข็ง จึงสื่อสารมายังท่านในฐานะเป็นผู้อาวุโสของสังคม
จดหมายระบุต่อไปว่า ผมซาบซึ้งใจที่หลายท่านได้ลงมือช่วยเหลือประชาชนไปแล้วหลายเรื่อง แต่ผมต้องการขอให้ทุกท่านทำเพิ่มเติม โดยใช้ศักยภาพของท่านมาทำให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องประชาชนคนไทยที่กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผมขอให้ท่านทำเอกสาร นำเสนอสิ่งที่ท่านพร้อมจะทำเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือพี่น้องคนไทย โดยผมไม่ขอรับเป็นเงินบริจาค แต่ผมขอให้ท่านลงมือทำโครงการที่จะออกไปช่วยเหลือประชาชนคนไทยทุกกลุ่มทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาความทุกข์ร้อนของประชาชนทางด้านใดก็ตาม หรือด้วยวิธีการใดก็ตามขอให้เป็นการช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งสิ่งใดที่ท่านเห็นว่ารัฐบาลจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับโครงการนั้นได้ขอให้ท่านโปรดส่งมาให้ผมรับทราบภายในสัปดาห์หน้า ก็จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย
ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
....
“โรบินยู้ด”
“จดหมายน้อย” ของนายกฯ ที่ขอให้เจ้าสัวช่วยแก้ปัญหาประเทศในลักษณะ “คนรวยช่วยคนจน” เหมือนจะซื่อและตรงไปตรงมา แต่ที่สุดแล้วจะซ้ำเติมปัญหามากกว่า เพราะอย่างแรกก็คือการไม่ตระหนักว่า “ความเข้มแข็ง” ของคนและองค์กรในระบบทุนนั้นไม่ได้มาจากความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังเป็นเรื่องของการใช้กลยุทธ์นอกตำราหรือกระทั่ง “วิชามาร” เพื่อเอาชนะในเกมที่ไม่เคยแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการสั่งสมความมั่งคั่งของนายทุนก็มีการขูดรีดและการเอารัดเอาเปรียบเป็นฐาน แรงงานต้องเคลื่อนไหวเรียกร้องและเจรจาต่อรองกว่าจะได้ส่วนแบ่งที่เป็นธรรมมา การจะยกย่องบุคคลที่ “เข้มแข็ง” ในโลกธุรกิจเป็น “ผู้อาวุโสของสังคม” เพื่อขอคำปรึกษาจึงต้องพิจารณาเป็นรายไป ไม่สามารถเหมารวมอย่างง่ายได้
ขณะเดียวกันก็ต้องแยกให้ออกว่าการให้ความช่วยเหลือสังคมของภาคธุรกิจเป็นความตั้งใจจริงหรือว่าเป็นเพียงกลวิธีกลบเกลื่อนความผิดที่ภาคธุรกิจได้ก่อไว้ในการดำเนินกิจการ เช่น กิจกรรมจำพวก CSR (Corporate Social Responsibility) ของภาคธุรกิจแม้โดยหลักการจะดูดีเพราะเป็นการคำนึงถึงสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมแทนที่จะมุ่งสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว ทว่าในทางปฏิบัติหลายกรณีกิจกรรมเหล่านี้กลับถูกใช้ในการสร้างภาพเพื่อกลบเกลื่อนความผิดหรือเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม พร้อมกับยังคงเดินหน้าทำธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่อไป การแสดงความซาบซึ้งในการช่วยเหลือสังคมของภาคธุรกิจ พร้อมกับเสนอตัวที่จะอำนวยความสะดวกให้โดยไม่เท่าทันกลยุทธ์เหล่านี้ จึงมีแต่จะช่วยให้ภาคธุรกิจพ้นผิด พร้อมกับสร้างความเสียหายให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ การดึงเจ้าสัวให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาประเทศซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้การกำหนดและการดำเนินนโยบายสาธารณะถูกแทรกแซง ครอบงำ หรือนำไปสู่การเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ โดยเฉพาะหากเป็นกรณีที่เจ้าสัวเหล่านี้เป็นคู่สัญญาหรือว่าได้สัมปทานจากรัฐ ขณะเดียวกันก็เป็นการเลือกที่จะรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะเฉพาะของคนบางกลุ่ม ทั้งที่วิกฤติครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะคนจนที่ได้รับผลกระทบมากสุด จะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อเสนอของเจ้าสัวจะแก้ปัญหาประเทศโดยเฉพาะคนจนได้อย่างแท้จริง หากไม่ฟังความเห็นคนกลุ่มอื่นร่วมด้วย หรือเอาเข้าจริงโครงการที่เสนอมาก็อาจจะเป็นอีกกิจกรรมสร้างภาพให้กับบรรษัทของเจ้าสัว ขณะที่อีกด้านเจ้าสัวก็ยังคงประกอบธุรกิจที่มีลักษณะขูดรีดและเอาเปรียบแรงงานรวมถึงส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ข้อเรียกร้องใน “จดหมายน้อย” จึงไม่ได้เป็นการ “ปล้นคนรวยช่วยคนจน” เหมือนที่โรบินฮู้ดทำ ที่ทำให้ทั้งความมั่งคั่งและความนับหน้าถือตาของคนรวยลดลง ตรงกันข้าม หากไม่รอบคอบระมัดระวังพอก็จะเป็นการช่วยเพิ่ม “ทุนทางสัญลักษณ์” จำพวกชื่อเสียงและความนับหน้าถือตาให้กับเจ้าสัว ซึ่งเจ้าสัวสามารถแปลงไปใช้ในการสั่งสม “ทุนทางเศรษฐกิจ” จำพวกทรัพย์สินเงินทอง พร้อมกับลวงหลอกให้คนจนสำนึกในบุญคุณและอยู่ภายใต้การเอารัดเอาเปรียบของเจ้าสัวต่อไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_2149411