14 ปี ตุลาการภิวัตน์
ย้อนดูวิวาทะสุดท้าย ในหลวง ร.9 พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ
................
อย่างที่กล่าวไปแล้วถึงความสำคัญของพระราชดำรัสพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในโอกาสที่พระราชทานให้แก่
ประธานศาลปกครองสูงสุด (นายอักขราทร จุฬารัตน) และ
ประธานศาลฎีกา (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) ในโอกาส เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549
พระราชดำรัส “ตุลาการภิวัตน์” 25 เมษา 2549
https://www.youtube.com/watch?v=l96KlmLef80
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3122612891138862&set=a.188049254595255&type=3&theater
ผลก็คือ อีก 13 วันหลังจากนั้นคือวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษาฯ เป็นโฆษะ ด้วยเหตุผล อาทิ
- การกำหนดวันเลือกตั้งหลังยุบสภาสั้นเกินไป คือ 35 วัน นับแต่ประกาศยุบสภา, (อันนี้ก็ไม่จริงเพราะสมัยเปรมยุบสภาก็ใช้เวลาสั้นกว่านี้อีก)
- การหันคูหาออกนอกหน่วยทำให้การลงคะแนนไม่เป็นความลับ
ฯลฯ
อย่างที่ทราบกันดีว่าผลของการผลของพระราชดำรัสดังกล่าวนั้น นำมาสู่กระบวนการ "ตุลาภารภิวัตน์่"
เลือกตั้งโมฆะ
รัฐประหาร
ยุบพรรคไทยรักไทย
รัฐธรรมนูญใหม่
และเลือกตั้งภายใต้กติกาใหม่ในที่สุด
แต่ก็ใช่ว่ากระบวนการตุลาการภิวัตน์จะราบเรียบ เพราะ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในเวลานั้นยืนว่าตนเองได้ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายทุกประการ (วาสนา แม้จะเป็นตำรวจแต่ก็เป็นนักกฎหมาย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
จึงได้มีวิวาทะที่ไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนกับพระราชดำรัส ในการพูดเชิงเปิดใจกับกลุ่มคณะผู้บริหารการศึกษาที่มีวุฒิปริญญาและผู้กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก และกลุ่มนักกฎหมาย จากจังหวัดบุรีรัมย์ หนองคาย ขอนแก่น สกลนคร อุบลราชธานี ฯลฯ ที่เข้ามอบดอกไม้ให้กำลังใจ หลังกกต.ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักเกี่ยวกับการทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 กระทั่งมีการร้องศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ที่ห้องประชุมชั้น 19 สำนักงานกกต. อาคารศรีจุลทรัพย์ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 หรือ 9 วันหลังพระราชดำรัส 25 เมษายน 2549
(ผมจำได้ว่าตอนอ่านข่าวครั้งแรกนึกในใจว่า วาสนาไปกินดีหมีที่ไหนมา จึงกล้าขนาดนี้)
ดังนั้น เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้จัดการออนไลน์ ของสนธิ ลิ้มทองกุลที่ชูเรื่องพระราชอำนาจมาล้มรัฐบาลทักษิณก็ไม่พลาดที่จะนำมาทำเป็น "วิวาทะ"
แน่นอนว่าการเอาในหลวง ร.9 กับ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ มาเทียบกันเช่นนี้ก็ยิ่งสร้างภาพการเป็น "ผู้ร้าย" ให้กับพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ มากขึ้นไปอีกในมุมมองผู้อ่านผู้จัดการ
ดังปรากฎในข่าว
พระราชดำรัสในหลวง วันที่ 25 เมษายน 2549 กรณีการจัดการเลือกตั้ง
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9490000060952…
“...ในเวลานี้ อาจจะไม่ควรจะพูด แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียวซึ่งมีความสำคัญ. เพราะว่าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์.ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า. แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้. แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน. ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้.”
“...ไม่ได้ว่าบอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้. คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียวคนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่ว. แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้. ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย.”
พระราชดำรัสพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
...................
“...บอกว่าการเลือกตั้งลงคนเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วไปเขียนกฎหมายไว้ทำไมละครับในมาตรา 74 ให้สมัครคนเดียวได้ คนเดียวลงเลือกตั้งได้ถ้าไม่ถึง 20 % ต้องเลือกตั้งใหม่ เขียนไว้ทำไม ผมเขียนหรือใครเขียน ผมเขียนเหรอ และบอกว่าลงคนเดียวไม่ประชาธิปไตย นึกอยากจะพูดอะไรก็พูด น่าเสียดาย น่าเสียใจ...”
พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ
ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม 2549
สำนักงานกกต. อาคารศรีจุลทรัพย์
อย่างที่ทราบหลังจากนั้น ชะตากรรมของ วาสนา เพิ่มลาภ ก็ตกลงทันที
วันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ศาลชั้นต้น ก็พิพากษาให้จำคุก กกต. กรณีจัดเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตใหม่ ในวันที่ 23 เมษาฯ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คนละ 4 ปี และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี โดยไม่รอลงอาญา ทำให้ กกต. ชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่งโดยทันที และต้องมีการสรรหา กกต. ชุดใหม่
พล.ต.อ. วาสนากับพวก ถูกขังอยู่ 3 วัน 3 คืน ก่อนศาลจะให้ประกัน และปล่อยตัวออกมา
แต่นั่นก็ทำให้ พล.ต.อ. วาสนากับพวก ต้องพ้นจากตำแหน่ง กกต.
(ถึงแม้ว่า ต่อมาในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษากลับ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง จึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง
แต่พรรคไทยรักไทยก็ถุฏยุบไปตั้งแต่ 30 พฤษภาคม 2550 หรือ 6 ปีก่อนหน้านั้นไปแล้ว)
กล่าวสำหรับ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ถ้ามองในประวัติรับราชการก็ถือว่าเป็นตำรวจน้ำดีคนหนึ่ง
“คนอย่างผม ทำตรงไปตรงมา ผิดก็ผิด ไม่ผิดก็ไม่ผิด”
https://www.cops-magazine.com/topic/8262/
และผมคิดว่าวาสนาเองก็มั่นใจว่าสิ่งที่ตำัวเองทำและพูดไปเมื่อ 14 ปีที่แล้วนั้นถูกต้อง แต่ถ้าเราดูบรรดาสิ่งที่ กกต.รุ่นหลัง ๆ ทำ ทั้ง ๆ ที่มีความผิดชัดเจน แต่พวกเขากลับไม่มีใครเข้าคุถเหมือนวาสนา เพิ่มลาภและพวกสักคน นั่นก็แสดงว่า ผลกระบวนการตุลาการภิวัตน์ น่าจะตรงข้ามกับกระบวนการตุลาการปกติก็ได้
จนวันหนึ่งเราต้องมาตั้งคำถามว่า
#มีตุลาการภิวัตน์ไว้ทำไม
Thanapol Eawsakul