‘สนธิรัตน์’
งานเข้าบ้างนิ รมว. ‘ตูบสอง’ คุมพลังงาน
บอก “ไม่นิ่งนอนใจ” ชาวบ้านบ่นแซดติดเทร็นด์ทวิตเตอร์ #ค่าไฟแพง
หูฉี่สามสี่เท่า แต่คำแรกแก้ตัวไว้ก่อนตามสันดอนลูกน้อง คสช. อ้าง ‘ล็อคดาวน์’ คนอยู่บ้านมากขึ้นก็ใช้ไฟมากขึ้น
แต่จากที่เคยจ่ายกันพันห้าขึ้นเป็นห้าพันงี้มากไปนะ
บางรายเคยจ่ายตอนอากาศร้อนมากแค่ ๓ พัน สูงสุด ๕ พัน เดี๋ยวนี้เจอบิล ๘,๔๐๐ บาท
หรือว่าบ้านคนดัง เช่น มิค บรมวุฒิ สามีของ เบ๊นซ์ พรชิตา ว่า “บ้านชั้นเดียวขึ้นทีประมาณ ๖,๐๐๐ บาทเลยเหรอครับ”
ทั้งผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาคพูดตรงกันเกี่ยวกับข้อสงสัย “ไฟฟ้ารั่ว
หรือความผิดปกติของมิเตอร์ไฟฟ้า ถ้าตรวจพบว่ามีข้อผิดพลาดจากตรงนี้
การไฟฟ้าจะชดเชยเงินส่วนเกินให้” โดยเฉพาะกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์
ย้ำว่าหน้าร้อนนี่คนใช้ไฟเยอะทุกปี
ด้าน สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รีบแจงผ่านเฟชบุ๊ค “พรุ่งนี้ผมเชิญ กกพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหาแนวทางมาตรการเรื่องค่าไฟฟ้า
เพิ่มเติมจากที่ได้มีหลายมาตรการออกไปแล้ว” กกพ. ก็คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
เผื่อใครไม่ได้ค่อยจำตัวย่อ
“ผมได้โยนโจทย์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันหาแนวทางการลดค่าครองชีพเพิ่มเติม
ว่ามีแนวทางไหนจะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้อีกหรือไม่อย่างไร
หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ทำงานที่บ้าน จึงใช้ไฟเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกว่าค่าไฟแพงขึ้น”
ถ้อยคำเกริ่นแบบตบหัวนิดๆ ก่อนจะไปลูบหลัง “ถือเป็นความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งผมไม่ได้นิ่งนอนใจ
เร่งหามาตรการมาช่วยเหลือเพิ่มเติมจากขณะนี้มีมาตรการลดค่าไฟให้ ๓ เปอร์เซ็นต์
ตั้งแต่บิลเดือน เม.ย.-มิ.ย.นี้”
ที่ซึ่งมีคำแนะนำแล้วจากนักกิจกรรม เช่น สฤณี อาชวานันทกุล
ขานรับ “ค่าไฟเพิ่มขึ้นมากเพราะประชาชนอยู่บ้านมากขึ้นตามมาตรการโควิด-๑๙
ของรัฐ ควรลดค่าไฟแบบที่ลดภาระได้จริงเช่น ๓๐-๕๐% ของยอดบิล ไม่ใช่ลดราคา ๓%”
แต่กระนั้นก็ได้มีคำอธิบายจากผู้รู้ออกมาแล้วทางสื่อ
“ระบบการคิดค่าไฟของการไฟฟ้านั้นคิดแบบ อัตราก้าวหน้า”
อะ แบบว่า “หลายคนไม่รู้จริงๆ ว่าค่าไฟคิดแบบก้าวกระโดด” อย่างที่สฤณีอ้างถึง ซึ่งถ้าใช้ไฟเพิ่มขึ้นเท่าตัวค่าไฟจะเพิ่มมากกว่าเท่าตัว
นั่นคือ “๓๕ หน่วยแรก
เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน ๘๕.๒๑ บาท” อีก ๑๑๕ หน่วยต่อไปคิดหน่วยละ ๑.๑๒๓๖ บาท
พ้น ๒๕๐ หน่วยคิด ๒.๑๓๒๙ บาทต่อหน่วย และส่วนที่เกินกว่า ๔๐๐ หน่วยขึ้นไป คิดราคา
๒.๔๒๒๖ บาทต่อหน่วย
เว็บอมรินทร์เขาทำตัวอย่างวิธีคิดคำนวณค่าไฟด้วยตนเองไว้
ว่าบ้านเอใช้หลอดไฟ ๕๐ วัตต์ ๑๐ ดวง มีไมโครเวฟขนาด ๖๐๐
วัตต์เปิดใช้วันละครึ่งชั่วโมง ตู้เย็น ๑ เครื่องขนาด ๑๒๕ วัตต์เปิดตลอดเวลา
กับแอร์ขนาด ๒ พันวัตต์สองตัว
แล้วยังมีเตาอบ ๘๕๐ วัตต์ เครื่องทำกาแฟ
๑๐๐ วัตต์ โทรทัศน์ ๓๐๐ วัตต์ เอาจำนวนวัตต์แต่ละชนิดหารด้วย ๑,๐๐๐
แล้วคูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ จะได้จำนวนหน่วยที่ใช้ต่อวันแล้วคูณด้วย ๓๐ หรือ ๓๑
เป็นจำนวนหน่วยต่อเดือน
จากนั้นคำนวณตามวิธีก้าวหน้า ๓๕>๑๑๕>๒๕๐>๔๐๐+ จะได้ค่าไฟของรายบ้านเอเดือนนี้ โดย “ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ” ทั้งสิ้น ๒,๑๒๗.๙๓ บาท ลองเอาไปเทียบเคียงกับของใครของมันกันดู
(https://www.amarintv.com/news/detail/27330,
https://workpointnews.com/2020/04/20/sontirat/ และ https://www.prachachat.net/economy/news-451924)
ทางนี้ดูแล้วการเก็บแบบก้าวหน้าขนาดนั้น
มันไม่น่าจะถึงกับ ‘ก้าวกระโดด’ จากพันห้าไปเป็นห้าพันหรอกนะ ฉะนี้ ‘ทราย’ ITRC @charoenpura
ถึงได้บอก “อัตราค่าไฟก้าวหน้ากว่าอนาคตพวกเราอีกอะ”
ถึงอย่างนั้นคงต้องรอดูความไม่นิ่งนอนใจของสนธิรัตน์อีกที
‘ค่าไฟ’ ยังไม่เหือดหาย
ค่า ‘วายฟาย’ หรือ ‘ไวไฟ’ เข้ามาแก้ จะทำให้ไพร่ฟ้าหน้าซีดลืมๆ
เรื่องมีเตอร์ไปได้ไหมนี่ เมื่อ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาฯ กสทช. แย้มข่าวดีข่าวใหญ่ “ผมทำเต็มที่ครับ”
เจรจากับค่ายมือถือ ๓ แห่งเกือบเสร็จแล้ว
“ได้ข้อสรุปเกือบ ๙๐% แล้วครับ คงไม่ใช่แค่การลดค่าบริการ แต่เป็นการให้ประชาชนได้ใช้ฟรี โดยรัฐและ
กสทช. ไม่ต้องจ่ายเงิน” อันนี้เป็นโครงการ ‘โทรฟรี ๑ คน ๑
สิทธิ์ ๑ ค่าย’ สำหรับผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ‘รายบุคคล’ ต่างชาติและนิติบุคคลอด
นัยว่าจะเริ่มได้ ๑ พ.ค.นี้เลย “หลังจากโครงการเพิ่มเน็ต 10GB สิ้นสุดลง (๓๐ เม.ย.)” ขอให้รอฟังรายละเอียดอีกวันสองวัน แต่ข่าว ‘ฐานเศรษฐกิจ’ ของค่ายนิวเน็ตเวิร์ค วงในใกล้ชิด ‘ประชารัฐ’ ว่า “ให้ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โทรฟรีจำนวน
๑๐๐ นาที”
‘Big Deal’ ไหมนี่
อย่างนี้ต้องไปอ้อนวอน ‘COVID’ อย่าเพิ่งรีบไปไหมล่ะ