วันศุกร์, เมษายน 10, 2563

มีผู้รอคิวเดินทางกลับจากต่างประเทศนับหมื่นคน แต่รัฐมีศักยภาพรับผู้เดินทางกลับไทยให้อยู่ในสถานกักของรัฐได้เพียงวันละประมาณ 200 คนต่อวัน รัฐขอคนไทยในต่างประเทศ หากยังอยู่ได้ไม่เดือดร้อน อย่าเพิ่งเดินทางกลับไทย




ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ขอคนไทยในต่างประเทศ หากยังอยู่ได้ไม่เดือดร้อน อย่าเพิ่งเดินทางกลับไทย เพราะมีผู้รอคิวเดินทางกลับนับหมื่นคน และรัฐมีศักยภาพรับผู้เดินทางกลับไทยให้อยู่ในสถานกักของรัฐได้เพียงวันละประมาณ 200 คนต่อวัน

ในการแถลงข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) วันนี้ (9 เม.ย.) โฆษก ศบค. ระบุว่ากระทรวงการต่างประเทศ รายงานตัวเลขคนไทยที่รอเดินทางกลับไทยทางเครื่องบิน มีจำนวน 5,453 คน และเดินทางผ่านด่านพรมแดนมีทั้งหมด 14,664 คน โดยมีผู้เดินทางเข้าไทยแล้วประมาณ 12,000 คน

สำหรับการเดินทางผ่านด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการคาดว่ามีจำนวนนับหมื่นคน เนื่องจากมาเลเซียปิดประเทศ

"วันนี้มี 10 เม.ย. ก็มีกลุ่มนักเรียนแลกเปลี่ยนเอเอฟเอส กลุ่มจากสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย โดยมีตัวเลขรวมกว่า 100 คน ตัวเลขกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ กระทรวงต่างประเทศดูแลเป็นอย่างดี"

ไวรัสโคโรนา : สถิติโควิด-19 ของไทยเปลี่ยนไปอย่างไรหลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครบสัปดาห์
ไวรัสโคโรนา : ทางการไทยเดินหน้าต่อ ให้คนไทยขอใบรับรองแพทย์ก่อนเข้าประเทศ
ไวรัสโคโรนา : ความไม่แน่นอนของวิกฤตโควิด-19 และระบบสาธารณสุขอังกฤษ ทำให้คนไทยหลายคนเลือกเดินทางกลับไทย

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ชุดใหญ่ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานที่ประชุมได้เน้นย้ำแนวปฏิบัติว่าคนไทยที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศจะต้องยอมรับการเข้ากักตัวในสถานที่กักที่รัฐหรือท้องถิ่นจัดไว้ให้ ในภาพรวมขณะนี้รัฐบาลมีศักยภาพดูแลจัดหาที่พักสำหรับการกักตัวได้ราว 200 คนต่อวัน ตามเงื่อนไขผู้เข้ารับการกักตัว 1 คน ต่อ 1 ห้อง

"ถ้ารออั้นกันมาเป็นหมื่น ๆ คนจะมาอยู่กันยังไง นี่คือสิ่งที่คุยกันมาก... ที่สุดแล้วเป็นข้อสรุปคือ ถ้าจะกลับเข้ามาคณะผู้บริหารและคนไทยทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคน แต่ถ้าท่านเห็นคิวแล้วยังยาวอยู่ ท่านจะขออยู่ในต่างประเทศไปสักพักหนึ่งและสามารถอยู่ได้ ขอให้พักอาศัยตรงนั้นไปก่อน โดยที่หากไม่เดือดร้อนอะไรก็ไม่ต้องรีบเข้ามา"

ที่ประชุม ศบค. ยังได้หารือถึงกรณีที่หากคนไทยในต่างประเทศรายใดมีความเดือดร้อน ทางรัฐอาจจัดงบประมาณให้ในลักษณะคล้ายกับคนในประเทศที่ได้เงินช่วยเหลือ 5,000 บาท โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่บริเวณชายแดน เช่น ชายแดนกัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในระหว่างที่อยู่อาศัยที่นั่น

อย่างไรก็ดี โฆษก ศบค. ย้ำว่าผู้ที่ไม่มีโรคภัยร้ายแรง ไม่ควรต้องรีบกลับเพราะการเดินทางผ่านด่าน ที่มีคนอยู่รวมกลุ่มจำนวนมากอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ส่วนคนไทยที่อยู่ในยุโรป และสหรัฐฯ ก็เช่นกัน ถ้ามีที่พักอาศัยอย่างดี มีประกันชีวิตที่ดูแลได้ ให้อยู่ต่อก่อน

"ระหว่างที่ท่านต้องต่อเครื่องมา อดหลับอดนอน ไม่รู้ใครที่สนามบิน อาจจะติดกลับมา มีเสมอ แต่ถ้าซีลตัวเองอยู่ห้อพักจะปลอดภัยกว่าด้วยซ้ำ แต่ถ้ามีปัญหาต้องกลับมาจริง ๆ จะเปิดทางให้กลับมา แต่ต้องมีลำดับขั้น


"REUTERS

โควิด-19 : แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากไวรัสโคโรนาเกิน 8.5 หมื่นราย สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 4 แสนราย

ทั้งนี้ เงื่อนไขในการกลับประเทศยังคงต้องใช้ใบรับรองแพทย์ใน 72 ชม. การกักตัวก่อนเดินทางมาไทย 14 วัน และกลับมาต้องยินยอมให้กักตัวในไทยต่ออีก 14 วัน นอกจากนี้ ศบค. กำลังพิจารณาเพิ่มเติมคือเรื่องการตรวจเชื้อด้วยการตรวจด้วยเครื่องตรวจอัตโนมัติ (Rapid test) เช่น กลุ่มที่เดินทางกลับจากอินโดนีเซียที่สามารถคัดกรองก่อนเดินทางได้ส่วนหนึ่ง

"ยังต้องหาทางช่วยเหลือคนไทยที่กลับเข้ามา บางคนถ้าเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ามีจำนวนมาก ๆ ถ้ามีความจำเป็น ต้องหาเครื่องบินไปรับท่านก็จำเป็นต้องทำ" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
...



คนไทย เล็งกลับไทย อีกเพียบ!!

ศบค. สั่ง สธ.-กลาโหม-มท.หาที่พักเพิ่มขึ้น เล็ง ปรับ State Quarantine
ให้พัก ห้องละ1 คน ... เพราะมีคนไทยจะกลับมาอีกกว่า 5 พันคน ..เล็งส่งเครื่องบินไปรับ ในประเทศที่เป็นกลุ่มก้อน...”นายกฯ” สั่งคุมเข้มการกักตัว ทุกคน. แนะให้ทำบันทึกการรักษา ไว้เป็นประวัติศาสตร์ หากเกิดโรคระบาด อีก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ผ่าน ระบบ Video Conference

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวว่า มีการหารือเรื่องการให้ สธ.-กลาโหม-มหาดไทย ในการหาที่พัก โรงแรม เพิ่มขึ้น เพราะจะมี ปรับ State Quarantine ให้พัก ห้องละ1 คน ซึ่งปัจจุบัน กลาโหม เตรียมไว้ กว่า 2.2 พันห้อง แต่คงจะไม่พอ เพราะ มีคนไทยจากประเทศต่างๆ ขอจะกลับมาอีกกว่า 5 พันคน แต่ต้องทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ตามมาตรการที่ กต.กำหนด ทั้งนี้ คนไทยในตปท. ก็มีปีญหาในเรื่องการเดืนทาง และอาจเป็นไปได้ว่า อาจจะ มีการส่งเครื่องบินไปรับ ในประเทศที่ คนไทยกลับเป็นกลุ่มก้อน

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า สำหรับมาตรการใหม่จากผลการประชุม ศบค. วันนี้ ในด้านมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศของคนไทย กระทรวงต่างประเทศรายงานว่ามีคนไทยรอกลับมาทางเครื่องบิน 5,453 คน

มาทางด่านมาเลเซียตัวเลขไม่เป็นทางการ 4,000 คน แต่น่าจะมีเป็นหมื่นคนเพราะตอนหลังมาเลเซียปิดประเทศ ยอดคนไทยลงทะเบียนรอกลับประเทศ 14,644 คน เข้ามาแล้ว 12,771 คน โดยตัวเลขคนไทยที่อยู่ทั่วโลกปัจจุบันทั้งหมดราว 1.6 ล้านคน

ที่ประชุมคุยกันว่าจะต้องพอเหมาะกับศักยภาพที่ดูแลได้คือประมาณ 200 คนต่อวัน จะทำให้สามารุจัดหาที่พักให้ได้ 1 ห้องต่อ 1 คนซึ่งต้องขยายจำนวนห้อง เพราะถ้าเข้ามาทีเดียวเป็นหมื่นคนจะอยู่กันยังไง

นายกฯ บอกยินดีต้อนรับทุกคนที่กลับมาแต่ ถ้าเห็นคิวยังยาวจะขออยู่ในต่างประเทศสักพักหนึ่งไปก่อนยังไม่ต้องรีบเข้ามา ซึ่งรัฐอาจจะจัดงบประมาณให้ ซึ่งตัวเลขตรงนี้ยังไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของแต่ละประเทศ แต่ถ้าท่านยังมีที่พักอยู่อาศัยได้ก็ยังไม่ต้องรีบกลับมาเพราะการผ่านแดนก็ต้องผ่านเจอคนหมู่มากๆ มีความเสี่ยงเสมอ

แต่ส่วนที่มีปัญหาเดือดร้อนจำเป็นต้องกลับมา เราก็ต้องเปิดทางแต่ต้องมีลำดับขั้นตอนตามที่กำหนด และมีการคุยกันว่าอาจจะต้องเพิ่มมาตรการตรวจ Rapid test ก่อนขึ้นเครื่อง

"ถ้าท่านไม่ป่วยอยู่ในต่างประเทศและดูแลตัวเองได้ให้อยู่ก่อนอย่าเพิ่งเข้ามาดีกว่าเข้ามาแล้วติดเชื้อป่วย เข้า Admid รายหนึ่งต้องใช้เงินเป็นล้านบาท แต่หากจำเป็นจริงๆ ต้องจัดเครื่องบินไปรับก็ต้องทำ" นพ.ทวีศิลป์กล่าว

โฆษกศูนย์โควิดกล่าวว่า การเตรียม สเตทควอรันทีน ยังต้องหาเพิ่มอีก 1,500 ห้อง เพื่อรองรับให้ได้ 1 คนต่อ 1 ห้อง โดยมหาดไทย กลาโหมก็พยายามจัดหาให้พักได้ถึงหมื่นสามพันกว่าคน

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า กรณีโรงพยาบาลสนาม มีรายงานว่ามีอยู่ 98 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังขาด ICU อย่างน้อยอีก 80 เตียงเพื่อรองรับสถานการณ์ที่แย่ที่สุด ซึ่งนายก ฯ ก็มีการถามก็ประมาณกันอยู่ ซึ่งต้องรวมไปถึงเครื่องช่วยหายใจด้วย โดยใช้วิธีปรับใช้จากพื้นที่ที่มีอยู่ ไม่ใช่การสร้างตึกใหม่ โดยมติ ครม. ได้ดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งหมดซึ่งกำลังดูกฎหมายให้ถูกต้องไม่ให้ผิดระเบียบ ซึ่งน้อยประเทศมากเลยในโลกที่ดูแลกันได้ขนาดนี้

นอกจากนี้ ในpress release ของสำนักโฆษกฯ ระบุว่า ในที่ประชุม ศบค. นายกฯ กล่าวถึง การเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย ว่า มีความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ผ่านระบบการกักตัวทั้ง State Quarantine และ Home Quarantine เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมจัดการ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือการคัดกรอง

โดยกักกันต้องเข้มงวด ต้องมีความพร้อม ทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย

ทั้งนี้ นายกฯได้ไปเยี่ยมผู้กักตัวตามมาตรการ State Quarantine ที่โรงแรมเดอะภัทรา

และ ขอชื่นชม ขอบคุณเจ้าของโรงแรม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ ศบค. พิจารณาอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลประชาชนที่อยู่ในการคัดกรอง และกำลังจะกลับมาเพิ่มเติม ให้เรียบร้อย ถูกต้องตามมาตรฐานการคัดกรอง

การคัดกรองและระบบกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานจัดการไม่ให้มีปัญหา โดยผ่านการบริหารแบบบูรณาการที่ดี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง ให้ทยอยเดินทางกลับเพื่อรัฐบาลจะได้จัดระบบที่เหมาะสมรองรับ

โดยพิจารณาการ State Quarantine สำหรับผู้ที่เดินทางมาทางอากาศ และดำเนินการ Local Quarantine ให้กับกลุ่มคนที่เดินทางผ่านด่านชายแดนทางบก

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาแบ่งการเดินทางเข้าประเทศไทยเป็น 2 ประเภท คือ คนไทยที่จะเดินทางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเสี่ยง เพื่อกลับประเทศ

และชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย

ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มต้องผ่านกระบวนการ State Quarantine ที่เหมาะสม

นายกฯได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการดูแลคนไทยที่พักอาศัยในต่างประเทศ แม้ว่าไม่ประสงค์จะเดินทางกลับประเทศ ก็ต้องดูแลให้ดี

นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ กระทรวงกลาโหมและมหาดไทยพิจารณาเตรียมการร่วมกันด้านการจัดการ State Quarantine โดยให้พิจารณาให้ละเอียด เพียงพอ ทั้งอุปกรณ์ บุคลากร ให้พร้อมใช้ และเป็นประโยชน์

โดยในสถานที่บางแห่งซึ่งได้ปรับเปลี่ยนใช้เป็นโรงพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย

ขอให้บันทึกแนวทางการรักษา การเตรียมรับมือสถานการณ์ ในรูปแบบต่างๆ ไว้ เพื่อเป็นประวัติศาสตร์และเป็นแนวทาง หากเกิดโรคระบาดใหม่

สิ่งที่บันทึกจะเป็นเสมือนคู่มือในการดำเนินการ

รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณ หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ข้อยกเว้นตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. โรคระบาด