วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 04, 2563

#หมอไทย ไม่ได้ลอกสูตร #ยาไวรัสโคโรนา จากจีน ??? แต่ timeline รายงานของ #จีน ตีพิมพ์ใน #TheLancet ว่า จีนใช้สูตรยานี้ก่อน






วันที่ 3 ก.พ. ที่โรงพยาบาลราชวิถี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อยู่ในประเทศไทยว่า ผู้ป่วย 19 ราย อาการดีขึ้นทุกคน หายแล้ว 7 ราย กำลังจะได้กลับบ้านเพิ่มอีก 4 ราย
.
นพ.เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวถึง อาการของผู้ป่วยหญิงจากอู่ฮั่นที่ถูกส่งตัวมาจาก รพ.ที่หัวหิน ที่ได้รับสูตรยาต้านไวรัสเอดส์กับไวรัสไข้หวัดใหญ่ว่า อาการดีขึ้นชัดเจน แม้จะยังไม่หายขาด ผลตรวจจากเยื่อบุโพรงจมูกเป็นทั้งบวกและลบ
.
ส่วนอีกรายที่เป็นชายไทยวัย 33 ปี ที่ติดเชื้อจากญี่ปุ่น อาการดีขึ้นมาก แค่รอผลตรวจถ้าไม่เจอเชื้ออีก 2 วันก็จะให้กลับบ้านได้ เคสหลังอาการดีมากเลยไม่เป็นประเด็นอะไร
.
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ยังไม่ถึง 2 เดือน ยังไม่มีวิธีการมาตรฐานในการรักษา ส่วนใหญ่เป็นการรายงานเคส กรณีของจีนรายงานข้อมูล 40 คนแรกใช้เฉพาะยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีของไทยจึงใช้ยาต้านไวรัสเอดส์เหมือนกัน 2 ชนิด คือ โลพินาเวียร์ กับ ริโทนาเวียร์
.
แต่ผู้ป่วยเคสหัวหิน ตอนที่ส่งตัวมาที่ รพ.ราชวิถี อาการไม่ดีเลย ตอนนั้นต้องจับตาดูทุกวันเพราะเราก็กังวลว่าอาจจะเป็นผู้เสียชีวิตรายแรกนอกประเทศจีน ซึ่ง นพ.เกรียงศักดิ์ กับนพ.สืบสาย คงแสงดาว ก็ไปดูว่า นอกจากยา 2 ตัวนี้จะมีตัวอื่นช่วยรักษาด้วยหรือไม่
.
ซึ่งยาต้านไวรัสเอดส์ 2 ตัว จะไปช่วยยับยั้งการขยายตัวของไวรัสในเซลล์ แต่ไวรัสที่อยู่ในเลือดยังเข้าไปได้อยู่ นพ.สืบสาย จึงมาอธิบายว่า ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิเวียร์ จะทำให้เชื้อใหม่ไม่เข้าไปในเซลล์ นพ.เกรียงศักดิ์ เลยตัดสินใจให้ยาตัวนี้ โดยให้ต่างจากเคสอื่น ด้วยการเพิ่มขนาดยาด้วยเพราะคนไข้ตัวใหญ่ ซึ่งได้ผลดีขึ้นชัดเจน
.
เราเพิ่งมาพบว่าผลการศึกษาล็อตที่ 2 ของจีนมีการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศเมื่อวันที่ 29 ม.ค. ซึ่งตรงกับที่วันที่เราตัดสินใจให้ยา โอเซลทามิเวียร์ ซึ่งของเราตอนนั้นยังไม่ได้อ่านแต่ก็คิดตรงกัน ซึ่งจีนคงจะเริ่มใช้มาก่อนแล้ว แต่ใช้ขนาดยา 1x2 ของเราใช้ 2x2 ก็เลยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
"หมอจีนกับหมอไทยก็คิดคล้ายๆ กัน แต่เราให้ดับเบิลเพราะคนไข้อาการหนักและตัวใหญ่"
.
"ยังไม่มีการรักษามาตรฐาน แต่เป็นการรีวิวจากทั่วโลกว่ามีการใช้แบบนี้ ที่ราชวิถีเองมีการใช้แบบนี้ ก็จะเป็นทางเลือกว่า ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนัก การรักษาที่เขาทำกันมาแล้วทั่วโลกไม่ได้ผล ก็จะเติมเรื่องนี้เข้าไป ถ้าถามว่าเป็นความหวังไหม เปรียบเทียบก็เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ถ้าเราพยายามเก็บเคสมากขึ้น เราก็จะเห็นมากขึ้น กรณีที่ราชวิถี เราก็กำลังส่งไปตีพิมพ์ที่ต่างประเทศ"