วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 20, 2563

การเมืองไหลลงถนนแน่ - ถ้าผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าอนาคตใหม่ต้องไม่เหยียบสภา ทั้งๆที่พรรคก็ได้ส.ส.เป็นจำนวนมาก





จากมติชนออนไลน์
ส่วนหนึ่งของบทความสัมภาษณ์
13 มกราคม 2563

-อนาคตใหม่เริ่มลงถนน นัดแฟลชม็อบ จัดกิจกรรมต่างๆมากขึ้น

เมื่อผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าอนาคตใหม่ต้องไม่เหยียบสภา ทั้งๆที่พรรคก็ได้ส.ส.เป็นจำนวนมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ยังไงการเมืองก็ไหลลงถนน

ส่วนเรื่องอนาคตใหม่ลงถนนทั้งที่การเมืองยังไม่สุกงอม ผมมีความเห็นแย้งนะ ในฐานะอดีตผู้นำนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวมาก่อน ผมว่าการเมืองไทยสุกงอมมานานแล้ว สุกงอมมาหลายรอบแล้วด้วย เพียงแค่หลายฝ่ายรอว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นช่วงต้นปี 62 จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้การเมืองไทยมีช่องออก แต่พอหลังเลือกตั้งการเมืองเริ่มปิดช่องใหม่ ตัวนี้ยิ่งทำให้เงื่อนไขการประท้วงขยายตัว ทั้งยังต้องเจอกับการประท้วงที่เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งที่เกิดในฝรั่งเศสและชิลีตอบตรงกันว่ามันไม่มีการจัดตั้งทุกคนเป็นแกนนอน และถ้าเป็นแกนนอนที่ออกมาเพราะความรู้สึกร่วม ตรงนี้น่าสนใจ ส่วนหนึ่งการประท้วงของไทยในอนาคตก็จะเป็นเรื่องการเมือง แต่จะไปถึงขนาดที่ปีกอนุรักษ์นิยมกลัวคือฮ่องกงนั้น คิดว่าคงต้องจับตาดู

-คนกรุงเทพฯก็มีบทเรียนกลับมาเยอะ น่าจะขยาดม็อบ?

คนกรุงเทพฯถูกสร้างเป็นจินตนาการให้กลัวม็อบในหลายปี ไม่เอาม็อบ ม็อบมาแล้วจะมีปัญหา โดยเฉพาะในปี 53 ที่กลุ่มคนที่มาเป็นกลุ่มคนต่างจังหวัด ในมิติเชิงชนชั้นถือเป็นตัวแทนของชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางจึงปฏิเสธม็อบจากชนชั้นล่าง เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ของการมีบทบาททางการเมืองของชนชั้นล่าง รวมถึงหลายปีที่ผ่านมาชนชั้นกลางอยู่ภายใต้กรอบคิดที่ถูกสร้างโดยปีกขวาและทหารว่าไม่เอาการเลือกตั้งด้วย เมื่อการเลือกตั้งเกิดก็ยังอยากได้พรรคที่เป็นปีกอนุรักษ์นิยม วันนี้พรรคประชาธิปัตย์แพ้เพราะปีกขวาในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าประชาธิปัตย์ขวาไม่พอ จึงไปเลือกพรรคที่ขวากว่า นั่นคือตัวอย่าง

วันนี้ก็ต้องยอมรับว่าการเมืองมันปิดช่องทุกอย่าง การเมืองในรัฐสภามันคือวาล์วที่จะเปิดลดความดันออก แต่ถ้าจะปิดวาล์วทุกอย่าง ซึ่งปิดไปแล้วก็คือส.ว. เขาถูกตั้งเพื่อทำภารกิจเดียวคือเลือกนายกฯ ถ้าวันนี้ยังจะปิดวาล์วทุกตัว อาจจะต้องขอย้ำว่าการประท้วงใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนจะใหญ่แค่ไหนอาจจะต้องดูสถานการณ์จริง

แฟลชม็อบธนาธรก็น่าสนใจในแง่มีคนหน้าใหม่เยอะ

ตอบในฐานะคนหนึ่งที่ไป แล้วไปเพราะอยากเห็นสถานการณ์จริง ไม่อยากรู้จักสื่อหรือดูจากเน็ต สิ่งที่ผมเห็นคือผมเจอคนที่ไม่รู้จักเยอะ ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ พูดจริงๆก็คือรุ่นประมาณลูกศิษย์ อาจจะมีคนพอจำผมได้ แต่มองออกไปเป็นคนหน้าใหม่สำหรับผม ผมไม่กล้าประมาณว่ามีขนาดไหนแต่คนรุ่นใหม่เยอะมาก ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ทางการเมืองมันปลุกให้คนรุ่นใหม่ คิดว่าการเมืองมันไม่เป็นธรรม

กลัวความขัดแย้งไหม เพราะฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มตั้งเวทีต้านชังชาติ หมอวรงค์เร่งเดินสายทั่วประเทศ

ผมคิดว่าความขัดแย้งมี 2 ระดับ คือความขัดแย้งที่ขยายตัวเป็นความรุนแรงกับความขัดแย้งปกติ ผมคิดว่าถ้าเรายอมรับสังคมประชาธิปไตย ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติของคนเห็นต่าง ถามว่าเรากลัวความขัดแย้งที่เกิดจากความเห็นต่างไหม ผมคิดว่าไม่ใช่ปัญหา ความขัดแย้งนี้จะถูกยกไปในสภาเพื่อแปลงความเห็นต่างออกมาเป็นนโยบายกฎหมาย ยกตัวอย่างเวลาเราศึกษาการเมืองยุโรป ผมชอบการเมืองยุโรปอยู่อย่างหนึ่ง ในกรณีของเยอรมันหรือฝรั่งเศส มันมีการแบ่งชัดคือพรรคขวาจัด พรรคขวากลาง พรรคซ้ายกลาง และพรรคซ้ายจัด เราไม่มีวิธีคิดแบบนี้ในบ้านเรา เรามีวิธีคิดแค่มองฝ่ายที่เห็นต่างเป็นศัตรู แต่การเมืองอย่างในยุโรปมันแบ่งเฉดพรรคการเมืองอย่างน้อย 4 เฉด หรืออย่างพรรคซ้ายจัดกับซ้ายกลาง ก็ยังมีย่อยออกมาอีกหลายเฉด ปีกขวากลางไปขวาจัดก็อาจจะหลายเฉด ขวาจัดไม่ยอมรับผู้อพยพ มุสลิม แต่ขวากลางยอมรับนะครับ

นี่คือตัวอย่าง แต่ความจนทางปัญญาของการเมืองไทยคือเราไม่ถูกแบ่งเฉด แล้วในความไม่ถูกแบ่งเฉด เรามีความเห็นอย่างเดียวคือความขัดแย้งเป็นความน่ากลัว ผมคิดว่าที่น่ากลัวคือความขัดแย้งนั้นนำไปสู่ความรุนแรง ผมในฐานะคนที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ผมรู้อยู่ว่าการแบ่งขั้วมันนำไปสู่ความรุนแรงแน่นอน นั่นคือสิ่งที่เราไม่อยากเห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอย คือพูดง่ายๆไม่อยากเห็น 6 ตุลารอบสองในกรุงเทพฯ แต่ในปัจจุบันการสร้างวาทกรรมเฮชสปีด ผมว่าเยอะขึ้น ผมพูดเสมอว่าถ้าปี 19 มีโลกโซเชียล นักศึกษาจะตายมากกว่านี้ไหมในธรรมศาสตร์ วันนี้เราเห็นชัดโลกโซเชียลกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง แล้วในการเมืองชุดนี้คือการสร้างความเกลียดชัง ถ้าถามผมเราเห็นเรื่องอย่างนี้ในบอสเนีย หรือในรวันดามาก่อน มันจบลงด้วยการฆ่า การสร้างเรื่องลัทธิชังชาติเป็นกระแสที่น่ากังวล แต่ถ้าปีกนี้ยอมรับว่าตัวเป็นปีกขวาจัด และตั้งพรรคขวาจัด ดำเนินนโยบายขวาจัดและเข้าสู่สภา อย่างนี้ผมอยากเห็น แต่ผมกำลังสงสัย การปลุกกระแสต้านลัทธิชังชาติ เหมือนกับการปลุกกระแสต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในปี 19 ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ กลุ่มนี้กำลังปูทางไปสู่การฆ่าเหมือนปี 19 เท่านั้นเอง แต่ถ้ากลุ่มนี้ต้องการเล่นการเมืองในระบบก็ต้องกล้าตั้งพรรคการเมืองสู้ในสภา ไม่ใช่การปลุกระดมสร้างความเกลียดชังเพราะมันไม่จบ

คิดว่ากรุงเทพฯจะมีโอกาสเกิดการชุมนุมเหมือนฮ่องกงไหม

ผมคิดว่าคนไทยเรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาของการชุมนุมพอสมควร โดยเฉพาะความกลัวของชนชั้นกลาง ดังนั้นโอกาสที่ไทยจะเป็นเหมือนฮ่องกงไม่ง่าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ยาก ถ้าเราเห็นตัวแบบหลายๆประเทศ การชุมนุมในฮ่องกง ตัดปัญหาข้อเรียกร้องออก คือคนฮ่องกงมีความรู้สึกร่วมกันพอสมควร ว่าพวกเขาคิดถึงอนาคตของฮ่องกงอย่างไร พวกเขาคิดต่อจีนอย่างไร ในการขยายอิทธิพลต่อฮ่องกง ม็อบไม่ว่าจะเป็นม็อบแจ็คเก็ตเหลืองที่ปารีส ม็อบเศรษฐกิจที่ชิลี ม็อบการเมืองที่ฮ่องกง มันออกมาด้วยเงื่อนไขใหญ่ที่สุดคือคนที่ออกมาต้องมีความเห็นร่วมกัน ผมเห็นว่าความรู้สึกร่วมในสังคมไทยไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ทุกวันนี้ ทุกคนเหมือนนั่งรอดูว่าสถานการณ์มันจะไปถึงจุดนั้นเมื่อไหร่ คนที่รู้สึกอย่างนี้ก็หวังว่าการเลือกตั้ง จะเป็นตัวผ่อนคลาย แต่ถ้าการเลือกตั้งไม่ใช่ปัจจัยผ่อนคลายทางการเมือง ผมว่าอันนี้เป็นความน่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเลือกตั้งไม่ใช่การผ่อนคลาย และยังมีการเดินสายปลุกระดมด้วยกระแสขวาจัด ผมว่าอย่างนี้เป็นการพาสังคมไทยไปสู่ความรุนแรงแน่นอน

ผมคิดว่าคนไทยเรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาของการชุมนุมพอสมควร โดยเฉพาะความกลัวของชนชั้นกลาง ดังนั้นโอกาสที่ไทยจะเป็นเหมือนฮ่องกงไม่ง่าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไม่ยาก ถ้าเราเห็นตัวแบบหลายๆประเทศ การชุมนุมในฮ่องกง ตัดปัญหาข้อเรียกร้องออก คือคนฮ่องกงมีความรู้สึกร่วมกันพอสมควร ว่าพวกเขาคิดถึงอนาคตของฮ่องกงอย่างไร พวกเขาคิดต่อจีนอย่างไร ในการขยายอิทธิพลต่อฮ่องกง ม็อบไม่ว่าจะเป็นม็อบแจ็คเก็ตเหลืองที่ปารีส ม็อบเศรษฐกิจที่ชิลี ม็อบการเมืองที่ฮ่องกง มันออกมาด้วยเงื่อนไขใหญ่ที่สุดคือคนที่ออกมาต้องมีความเห็นร่วม
กัน ผมเห็นว่าความรู้สึกร่วมในสังคมไทยไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ทุกวันนี้ ทุกคนเหมือนนั่งรอดูว่าสถานการณ์มันจะไปถึงจุดนั้นเมื่อไหร่ คนที่รู้สึกอย่างนี้ก็หวังว่าการเลือกตั้ง จะเป็นตัวผ่อนคลาย แต่ถ้าการเลือกตั้งไม่ใช่ปัจจัยผ่อนคลายทางการเมือง ผมว่าอันนี้เป็นความน่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเลือกตั้งไม่ใช่การผ่อนคลาย และยังมีการเดินสายปลุกระดมด้วยกระแสขวาจัด ผมว่าอย่างนี้เป็นการพาสังคมไทยไปสู่ความรุนแรงแน่นอน

-การเมืองไทยยังมีอนาคต?

เราเห็นการเมืองไทยมานานในชีวิต เห็นความผันผวนทางการเมืองไทยมาพอสมควร ผมเชื่อเสมอว่าการเมืองมีอนาคต ถ้าเรารู้สึกว่าการเมืองไม่มีอนาคตเราจะไม่สู้ ผมยังเขียนบทความทางการเมืองและความมั่นคง เท่ากับผมยืนยันว่าผมยังเห็นอนาคต ถ้าผมไม่เห็นอนาคตผมคงเขียนสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ อาจจะเป็นความโชคดีที่ผมสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ผมเห็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้คิดเหมือนคนรุ่นผมในฐานะอดีตผู้นำนักศึกษา แต่พวกเขาก็มองไปข้างหน้า มันไม่ได้มืดมนทั้งหมด บางครั้งฤดูใบไม้ผลิมันมาช้า และฤดูหนาวบางครั้งมันยาว

ชวนอ่านบทความเต็ม
...