วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 28, 2563

เสียดาย รังสิมันต์ โรม ไม่ได้ อภิปราย "เครือข่ายประวิตร - ป่ารอยต่อ" ในสภา... เพราะมีผลดีหลายอย่าง...




รังสิมันต์ โรม เปิดโปง "เครือข่ายประวิตร - ป่ารอยต่อ"

Feb 27, 2020

อนาคตใหม่ - Future Forward
374K subscribers

เครือข่ายประวิตร - ป่ารอยต่อ คือ “การเกาะเกี่ยวกัน” ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทั้งกลุ่มที่ถืออำนาจรัฐ และกลุ่มที่ถืออำนาจทุน โดยมีมูลนิธิป่ารอยต่อฯ ที่ใช้บ้านพักสวัสดิการกองทัพบก เป็นเวทีในการผูกขาดอำนาจรัฐและอำนาจทุนไว้กับผู้ที่ถือมันอยู่แล้ว การตอบแทนผลประโยชน์ภายในเครือข่ายนี้ ไม่ได้อยู่แค่ในรูปของการที่มีคนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ หรือการบริจาคเงินหรือสิ่งของเข้าไป แล้วรับผลตอบแทนในมูลค่าพอๆ กันกลับมา เพราะเงินและทรัพย์สินที่มอบเข้าไปอาจไม่ได้มากมายนัก ยังไม่เห็นผลตอบแทนชัดเจน

สิ่งที่เราต้องการสื่อคือ การร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมูลนิธิป่ารอยต่อฯ เป็นเพียง “ตั๋ว” สำหรับการเข้าไปสู่วงไพบูลย์แห่งการตอบแทนผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า ที่มีชื่อว่า "ประวิตร Club" อาศัยกลไกและทรัพยากรของรัฐมาสร้างบารมี สร้าง connection ให้กับตัวเองและพวกพ้อง สิ่งที่เสียไปจึงเป็นอำนาจอธิปไตยที่อ้างกันว่าเป็นของประชาชน เมื่อในวันนี้ผลประโยชน์ของประเทศที่ควรตกเป็นของประชาชนกลับถูกแบ่งปันกันในหมู่คนเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น และคงไม่มีทางที่ประชาชนจะเข้าถึงประโยชน์เหล่านี้ได้ 

พล.อ.ประวิตรนำทีมบูรพาพยัคฆ์ทำรัฐประหารเข้ามามีอำนาจสูงสุดได้ ก็เพราะมีเครือข่ายเหล่านี้ ยังคงรักษาอำนาจไว้ได้ตลอด 5 ปีแบบไม่อายคำก่นด่าของประชาชนต่อกรณีอื้อฉาวต่างๆ ก็เพราะมีเครือข่ายเหล่านี้ ยังสืบทอดอำนาจมายังรัฐบาลปัจจุบันได้ ก็เพราะมีเครือข่ายเหล่านี้ ลากเอาคนอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ และรัฐมนตรีต่างๆ เข้ามาดำรงตำแหน่งได้ ทำให้พวกเราต้องมาอภิปรายไม่ไว้วางใจกัน 4 วันเต็มๆ ก็เพราะมีเครือข่ายเหล่านี้ เรื่อง IO เรื่อง 1MDB เรื่องจังหวัดชายแดนใต้ เรื่องโรงไฟฟ้าขยะ ฯลฯ ยังคงดำรงอยู่ ก็เพราะมีเครือข่ายเหล่านี้ 

สรุปคือ พล.อ.ประวิตรและเครือข่ายอำนาจของเขานั่นเอง คือรากเหง้าที่ก่อกำเนิดความเลวร้ายแห่งรัฐบาลประยุทธ์ทั้งหมดทั้งปวง ฉุดดึงประเทศไทยมาอยู่ในจุดที่ตกต่ำถึงเพียงนี้  

เรื่องนี้ไม่ได้สำคัญว่าเจตนาของบุคคลต่างๆ ในผังนี้จะเป็นอย่างไร เขาอาจมีเจตนาบริสุทธิ์ก็เป็นได้ แต่แค่เพียงการที่ พล.อ.ประวิตรและชาวบูรพาพยัคฆ์พยายามจะสร้างเครือข่ายอำนาจนี้ขึ้นมา แม้กระทำเพียงฝ่ายเดียว ก็เพียงพอแล้วที่เราจะไม่อาจไว้ใจให้พวกเขามีตำแหน่งในรัฐบาลต่อไปได้
...

ความสำคัญของการอภิปรายในรัฐสภา

หลายๆ คนอาจจะไม่เข้าใจหลักของการอภิปรายในสภา ว่าทุกวันนี้มี live FB youtube มากมาย แต่ทำไมต้องรออภิปรายในสภาให้คนประท้วงขัดเล่นด้วย 

อยากจะขอเรียนให้ทราบว่า การอภิปรายในสภา โดยเฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ (หรือชื่อเต็มคือ อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี) มีความสำคัญอย่างยิ่งนะครับ ดังนี้

1. ในระหว่างอภิปราย ส.ส.มีเอกสิทธิ์คุ้มกันในการอภิปรายตามรธน. มาตรา 124 "ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคําใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใด ๆ มิได้" 

แต่เอกสิทธิ์ในกรณีนี้จะไม่คุ้มครองกรณีกล่าวพาดพิงบุคคลที่สามภายนอก เมื่อมีการถ่ายทอดกระจายเสียง กล่าวคือ หากอภิปรายในสภา เกี่ยวข้องกับคนในสภาแล้ว ผู้ถูกอภิปรายจะฟ้องร้องเอาผิดใดๆ มิได้ ไม่งั้นพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาคนในสภามามากมายคงไม่รอดมาถึงบัดนี้

2. ในการอภิปรายของสภา จะมีการบันทึกข้อความอภิปราย เก็บรักษาไว้โดยสำนักงานสภาฯ เป็นประวัติศาสตร์ตกทอดชั่วลูกหลาน เหมือนที่เราได้อ่านและคัดลอกการประชุมสภาในยุคต่างๆ ตั้งแต่ก่อตั้งสภาผู้แทนฯ หลัง 2475 เป็นต้นมา ซึ่งหลักฐานพวกนี้ไม่ว่าสภาสมัยใด เผด็จการหรือประชาธิปไตยครึ่งใบเต็มใบ จะจารึกไว้ตลอด ดังนั้น ไอ้ที่ประท้วงให้ถอนคำพูด ถอนการใช้คำ ก็เพราะว่าเมื่อถอนแล้วจะไม่บันทึกลงในบันทึกการประชุมนี่เอง

ลองคิดดูว่าการอภิปรายเรื่องพวกนี้จะถูกบันทึกแบบลบไม่ได้ และอยู่ไปอีกสิบอีกร้อยปีดู เมื่อเทียบกับการออกสื่อธรรมดาที่เอกชนเป็นคนเก็บรักษา จะลบจะหายไปไม่มีใครรับรองได้ บันทึกการอภิปรายในที่ประชุมสภาจึงสำคัญ

ท่านสามารถหาอ่านบันทึกการประชุมสภาเก่าๆ ได้ที่นี่ครับ 

3. ในการอภิปรายของสภาฯ จะมีการถ่ายทอดผ่านวิทยุรัฐสภา และช่องรัฐสภา อยากเรียนว่าอย่าดูถูกช่องทางที่ดูเก่าแก่แบบนี้ครับ (ถึงปัจจุบันสภาจะมีช่อง FB และ Youtube ของตัวเองแล้วก็ตาม) เพราะช่องของสภาเป็นช่องที่ถ่ายทอดได้ยาวนานต่อเนื่อง ไม่มีการตัด สลับ หรือบิดเบือน และยังถูกบันทึกไว้ในทุกกรณี ทำให้สามารถสืบค้นการอภิปรายได้ชัดเจน รวมถึงยังเป็นช่องทางเวลาสื่ออื่นๆ ไม่ให้ความสนใจ มีเวลาออกอากาศโดยไม่มีผู้ประกาศข่าวมาแต่งเติมความคิดเห็น ทำให้ปราศจากอคติ เป็นช่องทางที่เป็นกลางอย่างมาก

ดังนั้น การอภิปรายในสภาฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นช่องทางที่เสียงของประชาชนจะส่งผ่านผู้แทนราษฎรไปกระจายสู่ผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่เรื่องที่สามารถทดแทนกันได้ผ่านสื่อออนไลน์หรือโซเชียลง่ายๆ นั่นเอง


Theerapat Charoensuk
4 hrs ·