ดั่ง ‘ผีซ้ำ’
และ ‘ดั้มพลอย’ ปัญหาเศรษฐกิจยุค
‘ตู่อยู่ยาว’ หนักลงไปยิ่งกว่าเก่า
วันก่อนมีคนชี้ว่า ‘หนี้ของประเทศไทย’
เวลานี้เอาเข้าจริงเกือบ ๒๖๗% ของจีดีพี วานนี้ (๓ ธ.ค.)
สภาผู้ส่งออกฯ ย้ำหัวตาปูมูลค่าติดลบถึง ๓%
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
( สรท.) แถลงด้วยความกังวลว่าการส่งออก อันเป็น “เครื่องจักรสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง”
นั้น ยังหดตัวไม่หยุดจนต้องปรับคาดการณืใหม่
ว่าปี ๒๕๖๒ นี่สุดท้ายแล้วจะ ‘ติดลบ’ ที่ระหว่าง ๒.๕ ถึง ๓ เปอร์เซ็นต์ ชัวร์ๆ
ส่วนว่าจะอยู่ตรงจุดไหนในระหว่างนั้นแน่ ต้องดูการแข็งตัวของค่าเงินบาทต่อไป จึงเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งโดยไว
เพราะค่อนข้างมั่นใจว่าปีหน้าอัตราแลกเปลี่ยนต่อ
๑ ดอลลาร์สหรัฐคงอยู่ที่ ๓๐.๕๐ บาท
ซึ่งหมายความว่าการเติบโตเศรษฐกิจไทยไปได้ดีที่สุดไม่ติดลบ แต่อยู่ที่ศูนย์ถึง ๑
เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสนใจในรายละเอียดของ ‘ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออก’ ๖ ประการที่ น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานฯ
แจ้งไว้ นอกจากปัจจัยภายนอก เช่นสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
(ที่วันนี้ประธานาธิบดีทรั้มพ์หันไปฟัดกับบราซิลและอาร์เจ็นติน่าต่อด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก)
และ
การ “เรียกเก็บเพิ่มค่า Bunker
Surcharge ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของค่าระวางในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า”
แล้วนอกนั้นจักต้องแก้ไขด้วยความสามารถการบริหารจัดการของรัฐ
ได้แก่
การแก้ไขค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างต่อเนื่องที่กล่าวมาแล้ว
ยังจะต้องระงับยับยั้งการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในประเทศ ที่วัดได้เพียง
๒.๔ ในไตรมาสที่สามของปีนี้ บวกกับอีกสองประการอันเกิดจากการกระทำของรัฐบาลชุดนี้
(ตู่ ๒)
นั่นคือ “การเรียกเก็บ ‘ภาษี’ ซึ่งเป็นต้นทุนผู้ประกอบการมีมากขึ้น
เนื่องจากภาครัฐต้องการเพิ่มรายได้สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ” ประดุจดัง ‘กงกรรม-กงเกวียน’ ขนเงินจากคลังออกมาทุ่ม ‘ประชารัฐ’ แต่กลับไม่กระตุ้นการเติบโตเสียที
ก็เลยต้องคิดหาวิธี
‘ถอนขนห่าน’
(เพราะ ‘ปู’
ไม่อยู่ให้รีดเลือดแล้วมั้ง) อย่างเช่น “การเรียกเก็บภาษีความหวาน-ความเค็ม”
นี่ก็เป็นปัจจัยลบ ต้านพลังผลักดันเพิ่มการส่งออก
อีกอย่างที่
สรท.วอนไว้ ว่า “กฎหมายและมาตรการภาครัฐที่กำหนดเพิ่มเติมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว
นับเป็นการลดทอนความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออก” เธอยกตัวอย่าง “แนวคิดการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
การแบนสารเคมีการเกษตร”
เหล่านั้นกำลังเป็นวัฏจักร
หรือผลกระทบ ‘ลูกโซ่’ “ทำให้เม็ดเงินที่กลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจน้อยลง
มีเงินหมุนเวียนสำหรับการบริโภคภาคเอกชนลดลง
ส่งผลต่อเนื่องไปถึงการชะลอตัวของจีดีพี ในที่สุด”
เห็นแล้วก็ละเหี่ย เหมือนดั่งที่ Thuethan Prasobchoke
เขียนบ่นไว้บนเฟชบุ๊คเรื่อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้ารัฐบาล
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ บริหารประเทศอย่าง “ไร้ทิศทางและเละตุ้มเป๊ะอยู่แบบนี้”
เขาถามว่า
“ประยุทธ์แท้จริงแล้วอยู่เพื่ออะไร...ทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์
ถึงวันอังคารก็มีอีเว้นท์ก่อนประชุม ครม. แล้วก็เดินทางไปโน่นมานี้
ไปเซลฟี่กับเมีย เสร็จแล้วก็กลับมาหยุดพักเสาร์อาทิตย์
ตกวันจันทร์ก็ไปพูดเรื่องโง่ๆ ให้เป็นข่าว
แบบวันนี้ก็บอกคนไทยหมดเงินไปกับการแต่งตัว เสริมจมูก ไม่รู้จักพอเพียง ซึ่งไม่ใช่วุฒิภาวะที่ผู้นำประเทศจะมาพูดเรื่องหยุมหยิมแบบนี้...
หรืออยู่ตามสั่งของเจ้าของทุนรัฐประหาร
ต้องอยู่เป็นประธานกฐินไปแบบนี้ให้พ้นวัน”
ถึงได้มีคนจำนวนมากคิดรายการ ‘วิ่ง-ไล่-ลุง’ กันขึ้นในวันที่ ๑๒ มกราคมนี้
คิดอีกทีการออกไปวิ่งแบบเส้นทางไกล ถึงจะเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ผลคงไม่ได้ดังเป้าหมาย
ประยุทธ์และพวก สาม ป. ไม่สำนึกแน่ๆ
เอาอย่างนี้ดีไหม รวมกำลังแต่ไม่ต้องวิ่งไกล
(หลายคนคงไม่ถนัด) ร่วมกัน ‘ถีบ’ ประยุทธ์ออกไป พร้อมๆ กันครั้งเดียว จะได้พวกไม่ใช่นักวิ่งมาร่วมอีกเยอะ
ฮ่า ฮ่า