oooจากคำถามเวทีประกวด #MissUniverse2019 สู่การสำรวจกฎหมายไทย พบว่า คุ้มครอง #ความเป็นส่วนตัว 2 ฉบับ ละเมิดได้ 9 ฉบับ#MissUniverseThailand2019 https://t.co/t5HSyrW1iq pic.twitter.com/IxbA0IMS34— iLaw Club (@iLawclub) December 9, 2019
Amnesty International Thailand ตอบคำถาม
อะไรสำคัญกับคุณมากกว่ากันระหว่างความเป็นส่วนตัวและความมั่นคง?
สิทธิความเป็นส่วนตัวของเราทุกคนนั้นถูกรับรองไว้ใน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" ข้อที่ 12
แต่ในโลกยุคสมัยใหม่บริษัทเทคโนโลยีต่างกุมอำนาจมหาศาล ในโลกดิจิทัลพวกเขาเก็บรวบรวมและค้ากำไรจากข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนหลายพันล้านคน จึงทำลายความเป็นส่วนตัว และเป็นปัญหาท้าทายสำคัญสุดอย่างหนึ่งต่อสิทธิมนุษยชนในยุคของเรา
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรื้อโครงสร้างธุรกิจที่มีการสอดส่องออนไลน์และคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนของบรรษัท ทั้งนี้โดยการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่เข้มแข็ง และการใช้มาตรการที่เป็นผลเพื่อควบคุมให้บริษัท ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดำเนินการอย่างสอดคล้องตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ที่สำคัญต้องไม่ใช้เหตุผลด้าน “ความมั่นคง” ในการละเมิดสิทธิของประชาชน
แอมเนสตี้เสนอให้ประเทศไทยดำเนินการเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัวดังนี้
• แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเพื่อป้องกันการสอดส่องในวงกว้างและ/หรือโดยพลการ เนื่องจากกฎหมายที่กำกับดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยให้อำนาจกว้างขวางกับรัฐในการสอดส่องข้อมูลส่วนบุคคลในวงกว้าง รวมถึงการเข้าถึงเมตะดาต้าในระหว่างการสอบสวนอาชญากรรม เนื่องจากในปัจจุบันทางการได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในการยึดข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องขอหมายศาลในกรณีที่เข้าข่าย “สถานการณ์ฉุกเฉิน”
อ่านต่อ https://buff.ly/2HEvEBF