วันเสาร์, กรกฎาคม 09, 2559

7 เหตุผลที่คะแนนโหวต เยส จะไม่ถึง 14,727,306 เสียง







7 เหตุผลที่คะแนนโหวต เยส จะไม่ถึง 14,727,306 เสียง
.......................

อย่างที่ทราบว่าในการลงประชามติ 19 สิงหาคม 2550 โหวตเยส ชนะด้วยคะแนนเห็นชอบ 14,727,306 เสียง คิดเป็น 57.81% ของผู้มาใช้สิทธิ 25,978,954 คน ชนะ โหวตโน ที่ได้ คะแนนไม่เห็นชอบ 10,747,441 เสียง หรือคิดเป็น 42.19%

https://th.wikipedia.org/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B…

แต่ในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 นั้นมีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50,585,118 คน
ดู เปิดบัญชีรายภาค ผู้มีสิทธิโหวตประชามติ
http://www.matichon.co.th/news/148721

แต่ผมก็ขอทำนายผลว่าคะแนนโหวต เยส จะไม่ถึง 14,727,306 เสียง แม้ว่าจะมีผู้มีสิทธิลงคะแนนเพิ่มขึ้น 4,682,163 คน หรือคิดเป็น 10.38 % ก็ตาม

นั่นแสดงว่า คะแนนเสียงของโหวตเยส จะเป็นตัวเลขที่ถดถอย
ขณะที่โหวตโน จะมีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้น ดังที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้า
ดู
ทำนายผลล่วงหน้า ผลประชามติ 7 สิงหาคม 2559
โหวตโนได้คะแนนเสียง 16 ล้าน +++
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1187151301351707&set=a.188049254595255.50981.100001705461683&type=3&theater

ก่อนอื่นขอให้ดู บทวิเคราะห์หน้า 3 ของมติชนรายวัน ที่เชื่อว่า ประชามติ ‘7 สิงหาคม’ ไม่น่าจะมี ‘ปาฏิหาริย์’ ที่ทำให้โหวตโนชนะ

ดู
คาดหมาย ทิศทาง ประชามติ ‘7 สิงหาคม’ ไม่น่า ‘ปาฏิหาริย์’
http://www.matichon.co.th/news/201856

ซึ่งผมจะมองต่างกันโดยสิ้นเชิง

กลับมาที่ 7 เหตุผลที่ทำให่้คะแนนโหวต เยส จะไม่ถึง 14,727,306 เสียง

...
1.วาทกรรมรับไปก่อนค่อยแก้ใช้ไม่ได้ผล

ถ้าจำกันได้ ในการดีเบทร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 โดยมีผู้ร่วมการดีเบต ประกอบด้วย

- ฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ 1.จรัญ ภักดีธนากุล สสร. 2.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สสร. 3.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
- ส่วนฝ่ายคัดค้าน ประกอบ ด้วย 1.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 2.จาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้ากลุ่มไทยรักไทย 3.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในฐานะตัวแทน สสร. เมื่อจนแต้มในการดีเบท นายจรัญ ภักดีธนากุล พูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวหาได้ดีที่สุดแต่อย่างใดไม่ แต่ขอให้รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง
ดู
นายจรัญบอกว่ารัฐธรรมนูญ2550 ให้รับไปก่อนแล้วค่อยแก้ทีหลัง
https://www.youtube.com/watch?v=Xok7D2Q668g

แต่ประสบการณ์การใช้รัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ชี้ชัดว่า ถ้าจะแก้ให้เป็นประชาธิปไตย ลดอำนาจรัฐราชการนั้นนอกจากเป็นไปไม่ได้แล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะถูกถอดถอนหลุดจากตำแหน่งด้วย

...
2. รับไปก่อนจะได้มีเลือกตั้ง ก็จะใช้ไม่ได้ผลเช่นกัน

นี่คือแคมเปญแรกที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ใช้ในการณรงค์ ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 แม้ดูจะไม่มีเหตุผลในทางเนื้อหา (เพราะการเลือกตั้งก็ต้องมีอยู่ดี ต่อให้รัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็ตาม) แต่มีน้ำหนักในทางการเมืองมาก เพราะทำให้พรรคการเมือง พร้อมที่จะ “เห็นชอบ” เพื่อให้มีการเลือกตั้ง แม้แต่พรรคพลังประชาชน (ซึ่งก็คือพรรคไทยรักไทย ที่เพิ่งถูกยุบไปก่อนหน้านั้น) ก็ซื้อความคิดนี้

แต่ในประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ต่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ก็ใช่ว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2560 ตามโรดแมปของ คสช.แต่อย่างใดไม่ หรือถ้าจะมีก็เกิดจากแรงกดดันจากนานาติ เช่นการให้คำมั่นสัญญาในที่ประชุมสหประชาชาติ

...
3.ทักษิณ 2559 ไม่เกียร์ว่างเหมือนทักษิณ 2550
(แต่ทั้งหมดนี้ต้องดูนาทีสุดท้ายด้วย)

ข้อนี้สัมพันธ์กับข้อ 2 แม้ว่าภาพเปิด จะมีการณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชน อยู่บ้าง แต่ก็เป็นแค่ปีกเดียว หรือไม่ก็เป็นการเล่นไพ่สองหน้า ทั้งนี้เพราะทักษิณ ชินวัตร ที่คุมทิศทางของพรรคอยู่นั้นก็อยากจะเลือกตั้งเพราะมั่นใจในญานเสียงของตัวเอง (ซึ่งด้านหนึ่งก็คิดถูกเพราะในการเลือตตั้งธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนก็ชนะ)

รูปธรรมที่เห็นได้ชัดคือ ผลการลงประชามติ ปรากฏว่าในภาคเหนือ ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ ปรากฏว่าโหวตเยส ชนะ (ซึ่งผลดังกล่าวหลายคนยังเข้าใจผิดมาจนถึงทุกวันนี้ว่าภาคเหนือ ภาคอีสาน โหวตโน ชนะ)

ในการลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 แม้ไม่มีคำพูดออกจากปากทักษิณ ว่าโหวตโน ( ซึ่งผมคิดว่าทักษิณก็ไม่ควรพูด) แต่พฤตินัยนั้นแสดงออกมาอย่างชัดเจน ลองดูรูปทักษิณถ่ายคุ่กับวัฒนา เมืองสุข เมื่อเร็ว ๆ นี้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=490543521141883&set=pcb.490543654475203&type=3&theater

...
4.ประชาธิปัตย์เสียงแตก

ในประชามติ 2550 พรรคประชาธิปัตย์ เห็นชอบทั้งในทางการเมือง คืออยากให้มีการเลือกตั้ง และในทางเนื้อหา เพราะระบบเลือกตั้งเอื้อต่อพรรคประชาธิปัตย์คือระบบบัญชีรายชื่อ 8 เขต

แต่ในประชามติ 2559 มีความเห็นต่างในพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างมาก เพราะยังมีนักการเมืองปีก กปปส. มีอิทธิพลอยู่สูง ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้า ค่ายไม่ออก พูดอะไรไมได้ เพราะจะทำให้พรรคแตก จึงได้แต่พูดกว่้าง ๆ ไว้ก่อน

จึงกลายเป็นลูกไล่ของพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน

ดู
'อนุสรณ์'ตอก'
พิฏฐ์'จิก'พิชัย' จี้'อภิสิทธิ์'แสดงจุดยืนประชามติ
'รังสิมา'ว๊าก'อนุสรณ์'สมองกลับด้าน เหตุจี้'อภิสิทธิ์'แสดงจุดยืนร่างรธน.
http://www.naewna.com/politic/224296

ดังนั้น การไม่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นโฆษกให้่ร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ก็ยิ่งทำให้เสียงขาดหายไปนับล้านเสียงอย่างแน่นอน

...
5. กปปส. ไม่มีเอกภาพ

แม้คนอย่างสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเสอหน่ามาเชียร์ร่างรัฐธรรมนุญฉบับมีชัย แต่สุเทพ 2559 ไม่ใช่ สุเทพ 2557

ไม่มีภาพ ลุกกำนัน ท่ามกลางมวลมหาประชาชน แต่กลายเป็นแค่ม้ใช้ของ คสช. ไม่ต่างจากพวก วันชัย สอนศิริ คำนูณ สิทธิสมาน
ดูบทวิเคราะห์จาก "มิตรร่วมรบ " คือผู้จัดการ

ดู โถ!?! “ลุงกำนัน” ของมวลมหาประชาชน สุดท้ายลายออกเป็นได้แค่ “ทาส(บูรพา)พยัคฆ์”

http://www.manager.co.th/Weekend/ViewNews.aspx…

ขณะเดียวกัน ก็มี กปปส. อีกจำนวนไม่น้อยที่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนุญ คสช.

ดู
'สมเกียรติ'ประกาศไม่รับร่างรธน. แนะให้ปชช.มีอำนาจเหนือคสช.
http://www.naewna.com/politic/211979
...
6. รณรงค์โหวตโน ไม่ได้

กรณีนี้กลายเป็นเรื่องย้อนแย้งสำหรับ คณะรัฐประหารเป็นอย่างยิ่ง เพราะการกดการณรงค์โหวตโน กลายเป็นว่าทำให้ไม่สามารถสร้างศัตรูทางการเมืองให้กับชนชั้นกลางในเมืองที่สนับสนุนคสช. ให้เป็นที่เด่นชัดได้

ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมา คะแนนความนิยมของคสช. ไม่เคยมี แต่อาศัยความเกลียดชัง หรือการปลุกผีทักษิณ ขึ้นมา การที่ไม่ปรากฎการณรงค์โหวตโน ของพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ก็ทำให้ความจำเป็นในการโหวต เยส ก็ลดน้อยลงไปด้วย
...
7. เนื้อหาร่างรัฐธรรมนุญ มุ่งกินรวบ ตอบสนองรัฐราชการและพวกพ้อง กีดกันนักการมือง

สุดท้ายแล้วการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเอาใจทหาร ข้าราชการประจำ และขาประจำที่ล้มการเลือกตั้ง โดยกีดกันนัการเมือง แล้วเอามา่ลงประชามตินั้นผิดมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เพราะคงไม่นักการเมืองคนไหน ที่จะเล่นการเมืองต่อแล้วรับได้กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ถ้าจะมีก็คือคนอย่าสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่กลับมาเล่นการเมืองในระบบไม่ได้แล้ว

‘สุเทพ’ทำบุญวันเกิด ย้ำชัดที่วัด!! ไม่หวนการเมือง ไม่ตั้งพรรคใหม่ ไม่รับทุกตำแหน่งแม้ส.ว.สรรหา (คลิป)
http://www.matichon.co.th/news/203853

แต่นักการเมืองแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่มีใครรับได้ ลำพังเสียงของบรรดา ทหาร ข้าราชการประจำ และขาประจำ ก็น้อยเกินกว่าจะนับได้

สรุปอีกครั้ง ว่า ไม่มีทางที่คะแนนโหวต เยส จะไม่ถึง 14,727,306 เสียง ในการลงประชาติ สิงหาคม 2559 แม้่จะพยายามทุกช่องทางก็ตาม
ดู
ปูพรมถึงบ้าน ทหารช่วยดำนา-รด.อาสา-ปลูกป่า ชวนคนมาลงประชามติ
http://prachatai.org/journal/2016/07/66765



Thanapol Eawsakul