วันเสาร์, มกราคม 28, 2566

สำรวจความผิดปกติในการถอนประกัน เป็นผู้พิพากษานี่มันยากนักหรือที่จะทำตามกฎหมาย


Suchart Sawadsri
16h
สำรวจความผิดปกติในการถอนประกัน
เป็นผู้พิพากษานี่มันยากนักหรือที่จะทำตามกฎหมาย

The101.world
· 16h
บทสรุปรายการ 101 One-on-One Ep.287 อดอาหารกี่ครั้ง ตุลาการจึงจะเป็นธรรม? กับ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล สำรวจความผิดปกติในกระบวนการถอนประกันตัวเวลานี้
.
อ่านบทความได้ที่ : https://www.the101.world/somchai-preechasinlapakun-and-justice-system/
.
"สมชายตั้งข้อสังเกตว่าการอดอาหารประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีมิติและเงื่อนไขที่แตกต่างจากการอดอาหารประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น กล่าวคือ ในหลายประเทศ การอดอาหารจะทำไปเพื่อประท้วงรัฐบาลโดยตรง ทว่าการอดอาหารของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยส่วนใหญ่ทำเพื่อประท้วงและเรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากศาลหรือสถาบันตุลาการ ไม่ได้เป็นการประท้วงต่อรัฐบาลโดยตรง"
.
"ข้อเรียกร้องสามประการของตะวันและแบมสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยที่เราดำรงอยู่ตอนนี้อยู่ใน ‘ภาวะวิปริตผิดเพี้ยน’ เพราะในความเป็นจริงแล้ว หากเกิดการเรียกร้องสิ่งใด ย่อมแปลว่าในทัศนะของผู้เรียกร้องมองว่าตอนนี้ตนเองกำลังขาดหรือไม่มีสิ่งนั้น เมื่อย้อนมองข้อเรียกร้องในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและทวงคืนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องขังทางการเมือง สมชายมองว่านับเป็นเรื่องวิปริตที่นักกิจกรรมต้องออกมาเรียกร้อง ‘ความยุติธรรม’ จาก ‘กระบวนการยุติธรรม’ เสียอย่างนั้น"
"สมชายระบุว่าปัญหาของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรมส่วนหนึ่งเกิดจากโครงสร้างและอำนาจนำของสถาบันตุลาการที่ไม่เปิดโอกาสหรือยอมให้คนทำงานสอดคล้องกับหลักวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลซึ่งนับเป็นองค์กรที่มีปัญหาอย่างสำคัญ"
.
"หากจะหาความเป็นไปได้ในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมดังข้อเรียกร้องของตะวัน-แบม สมชายมองว่าสิ่งสำคัญคือต้องทำให้คนในแวดวงกฎหมายตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและตกผลึกกับตัวเองได้ อีกทั้งเงื่อนไขหนึ่งที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปคือการลุกฮือของนักกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน อาจารย์ ทนายความ และผู้ทำอาชีพในแวดวงกฎหมาย"