วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 04, 2567

‘เมตา’ แจงกรณีผู้ใช้เฟชบุ๊ค ‘งง’ เมื่อเพจถูกปิดโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่

ตั้งแต่ เฟชบุ๊คเปลี่ยนเป็น เมตา นี่บางทีออกอาการแปลกๆ อยู่นะ จะเป็นเพราะเอา AI (สติปัญญาประดิษฐ์) มาใช้ช่วยกำกับและดำเนินการมากขึ้น หรือไม่

จากเหตุที่ “ผู้ใช้ Facebook เกิดความสับสนอย่างมาก บางครั้งโดนลบโพสต์หาย โดยไม่เข้าใจว่าตัวเองทำอะไรผิด หรือครีเอเตอร์หลายคน ยอด Reach ในเพจลดลงอย่างเห็นได้ชัด” ทำให้ทีมงานเพจ ทูเดย์ ไปคุยกับ Meta ประเทศไทย

ได้ความว่า เหตุที่เกิดการผิดพลาดมาจากการตั้งค่าอัลกอริซึม และใช้ เอไอ “ในการคัดกรองคอนเทนต์ หรือโพสต์ที่มีความสุ่มเสี่ยง” เนื่องจากปัจจุบันเฟชบุ๊คต้องเผชิญปัญหาจาก กลุ่ม Scammer หรือกลุ่มนักพนันอย่างหนัก

เจ้าหน้าที่เมตาบอกว่าพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ “ใช้แพลทฟอร์มเป็นเครื่องมือในการหากินอย่างไม่สุจริต” ซึ่งระบบเอไอได้จัดทำ ลิสต์คำต้องห้าม“บางคำที่อาจมีความเชื่อมโยงกับมิจฉาชีพ ถ้าเขียนลงไปในบทความ แล้วระบบตรวจพบเจอ

ก็จะถูกมองว่าเป็นโพสต์เชิญชวนของมิจฉาชีพ หรือ กลุ่มการพนันทันที ซึ่งเมื่อระบบตรวจเจอ จะถูกลงโทษ Fraud and Deception (หลอกลวง และต้มตุ๋มเงิน)” ทีมงานแนะว่า หากเฟชบุ๊คเกิดเข้าใจผิด ให้ “ส่งคำอุทธรณ์มาให้ระบบพิจารณาเป็นเคสๆ ไป”

เมตาประเทศไทยให้รายละเอียดเกี่ยวกับกรณีต่างๆ ๖ อย่างที่เกิดจากการเข้าใจผิดของผู้ใช้เอง รวมทั้ง “การลงโพสต์แบบเขียนบทความ” ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นต่อการทำให้เอไปเกิดความเข้าใจผิด แล้วลบโพสต์ของเราไป

นอกเหนือจากนั้นเอ่ยถึงความไม่จำเป็นบางอย่าง เช่น “หลีกเลี่ยงคำว่า ขาย ด้วยการใช้คำว่า ‘Vาย เขียนแทน” เฟชบุ๊คอนุญาตให้ซื้อขายกันได้เป็นปกติ (โดยเฉพาะใน Facebook Market Place) ไม่ต้องเขียนเลี่ยง เพียงแต่ระวังชนิดของสินค้าอย่าต้องห้าม

คำบางคำหรือบางข้อความที่นิยมเขียนกัน โดยเข้าใจผิดว่าจะทำให้โพสต์ดูดี เมตาบอกว่าไม่มีความจำเป็น เช่นแฮสช์แท็ก #อย่าปิดกั้นการมองเห็น หรือ #เปิดการมองเห็น หรือ ประโยค ที่เข้าข่าย Engagement Bait

เช่น “ฝากกดไลค์ กดแชร์” หรือ “มาคอมเมนต์กันเยอะๆ” หรือวิธีการ “พิมพ์ข้อความเดิมๆ ซ้ำๆ แบบที่ไม่มีความหมาย “แล้ว Copy-Paste ให้คนมาคอมเมนต์หลายๆ คน ด้วยข้อความเดียวกัน” แบบนี้อาจเสี่ยงถูกระบบเอไอจัดเข้าประเภท Spam

เพจ Today บอกว่า “เราในฐานะผู้ใช้แพลทฟอร์ม ก็จำเป็นต้องปรับตัวกันไป กับรูปแบบอัลกอริทึ่มที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ” ของเฟชบุ๊ค เพราะ “ปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook ยังอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา”

(https://www.facebook.com/TODAYth.FB/posts/Phav9bzYmpg)