เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
14 hours ago
·
การค้าทาสในลาวใต้ และ เชียงแตง
ตัวแปรสำคัญคือ สยาม โดยเฉพาะเมืองโคราช
และ อุบลฯ ที่มีความต้องการทาส ลงไปขายที่กรุงเทพ
จึงทำให้เกิดการรวมทีม ระหว่างคนลาวในท้องถิ่น
กับ คนสยามเพื่อบุกตีข่า(ตีข้า) จับชนพื้นเมือง
ตามป่าเขาในลาวใต้ และ กัมพูชาตอนบน ลงไปขายเป็นทาส
ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ และ เจ้าราชบุตรโย่
ขึ้นมามีอำนาจในดินแดนล้านช้างจำปาสัก
การค้าทาสเฟื่องฟูถึงขีดสุด อีกทั้งยังมี
เจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอิน) มาทำการค้าทาส
แข่งขันกับ กลุ่มเจ้าอนุวงศ์ ทำให้ประเพณีตีข่า(ตีข้า)
ล้อมจับมาเป็นทาสได้รับความนิยม โดยเฉพาะ
ในเขต เมืองอัตตะปือ เชียงแตง สาละวัน
เมื่อการค้าทาสเฟื่องฟู ข้าบางเผ่าเองก็หันมาเป็น
พ่อค้าทาสเสียเอง เพื่อเงินทอง และ หลีกเลี่ยงการถูกจับ
เป็นทาส เช่น ข้าระแด ที่ยอมอยู่ใต้อำนาจล้านช้าง
และ มีกำลังมากพอ จะคอยไปไล่ล่าเผ่าข้า ที่อ่อนแอกว่า
"ข่า" เป็นคำเรียกของคนลาวล้านช้าง
สำหรับเรียกชนเผ่าอนารยชนในพื้นที่ราบ
คำว่าข่านั้น หมายถึง "ข้ารับใช้" (ขี้ข้า/ขี้ข่า)
#ไม่ใช่ชื่อชนเผ่า
แต่เป็นการเรียกรวม ๆ ของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง
ออสโตร–เอเชียติก ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ จะแบ่งชนเผ่าและเรียกชื่อกลุ่ม
ของตนต่างออกไป เช่น เผ่าระแด เผ่าประไร
เผ่ากะแวด เผ่าบรู เผ่าละแว เป็นต้น
โดยกลุ่มคนลาวถือว่ากลุ่มเผ่าข่าเหล่านี้
เป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นชนเผ่าอิสระ
ไม่มีระบบการเมืองการปกครอง
โดยเอเจียน แอมอนิเย (Etienne Aymonier)
นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้ระบุถึงกลุ่มข่า
เอาไว้ในหนังสือ บันทึกการเดินทางในลาว
(Voyage dans le Laos) ในปี พ.ศ.2438 ความว่า
"...คนลาวเรียกเผ่าท้องถิ่นดังกล่าวว่า "ข่า"
ซึ่งมีความหมายว่า คนรับใช้ ข้าทาส
พวกเขาเป็นแรงงานเป็นข้าทาส
ชาวอานามเรียกเขาว่า "ม้อย"
พวกเขมรเรียกว่า "พนอง"....
นอกจากพวกพนองแล้วก็มี ปราวหรือ บราว (บรู)
พวกตำปวน หรือ ดำบวน พวกโรแดหรือ ราแด
พวกจราย และพวกกริง ชื่ออาจเรียกเพี้ยนต่างกันไป
แล้วแต่คนออกเสียง..
ขอบคุณภาพ ข้อมูลจาก
กชกร เวียงคำ
เพจ เว้าพื้นประวัติศาสตร์
https://www.facebook.com/share/p/axLrmZbzkCFa1qG9/?mibextid=WC7FNe
อ่านต่อได้ที่ลิงค์ข้างบน