วันอาทิตย์, กรกฎาคม 14, 2567

BIOTHAI พาไปเยี่ยมชม #ฟาร์มยี่สาร #ฟาร์มซีพีเอฟยี่สาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ #ศูนย์วิจัยการเลี้ยงกุ้งและเทคโนโลยีชีวภาพ และ #ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม ของ #บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่การเพาะเลี้ยง #ปลาหมอคางดำ จำนวน 2,000 ตัวเมื่อปี 2553


BIOTHAI
7 hours ago
·
ไบโอไทยพาไปเยี่ยมชม #ฟาร์มยี่สาร #ฟาร์มซีพีเอฟยี่สาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ #ศูนย์วิจัยการเลี้ยงกุ้งและเทคโนโลยีชีวภาพ และ #ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำเค็ม ของ #บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสถานที่การเพาะเลี้ยง #ปลาหมอคางดำ จำนวน 2,000 ตัวเมื่อปี 2553

สถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่ง ซีพีอ้างว่าปลาทั้ง 2,000 ตัวทะยอยตายจนหมด และดองใส่โหลส่งให้กรมประมงเพียง 50 ตัว ส่วนที่เหลือกลบฝังทั้งหมดภายในฟาร์ม

นักวิชาการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และนักนิเวศวิทยา ชี้ว่าการกลบฝังโดยไม่ส่งซากปลาทั้งหมดแก่กรมประมง ทำให้เกิดความกังขาว่าปลาทั้งหมดถูกฝังกลบ หรืออาจมีบางส่วนเล็ดลอดออกไปผ่านระบบน้ำที่เชื่อมโยงกับคลองรอบฟาร์มใช่หรือไม่ ? และที่ชวนให้สงสัยไปมากกว่านั้น คือคำชี้แจงของบริษัทที่บอกว่าพื้นที่ฝังกลบนั้นถูกสร้างอาคารทับเอาไว้หลังจากนั้น

ความกังขา และความเชื่อของผู้คนจำนวนมากว่า ปลาหมอคางดำเกิดการระบาดเพราะหลุดลอดออกจากฟาร์มแห่งนี้ ถูกต้องย้ำจากเอกสารของกรมประมง ซึ่งแนบในหนังสือเรื่อง แนวทางปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2561 ที่ระบุว่า หลังจากมีการนำเข้าของซีพีในปี 2553 แล้ว มีรายงานการพบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ ในคลองดอนจั่น คลองหลวง และคลองใกล้เคียงในบริเวณ ต.ยี่สาร และ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสาคร เป็นที่แรกๆ

จากภาพที่ไบโอไทยได้จาก GoogleEarth พบว่าคลองหลวง และคลองดอนจั่นอยู่ติดกับฟาร์มยี่สารของซีพี ซึ่งหมายความการอนุญาตให้ฟาร์มยี่สารทำการทดลองใดๆเกี่ยวกับเอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดนี้ต้องทำด้วยความรอบคอบ และต้องทำในระบบปิดอย่างเข้มงวด แต่สังคมไทยกลับไม่ได้รับข้อมูลใดๆจากกรมประมงและซีพีเกี่ยวกับกระบวนการและรายละเอียดดังกล่าวเลย

และหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดำเนินการใดๆในเรื่องนี้ เราจะเห็นประชาชนใช้อำนาจทางศาล และพลังอำนาจทางสังคมในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นเพื่อเข้าถึงความจริง และให้ผู้ที่ก่อปัญหามารับผิดชอบ

เรื่องนี้ไม่ไม่เงียบหายไปเหมือนเรื่องอื่น เพราะผลกระทบต่ออาชีพของผู้คน และผลกระทบต่อระบบนิเวศที่มาจากปลาหมอคางดำเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

และสักวันหนึ่งไม่ไกลจากนี้ ประชาชนจะหาทางสั่งสอนพวกเขา
 
https://www.facebook.com/photo/?fbid=896286845878063&set=a.627833372723413