วันอังคาร, กรกฎาคม 02, 2567

อภิปรายในสภา เนื้อหาดีๆ บางทีถูกข่าวในราชสำนักทับซ้อน ตัดตอนออกไปเสียฉิบ

เฮ่ย กลายเป็นว่าการประชุมสภาที่มีเนื้อหาเยอะแยะ ประชาชนคนดูถ่ายทอดควรได้รับข้อมูลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ต้องเจอ ข่าวในราชสำนัก ตัดตอนไปเสียฉิบ ส.ส.ก้าวไกลเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่บางทีมันไม่ลงตัว ดังกรณี ส.ส.ไอ๊ซ์ รักชนก

ศิริกัญญา ตันสกุล เล่าในรายการ สภาภาษาคน ช่อง Friend Talk ตอนหนึ่งพาดพิงถึง ส.ส.ก้าวไกล ไอ๊ซ์ รักชนก ศรีนอก ที่โดนซุบซิบไวรัล เรื่องการประท้วงจนปะทะคารมกับฝ่ายรัฐบาลแล้วยืนกอดอก จนรองประธานสภา ปดิพัทธ์ สันติภาดา ต้องเตือน

ว่าเคสนี้ ไอ๊ซ์ ต่อล้อต่อเถียงยืดยาว ด้านหนึ่งเพื่อยืดเวลาไม่ให้เพื่อนร่วมพรรคที่จะขึ้นอภิปรายคนถัดไป (ส.ส.เท้ง ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ) ไม่ต้องติดข่าวในราชสำนัก ถูกตัดการถ่ายทอดออกไป

ศิริกัญญาว่าไอ๊ซ์ “ทำเพื่อพรรค แต่หลังจากนั้นพูดอะไรที่เป็นแบบสาระดีมากๆ สำคัญมากๆ สำหรับเรื่องกระบวนการจัดทำงบประมาณ” ที่เธอไปค้นคว้าทำมาตั้งหลายเดือน แต่คนดูก็ไปสนใจเรื่องไวรัล ข้ามเนื้อหาการอภิปรายของไอ๊ซ์ไปอย่างน่าเสียดาย

ผู้ดำเนินรายการถามว่าในเมื่อการถ่ายทอดมักโดนข่าวสองทุ่มทับ อย่างนี้แล้วเราสามารถพักประชุมก่อนได้ไหม พอข่าวราชสำนักเสร็จแล้วค่อยมาต่อ จะได้ไม่ต้องมีเหตุการณ์แบบนี้

คุณไหมตอบว่า ไม่เคยคิดแง่นี้ เคยคิดแต่ว่ามันอาจจะต้องมีช่องยูทู้บที่ไม่ต้องถ่ายทอดข่าวในราชสำนักได้ไหม ช่อง ๑๐ ทีวีรัฐสภาอยากถ่ายก็ถ่ายไป แต่ช่องยูทู้บไล้ฟ์ให้ตลอดได้ไหม

เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นทีรู้แจ้งกันดีทั้งฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล ดังศิริกัญญาเอ่ยถึงว่า “รัฐมนตรีก็เลย พอโดนประท้วงทะเลาะกันนาน เขาก็รู้ตัวว่าเดี๋ยวรัฐมนตรีจะโดนข่าวในราชสำนักทับ” ด้วยเหมือนกัน

เขาก็เลยรีบแทรก เขาอยากแทรกเมื่อไรก็แทรกได้อยู่แล้วตามสิทธิ”

(https://x.com/R_artisty/status/1807638011322200371) 

ทำไปทำมา ‘ลุงชาญ’ นายก อบจ.ปทุมฯ หมาดๆ อาจต้อง ‘หยุดปฏิบัติหน้าที่’

ว่าไปแล้วไม่น่า ที่สื่อบางสำนักประโคมชัยชนะเลือกตั้ง อบจ.ปทุมธานี (สูสี เฉือนกันไม่ถึง ๒ พันคะแนน) ของ ชาญ พวงเพ็ชร์ ว่าเป็นด้วยฤทธิ์ มนต์ขลัง ของทักษิณ ชินวัตร เพราะถ้าเขาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ด้วยคดีอาญา มนต์นั้นก็จะดำทมิฬทันที

ทั้งที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่านายชาญมีคดีติดตัวอยู่ก่อนกลับมาลงสมัครนายก อบจ. เมื่อถูก ปปช.ชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการจัดซื้อถุงยังชีพเมื่อปี ๒๕๕๕ และศาลอาญาคดีประพฤติมิชอบได้สั่งประทับรับฟ้องแล้ว โดย ปปช.เป็นโจทก์เอง

นายชาญได้ยื่นประกันตัวเมื่อกลางมกรา ๖๗ และศาลฯ นัดไต่สวนสืบคดีในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ ทว่าในความเห็นของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) ชี้แจงว่า “คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ยังไม่ถึงที่สุด ไม่มีหมายศาลสั่งคุมขังผู้ถูกกล่าวหา

อีกทั้งไม่ได้ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จึงยังไม่มีลักษณะต้องห้าม และสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ปทุมธานีได้” แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าได้เป็นนายก อบจ.แล้ว จะลบล้างความผิดที่ยังต้องหาว่าทุจริตอยู่ไปได้

ในข้อนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นไว้แล้วว่า หากแม้นนายชาญได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.อีกวาระ  “อาจจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทันทีเข้ารับตำแหน่งตามเงื่อนไขทางกฎหมายที่กำหนดไว้ อันเป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากคดีทุจริต ที่ศาลฯประทับรับฟ้องไว้แล้ว”

การแข่งขันเป็นนายก อบจ.ปทุมฯ ครั้งนี้จัดเป็น ‘high profile’ หรือถูกมองว่ามีความสำคัญยิ่งยวด และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง ในเมื่อคู่แข่งของนายชาญ คือ พล.ต.ท.คำรณฤทธิ์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.สมัยที่ผ่านมา เปลี่ยนไป

บิ๊กแจ๊ส คนดังหันไปสมาทานการเมืองกับค่ายสีน้ำเงิน ทำให้เสียงสนับสนุนจำนวนไม่น้อย (ติ่งส้ม) พากันรณรงค์ โนโหวต ในครั้งนี้ ปรากฏว่าว่าจำนวนผู้ไม่ออกเสียงถึงกว่า ๓ หมื่น ๒ พันราย ขณะที่ผู้ชนะได้คะแนนมากกว่าเพียง ๑,๙๖๙ คะแนน

ทั้งหมดนี้ต่างฝ่ายต่างทราบที่มาและที่จะไปกันดีพอควร แต่ฝ่ายนายชาญและพรรคเพื่อไทยคงจะถือว่าการเมืองเป็นเรื่องดิ้นได้ เชื่อว่ากระแส บ้านใหญ่ ๘ บ้านที่ให้การสนับสนุนนายชาญ อาจทำให้การตัดสินคดีทุจริตถูกดองได้

ดูท่าแล้วปัจจัยที่ไม่เข้าใครออกใครต่อ ลุงชาญ ไม่ได้อยู่ที่ผลการตัดสินสุดท้ายของคดี แต่เป็นตัวบทกฎหมายที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้ นั่นคือ พรป.ปปช.พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๘๑ และ ๙๓ บวกความเห็นกรรมการกฤษฎีกาที่ ๑๔๘๖/๒๕๖๕

(https://www.isranews.org/article/isranews/129749-invessddsdsdsdsds.html และ https://www.thairath.co.th/news/politic/2797265) 

นิด้าโพลล่าสุด เพื่อไทยจะแก้เกมอย่างไร Suthichai live กับ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ


นิด้าโพลล่าสุด เพื่อไทยจะแก้เกมอย่างไร Suthichai live 1-7-2567

Suthichai live

Streamed live 10 hours ago

https://www.youtube.com/watch?v=jPjtKKWgAC4


เดือด! ผู้สมัคร สว. โวยแหลก เข้าคูหา #เลือกสว ทีละคน แต่ทำไมลงคะแนนเหมือนกันทุกช่อง ร้องขอความยุติธรรมจาก กกต.

https://www.facebook.com/reel/1515894672686533


ในช่วง 180 วันแรกของวุฒิสภาชุดที่ 13 (ก.ค.-ธ.ค.) มีภารกิจสำคัญอะไรรออยู่บ้าง


บีบีซีไทย - BBC Thai
13 hours ago
·
หากไม่มีอะไรผิดพลาด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศรับรองผลการเลือก สว. ในวันที่ 3 ก.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นวันเริ่มนับสมาชิกภาพของ 200 สว. “ชุดกติกาพิสดาร”
.
แม้ สว. ชุดใหม่สามารถเอาชนะคู่แข่งขันภายใต้กติกาที่ “ซับซ้อนที่สุดในโลก” มาได้ แต่เมื่อสังคมได้เห็นโฉมหน้าของว่าที่สมาชิกสภาสูง เสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวางก็ดังขึ้น แต่ถึงกระนั้น พวกเขาต้อง “รับไม้ต่อ” จาก สว. รุ่นพี่ ทำ 4 ภารกิจสำคัญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
.
ในช่วง 180 วันแรกของวุฒิสภาชุดที่ 13 (ก.ค.-ธ.ค.) มีภารกิจสำคัญอะไรรออยู่บ้าง




https://www.facebook.com/BBCnewsThai/posts/pfbid02wpAL7BBMAepUHem2i6xbZJnJjGrr7t8nuTnKkWa3S9chxktAzyM89V1wCHUiQHaYl


สกิป PISA ได้เลยเธฮ

https://www.facebook.com/somsakjeam/videos/1214334093051630
.....
วิบูลย์ บุญภัทรรักษา
11 hours ago
·
ไม่ต้องส่งไปสอบpisa


ประเทศใดเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ได้วัดที่การมีวุฒิสภา ปัจจุบัน ประเทศที่ไม่มีวุฒิสภา มีมากกว่า แล้วทำไมบางประเทศมี บางประเทศไม่มี ? ถ้ามี เอามาทำหน้าที่อะไร ? และมีที่มาจากไหน ?

https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/videos/1000617268336778


“ศุภวุฒิ สายเชื้อ” ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กางข้อมูล สว. ถามดังๆเป็นตัวแทนประเทศจริงหรือ!!


ThaiPublica
6 hours ago
·
‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ กางข้อมูล สว. ถามดังๆเป็นตัวแทนประเทศจริงหรือ!!
.
| เกาะกระแส | “ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ” ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กางข้อมูล สว. ชี้ “ระบบออกแบบเลือกผิดตั้งแต่ต้น” ไม่สามารถเป็นตัวแทนประเทศได้จริง ระบุกลุ่มสตรี และผู้สูงอายุไม่ใช่กลุ่มอาชีพ แต่มีผู้สมัครเกือบหมื่นคน ขณะที่กลุ่ม 5 อาชีพสำคัญ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม รวมผู้สมัครแค่หลักพัน ส่วนผลการเลือก สว. ยิ่งตอกย้ำระบบที่ไม่ยึดโยงประชาชน จ.อ่างทอง ประชากร 2.7 แสนคน มี สว. 6 คน ขณะที่อุดรธานี ประชากร 1.56 ล้านคน ไม่มี สว. เลย
.
ดร.ศุภวุฒิ บอกกับ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ว่า ภาพรวมการออกแบบการเลือก สว. ต้องยึดโยงตรรกะหรือลักษณะของประเทศ เนื่องจากเป็นการเลือกกันเองที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่เมื่อดูจากจำนวนผู้สมัคร 48,000 คน ในแต่ละกลุ่มสาขาอาชีพ พบว่าไม่ได้สะท้อนลักษณะหรือตรรกะประเทศ
.
“เมื่อการออกแบบผิดตั้งแต่ต้น ผลการเลือก สว. ออกมายิ่งสะท้อนว่ากฎการเลือก สว.ไม่ถูกต้อง จากข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีประชากร 1.58 ล้านคน ได้ สว.จำนวน 14 คน แต่จังหวัดอุดรธานีมีประชากรจำนวนรองลงมา 1.56 ล้านคน ได้ สว. 0 คน” ดร.ศุภวุฒิ กล่าว
.
อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มบนเว็บไซต์ https://thaipublica.org/.../supawut-saichuea-asks.../


เหตุใดองค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามเรื่องพลังงาน จึงมองว่า การสำรองไฟฟ้าที่ "ล้นเกิน" ใน "แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า 2024" จะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายจากต้นทุนการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า กลับมาอยู่ที่ประชาชนมากขึ้น



คนไทยได้หรือเสีย? ควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ "แผนไฟฟ้าแห่งชาติ" ที่จะใช้ถึงปี 2580

ปณิศา เอมโอชา
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
1 กรกฎาคม 2024

“ค่าไฟจะแพงไปถึงเมื่อไหร่ ?” และ “จะถูกลงกว่านี้ได้ไหม ?”

คำถามเหล่านี้จะถูกกำหนดด้วยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือแผนพีดีพี ฉบับใหม่ (PDP 2024) ซึ่งจะครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2567-2580 แผนฉบับนี้เกี่ยวข้องกับค่าไฟของประชาชนอย่างไร และบอกอะไรถึงทิศทางของพลังงานของประเทศ บีบีซีไทยตอบคำถามในบทความนี้


แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของไทย (Power Development Plan-PDP) หรือที่มักเรียกย่อ ๆ ว่า แผนพีดีพี เป็นแผนแม่บทในการบริหารจัดการไฟฟ้าของประเทศในช่วง 15-20 ปีข้างหน้า

จากร่างแผนพีดีพี 2024 ฉบับใหม่นี้ นักวิชาการหลายฝ่ายเห็นตรงกันเรื่องการใช้ชุดข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถูกนำมาใช้คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินความเป็นจริงสำหรับปี 2565-2566 รวมถึงตัวเลขประเมินในอนาคตที่อาจสูงกว่าความเป็นจริงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงเรื่องปริมาณการสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ "ล้นเกิน" มีทั้งฝ่ายที่มองว่ามากเกินจนกลายเป็นภาระของประชาชน กับอีกฝ่ายที่มองว่าการเปลี่ยนถ่ายสู่พลังงานสะอาดยังมาพร้อมกับความไม่แน่นอนและเมื่อคำนวณความเสี่ยงต่าง ๆ เข้าไปแล้ว ตัวเลขที่ได้ออกมาไม่ได้นับว่าสูงเกินไป

บีบีซีไทยพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านแผนพลังงานทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ว่าร่างพีดีพี 2024 ตอบโจทย์ต่อทิศทางพลังงานของประเทศหรือไม่ และจะส่งผลอย่างไรต่อราคาพลังงานที่คนไทยต้องจ่าย

แผนพีดีพี คืออะไร?

แผนพีดีพีหรือแผนแม่บทในการบริหารจัดการไฟฟ้าของประเทศ ครอบคลุมทั้งการประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้า การจัดเตรียมไฟฟ้าเอาไว้ให้เพียงพอและมีความมั่นคง รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

เนื่องจากแผนแม่บทนี้ให้อำนาจผู้กำหนดนโยบายในการประเมินตัวเลขความต้องการไฟฟ้าในอนาคต และต้องจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งหมายถึงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า แผน พีดีพีจึงส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าของคนไทย เช่น ถ้ามีการประเมินว่าจะมีความต้องการไฟฟ้ามาก อาจนำไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

แผนพีดีพี ยังเป็นการตอบโจทย์เรื่องสภาพภูมิอากาศของสังคมโลก เพราะในการจัดหามาซึ่งไฟฟ้าผู้กำหนดนโยบายสามารถออกแบบได้ว่าจะให้ที่มาของไฟฟ้านั้น มาจากพลังงานแบบดั้งเดิม หรือพลังงานสะอาด

สาเหตุที่จำเป็นต้องร่างแผนขึ้นมาใหม่ ทั้ง ๆ ที่ในแผนพีดีพี 2018 ได้วางโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าไว้ถึงปี 2580 อยู่แล้ว สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ให้เหตุผลไว้ 3 ข้อได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจ (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ-จีดีพี) ไม่เป็นไปตามคาด จากการประสบกับวิกฤตโควิด-19, ความต้องการไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป และการปรับนโยบายให้สอดคล้องกับทิศทางพลังงานโลก จากการที่ไทยให้คำมั่นกับนานาชาติโดยตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero greenhouse gas emission) ภายในปี 2065



ค่าไฟเกี่ยวข้องกับแผนพีดีพีอย่างไร

ตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงอย่างน้อยในเดือน ส.ค. ปีนี้ ค่าไฟคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.1805 บาทต่อหน่วย ตามข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจะเป็นผู้ประกาศตัวเลข “ค่าไฟฟ้าผันแปร” หรือที่หลายคนคุ้นหูในชื่อ “ค่าเอฟที”

แม้ค่าเอฟทีจะเป็นตัวเลขที่ตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยครั้ง แต่ยังไม่สะท้อนโครงสร้างค่าไฟทั้งหมดได้

รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และ ผอ.สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า หากมองจากตัวเลข 4.18 บาท จะพบว่าโครงสร้างค่าไฟแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ปัจจัยหลักอย่างต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าถึง 63% ซึ่งในที่นี้คือทั้งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือพลังงานหมุนเวียน ที่ไทยไปรับซื้อมา

ค่าเอฟที ซึ่งจะมีการประกาศทุก ๆ 4 เดือน ก็นับรวมอยู่ในต้นทุนเชื้อเพลิงนี้ด้วย โดยหลัก ๆ เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปจากตัวเลขค่าไฟฟ้าฐานที่คำนวณเอาไว้จากต้นทุนคงที่ หากต้นทุนในการจัดซื้อเชื้อเพลิงลดลง ค่าเอฟทีก็สามารถเป็นลบได้ ส่งให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยในช่วงนั้นถูกลง หรือในทางตรงกันข้ามหากต้นทุนสูงขึ้น ค่าเอฟทีก็กลายเป็นบวกและส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น

ขณะที่ปัจจัยรองประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนระบบจำหน่ายและค้าปลีก และต้นทุนระบบส่งไฟฟ้า ในสัดส่วน 19% 12% และ 6% ตามลำดับ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าค่าเอฟทีในค่าไฟฟ้าของประชาชน จึงเกี่ยวพันอยู่กับทั้งตัวเชื้อเพลิงและโรงงานไฟฟ้า รศ.ดร.กุลยศ อธิบายว่า หากมีการประมาณความต้องการไฟฟ้าที่มากเกิน จนนำไปสู่การสร้างโรงงานไฟฟ้าขึ้นมา แต่ไม่ได้ใช้จริง ต้นทุนตรงนี้ก็ยังตกมาอยู่ที่ประชาชน

ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแผนฉบับนี้สูงแค่ไหน

ในร่างแผนพีดีพี 2024 ค่าพยากรณ์ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (กรณี BASE) ในปี 2580 นั้น จะอยู่ที่ 54,546 เมกะวัตต์

แผนพีดีพียังเป็นตัวที่ระบุความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ

ระบบไฟฟ้าเป็นความมั่นคงของประเทศและต้องมีการบริหารจัดการและจัดเตรียมไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลน เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายพลังงานจำเป็นต้องประเมินให้ได้ว่าในแต่ละปีคนไทยจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหนในกรณีปกติ (Business as usual: BAU)

ตัวเลขนี้พยากรณ์ได้จากการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ตัวเลขจำนวนประชากร รวมไปถึงข้อมูลรายละเอียดการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และโครงสร้างสภาวะเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนี้ ยังอาจมีการคำนวณความต้องการไฟฟ้าเพิ่มเติมจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือนโยบายของรัฐ อาทิ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเรียกความต้องการไฟฟ้าตรงนี้ว่า “กรณี BASE” ซึ่งจะได้ตัวเลขที่สูงกว่ากรณีปกติ

สำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศในร่างแผนพีดีพี 2024 ค่าพยากรณ์ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด (กรณี BASE) ในปี 2580 นั้น จะอยู่ที่ 54,546 เมกะวัตต์ ปรับขึ้นจากแผนพีดีพี 2018 ซึ่งอยู่ที่ 53,997 เมกะวัตต์

ประเมินจีดีพีสูงเกินทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเกินจริงหรือไม่

ในรายงาน 13 ข้อสังเกตต่อร่างแผนพีดีพี 2024 ซึ่งจัดทำโดยองค์กร JustPow (จัสต์พาว) ซึ่งติดตามข้อมูลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในประเทศ ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวเลขจีดีพีที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เลือกมาใช้ในการคำนวณจนได้ออกมาเป็นตัวเลข 54,546 เมกะวัตต์นั้น กลับเป็นชุดข้อมูลเก่าที่มีตัวเลขจีดีพีไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ตัวเลขที่ทางการนำมาคำนวณ เป็นข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2565 โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยจีดีพีระหว่างปี 2565-2580 อยู่ที่ 3.1%

ในชุดตัวเลขของ สศช. ปี 2565 นั้น ประเมินว่าจีดีพีของปี 2565 อยู่ที่ 4.0% ขณะที่ตัวเลขจริงอยู่ที่ 2.6% ส่วนตัวเลขของปี 2566 ที่ประเมินไว้ที่ 3.7% ตัวเลขจริงอยู่ที่ 1.9%

นอกจากนี้ ประมาณการตัวเลขจีดีพีล่าสุดของไทยจากธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับปี 2567 และ 2568 ก็ต่ำกว่า 3% ในขณะที่ตัวเลขของ สศช. ที่เอามาใช้ในการคำนวณไฟฟ้านั้นทะลุ 3% ขึ้นไป

สถานการณ์การคำนวณเช่นนี้จึงทำให้ รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาตั้งคำถามว่า “ตอนนี้เราอยู่ มิ.ย. 2567 แล้ว มันควรจะเอาข้อมูลจริงมาใช้”

รศ.ดร.กุลยศ ซึ่งมีอีกตำแหน่งหนึ่งในฐานะคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บอกกับบีบีซีไทยว่า แท้จริงแล้วแผนพีดีพี 2024 จะต้องทำตั้งแต่ช่วงปี 2022 ทว่าเกิดความล่าช้า จนพอล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน ตัวเลขประเมินจากปี 2565 อาจจะสูงเกินไปแล้ว

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาตัวเลขประเมินจีดีพีระยะยาว รศ.ดร.กุลยศ ชี้ว่า “ยังพยายามมองโลกในแง่ดีอยู่ว่าประเทศไทยไม่ควรจะมีจีดีพีโตต่ำกว่า 3% ซึ่งอาจจะต้องขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย แต่ผมคิดว่าด้วยตัวเลขที่ใช้พยากรณ์ไม่ได้สูงอยู่แล้ว”

นอกจากนี้ รศ.ดร.ชาลี ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า สูตรที่ใช้ในการคำนวณแผนพีดีพี 2024 มีปัญหาเช่นเดียวกันเพราะไม่ได้ผนวกรวมสิ่งที่เรียกว่า “Energy Intensity: EI” หรือ “ปริมาณการใช้พลังงานภาพรวมของประเทศต่อจีดีพี”

เขาอธิบายว่าในโลกปัจจุบันการจะสร้างจีดีพีให้ได้หนึ่งหน่วย ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากเท่าเดิมแล้ว

ข้อมูลจากหลายหน่วยงานทั้ง องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้กรอบความร่วมมือขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โครงการ Our World in Data ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และบริษัทวิจัยเอกชนด้านพลังงานและประเด็นทางสิ่งแวดล้อมอย่าง Enerdata แสดงให้เห็นว่า ในระดับโลกนั้น ปริมาณความต้องการใช้พลังงานต่อการสร้างจีดีพีหนึ่งหน่วยลดลงมาเรื่อย ๆ

สำหรับประเทศไทย สถิติในปี 2022 อยู่ที่ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า 1.25 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อการสร้างจีดีพี 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงมาจาก 1.39 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อการสร้างจีดีพี 1 ดอลลาร์สหรัฐ ของปี 2014

“เพราะฉะนั้นแปลว่าท้ายสุดแล้วมันก็มีโอกาสสูงมากเลยว่าการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าครั้งนี้ก็จะผิดพลาดอีก” รศ.ดร.ชาลี กล่าว

ตัวเลขสำรองไฟฟ้า "ล้นเกิน" หรือไม่ เกี่ยวกับค่าไฟอย่างไร


วันที่ 2 พ.ค. 2567 ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 36,792.1 เมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบรวมทั้งสิ้น 50,724.1 เมกะวัตต์

ไม่เพียงแต่ตัวเลขประเมินความต้องการไฟฟ้าเท่านั้นที่ทำให้หลายภาคส่วนเกิดความกังวล

เมื่อลงไปดูที่แผนตัวเลขการผลิตไฟฟ้าจนถึงปี 2580 อาจทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า หากตัวเลขประเมินความต้องการไฟฟ้าของ สนพ. อยู่ที่ 54,546 เมกะวัตต์ เหตุใดต้องตั้งสำรองไฟฟ้าไว้สูงถึงอีก 57,845 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าสถิติในปัจจุบันขึ้นไปอีก

ข้อมูลในปี 2567 พบว่าเมื่อวันที่ 2 พ.ค. ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 36,792.1 เมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้าในระบบรวมทั้งสิ้น 50,724.1 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นตัวเลขสำรองไฟฟ้าที่สูงถึงเกือบ 38%

รายงานจาก JustPow ชี้ว่า การสำรองไฟฟ้าล้นเกินเช่นนี้จะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายจากต้นทุนการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า กลับมาอยู่ที่ประชาชนมากขึ้นในที่สุด

JustPow วิจารณ์ต่อว่าการที่ สนพ. ปรับมาใช้ดัชนีการเกิดไฟฟ้าดับ (Loss of Load Expectation. LOLE) อย่างเดียว แทนการใช้สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve margin) ที่เคยกำหนดไว้ที่อย่างต่ำ 15% และปรับตัวเลข LOLE จากเดิมที่ 1 วันต่อปี เป็น 0.7 วันต่อปี เป็นการกดดันให้ต้องมีการสำรองไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น และไม่ได้มีการอธิบายเหตุผลมากเพียงพอ

การคำนวณจาก JustPow ชี้ว่า ในแผนพีดีพี 2018 ซึ่งตั้งสัดส่วนปริมาณไฟฟ้าสำรองไว้ที่ 15% และให้ตัวเลข LOLE ไว้ที่ 1 วันต่อปี ส่งผลให้ราคาคาดการณ์ค่าไฟพื้นฐานต่อหน่วยอยู่ที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ดังนั้น จึงตั้งคำถามว่าแล้วถ้าตัดสัดส่วนไฟฟ้าสำรองส่วนเกิน 15% ออก ทั้งยังลดตัวเลขดัชนีการเกิดไฟฟ้าดับลงมาเป็น 0.7 วันต่อปี จะยิ่งเป็นการส่งให้ค่าไฟสูงขึ้นไปอีกหรือไม่



อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.กุลยศ แย้งว่า “ต้องถามว่าคำว่าล้นเกิน เขาวัดจากอะไร เพราะการบอกว่าไฟฟ้ามีเยอะเกิน มีน้อยเกิน ตรงนี้จับต้องได้ยาก และเป็นดุลยพินิจส่วนใหญ่”

รศ.ดร.กุลยศ ซึ่งเป็นหนึ่งในบอร์ด กฟผ. ระบุว่า ระบบการผลิตไฟฟ้าในอนาคตของไทยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเข้ามามากขึ้น จึงทำให้การวัดปริมาณสำรองไฟฟ้าจากแค่จากสัดส่วนไฟฟ้าสำรองมีความผิดเพี้ยน เพราะเมื่อเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อาทิ ระบบโซลาเซลล์ จะมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้เข้ามาเพิ่มเติม


“พลังงานแสงอาทิตย์ เราคุมอะไรไม่ได้เลย... ลมก็เหมือนกัน เราบังคับลมอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราเอามาคิดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองตรง ๆ มันจะเริ่มมีปัญหาแล้ว”

เมื่อไปดูสัดส่วนพลังงานช่วงปลายแผนพีดีพี 2024 พบว่า 51% มาจากพลังงานสะอาด ซึ่งได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ 16% พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ 16% และพลังงานน้ำจากต่างประเทศ 15%

ด้วยแผนในอนาคตที่ไทยจะพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างมาก รศ.ดร.กุลยศ คำนวณให้ดูว่าตามแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าของไทยในปี 2579 กำลังไฟฟ้าสำรองล้นเกินอาจสูงถึง 51.64% แต่นั่นเป็นตัวเลขจากช่วงกลางวัน เพราะถ้ามาพิจารณาความเสี่ยงอื่น ๆ จากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้แล้วนั้น ตัวเลขอัตราไฟฟ้าสำรองในช่วงกลางคืนจะลงมาเหลือแค่เพียง 18.57% เท่านั้น

“ทุกวันนี้ไฟฟ้าล้นเกิน 30-40% เราก็บ่นแล้ว เยอะแล้ว แต่เอาจริง ๆ แล้วอย่างที่บอกมันหลอกตา แล้วตอนกลางคืนทำยังไง เราลองคำนวณดูไฟฟ้าล้นเกินตอนกลางคืน บางปี เช่น ปี 2030 เหลือ 9% เอง ก็ไม่ได้เยอะ” รศ.ดร.กุลยศ กล่าว

แผนพีดีพี 2024 เพิ่มโรงไฟฟ้าใหญ่ 8 แห่ง-เขื่อนในลาว 3 แห่ง

เมื่อการประเมินการใช้ไฟฟ้าและสัดส่วนสำรองสูงขนาดนี้ นำไปสู่คำถามว่า แล้วกระทรวงพลังงาน ตลอดจนหน่วยงานกำกับและบริหารไฟฟ้าของประเทศไทย จะจัดหาพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้มาจากแหล่งไหน

ในแผนพีดีพีใหม่นี้จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซขนาดใหญ่ (IPP) อย่างน้อย 8 แห่ง คิดเป็นความสามารถในการผลิตไฟฟ้ารวม 6,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งคำถามจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรว่า เหตุใดจึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขนาดนี้ ทั้งที่ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลอยู่แล้วราว 36,500 เมกะวัตต์ ทั้งยังมีโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีข้อผูกพันอยู่แล้วและกำลังรอเข้าระบบอยู่อีก 5,310 เมกะวัตต์

ในสายตาของ รศ.ดร.ชาลี นอกจากโรงไฟฟ้าเหล่านี้อาจจะไม่จำเป็น ยังเป็นโรงไฟฟ้าที่ล้าสมัย ไม่ตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งยังไม่ตอบโจทย์เรื่องราคาต้นทุนด้วย

“หลายคนอาจจะคิดว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติราคาถูกกว่าพลังงานหมุนเวียน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย ต้นทุนในอนาคตต่อให้ราคาปัจจุบันคงที่ไปตลอดก็ยังแพงกว่าพลังงานหมุนเวียนอยู่ดี มันมีข้อดีอยู่อย่างเดียวเลย คือ มันมีความมั่นคง มันสามารถสั่งการให้ เปิด-ปิด ตามเวลาที่เราต้องการได้”

นอกจากนี้ ในฝั่งของไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ไทยจะเพิ่มการสร้างเขื่อนในลาวอีก 3 เขื่อน กำลังผลิตรวม 3,500 เมกะวัตต์

ที่ผ่านมาไทยมีสัญญาในการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนลาวมาเป็นเวลานาน โดยรายงานจาก JustPow พบว่า ราคารับซื้อนั้นปรับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดูราคารับซื้อไฟฟ้าก่อนปี 2561 อยู่ที่ 1.70-2.10 บาทต่อหน่วย ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็น 2.92 บาทต่อหน่วย สำหรับโครงการตอนนี้ที่ยังไม่เริ่มก่อสร้างและจะเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบจริงในเดือน ม.ค. 2576

JustPow ตั้งข้อสังเกตว่า ราคารับซื้อของโครงการจากเขื่อนลาวในระยะหลังแพงกว่าอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ แต่โครงการโซลาร์รูฟท็อป กลับไม่มีเป้าหมายออกมาอย่างชัดเจน

ที่ผ่านมาองค์กรระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งได้ออกมาวิจารณ์ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับการสร้างเขื่อนในลาว หรือเหตุการณ์เขื่อนพังถล่ม

รศ.ดร.กุลยศ กล่าวว่า เขาเห็นด้วยว่ากรณีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ลาวมีหลายประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่ว่าเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำไม่คุ้มทุน

“ผมรู้สึกว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำถ้าเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่นก็เป็นโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนถูกและมันก็อยู่กับโลกเรามาเป็นเกือบ 100 ปี”

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าตอนนี้ต้นทุนของโซลาร์เซลล์ถูกกว่าเขื่อนไปแล้ว แต่ย้ำว่าข้อดีของเขื่อนคือสามารถกักเก็บพลังงานได้เป็นจำนวนมาก และเก็บไว้ได้เป็นเวลานานด้วย

สำหรับข้อมูลกำลังผลิตไฟฟ้าล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2567 พบว่า กำลังผลิตตามสัญญาของ กฟผ. คิดเป็น 16,261.02 เมกะวัตต์ ส่วนกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าเอกชน คิดเป็น 34,454,28 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นผู้ผลิตจากต่างประเทศ 6,234.90 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) 18,973.50 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) 9,245.88 เมกะวัตต์

แผนพลังงานที่ยังไม่ “กรีน” พอ



รศ.ดร.ชาลี กล่าวว่า ไทยตั้งเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission) ภายในปี 2065 ทว่าร่างแผนพีดีพีฉบับล่าสุดนี้ จะไม่ทำให้ประเทศบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

เขาอธิบายว่า ตามคำแนะนำจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) หากไทยต้องการจะบรรลุเป้าหมายที่ให้คำสัญญาว่าภายใน 6 ปี ต่อจากนี้ ไทยต้องผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลมไม่น้อยกว่า 30%

ตามแผนพีดีพีล่าสุดนี้ กว่าไทยจะบรรลุสัดส่วนพลังงานที่มาจากน้ำและแสงแดดรวมกันเกิน 30% ก็อยู่ในปี 2580 แล้ว

“เป้าหมายระยะสั้น เราก็หลุดเป้า ส่วนระยะยาว เราก็หลุดเป้า ดูเหมือนว่าเรื่องของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เรายังไม่เอาจริงเอาจังมากพอ” รศ.ดร.ชาลี ระบุ

ในประเด็นนี้ คอร์ทนีย์ เวเธอร์บาย รองผู้อำนวยการแผนกความมั่นคง น้ำ และพลังงาน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากองค์กรสติมสัน เซ็นเตอร์ (Stimson Center) แนะนำว่าประเทศไทยควรหันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และลมให้มากกว่านี้ ซึ่งนอกจากจะมีราคาที่จับต้องได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีที่คนไทยคุ้นชินด้วย

เธอแนะนำว่ารัฐบาลไทยควรหันมาผลักดันโครงการโซลาร์รูฟท็อปที่มีการทดลองมาเป็นเวลานานแล้ว พร้อมเปรียบเทียบว่าโครงการโซลาร์เป็นโครงการที่สามารถบังคับใช้จริงได้ไม่ยาก โดยชี้ว่าเวียดนามสามารถเพิ่มไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์รูฟท็อปได้ถึง 9,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น

ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญยังมองด้วยว่า ตามแผนฉบับนี้ยังนำระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี (Battery Energy Storage System: BESS) มาใช้น้อยเกินไป รศ.ดร.ชาลี เห็นว่าหากประเทศไทยต้องการที่จะเปลี่ยนถ่ายมาสู่พลังงานสะอาดมากขึ้น ตัวเลขการกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี ซึ่งตามแผนระบุไว้ที่ 10,000 เมกะวัตต์ยังน้อยเกินไป

“จริง ๆ เราต้องการแบตเตอรีประมาณ 30,000-40,000 เมกะวัตต์ ถ้าเราจะไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เราต้องการแบตเตอรีเยอะกว่านี้”

จากร่างแผนพีดีพี 2024 พบว่า ทั้งการประเมินตัวเลขจีดีพีและการกำหนดแผนความสามารถในการผลิตไฟฟ้า ล้วนส่งผลโดยตรงต่ออนาคตค่าไฟคนไทยทั้งสิ้น แต่คำถามเรื่องค่าไฟคนไทยจะแพงต่อไปนั้นยังขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานกำกับพลังงานของประเทศอย่าง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะจัดการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแผนของตัวเองอย่างไรหลังเปิดรับฟังความเห็นในครั้งนี้

บีบีซีไทยได้ติดต่อ สนพ. เพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพีดีพี 2024 ดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ

https://www.bbc.com/thai/articles/cd111p45ygqo


LockedStars When will they be released?


Te Neti
8 hours ago
·
When will they be released?
...
อานนท์ นำภา
a day ago
·
ตารางสืบพยาน “เดือนกรกฎาคม 2567”
.
ออกศาลทุกวัน ! เจอกันได้ทุกวัน! ตามตาราง
เซฟเก็บไว้ได้เลยจ้า ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงจะรีบแจ้งให้ทราบ หากวันไหนคดีเลื่อนการพิจารณา มาช่วงเช้า
ก็ยังน่าจะได้ทันเจอ
.
ปล. วันที่ 1 ก.ค. เวลา 13.30 น. ไม่ใช่เช้านะ

.....



ชวนฟัง คำกล่าวสุดท้ายของ รอนิง ดอเลาะ จากเวที ประชาชนออกแบบสันติภาพ เขาถูกยิงเสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 25 มิถุนายน 67 เวลาประมาณ 21.15 น. หน้าบ้านของตัวเอง ใน ม.4 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี


The Motive
15 hours ago·

"ผมไม่เชื่อในสันติภาพ"
คำกล่าวสุดท้ายของ รอนิง ดอเลาะ
จากเวที ประชาชนออกแบบสันติภาพ
นายรอนิง ดอเลาะ อายุ 45 ปี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 25 มิถุนายน 67 เวลาประมาณ 21.15 น. หน้าบ้านของตัวเอง ใน ม.4 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
.
เวที ประชาชนออกแบบสันติภาพ
การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี โดย กรรมาธิการสันติภาพฯ
อาทิตย์ที่ 10 มี.ค. 67 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
.
#TheMotive
#รอนิงดอเลาะ

https://www.facebook.com/TheMotive2020/videos/444698155012784
.....

7 องค์กรสิทธิฯ จี้ทางการคลี่ปมสังหาร 'รอนิง ดอเลาะ' นักปกป้องสิทธิฯ อย่างโปร่งใส-เป็นมืออาชีพ



2024-07-01
ประชาไท

แถลงการณ์ร่วม 7 องค์กรสิทธิฯ จี้ทางการไทยสืบสวนสอบสวนปมสังหาร 'รอนิง ดอเลาะ' นักปกป้องสิทธิฯ อย่างโปร่งใส-เป็นมืออาชีพ เพื่อค้นหาความจริงและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ พร้อมทั้งเยียวยาครอบครัวของรอนิง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม อย่างครอบคลุม

1 ก.ค.2567 จากกรณี รอนิง ดอเลาะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวมลายูมุสลิมถูกสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิตที่บริเวณหน้าบ้านตัวเอง ใน ม.4 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา นั้น ล่าสุดวันนี้ (1 ก.ค.) องค์กรสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) และเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD) ออกแถลงการร่วมเรียกร้องต่อทางการไทยดำเนินการ 5 ประเด็นประกอบดว้ย 1. ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีการฆาตกรรม แบนิง ด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและเป็นมืออาชีพ เพื่อค้นหาความจริงและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้

2. เร่งผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งดำเนินการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ กฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และพ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน อันเป็นกฎหมายที่พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใดๆ ในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งเสริมใหเกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง 3. รัฐไทยในฐานะที่เป็นรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ( CAT ) จะต้องดำเนินการด้วยมาตรการทาง นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถป้องปรามการทรมานและการกระทำที่โหดร้ายฯ ได้จริง

4. รัฐไทยจะต้องเยียวยาครอบครัวของรอนิง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม อย่างครอบคลุม อีกทั้งมีการขอโทษต่อครอบครัวรอนิง รวมถึงสาธารณชน และ 5. การละเลยในการดำเนินการใดๆ ของทางการไทยอาจแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่สวนทางกับการแสดงเจตจำนงที่จะให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

โดยมีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ร่วม กรณีการสังหาร “รอนิง ดอเลาะ” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมลายูมุสลิมและ ผู้เสียหายจากการทรมานหลังถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ

รอนิง ดอเลาะ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวมลายูมุสลิม และเหยื่อจากการทรมานจากการเคยถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ ถูกยิงสังหารด้วยอาวุธปืนเสียชีวิตที่บริเวณหน้าบ้านตัวเอง ในม.4 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา เพียงหนึ่งวันก่อนถึงวันต่อต้านการทรมานสากล (International Day in Support of Victims of Torture) ข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 21.15 น. ชายชุดดำ 2 คน ปิดบังใบหน้า เดินเท้ามาจากหลังบ้านรอนิง ก่อนจะใช้อาวุธปืนยิงใส่รอนิง ทำให้บริเวณลำตัวและใบหน้า ถูกกระสุนปืนยิงเข้าหลายนัด และเสียชีวิตทันทีในทีเกิดเหตุ

รอนิง ดอเลาะ หรือเป็นที่รู้จักในนาม “แบรอนิง” เคยถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงภายใต้กฎหมายพิเศษถึง 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2550-2560 ระหว่างการถูกควบคุมตัวแบรอนิง ถูกกระทำทรมานและปฏิบัติโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จากบันทึกการตรวจสอบกรณีทรมานฯที่กลุ่มด้วยใจได้จัดทำไว้ มีการบันทึกคำบอกเล่าของแบรอนิงถึงประสบการณ์การถูกทรมานที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการถูกซ้อมทรมานทำร้ายร่างกาย การขังในห้องเย็น การให้ยืนหลายวันติดต่อกัน รวมถึงการทรมานทางด้านจิตใจ ภายหลังจากประสบการณ์ที่เลวร้ายดังกล่าว ส่งผลให้แบรอนิงต้องเข้ารับการบำบัดทางด้านจิตสังคม (Psychosocial Support) โดยการแนะนำของกลุ่มด้วยใจ จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเข้มแข็ง เวลาต่อมาแบรอนิงอาสาสมัครร่วมทำงานด้านสันติภาพและปกป้องสิทธิมนุษยชนร่วมกับกลุ่มด้วยใจต่อไป แบรอนิงเป็นกำลังสำคัญในการเป็นอาสาสมัครทำหน้าที่ประสานงานกับญาติ พูดคุยกับเหยื่อจากการถูกซ้อมทรมานจากการควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษในพื้นที่เช่นเดียวกับที่ตนเคยประสบมา เพื่อช่วยเหลือด้านการเยียวยาและฟื้นฟู นอกจากนี้ แบรอนิงยังได้เข้าเรียนหลักสูตรนวดแผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทยและหมอนวดแพทย์แผนไทยเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวอีกด้วย แบรอนิง เป็นพ่อของลูก 5 คน และเป็นผู้ดูแลเด็กกำพร้าอีก 3 คน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เด็กกว่า 8 ชีวิตต้องสูญเสียเสาหลักในครอบครัวอย่างโหดร้ายทารุณ

จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรภาคประชาสังคม เห็นว่า เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญอย่างยิ่ง และตอกย้ำสถานการณ์ความรุนแรงท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ภายใต้การประกาศใช้กฎหมายพิเศษมากว่า 20 ปี ที่ยังคงเลวร้ายและย่ำแย่ต่อไปดังกรณีการสังหารแบรอนิงซึ่งเป็นคนทำงานด้านสันติภาพและเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กรณีดังกล่าวทำให้เกิดบรรยกาศความกลัวจากการคุกคามบุคคลใดที่ต้องการจะใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และแสดงให้เห็นว่า เมื่อภาคประชาสังคมและกลไกตรวจสอบภาครัฐ ตรวจสอบการทรมานฯอย่างเข้มงวดมากขึ้น การใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการสังหารนอกระบบกฎหมาย หรือที่ประชาชนทั่วไปใช้คำว่า “การวิสามัญฆาตกรรม”

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรภาคประชาสังคม ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ทำงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน ขอเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการ ดังนี้

1. รัฐไทยต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีการฆาตกรรมแบนิง ดอเลาะ ด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและเป็นมืออาชีพ เพื่อค้นหาความจริงและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้

2. รัฐไทยต้องเร่งผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ตามที่รัฐบาลซึ่งอ้างว่าได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนได้แสดงเจตจำนงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสามัญครั้งที่ 78 ยืนยันว่าประเทศไทยพร้อมที่จะสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนร่วมกับสังคมโลก โดยรัฐบาลจะต้องดำเนินการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ กฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และพ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน อันเป็นกฎหมายที่พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใดๆ ในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งเสริมใหเกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง

3. การที่คนทำงานด้านสันติภาพ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้เสียหายจากการถูกทรมาน ถูกสังหารอย่างทารุณในบริเวณบ้านของตนเองที่มีภรรยาและครอบครัวอาศัยอยู่ เพียงหนึ่งวันก่อนวันต่อต้านการทรมานสากล บ่งบอกถึงสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมที่ย่ำแย่ในไทย รัฐไทยในฐานะที่เป็นรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ( CAT ) จะต้องดำเนินการด้วยมาตรการทาง นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถป้องปรามการทรมานและการกระทำที่โหดร้ายฯ ได้จริง

4. รัฐไทยจะต้องเยียวยาครอบครัวของรอนิง ดอเลาะ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม อย่างครอบคลุม อีกทั้งมีการขอโทษต่อครอบครัวรอนิง รวมถึงสาธารณชน อนึ่งการขอโทษต่อสาธารณชน หรือ Public Apology เป็นวิธีการและเครื่องมือทางสังคมอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อแสดงความสำนึกผิด และประกาศเจตจำนงถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่ยอมรับว่ามีเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจริง เป็นอาชญากรรมที่รัฐบาลไม่อาจยอมรับได้ และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญที่จะเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าว

5. การละเลยในการดำเนินการใดๆ ของทางการไทยอาจแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่สวนทางกับการแสดงเจตจำนงที่จะให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

สุดท้าย โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรภาคประชาสังคม ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอส่งกำลังใจให้กับครอบครัว ญาติพี่น้องและมิตรสหายของแบรอนิง พวกเราจะไม่หยุดเรียกร้องความยุติธรรมให้กับแบรอนิง และทุกคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

แถลง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2567

1. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

3. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.)

4. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (มพน.)

5. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)

6. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

7. เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)

(https://prachatai.com/journal/2024/07/109775)

ตัวอย่าง ปัญหาคลาสสิกของไทย


Theerapat Charoensuk
14 hours ago
·
หนึ่งในสาเหตุที่วงการงานสร้างสรรค์ไทยไม่ไปไหน นอกจากที่ผ่านมารัฐไม่สนับสนุนโครงสร้างเท่าที่ควรแล้ว คนในวงการยังไม่เก็บข้อมูลตัวเลขให้เป็นระบบ ไม่ตั้งอยู่บนหลักฐาน ไม่มีงานศึกษาวิจัย ไม่ใช้วิทยาศาสตร์สถิติ ไม่วัดผลประเมินผลให้จับต้องได้ ไม่แบ่งปันข้อมูลกัน ฟังแต่เสียงลือ ข่าวลือ ความคิดเห็น ทฤษฎีสมคบคิด คนโน้นว่างั้นคนนั้นว่างี้ มองแต่ในจุดเดียวของตัวเอง ผู้หลักผู้ใหญ่ว่ามา แล้วใส่อารมณ์กันไปมาจนพังด้วยนี่แหละ!
เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ก่อนจะสนับสนุนอะไร เขามาพร้อมรายงานตัวเลขสถิติละเอียดยิบ เอาไปขอทุนรัฐ ขอสปอนเซอร์ธุรกิจ โน้มน้าวให้สนับสนุนได้ ไม่เห็นเขาจะกลัวสรรพากร
เวลาออกมาคุยงานกับองค์กรต่างชาติ เค้าส่งตัวเลขฐานข้อมูลมาให้เราเต็มที่มีรีพอร์ตยาวพร้อมวิเคราะห์ ของเรานี่จะควานหาแต่ละทียากยิ่งนัก ตัวเลขประมาณการเท่าที่พอหาได้ ก็กำลังทำให้มีดีมากขึ้นเท่าเขาบ้าง คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก!
.....

Chatbodin Artharn
a day ago
·
“ผมขออนุญาตไม่จัดกิจกรรมต่อ ทุกคนกลับบ้านได้เลย”
.
วันนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมบอกยกเลิกจัดเวิร์กช็อปกลางคัน เนื่องจากวันนี้ในเวลา 9.00 น. ที่ต้องเริ่มงาน มีผู้เข้าร่วมอยู่ในห้องเพียง 1 จาก 12 คนเท่านั้น
เวลาล่วงเลยมาถึง 9.30 น. ผมสื่อสารกับทุกคนที่เพิ่งทะยอยเข้ามาอย่างตรงไปตรงมาว่าผมรู้สึกแย่ ไม่ใช่เพราะการมาสาย 30 นาทีเท่านั้น แต่เพราะผมกระทบกับการกระทำหลาย ๆ อย่างที่ดูเหมือนไม่ให้เกียรติกันในฐานะคนทำงานคนหนึ่งตั้งแต่วันแรก
ผมย้ำว่าผมไม่ต้องการเกียรติในฐานะวิทยากรผู้สูงส่ง หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ขอได้รับความเคารพในฐานะมนุษย์คนหนึ่งก็พอ
.
แต่เหตุการณ์ก่อนหน้า 30 นาทีดังกล่าว ทำให้ผมจำเป็นต้องยืนยันกับจุดยืนและทางเลือกของตัวเอง เนื่องจากการกระทำดังนี้
1. จากรายชื่อผู้เข้าร่วม 25 คน มีผู้เข้าร่วมที่เข้ามาเซ็นชื่อ ถ่ายรูปตอนเปิดงาน และเดินหายไปจำนวน 13 คนโดยไม่มีการบอกกล่าวแต่อย่างใด ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่เตรียมมาอย่างมาก
2. มีความพยายามของผู้เข้าร่วมบางท่านที่เดินเข้าไปบอกพิธีกรในงานให้ขยับกำหนดการ จากการพักเบรกในช่วง 10.30 น. เป็น 9.00 น. (พักตอนงานเริ่มทันที) โดยอ้างชื่อผู้บริหาร เพื่อที่จะหยิบอาหารว่างก่อนกลับบ้านไป ผมต้องรีบวิ่งไปบอกพิธีกรว่าไม่ต้องขยับแต่อย่างใด
3. ผู้เข้าร่วม 12 คนที่ยังอยู่ มีการเดินเข้า-ออกตลอดทั้งงาน บางช่วงเวลาเหลือ 9 คน ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมอยู่เรื่อย ๆ แม้ว่าทางผมเองจะแจ้งให้กับทุกคนรับรู้ว่าสามารถแจ้งก่อนได้ เวลาใครจะออกหรือจะเข้าร่วม แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
4. มีการเรียกร้องและแซวอยู่บ่อยครั้ง (4 ครั้ง) ว่าให้เลิกงานเร็วกว่ากำหนดการ จาก 16.30 น. เป็น 12.00 น. (เร็วกว่าที่วางไว้ 4 ชั่วโมงครึ่ง) บ้างก็แซวว่าให้จัดกิจกรรมเพียงวันเดียว (จาก 2 วัน)
5. การถ่ายรูปรวมในช่วงเปิดงาน ผู้เข้าร่วมทุกท่านเลือกที่จะถ่ายรูปกันเอง กล่าวคือ ไม่มีการสื่อสารกับวิทยากรว่าจะต้องร่วมถ่ายอย่างไร เรียกภาษาง่าย ๆ ว่า “ทิ้งให้นั่งเฉย ๆ” ทำให้ผมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนเกินของงานนี้
6. เมื่อผมสื่อสารถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น มีการสะท้อนกลับมาว่าการมาสายครั้งนี้ที่จริงแล้วเป็นบททดสอบของผู้เข้าร่วมว่าวิทยากรจะจัดการกับคนที่มาสายอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้ ในขณะที่ผมต้องการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อทำความเข้าใจ
.
หลังจากนี้ อาจมีบทสนทนาบางอย่างที่กล่าวถึงผมในเชิงว่า “สายแค่ 30 นาที ทำไมวิทยากรคนนี้ถึงใจร้ายจัง“
ผมจึงขอใช้พื้นที่สื่อสารตรงนี้ว่า ผมมีสปิริตมากพอที่จะศึกษารายละเอียดและแนวทางการทำงานขององค์กรเพื่อนำมาออกแบบกระบวนการให้สอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด หรือการศึกษาเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำมาออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนในอนาคต
นอกจากนี้ผมยังเห็นถึงความสำคัญของค่าตอบแทนที่มาจากภาษีของประชาชน ที่ทำให้ผมต้องใส่ใจทุกรายละเอียดในกิจกรรม นำไปใช้ได้จริง และไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
.
ผมต้องขอขอบคุณและขอโทษผู้เข้าร่วมที่ตั้งใจมาเรียนรู้เป็นอย่างสูง ผมรู้สึกเสียใจที่ยกเลิกกิจกรรมในครั้งนี้ไป หากมีโอกาส ผมอยากชวนมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างการเรียนรู้กันอีกครั้ง ผมรู้สึกผิดกับตัวเองที่ทำให้คนที่ตั้งใจต้องได้รับผลกระทบไปด้วย
แต่ใด ๆ ก็ตาม ผมยืนยันที่จะคืนเงินค่าตอบแทนวิทยากรในวันที่ 2 และยินดีจะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หากมีผู้เข้าร่วมคนใดต้องแบกรับค่าใช้จ่ายดังกล่าว ด้วยเงินส่วนตัวของผมเอง
จึงขอใช้พื้นที่สื่อสารถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่อาจจะส่งผลต่องานของผมในอนาคต
ขอบคุณครับ

.....
สหพร ทิพย์จำนงค์
19 hours ago
·
ก่อนประเทศจะพินาศเพราะล่มสลายทางเศรษฐกิจ จะมีสิ่งหนึ่งที่คล้ายยันเหมือนกันทั้งโลก
1.ปลอมตัวเลขให้ดีและปิดบังปิดบังด้านเสีย
2.กู้และกู้จนชนเพดานลามไปเกินเพดาน
3.เร่งผันงบผ่านโครงการต่างๆอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะถนนหนทางและเมกาโปรเจ็กท์
และถนนสร้างเพื่อซ่อมยันซ่อมใหญ่ทั้งๆที่ยังไม่พัง
4.ไม่ลดราคามีแต่เพิ่มราคาสาธารณูปโภค
5.โครงการช่วยคนจนต้องผ่านนายทุน
6.ปล่อยให้ราคาเกษตรตกต่ำเพื่อผันเงินชดเชยให้นายทุน
7.คอรัปชั่นรุนแรงทุกระดับ
8.ออกกฎหมายรองรับหรือสนองชนชั้นอำนาจ
9.เร่งสร้างโครงการขายแผ่นดินและทรัพยากรที่เหลือให้ทุนต่างชาติที่มีทุนยักษ์ภายในถือหุ้นเป็นไม้กันหมาภายใต้โครงการชื่อดูดีเช่นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อสร้างอาณาจักรใหม่กัดกินประเทศและเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวเอง(ข้อนี้เป็นของใหม่ที่เกิดจากการถอดบทเรียนเก่า)
มีแต่ชนชั้นนำที่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นต่อไป การกัดกินทุกอย่างอย่างสวาปามในยุคสุดท้ายก็เริ่มขึ้นก่อนพังเพื่อตุนและกว้านซื้อทุกอย่างหลังพัง..อย่างน้อยก็ไปสุขสบายต่างประเทศ


บันทึกเยี่ยมธนพร : 1 เดือนผ่านเหมือนนานมาก คิดถึงลูกจนไม่อยากทำอะไร


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
10 hours ago
·
บันทึกเยี่ยมธนพร: 1 เดือนผ่านเหมือนนานมาก คิดถึงลูกจนไม่อยากทำอะไร
.
.
26 มิ.ย. 2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เข้าเยี่ยม “พลอย” ธนพร แม่ลูกอ่อนชาวอุทัยธานีวัย 24 ปี ที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี ซึ่งเธอถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2567 หลังถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ในคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการใช้บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ของเพจ ซึ่งเผยแพร่ภาพตัดต่อของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เมื่อช่วงปี 2564
.
วันดังกล่าวเป็นวันครบรอบ 1 เดือน ที่ธนพรถูกคุมขังในเรือนจำ เธอเอ่ยขึ้นว่า เวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า บางวันก็รู้สึกเหมือนใจจะขาดเวลาคิดถึงลูก
.
“1 เดือนข้างในของหนู แต่หนูรู้สึกว่าเวลาผ่านไปนานมากแล้ว แล้วแต่ละวันผ่านไปช้ามาก ยิ่งเวลาคิดถึงลูก บางวันมันก็ไม่ไหวเลย ไม่อยากทำอะไรเลย”
.
ธนพรบอกว่า เธอได้ลงชื่อขอพบจิตแพทย์ เนื่องจากรู้สึกได้ว่าตัวเองมักจะมีอารมณ์ดิ่งเป็นบางวัน คอยแต่โทษตัวเองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ครอบครัวแตกแยก ทำให้ลูกไม่มีแม่ บางช่วงเธอรู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่แย่ที่สุด ไม่น่าเป็นแม่เลย
.
“หนูลงชื่อไว้ แต่ยังไม่ได้ไปเจอหรอก ไม่แน่ใจว่าจะได้พบเมื่อไหร่ หนูรู้สึกว่าหนูเศร้าและดิ่งกว่าปกติมาก ไม่แน่ใจว่าเป็นสภาวะหลังคลอดด้วยมั้ย แต่หนูรู้สึกว่าบางครั้งมันเกินจากความรู้สึกตามปกติ”
.
นอกจากนี้ธนพรยังเล่าให้ฟังว่า น้ำนมของเธอยังไหลอยู่ แม้จะไม่เจ็บคัดหน้าอกจนเป็นไข้เหมือนช่วงก่อนหน้านี้แล้ว
.
“หนูพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่จะกระตุ้นน้ำนม เช่น อะไรก็ตามที่ผัดขิง แต่เรือนจำจะมีเมนูขิงอยู่ตลอด มีวันนึงหนูกินเข้าไปก็มีน้ำนมออกมาเลย”
.
สำหรับสุขภาพกายทั่ว ๆ ไป แม้คนในเรือนจำป่วยเป็นไข้หวัดกันอยู่บ้างแต่ธนพรยังสุขภาพดี สิ่งที่เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขคือเรื่อง “เหา”
.
“จนถึงตอนนี้หนูยังไม่ได้หมักเหาเลย คันมาก ๆ” ธนพรแจ้งว่าเธอลงชื่อกับเรือนจำว่าเป็นเหาตั้งแต่ราว 2 อาทิตย์ก่อน แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้รับยาหมักเหา เธอบอกว่าคนในแดนตัดผมสั้นกันหมดแล้วเพราะปัญหาเรื่องเหา
.
“หนูต้องอาศัยสระผมบ่อย ๆ ทุกวัน แต่มันก็ยังไม่หาย มันเจอเป็นตัวเลยพี่” เธอบอก
.
เมื่อถามว่าช่วงที่ผ่านมาเธอได้เห็นลูกบ้างหรือยัง ธนพรเล่าว่า สามีได้เยี่ยมญาติทางไลน์เมื่อวันก่อนและให้เธอได้เห็นลูกแล้ว เพราะก่อนหน้านี้สามีพยายามไม่ให้เธอได้เห็นลูก เนื่องจากกลัวว่าลูกจะกลับมาร้องหาเธออีกครั้งโดยเฉพาะลูกคนโตวัย 2 ขวบ ที่รู้ประสาแล้ว
.
“เขาเยี่ยมมาประมาณ 3 ครั้ง แต่หนูไม่ได้เห็นลูกเลย แม้แต่ขาก็ไม่ได้เห็น หนูบอกว่าขอเห็นลูกหน่อย หนูคิดถึงลูก สุดท้ายก็เลยได้เห็น แฟนเล่าให้ฟังว่า ลูกถามว่าทำไมแม่ไม่กลับมา ทำไมไม่กลับมาอยู่กับเขา” ธนพรเล่าถึงตรงนี้ก็น้ำตาคลออีกครั้ง
.
“พี่รู้มั้ย ตอนนี้ลูกกลัวว่าพ่อจะหนีไปอีกคน เวลาแฟนไปทำงาน ลูกจะถามว่า พ่อจะกลับมามั้ย พ่อจะไปไหน เพราะว่าแม่ก็หนีไปแล้วคนนึง เขาไม่แน่ใจว่าทุกคนจะทิ้งเขาไปมั้ย” เธอพูดด้วยสีหน้าเศร้า การที่แม่ถูกคุมขังไกลบ้านและพ่อต้องออกไปทำงาน สร้างความไม่มั่นคงในจิตใจเป็นอย่างมากให้กับลูกของเธอ
.
ธนพรยังคงปิดท้ายบทสนทนาด้วยการพูดเรื่องการอภัยโทษเช่นเดิม
.
“พี่ ในเรือนจำเขาพูดกันเยอะมาก ว่าปีนี้การอภัยโทษไม่มีการล็อคชั้นนักโทษ แต่จะล็อคมาตรา มาตราที่เกี่ยวกับความมั่นคงจะไม่เข้าเกณฑ์” เธอพูดด้วยน้ำเสียงกังวล “หนูพยายามจะไม่คาดหวังจะได้ไม่ผิดหวัง ถึงไม่ได้ออกแต่อย่างน้อยได้ลดโทษบ้างก็ยังดี”
.
ธนพรพยายามศึกษาวิธีการที่จะได้อยู่กับลูกให้เร็วที่สุด เธอสอบถามเรื่องการย้ายเรือนจำไปอยู่ที่ภูมิลำเนาจากเจ้าหน้าที่ แต่ก็ดูเหมือนเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ย้าย ซึ่งเธอคิดว่าไม่ต่างกันกับการถูกขังอยู่ที่นี่มากนัก นอกจากนี้ธนพรยังคอยศึกษาว่าเมื่อเธอถูกจำแนกแดนแล้วจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง ธนพรยังเข็มแข็งพร้อมเรียนรู้ ปรับตัวและกระตือรือล้นในการติดตามข่าวสาร เธอถามถึงสถานการณ์ข้างนอก รวมถึงความคืบหน้าเรื่องการนิรโทษกรรมประชาชน
.
“ขอบคุณทุก ๆ คนมากนะคะ ที่ยังติดตามข่าวสารของหนูและให้กำลังใจ หนูอยู่ได้เพราะกำลังใจจากทุกคนและการคิดถึงลูก ๆ”
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/68325


ทำไมประเทศนี้ คนจนโงหัวไม่ขึ้นจาก ‘ความจน’


(Photo by CHRISTOPHE ARCHAMBAULT / AFP)

โงหัวไม่ขึ้นจาก ‘ความจน’

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 28 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2567
1 กรกฎาคม พ.ศ.2567

“คนจนมีสิทธิมั้ยครับ” วลีจากเพลงที่โด่งดังระดับตำนานในวงการมาในช่วงหนึ่ง ถึงวันนี้ยังเป็นคำถามที่ไม่ใช่เพื่อหาคำตอบ เพราะต่างรู้กันอยู่แล้วว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปไหน เพียงแค่ยังตะโกนขึ้นมาเพื่อกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงความเจ็บช้ำน้ำใจที่ไม่เคยจางไปจากความรู้สึก

ทุกครั้งที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองทุกพรรคจะพูดถึงการสร้างโอกาสเท่าเทียมของการมีชีวิตที่ดี แต่หลังจากพ้นจากเวลาหาเสียง เป็นที่รับรู้กันว่าเหลือสักกี่พรรค หรือ ส.ส.สักกี่คนที่ยังยืนหยัดที่จะพาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้เดินไปถึงโอกาสที่ให้สัญญาไว้ในช่วงขอคะแนน

เนิ่นนานมาแล้วที่พูดกันถึง “ความเหลื่อมล้ำ” ว่าเป็น “ตัวเซาะกร่อน” ความสุขของการอยู่ร่วมกันอย่างแท้จริง แต่จนถึงวันนี้ “โอกาสที่เท่าเทียม” ก็ยังเป็นความฝันที่คนไทยไม่เคยได้รับการตอบสนองให้ไปถึง

ไม่ใช่ไม่รู้สาเหตุ ด้วยมีการศึกษาวิจัยมากมายในเรื่องนี้ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

ยกตัวอย่างของการศึกษาที่ทำให้เห็นรูปธรรมชัดเจน “KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร” เรื่อง “ภาพรวมความเหลื่อมล้ำไทย” ไว้อย่างน่าสนใจ โดยในเนื้อหาส่วนหนึ่งมีได้ตั้งคำถามว่า “เกิดมาจนแต่สร้างตัวเองจนร่ำรวยเป็นไปได้จริงหรือไม่”

ผลของการศึกษาก็คือ ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในทุกช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยชรา

หนึ่ง โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม คนรายได้น้อยต้องอยู่กับการศึกษาที่คุณภาพแย่ ขณะที่ครัวเรือนรายได้สูงมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้มากกว่า ทำให้มีแนวโน้มได้งานที่ดีและรายได้สูงกว่า

สอง แรงงานไม่มีอำนาจต่อรอง ค่าแรงเติบโตช้า ในช่วงหลังต่ำกว่าการเติบโตของ GDP ธุรกิจเพิ่มกำไรได้จากการผูกขาดขณะไม่มีกฎหมายกำกับให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นระบบ ขาดกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม และขาดนโยบายช่วยเหลือสร้างโอกาสให้กับคนที่มีรายได้น้อย สิ่งที่เกิดขึ้นคือบริษัทใหญ่ที่สุด 5% มีสัดส่วนกำไรกว่า 60% ของรายรับทั้งหมด ส่งผลให้ธุรกิจรายเล็กๆ ไม่สามารถแข็งขันได้เต็มที่ บริษัทใหญ่เข้าถึงบริการทางการเงิน แหล่งทุนได้มากกว่า

สาม ขาดสวัสดิการและกลไกลดความเหลื่อมล้ำ ระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อลดความไม่เท่าเทียมทางรายได้ยังต่ำ

ไม่เพียงเท่านั้น KKP Research ยังชี้ให้เห็น 4 เรื่องสำคัญที่อธิบายความเหลื่อมล้ำในอดีตและความท้าทายในอนาคตของไทย คือ

(1) ประชากรถึง 1 ใน 3 ทำงานในภาคเกษตรและเจอปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

(2) ประชาชนได้รับโอกาสอย่างไม่เท่าเทียมตั้งแต่การศึกษา การทำงาน การทำธุรกิจ และสวัสดิการพื้นฐาน

(3) โควิด-19 จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลงเพราะกระทบกับกลุ่มคนเปราะบาง

(4) ปัญหาสังคมสูงวัยจะมีความท้าทายเพิ่มขึ้นในครัวเรือนที่ยังมีสถานะทางการเงินไม่พร้อม

และยืนยันว่า สถาบันการเมืองไม่เชื่อมโยงกับความรับผิด (Accountability) เป็นปัจจัยที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีอำนาจทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียมและนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ฉุดรั้งการเติบโตระยะยาว

ข้อมูลที่นำสู่การวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ แม้จะเป็นข้อมูลที่เก่าสักหน่อย แต่ก็ชัดเจนว่าความเป็นจริงในวันนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากมายกระทั่งส่งผลให้ต้องมองในมุมใหม่

สภาพชีวิตผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศยังเหมือนเดิมๆ คนจนไม่มีโอกาสรวย หรือมีก็เป็นด้วยเงื่อนไขพิเศษอย่างเหลือเชื่อจริงๆ ขณะที่คนรวยไม่ว่าจะทำตัวเหลวไหลอย่างไรก็ยังรักษานะไว้ได้ เพราะอยู่ในเงื่อนไขและปัจจัยที่ได้เปรียบทุกด้านที่เอื้อชีวิตที่ดีกว่า เหนือกว่าให้อยู่ดี

คำถาม “คนจนมีสิทธิมั้ยคะ” คำตอบไม่เคยเปลี่ยนแปลง

(https://www.matichonweekly.com/column/article_779541)


วันจันทร์, กรกฎาคม 01, 2567

โพลนักวิชาการรัฐศาสตร์พบ กว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ อยากให้ยกเลิกวุฒิสภาไปเสียเลย

มีผู้สมัคร สว.๖๗ อีกคนออกมาโวยเรื่องการทุจริต ไม่โปร่งใส และ กกต.หละหลวมในกระบวนการเลือก ซึ่งถูกวิพากษ์มากล้นว่าซับซ้อนพิสดารเกินควร จาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ บอกจะยื่นศาลปกครองให้ไต่สวนฉุกเฉิน และยับยั้งการประกาศผลชั่วคราว

รูปการณ์อยู่ที่อย่างน้อยๆ กกต.จะต้องขยับทำอะไรสักอย่างเพื่อสนองเสียงเรียกร้องเหล่านี้ เปิดการตรวจสอบเฉพาะบางกรณีที่ถูกร้อง แต่คงไม่ถึงขั้นเข้าไปไล่เรียงกรรมวิธีและขั้นตอนต่างๆ ดูท่าแล้ว กกต.คงจะดึงดันไปสู่การประกาศผลจนได้

แต่ปัญหาของวุฒิสภาไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีมากกว่า การคัดเลือกหรือสรรหาให้ได้มาซึ่ง สว.ไม่ต้องตามหลักการ ตัวแทนประชาชน เฉกเช่นที่วุฒิสภาก็ควรเป็น ทั้งครั้งนี้และครั้งก่อนล้วนออกแบบมาให้รักษาและสืบทอดอำนาจรัฐประหาร

เสียงเรียกร้องให้ยกเลิกการมีสภาที่สอง ซึ่งอ้างว่าเป็นสภาของผู้ทรงคุณวุฒิ (แต่แท้จริงไม่เคยได้เป็นเช่นนั้น) มีมานานพอสมควร และมีอยู่ตราบเท่าที่การสืบทอดอำนาจรัฐประหารยังทำงานของมันอยู่มิขาดสาย ครั้งนี้ก็เช่นกัน

เสียงเรียกร้องให้ยกเลิกวุฒิสภาได้แล้ว มีทั้งเกี่ยวเนื่องกับเจตนาซ่อนเร้นจำบังของการจัดตั้งวุฒิสภา และที่เป็นแนวคิดอิสระ จากผลพวงแห่งการมีสภาที่สองคอยกำกับ และกำชับอำนาจของฝ่ายทหาร ชนชั้นนำ และศักดินา มาช้านนาน

การทำโพลเกี่ยวกับ “ยกเลิก สว.เสียทีดีไหม” ริเริ่มโดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผลออกมาชี้ว่าวุฒิสภาไทยไร้ค่า ไม่น่าเชื่อถือ และขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ

จากตัวอย่างผู้ให้ความเห็นกว่า ๔ พันคน ซึ่งนักศึกษา ๑๒๗ คนออกไปสัมภาษณ์ใน ๔๗ จังหวัดทั่วประเทศ นั้นบ่งชัดว่า กว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ อยากให้ยกเลิกสภาที่สองนี้ไปเสีย ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ความรู้ระดับปริญญาตรี และเป็นนักศึกษา

ทั้งที่ขอบข่ายของผลโพลนี้ยังไม่หลากหลายมากนัก แต่การเจาะเข้าถึงตัวอย่างกว้างขวางพอประมาณ ทำให้เป็นตัวแทนเสียงเรียกร้องที่ดังพอสมควรทีเดียว หากการยื่นคำร้องยับยั้ง สว.๖๗ สำเร็จ นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยกเลิก สว.ในอนาคต ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล

(https://prachatai.com/journal/2024/07/109771 และ https://thansettakij.com/politics/600576)

คิดอะไรไม่ออกบอกซอฟเพาเวอร์ ปังแน่นะวิ !


ข่าวไหม่วันนี้โหนกระแส - แจ้งข่าว
11 hours ago
·
เกษตรกรปลื้ม! นกยกเตรียมดันหอมแดงเป็นซอฟท์พาวเวอร์ ชี้สามารถช่วยเพิ่มมูลค่า ฤดูกาลหน้าได้ราคาดี กิโลละ20 แน่ ‎ ‎

ดร.นณณ์ ขอบ่นงานประมงน้อมเกล้า


บรรยายภาพ
ปลาในภาพ กับปลาในตู้คนละชนิดกัน ชื่อไทยกับชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาคนละชนิดกัน ชื่อวิทยาศาสตร์สะกดผิดและเขียนผิดหลักวิชาการ ข้อมูลเป็นของปลาในชื่อวิทย์ฯ ซึ่งเป็นปลาตู้ข้างๆซึ่งในตู้ข้างๆไม่มีปลา เพราะปลาตายไปแล้วตั้งแต่วันแรก

Nonn Panitvong
Yesterday
·
ขอบ่นงานประมงน้อมเกล้า
คือ...ก่อนอื่นจะบอกว่านี่บ่นด้วยความรักยิ่ง ไม่มีเจตนาจะโจมตีหน่วยงานไหนหรือผู้จัดหรือผู้รับเหมาหรือผู้สั่ง อันนี้บ่นในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เด็กคนหนึ่งที่ไปงานนี้มาทุกปีไม่เคยพลาดมาอย่างน้อย 30 กว่าปี
ไม่รู้ว่ามนต์ขลังมันหายไปตอนไหน งานประมงน้อมเกล้าเคยเป็นงานกึ่งวิชาการกึ่งจัดแสดงสร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจ กึ่ง trade show แต่หลายปีที่ผ่านมามันคืออะไรไม่รู้
คือคนไปดูคาดหวังจะไปดูว่าปีนี้กรมประมงมีงานวิจัยอะไรใหม่ๆออกมาบ้าง เทคโนโลยี การจัดการ ประเทศไทยมีการค้นพบปลาชนิดใหม่บ้างไหม? มีปลาอะไรมาทำอะไรที่มันมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจบ้างไหม? วิธีการเลี้ยงปลาใหม่ๆ ปลาชนิดใหม่ที่พบได้ สัตว์น้ำอะไรกำลังขายดี หน่วยงานได้ทำกิจกรรมอะไรเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของปลา อะไรทำนองนี้ ซึ่งแต่ก่อนเคยมี เคยมีจริงๆ
วันนี้และหลายปีที่ผ่านมา ไม่รู้งานวิชาการเหล่านี้หายไปไหนหมด คือจะมีทุกปีก็แสดงปลาประจำปี แบบปีนี้ปีมังกร ก็เอาปลาที่มีชื่อมังกรมาจัด ปีม้าก็เอาปลาชื่อม้ามาจัด มีปลาเสริมดวงโชคลาภ มีทุกปี เลี้ยงไอ้นี่จะได้เรื่องความรัก ไอ้นี่เรื่องค้าขาย คือ...คนดูได้อะไรจากของแบบนี้? นอกจากโอเค อาจจะรู้จักชนิดปลาเพิ่มขึ้น แต่....
ป้ายชื่อแม่งผิดทุกปี ย้ำว่าทุกปี ทั้งๆที่ป้ายทั้งงานปลาที่จัดทั้งงานมีเต็มที่ไม่เกิน 100 ชนิด ย้ำว่าผิดทุกปี ผิดหลายป้ายด้วย ผิดจนกลายเป็นความสนุกสนานว่าไปจับผิดป้ายกัน
แล้วปลาก็สภาพแย่มาก ปีนี้ปลาที่มาแสดงบางตัว ป่วย เยิน คือปลาที่จะมาจัดงานแบบนี้ ต้องเป็นปลาที่คุ้นเคยกับการอยู่ในตู้ เจอคน เดินผ่านไปผ่านมา กินอาหารได้ แต่สภาพที่เห็นคือ ปลาเยินๆ เหมือนเพิ่งจับมาจากแม่น้ำหรือเพิ่งตีอวนขึ้นมาจากบ่อ ปลาตื่น สภาพแย่ ป่วย จะเอามาจัดแสดงแบบนี้ต้องวางแผนล่วงหน้า ต้องเตรียมตัวปลาให้ดีกว่านี้ วันนี้แค่วันที่สองก็เริ่มมีตู้ที่ไม่มีปลาเพราะป่วยตายแล้ว
แล้วตู้ที่จัดบางตู้ อย่างปีนี้มีส่วนที่เรียกว่า minimal เหมือนจะแบบเป็นส่วนจัดตู้ง่ายๆให้คนมานั่งถ่ายรูปเก๋ๆแต่แบบ มีตู้นึงเป็นตู้ขนาดไม่น่าจะเกิน 30-40 ลิตร ใช้กรองแขวนอันเท่ากำปั้นแล้วใส่ปลาการ์ตูนไว้ 20 กว่าตัว หรือเอากุ้งแคระมาเลี้ยงในแก้วแชมเปญเป็นสิบตัว คือ...คนเห็นเค้าจะคิดว่า อ้อแบบนี้เลี้ยงได้ ทั้งๆที่จริงๆ เลี้ยงแบบนี้ตายแน่นอน ทำไมถึงจัดแสดงสร้างความเข้าใจผิดๆให้กับประชาชน?
แล้วของบางอย่างที่เอามาจัดแสดง อย่างปลาซิวแม่แตง มันปลาระดับ ปลาเฉพาะถิ่นของไทย มีความสวยงาม กรมประมงเพาะพันธุ์ได้แล้ว พร้อมส่งเสริมเป็นปลาสวยงาม หรือ การ่าหางแดง พบโดยคนไทย ในประเทศไทย บรรยายโดยคนไทย ชื่อคนไทย เพาะได้ครั้งแรกในโลกโดยคนไทย ปลาทั้งสองชนิดอยู่ในตู้รวมขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้มีป้ายโดดเด่นอะไร เหมือนไม่เห็นค่าใดๆ และแทบจะไม่เห็นปลา ตู้ถัดไปเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำกับปลาซิว ทั้งๆที่ถ้าอารมณ์ดีๆเสือพ่นน้ำมันกินปลาซิว
ส่วนที่เป็นสวนๆแล้วมีบ่อปลาคาร์พตื้นๆมีไว้ทำอะไร?
ตะพาบม่านลาย ก็เอาตัวใหญ่มาจัดแสดง ในบ่อตื้นๆโดยที่ไม่ได้สนใจเลยว่ามันจะเครียดกับการเคลื่อนย้าย การถูกเปลี่ยนที่อยู่ การต้องมาอยู่ในน้ำเย็นๆ ไม่ได้กินอาหาร คุณภาพน้ำก็อาจจะไม่ดีด้วย อยากแสดงม่านลาย ตะพาบหัวกบ เข้าใจได้ แต่จัดให้มันดีกว่านี้ ให้เกียรติ์มันมากกว่านี้ และเอาตัวเล็กมาหน่อยก็ได้ ทำไมต้องเสี่ยงกับตัวระดับพ่อแม่พันธุ์?
ที่น่าบ่นอีกของปีนี้คือตัวอย่างปลาหวีเกศ ที่ไปยืมเค้ามาจัดแสดงแล้ววางอยู่บนโต๊ะพร้อมป้ายเล็กๆ ปล่อยให้คนหยิบจับ เขี่ย ได้สารพัด นี่คือตัวอย่างสำคัญระดับโลกของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว มีไม่กี่ตัวในโลก มูลค่าไม่รู้จะหาอะไรมาเทียบแล้ว เอามาวางแบบ...ไร้ค่าเหมือนโหลปลาร้า
ทั้งๆที่อุตสาหกรรมประมงไทย ทั้งคนกิน ปลาสวยงาม อาหารปลา/สัตว์น้ำ ไม่ใช่เล็กๆ มันควรเป็นงานที่ประเทศได้โชว์ศักยภาพ มีบริษัทใหญ่ๆมาออกงาน มีต่างชาติมาดู สร้างเครือข่าย สร้างธุรกิจ
แล้วสถานที่จัดงาน ขอให้มันเป็นฮอลดีๆใหญ่ๆเป็นสัดเป็นส่วน ให้มันมีความเป็นทางการ หน่อยผมว่าคนอาจจะอยากมาออกบู๊ทกันมากขึ้น อยากเห็นทั้งเจ้าใหญ่ที่เอาของมาแสดง อยากเห็นบู๊ทเล็กที่ฟาร์มปลาปอม ปลาทอง ปลากัด รังปลาส่งออก ไม้น้ำ เอาของดีๆมาขายกัน ปีนี้แม้แต่เจ้าใหญ่สุดของประเทศยังไม่มาเลย
งานสัตว์เลี้ยง งานหมางานแมวต้นไม้ จัดกันปีไม่รู้กี่รอบ คนยัดกันเต็มฮอลทุกงาน เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่รู้เท่าไหร่ งานปลาใหญ่ๆของไทยปีนึงมีงานเดียว แต่ง่อยลงเรื่อยๆทุกปี ทำไม? ปีนึงกรมประมงมีงานใหญ่ที่จะแสดงผลงาน ที่จะสื่อสารกับประชาชนแค่ครั้งเดียว ทำให้ดีสิครับ
สภาพงานตอนนี้ มันกึ่งๆงานวัด แล้วอะ
เอางานประมงน้อมเกล้าดีๆคืนมาให้ประชาชนทีครับ ขอร้อง
จากคนที่ไปทุกปี ผิดหวังทุกปี ทั้งๆที่ไปโดยแทบจะไม่หวังอะไรแล้วก็ตาม

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=10228962488259913&set=a.1384679450001)


ซุ้มเฉลิมพระเกียรติร.10 ราคา4.28ล้านบาท อยู่ที่อำเภอหนึ่งของ จ.ขอนแก่น มีคนถาม แพงเกินไปไหม


อิสระ เสรีภาพ is feeling curious.
2 days ago
·
ซุ้มเฉลิมพระเกียรติร.10 ราคา4.28ล้านบาท อยู่ที่อำเภอหนึ่งของ จ.ขอนแก่นแพงเกินไปไหม ขอถามผวจ.ขอนแก่นและผู้รู้ในวงการก่อสร้างครับ


เรื่องราวของคุณแม่ชาวชาวอาร์เจนตินา ผู้ไม่ยอมเชื่อฟังกฎหมายเมื่อมันอยู่ข้างความอยุติธรรม สืบค้นเรื่องราวของเด็กเสียชีวิต จนตัวเองถูกขู่ฆ่าหลายครั้ง และต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เพื่อค้นหาสาเหตุการตายอย่างผิดปกติ


ลูกสาวที่เพิ่งเกิดของโซเฟียมีชีวิตอยู่แค่ 3 วันก่อนเสียชีวิต

แม่ชาวอาร์เจนตินากับภารกิจค้นหาสาเหตุที่เพื่อนบ้านตายต่อเนื่อง

อาห์เมน คาห์วาจา
บีบีซี เอาต์ลุก โปรแกรม
29 มิถุนายน 2024

เมื่อปี 1997 โซเฟีย กาติกา อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในตอนกลางของอาร์เจนตินา แต่แล้วเหตุการณ์เลวร้ายก็เปลี่ยนชีวิตที่สงบสุขของเธอไป

"นานดี" ลูกสาววัยทารถของเธอ มีอายุเพียง 3 วัน ตอนที่เธอเสียชีวิต ทีมแพทย์รีบเข้าผ่าตัดหลังจากพบปัญหาในไตของเธอ แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้

"ท้ายที่สุดพวกเขานำลูกสาวมาให้ฉันหลังจาก 3 วันแล้วพูดว่า 'นี่ลูกสาวของคุณ' แล้วก็ผลักลูกมาให้ฉันแค่นั้น" เธอบอกกับบีบีซี ในการสัมภาษณ์ปีที่แล้ว

"พวกเขาทิ้งลูกสาวไว้ในอ้อมแขนของฉัน ฉันอุ้มเธอไว้ ตัวเธอยังอุ่น ๆ แต่ตายแล้ว" โซเฟียย้อนความจำ

"มันยังเป็นเรื่องยากสำหรับฉันที่จะพูดถึงเรื่องนี้

"ฉันพาเธอกลับบ้านและฝังร่างของเธอ"

ความตายที่ผิดปกติ

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างยิ่งว่า มันเป็น "ช่วงเวลาที่ยากมาก" สำหรับคุณแม่วัยสาว เธอกลายเป็นอัมพาตเพราะความโศกเศร้า โซเฟียที่ไม่สามารถออกจากบ้านในย่านอิทูซางโก (Ituzaingó) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายเมืองโคร์โดบา เป็นเวลาหลายสัปดาห์

เมื่อเพื่อนบ้านของเธอพูดว่าการเสียชีวิตของนานดีนั้นผิดปกติ โซเฟียจึงเริ่มใคร่ครวญถึงสาเหตุที่ไตของเด็กน้อยวัยสามวันล้มเหลว

"มันเป็นช่วงเดียวกับตอนที่ฉันเริ่มเห็นเพื่อนบ้านอีกคนที่เป็นครู เดินผ่านหน้าบ้านทุกวัน โดยสวมใส่ผ้าเช็ดหน้าสีขาว" โซเฟียกล่าว

เมื่อถามถึงผ้าเช็ดหน้า เพื่อนบ้านบอกโซเฟียว่าเธอเป็นมะเร็ง

"ฉันเริ่มเห็นเด็ก ๆ ใส่หน้ากากปิดปาก เห็นแม่ ๆ ที่พันศีรษะด้วยผ้าพันคอเพื่อปกปิดศีรษะที่ล้านจากการทำเคมีบำบัด," โซเฟียกล่าว

"นั่นเป็นเวลาที่ฉันเข้าใจ ฉันเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นทั้งหมด" เธอกล่าว


โซเฟียเริ่มเดินเคาะประตูบ้านทีละหลังในละแวกของเธอ เพื่อทำแผนที่ที่บอกตำแหน่งที่มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น

กรณีศึกษา

ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจ และการเสียชีวิตของเด็ก เพิ่มขึ้นอย่างมากในอิทูซางโก

"ฉันเริ่มเคาะประตูทุกบ้านในย่านของฉัน ถามเพื่อนบ้านว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คนที่เจ็บป่วย และพวกเขาเป็นโรคอะไร" โซเฟียอธิบาย

เธอค้นพบว่ามีผู้คนอีกมากมายในเมืองที่สูญเสียลูกเล็ก ๆ หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง

"ในพื้นที่เพียงย่านเดียว ฉันพบว่ามีเด็ก 5 หรือ 6 คน เสียชีวิต"

การหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ทำให้เธอเริ่มลงมือทำบางอย่าง

โซเฟียได้ก่อตั้งกลุ่ม 'มารดาแห่งอิทูซางโก' ร่วมกับผู้หญิงที่อยู่ในย่านเดียวกับเธอ 16 คน

กลุ่ม 'มารดาแห่งอิทูซางโก' เริ่มตรวจสอบการเสียชีวิตในท้องถิ่นทีละกรณี และแล้วทุกสายตาก็พุ่งไปที่ตัวแปรร่วมอย่าง ถั่วเหลือง

บริเวณใกล้กับชุมชนที่อยู่อาศัยในอิทูซางโก รวมไปถึงรอบ ๆ เมืองแห่งนี้ มีการปลูกถั่วเหลืองที่เกษตรกรใช้สารเคมี เช่น ไกลโฟเซต ที่ใช้กำจัดวัชพืช

ไกลโฟเซต ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้มากที่สุดในโลก ถูกพัฒนาในทศวรรษ 1970 โดยบริษัทมอนซานโตของสหรัฐอเมริกา

"อาจเป็นสารก่อมะเร็ง"

ปัจจุบัน ไกลโฟเซตได้รับการผลิตโดยหลายบริษัทและได้รับการรับรองว่าปลอดภัยโดยหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก รวมถึงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แต่การใช้สารนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่

ในปี 2015 องค์การวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลก สรุปว่าไกลโฟเซต "อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์"

อย่างไรก็ตาม สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชนี้ปลอดภัยเมื่อใช้อย่างระมัดระวัง

หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ระบุเช่นกันว่า ไกลโฟเซตไม่น่าจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์

ถั่วเหลืองที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมสามารถทนทานต่อไกลโฟเซตได้ ดังนั้น เมื่อใช้สารนี้กับพืช ไกลโฟเซตจะกำจัดเฉพาะวัชพืชและไม่ทำลายต้นถั่วเหลือง

ผลที่ตามมาคือ แทนที่พืชที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมควรจะใช้สารกำจัดวัชพืชน้อยลง แต่เนื่องจากวัชพืชเริ่มทนทานขึ้น ปริมาณสารกำจัดวัชพืชจึงถูกใช้มากขึ้น

ในอิทูซางโก สารเคมีหลายชนิดถูกฉีดพ่น และปล่อยให้แพร่กระจายไปตามลม


ในอาร์เจนตินา ไร่ถั่วเหลืองมักถูกฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืช

น้ำปนเปื้อน

กลุ่มมารดาแห่งอิทูซางโกค้นพบว่า อัตราการเกิดมะเร็งในพื้นที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศถึง 41 เท่า ทั้งยังมีอัตราการเกิดโรคทางระบบประสาทและทางเดินหายใจที่สูงขึ้น อัตราการเกิดภาวะความพิการแต่กำเนิด และอัตราการตายของทารกที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรสยืนยันว่า ปัญหาสุขภาพที่พบในอิทูซางโกเกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ในขณะที่อันเดรส การ์ราสโก นักวิจัยชีววิทยาโมเลกุล ยืนยันว่าไกลโฟเซตเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของตัวอ่อน

บริษัทมอนซานโต ตอบโต้ข้อกล่าวหาด้วยการกล่าวว่า "ไม่มีหลักฐานว่าการใช้ไกลโฟเซตอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงเช่น [โรคนี้]"

ในที่สุด เจ้าหน้าที่ตกลงที่จะทดสอบแหล่งน้ำในท้องถิ่น และยืนยันว่ามันปนเปื้อน

"เราไม่เคยรู้ว่าเรากำลังอาศัยอยู่ในย่านที่ปนเปื้อน หลายคนที่เป็นมะเร็งไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น" โซเฟียกล่าว

"เราไม่ได้รับแค่สารเคมีเกษตรชนิดเดียว แต่ได้รับสารพัดสารเคมีเกษตรหลายชนิดผสมกัน"


เหล่านักเคลื่อนไหวตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะต้องหยุดยั้งการใช้สารเคมีเหล่านี้

"หลังจากที่เราพบว่าเราดื่มน้ำปนเปื้อน ทุกครั้งที่เราเห็นรถแทรกเตอร์ฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช เราจะเข้าไปขวาง," โซเฟียบอกกับบีบีซี

เพื่อต่อสู้กับเหล่าผู้ประท้วง ชาวไร่และเจ้าของที่ดินเริ่มฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชจากเครื่องบิน

การขู่ฆ่า

โซเฟียถูกจับกุมในปี 2018 ที่เมืองดีเก ชิโก จังหวัดโคร์โดบา ระหว่างการประท้วงเพื่อป้องกันการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช

หลังจากเกิดการประท้วงเป็นเวลาหลายปี ท่ามกลางปัญหาสุขภาพที่ยังคงเกิดขึ้นในท้องถิ่น ในที่สุดทางการของโคร์โดบา ก็ตกลงที่จะสอบสวนผลกระทบของสารเคมีเกษตรในจังหวัด

อาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมรายใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ โซเฟียกล่าวว่าหลายคนในชุมชนรู้สึกถูกคุกคามจากการประท้วง

เธอกล่าวว่า การสอบสวนซึ่งเป็นผลจากข้อเรียกร้องของกลุ่มมารดาแห่งอิทูซางโก นำไปสู่การขู่ฆ่า

"พวกเขาทำสัญลักษณ์ที่บ้านของฉัน ส่งคนมาทุบหน้าต่างเพื่อข่มขู่เรา ทำให้เรากลัว เพื่อให้เราย้ายไปที่อื่น แต่เรายังคงอยู่แม้จะกลัวก็ตาม"

ในปี 2012 หน่วยงานยุติธรรมของโคร์โดบา สั่งห้ามการฉีดพ่นสารเคมีเกษตรใกล้พื้นที่เมือง

ไม่นานหลังจากนั้น พื้นที่อื่น ๆ ในอาร์เจนตินาก็เริ่มมีการจำกัดการใช้สารเคมีเกษตรเช่นกัน

เมื่อบริษัทมอนซานโตเริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิตเมล็ดข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในอีกเมืองชนบทหนึ่งอย่างมาลวินาส ซึ่งอยู่ในจังหวัดโคร์โดบาเช่นเดียวกัน โรงงานนั้นก็ถูกต่อต้านโดยโซเฟียและกลุ่มมารดาแห่งอิทูซางโกเช่นเดียวกัน

บริษัทมอนซานโตไม่ได้ประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการ แต่ขายที่ดินและจากไป

"เรื่องราวจบลงด้วยชัยชนะของเรา เราขับไล่พวกเขาออกไป เราไม่ยอมให้พวกเขาสร้างโรงงานและพวกเขาก็จากไป" โซเฟียกล่าว

ในปีเดียวกันนั้น โซเฟียได้รับรางวัล Goldman Environmental Prize ซึ่งถือว่าเป็น "รางวัลโนเบลด้านสิ่งแวดล้อม"

การต่อสู่ในชั้นศาล


โซเฟียถูกขู่ฆ่าหลายครั้งอันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเธอ

ในปี 2018 บริษัทสัญชาตืเยอรมันอย่างไบเออร์ (Bayer) ซื้อบริษัทมอนซานโตในข้อตกลงมูลค่า 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ไบเออร์ควบคุมตลาดมากกว่า 1 ใน 4 ของการจัดหาพันธุ์พืชและสารกำจัดศัตรูพืชทั่วโลก

ทว่าภายในปี 2024 ไบเออร์ถูกฟ้องมากกว่า 50,000 คดี ในสหรัฐอเมริกา โดยคำร้องกล่าวหาว่าสารกำจัดวัชพืชภายใต้ชื่อการค้า "ราวด์อัพ" (Roundup) ของมองซานโต ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จนถึงปัจจุบันบริษัทได้จ่ายเงินมากกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการยุติคดี

"เรามีอัตราการเกิดมะเร็งสูงอยู่แล้วที่นี่ หากบริษัทยังคงอยู่ เราจะมีผู้ป่วยมากกว่านี้อีกมาก ดังนั้นสิ่งที่เราทำสำเร็จคือความสำเร็จในแง่ของสาธารณสุข" โซเฟียกล่าว

สหพันธ์วิชาชีพทางการแพทย์แห่งอาร์เจนตินาเรียกร้องให้สั่งห้ามการใช้ไกลโฟเซต แต่ข้อเสนอแนะที่ว่ามันอาจเป็นอันตราย ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก

ปัจจุบันสารกำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของไกลโฟเซตถูกจำกัดหรือสั่งห้ามใช้ใน 36 ประเทศทั่วโลก

ในเดือน พ.ย. 2023 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกกฎระเบียบที่มีผลบังคับเหนือกฎหมายของแต่ละประเทศ เพื่อขยายใบอนุญาตไกลโฟเซตออกไปอีก 10 ปี

หลังจากเกือบสามทศวรรษ โซเฟียยังคงยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม

"ฉันไม่เชื่อฟังกฎหมายเมื่อมันอยู่ข้างความอยุติธรรม เมื่อมีความอยุติธรรม ฉันจะลงมือทำ"

https://www.bbc.com/thai/articles/czk04193egzo


อยากเถียง ก็เถียงมา....



https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0nM45Q9davB1wB5qyJcCt2UNFxp8EFqFoonsHhahXZA9vHcUXCNpECnkdZLA8t6Yzl&id=100003816440365&ref=embed_post
.....
คงจะขี้อาย
ความเห็นหนึ่ง


Leica Gallery Frankfurt จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นครั้งแรกในระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อ “Journey Through the Lens” ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-17 ส.ค. 2567 ณ เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี

(https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/7660420784011134?ref=embed_post)
.....

https://www.instagram.com/voguethailand/reel/C8vyhOhP96u/