วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 04, 2567

‘ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ’ ให้ข้อคิดไทยอยากเข้าเป็นมนตรีสิทธิมนุษยชน ต้องแก้ไขเรื่อง “คดีทั้งหลายที่เกี่ยวกับเด็กประมาณ ๒๘๐ กรณีในสามปี”

เห็นข่าวแว่บๆ มาพักหนึ่งตั้งแต่หลังปีใหม่ว่า ปีนี้ผู้แทนไทยในสหประชาชาติอยากเสนอตัวเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนขององค์กรโลกกับเขาบ้าง ก็มีเสียงกระซิบเข้าหูว่า เออนะ ช่างกล้า ทั้งที่สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยเลวร้ายไม่แพ้ผลพวงรัฐประหาร

อาจมีใครไอเดียปิ๊งสร้างภาพให้กับรัฐบาลเศรษฐาก็เป็นได้ จนกระทั่งได้อ่านข้อคิดเห็นของ “ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ” จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ประเมินความเป็นไปได้ ชี้ให้เห็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อย ให้ผู้ฟัง ผู้อ่านไปหักลบเอาเอง

จุดเด่นอันดับแรกคือ ไทยเคยเป็นสมาชิกมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ๔๗ ประเทศ ช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๖ มาแล้ว ศักดิ์ศรีมีอยู่ แต่ไปเปรอะเปื้อนด้วยการรัฐประหารปี ๒๕๕๗ ซึ่งไทยเสนอตัวเข้าเป็นกรรมการอีกครั้ง ก็ต้องหน้าแตกไม่ได้รับเลือก

วิทิต มันตาภรณ์ พูดถึง “ส่วนที่ดีที่สุดสำหรับผมคือเรื่องสาธารณสุข” ซึ่งทำให้ “ประเทศไทยน่าจะภูมิใจ” กับ สัญญา ที่ไทยให้ไว้กับสหประชาชาติในด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ข้อตกลงอนุสัญญาต่อต้านการอุ้มหาย และ “เรากำลังจะยอมรับหลักประกันให้แก่ผู้ลี้ภัย”

จุดที่ไม่ดี “ต้องมีการแก้ไขส่วนเหลือของเผด็จการที่มีอยู่ วิทิตชี้ให้ไปดูข้อที่สหประชาชาติเคยแสดงออกมาเตือนไว้แล้ว (มากกว่าสองครั้งตักเตือนเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา ๑๒) วิทิตไม่บอกตรงๆ แต่ก็เอ่ยถึง “การปฏิบัติต่อเด็กในช่วงนี้”

“ที่เราได้ยินคือคดีทั้งหลายที่เกี่ยวกับเด็กประมาณ ๒๘๐ กรณีในสามปี เราจะพัฒนาอย่างไรได้บ้าง...ในกรณีที่เด็กทำผิดเรามีกฎหมายอยู่แล้วที่น่าจะเป็นคุณได้ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ถ้าจะมากกว่านั้นก็ใช้ พ.ร.บ.วิฯ เด็ก” (วิธีพิจารณาคดีเยาวชน)

พูดอีกที อย่างเราๆ ก็ต้องว่า จะตะบี้ตะบันฟ้องอาญา ม.๑๑๒ แล้วไม่ยอมให้ประกันปล่อยตัวมาสู้คดี กันทำไรนักหนา “ที่เป็นประเด็นมากสำหรับประเทศไทย คือ เราต้องช่วยกันคืนสิทธิคืนพื้นที่ทางประชาธิปไตยให้กับประชาชน” อันนี้วิทิตเขาว่า

(https://www.ilaw.or.th/articles/18185=IwAR0Jb_sxypeaN และ https://twitter.com/TLHR2014/status/1753377684426760248)