The101.world
21h ·
"เสรีนิยมธรรมราชาคือการใช้สถาบันกษัตริย์มากำกับสถาบันประชาธิปไตย ซึ่งมีที่มาแบบเสรีนิยม โดยที่สถาบันกษัตริย์มีความชอบธรรมในการกำกับ ควบคุม ดูแลสถาบันประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย"
.
"เสรีนิยมธรรมราชาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจำกัดอำนาจเสียงข้างมากของชนชั้นนำจารีตไทยในแบบที่เลือกจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่เอื้อให้ตัวเองมีอำนาจ"
.
101 สนทนากับปฤณ เทพนรินทร์ ถึงดุษฎีนิพนธ์ของเขาเรื่อง 'เสรีนิยมธรรมราชา' ในทศวรรษ 2540 จนถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
.
อ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่:( https://www.the101.world/prin-tepnarin-interview/)
.
"หลัง 2535 มีแนวโน้มว่าทรงมีพระบารมีมากขึ้น สื่อมวลชนและชนชั้นกลางก็มีการตีความให้พระราชอำนาจสูงขึ้น ความคาดหวังที่เกิดขึ้นก็คือการเป็นผู้กำกับควบคุมให้สถาบันประชาธิปไตยดีงาม"
.
"ในตอนนั้นพวกเขาจึงไม่ได้มองหาว่า แล้วเราจะทำอย่างไรให้สถาบันประชาธิปไตยเข้มแข็ง แต่พวกเขามองหาว่าจะสู้กับนักการเมืองอย่างไร ก็เลยไปควานในความรับรู้ของตัวเองว่าใครบ้างที่จะมีอำนาจเพียงพอที่พวกนักการเมืองจะฟัง...แล้วก็เจอสถาบันทางวัฒนธรรมคือสถาบันกษัตริย์"
.
"ช่วงปลายทศวรรษ 2540 ในหมู่ปัญญาชนอนุรักษนิยมมีความรับรู้ตรงกันถึงความเป็นได้เรื่องพระราชอำนาจ เมื่อมีการเขียนบทความตีความหลักการเรื่องนี้แล้วสังคมรับได้ บางช่วงมีปัญญาชนจำนวนหนึ่งสนับสนุนให้ใช้พระราชอำนาจด้วยซ้ำ"
.
"ธรรมราชาและเสรีนิยมธรรมราชาจำเป็นสำหรับการรักษาเสถียรภาพของสภาพที่สถาบันกษัตริย์มีอำนาจมากและสถาบันประชาธิปไตยมีอำนาจจำกัด หากไม่มีสิ่งเหล่านั้นความชอบธรรมในการกำกับควบคุมสถาบันแนวประชาธิปไตยจะยิ่งน้อยลงด้วย"
.
เรื่อง: วจนา วรรลยางกูร
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=943190593842414&set=a.523964959098315)