วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 25, 2567

“นายไม่อ่านหนังสือ แล้วนายจะรู้อะไร” กลับมาหลอนประชากรยุคนายกฯ อวดวิสัยทัศน์ ๗-๘ อย่างพร้อมกัน

“นายไม่อ่านหนังสือ แล้วนายจะรู้อะไร” เป็นประโยคที่ใช้อ้างกันมาก ว่าอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี พูดเอาไว้เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว เวลานี้กลับมาหลอนคนไทยตามรายงานของธนาคารโลก เรื่องทักษะในการอ่าน เมื่อพบว่า ๖๔.๗% ยังอ่านหนังสือไม่แตก

ยิ่งเป็นเรื่องทักษะเกี่ยวกับดิจิทัลพื้นฐาน ยิ่งต่ำลงไปอีก มีถึง ๗๔.๑% ต่ำกว่ามาตรฐานกลาง ชนิดไม่สามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ได้ รวมแล้วเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง ๓.๓ ล้านล้านบาท

ผลกระทบต่อไปก็คือทำให้มูลค่าจีดีพีเมื่อสองปีที่แล้วหดไป ๒๐% รายงานบอกด้วยว่า “วิกฤตเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานของประชากร ยังคงปรากฏอยู่ไม่เหือดหาย ทั้งที่รัฐบาลกำหนดนโยบายอย่างแข็งขันเพื่อขจัดปัญหานี้แล้วก็ตาม

แม้นว่างานวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารโลก กองทุนการศึกษาพอเพียง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะให้คำแนะนำต่อการแก้ไขปัญหา เช่นพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับนักการศึกษา หรือจัดหาเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับความคิดสร้างสรรค์

ความด้อยทักษะต่างๆ พบว่ากระจายอยู่ในหมู่ประชากรวัย ๑๕ ถึง ๖๔ ปี ซึ่งเป็นวัยที่ควรจะเข้มแข็งที่สุดของประชากรทั้งมวล ชวนให้เป็นห่วงกังวล ไม่ว่านายกรัฐมนตรีจะพยายามแสดงวิสัยทัศน์ ๗-๘ อย่างพร้อมกันอย่างล้ำเหลือเพียงใด

หากไม่มีประชากรคุณภาพรองรับ วิสัยทัศน์ก็เป็นเพียงนโยบายหาเสียงเปล่าปลี้เท่านั้น แล้วอย่างนี้ราคาคุยของนายแบกอย่าง โด่ง อรรถชัย อนันตเมฆ ที่ว่า เศรษฐา จะเป็นนายกฯ ๘ ปี แล้ว อุ๊งอิ๊ง มาต่ออีก ๘ ปี คงเป็นไปได้ บนพื้นฐานของประชากรด้อยคุณภาพ

(https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2746834/acute-skills-crisis-costing-20-of-gdp)