Get Surariddhidhamrong
9h ·
จดหมายลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567
เรื่องนี้ว่าจะเราตั้งแต่ช่วงปีใหม่ แต่เกิดเรื่องมากมาย เลยยังไม่มีโอกาสได้เล่า
ช่วงปีใหม่ เรือนจำเปิดเรื่อง Oppenheimer ให้ดู หนังเรื่องนี้ เราดูข้างนอกสองรอบ รอบแรกดูกับพ่อ รอบที่สองอยู่กับคุณ งั้นหนังเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสุดท้ายที่เราได้ดูก่อนเข้าเรือนจำ เป็นหนังที่เราชอบมาก ดูกี่ครั้งก็มีหลายฉากที่น้ำตาคลอ ด้วยความเข้าใจ กหดหู่ และซาบซึ้ง แม้จะดูเป็นครั้งที่สามในคุก ความรู้สึกนั้นครึ่งหญิงเต็มเปี่ยม เพิ่มเติมคือได้ซึมซับรายละเอียดของหนังเพิ่มขึ้น
“ ทำไมต้องเดินทางไปสอนควอนตั้มฟิสิกส์ ในที่ไม่มีใครสนใจ?” ” เพราะไม่มีผมถึงต้องไป” นี่เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาในหนังที่เราจำได้ลางๆ แต่ก็เป็นฉากที่เราประทับใจ ในหนังพูดถึงประวัติศาสวิทยาศาสตร์และการเมือง ในมิติต่างๆ เราชอบความพยายามในการสร้างสกภาพศาตราจารย์ หนังแสดงภาพสะท้อนทัศนคติของผู้คนในยุคนั้นที่มีต่อคอมมิวนิสต์ได้อย่างน่าสนใจ สะท้อนภาพผลพวงจากการทิ้งระเบิดไปยังฮิโรชิมาและนางาซากิ ผ่านทัศนะของผู้คนในบริบทที่แตกต่าง พอรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ทำให้เข้าใจที่แต่ละตัวละครพูดคุย ก็ยิ่งเพิ่มอรรถรสในการดูหนังเข้าไปอีก ส่วนที่ชอบที่สุดก็คือ “ การมีอิสรภาพทางความคิด” แม้ขบถต่อสังคมและผู้มีอำนาจ แต่หลายคนก็น้อมรับความขบถนั้น แล้วแสดงออกมาตามเจตจำนงของตนเอง ชุดนี้ทำให้เราดูกี่ครั้งก็น้ำตาคลอ
เนื้อแท้ของมนุษย์นั้นล้วนเท่าเทียม เรามีศักดิ์ศรีในฐานะปุถุชนเสมอกัน การพูดคุย และแสดงความคิดเห็น เป็นเสรีภาพที่จำเป็น ถ้าเราไม่สื่อสาร ไม่พูดคุย บางสิ่งที่คิดเห็น สังคมจะถูกแก้ไขและพัฒนาได้อย่างไร เราและผู้คนที่เคียงบ่าเคียงไหล่สู้กันมา ก็รวจมีอิสรภาพทางความคิด มีความปรารถนาดี ต่อสังคม การนำคนที่ตระหนักและเรียกร้องเสรีภาพมากักกันเสรีภาพนั้นนับเป็นความทรมาณแสนสาหัส ก็ไม่แปลกที่คนเหล่านั้นรวมถึงเราเจอกระเสือกกระสนแสวงหาทางต่อสู้เพื่อปลดแอกอย่างเต็มกำลัง
ต่อให้เอาเราไปเฆี่ยนตีให้ตายก็เกลียดเราหรือเปลี่ยนความจริงไม่ได้หรอ
รักและคิดถึงทุกคนเสมอ
—————————————
24 กุมภาพันธ์ 2567
เก็ทอยู่ในเรือนจำมา 186 วัน
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=7217739998303745&set=a.400075410070272)