Jom Petchpradab
15h·
ประชาชนจี้สภานิติบัญญัติกำจัด“ศาลรัฐธรรมนูญ”และฟ้องศาลอาญาเอาผิด 9 ตุลาการ
กรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ กรณี พรรคก้าวไกลมีนโยบายแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา ม.112 โดยการเสนอร่าง พรบ.แก้ไขประมวลกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาฯไปแล้วนั้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับวินิจฉัยว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง และมีคำสั่งให้ยุติการกระทำในทันที.
โดยกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้แสดงความคิดเห็นว่า นี่เป็นการใช้อำนาจเกินทำหน้าที่ของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนในการวินิจฉัยว่า การเสนอแก้ ม.112 ของพรรคก้าวไกล เท่ากับการล้มล้างการปกครอง ถือเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการใช้อำนาจเกินหน้าที่ ตาม ม.49 จึงควรที่จะดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับ ตุลาการทั้ง 9 คน ผ่านศาลอาญาทุจริต ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ปฎิบัติหน้าที่เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด และยังเรียกร้องต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในการแสดงจุดยืนตามหลักการประชาธิปไตยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่า หน้าที่การเสนอแก้ไขกฎหมาย การเสนอร่างกฎหมาย ไม่ใช่หน้าที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมในการเข้ามาก้าวล้ำอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ. และถึงเวลาแล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะต้องหาทางกำจัดขอบเขตแห่งอำนาจ หรือยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ
ร่วมแสดงความคิดเห็นโดย. กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความคดี112. สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตนักโทษคดี112. บิ๊ก เกียรติชัย ผู้ต้องหาคดี112. ขนุน สิริภพ ผู้ต้องหาคดี112. ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ. นักเคลื่อนไหวไหวทางการเมืองที่สูญเสียดวงตา - ลูกนัท ธนัท ธนกิจอำนวย และ พายุ บุญโสภณ.
ห้ามพลาดคืน วันศุกร์ที่ 2/2/24 เวลา 3 ทุ่มเป็นต้นไป ตามวันเวลาประเทศไทย ไลฟ์ผ่านเฟสบุ๊ค Jom Petchpradab และทาง youtube / Jom Voice Channel ห้ามพลาด
.....
ลิงค์วิดีโอ
จี้สภานิติบัญญัติ กำจัด“ศาลรัฐธรรมนูญ”และฟ้องศาลอาญาเอาผิด 9 ตุลาการ
(https://www.youtube.com/watch?v=unNxHlwcx8g)
จี้สภานิติบัญญัติ กำจัด“ศาลรัฐธรรมนูญ”และฟ้องศาลอาญาเอาผิด 9 ตุลาการ
Feb 2, 2024
ประชาชนจี้สภานิติบัญญัติกำจัด“ศาลรัฐธรรมนูญ”และฟ้องศาลอาญาเอาผิด 9 ตุลาการ
ต่อกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นเอกฉันท์ กรณี พรรคก้าวไกลมีนโยบายแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา ม.112 โดยการเสนอร่าง พรบ.แก้ไขประมวลกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาฯไปแล้วนั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง และมีคำสั่งให้ยุติการกระทำในทันที. โดยกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้แสดงความคิดเห็นว่า นี่เป็นการใช้อำนาจเกิน การทำหน้าที่ของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนในการวินิจฉัยว่า การเสนอแก้ ม.112 ของพรรคก้าวไกล เท่ากับการล้มล้างการปกครองนั้น เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจเกินหน้าที่ ตาม ม.49 จึงควรที่จะดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับ ตุลาการทั้ง 9 คน ผ่านศาลอาญาทุจริต ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ปฎิบัติหน้าที่เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนด และยังเรียกร้องต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในการแสดงจุดยืนตามหลักการประชาธิปไตยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่า หน้าที่การเสนอแก้ไขกฎหมาย การเสนอร่างกฎหมาย ไม่ใช่หน้าที่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมในการเข้ามาก้าวล้ำอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ. และถึงเวลาแล้วที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่จะต้องหาทางกำจัดขอบเขตแห่งอำนาจ หรือยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ