Royal World Thailand - รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย
15h
·
เรียกได้ว่ายังเป็นกระแสและถูกพูดถึงอยู่ในเวลานี้ แม้คุณอ้น-วัชเรศร และคุณอ่อง-จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังกลับมาเยือนประเทศไทยและพำนักเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งการกลับมาของพี่น้องบ้านวิวัชรวงศ์นี้ ได้ทิ้งปริศนาอันนำมาซึ่งข้อถกเถียงมากมาย ว่าการกลับมาคราวนี้มีสัญญาณหรือนัยยะสำคัญอันใดหรือไม่ และอนาคตของราชสำนักจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นของพระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ที่ยังไม่มีการสถาปนา
แน่นอนว่า หลายคนมองว่าการพูดถึงเรื่องรัชทายาทในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะถูกมองว่ามีเจตนาก้าวก่ายพระบรมราชวินิจฉัย หรืออาจถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่เป็นยังเรื่องที่ประชาชนจากทั้งกลุ่มที่จงรักภักดี และกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังหยิบยกขึ้นมาตั้งประเด็นกันในวงสนทนากันหลายครั้งหลายหน เนื่องจากเป็นเรื่องของอนาคตราชสำนักและประเทศชาติ
โดยเฉพาะเมื่อคุณอ้นได้กลับมาเดบิวต์ใหม่อย่างไม่เป็นทางการแล้วนั้น จึงมีการตั้งประเด็นสำหรับอนาคตของพระราชสำนักว่า แนวโน้มของการขึ้นสู่ตำแหน่งพระรัชทายาทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยมีการคาดการณ์กันไว้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ ยังมีเพียงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในฐานะพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวที่ดำรงพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการการสืบราชสันตติวงศ์ในราชสำนักไทยนั้น ไม่เหมือนกับราชสำนักอื่นที่มีการวางองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 2 3 หากแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระรัชทายาทเพียงพระองค์เดียว ซึ่งส่วนใหญ่คือพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทั้งนี้ หากพระรัชทายาทหาพระองค์ไม่แล้ว จึงจะมีการสถาปนาเลือกพระองค์ใหม่อีกครั้ง เช่นอาจทรงเลือกพระราชโอรสพระองค์รองลงมา เป็นต้น
ด้วยขณะนี้ ยังไม่มีการสถาปนาพระองค์ใดขึ้นเป็นพระรัชทายาท อีกทั้งความเป็นไปได้มากที่สุดตกอยู่ที่สมเด็จเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ ที่ดำรงพระอิสริยยศเพียงพระองค์เดียวในหมู่พระราชโอรสทั้ง 5 ด้วยทูลกระหม่อมชายยังมีพระชันษาเพียง 18 ปี อาจรออีกสองปีหลังทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนถึงเวลานั้น ทูลกระหม่อมชายจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระยุพราชหรือไม่ ดังเช่นทูลกระหม่อมพ่อที่ทรงรับการสถาปนาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุ 20 พรรษาเช่นกัน
ทั้งนี้ การกลับมาของพระราชโอรส “ไกลต้น” ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามุมมองเรื่องพระรัชทายาทของหลายๆคนเปลี่ยนไป เนื่องจากพระราชสำนักขาดพลังงานและประสิทธิภาพไปพอสมควร ด้วยมีเจ้านายน้อยพระองค์ที่ทรงแอคทีฟในการทรงงานและผดุงพระเกียรติยศแห่งราชสำนัก
โดยเฉพาะตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงพระประชวร ทำให้ราชสำนักถูกมองว่าร่อยหรอลงไปมาก เนื่องจากทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่ทรงแอคทีฟและทรงเป็นเดอะแบกองค์สำคัญของพระราชสำนัก อีกทั้งทรงถูกมองจากบุคคลหลายฝ่ายว่ามีสิทธิ์เป็นรัชทายาทหญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ถึงแม้จะขัดต่อกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ 13 ที่ห้ามมิให้สถาปนาราชนารีขึ้นเป็นพระรัชทายาท
อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับในยุคสมัยใหม่นี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ตั้งแต่ฉบับปีพ.ศ. 2517, 2521 เรื่อยมาจนถึงฉบับปีล่าสุด 2560 ว่าสามารถเสนอพระนามพระราชธิดาเพื่อขอความเห็นชอบ ในการเป็นผู้สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป แต่กรณีนี้สามารถใช้ได้เฉพาะหากราชบัลลังก์ว่างลง และพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้เท่านั้น
สำหรับคุณอ้นเอง แม้เป็นพระราชโอรสคนที่สอง หากแต่ถูกมองว่ามีแนวโน้มจะ “ส้มหล่น” ที่สุด เนื่องจากมีบทบาทมากที่สุดในงานสังคมและงานที่เกี่ยวเนื่องกับราชสำนักในต่างประเทศ กระทั่งเป็นตัวเปิดใบเบิกทางให้ประชาชนได้เห็นว่า ตนสามารถกลับแผ่นดินเกิดได้แล้ว และได้แสดงศักยภาพและการเข้าถึงประชาชนมากน้อยเพียงใด จึงได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดีมากตามประสงค์
สำหรับพระราชโอรสคนโตอย่างคุณอ้วน-จุฑาวัชร ซึ่งได้สมรสกับชาวต่างชาติ ถือว่าหมดสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลใดๆ ในรัชกาลที่เวลานี้มีเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้เพียงใดที่คุณอ้นจะเป็นใบเบิกทางให้พี่ชายของตนมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าน้อยมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากไม่เคยเห็นคุณอ้วนออกสื่อสาธารณะเลยแม้แต่น้อย จึงมิอาจรู้จักคุณอ้วนได้ดีพอ
ดังนั้นจึงมีเพียงคุณอ้นเท่านั้นในเวลานี้ ที่เป็นเสมือนตัวแทนของ “ลูกไกลต้น” ที่ถูกมองว่า “ทรายจะมาทวงทุกอย่างที่เป็นของทรายคืน” ในฐานะพระราชแคนดิเดตราชบัลลังก์อีกคน ด้วยขณะนี้มีประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่จงรักภักดี ต่างเทคะแนนใจให้และย้ายมาอยู่ในด้อมคุณอ้นไม่น้อย และหวังว่าทูลกระหม่อมพ่อจะทรงเปิดโอกาส กลับมาทรงรียูเนี่ยนกับอดีตท่านชายทั้ง 4 อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน หากไม่นับกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันฯแล้ว ยังมีกลุ่มที่เคารพสถาบันอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่เคลือบแคลงสงสัยในตัวคุณอ้น กับการกลับมาด้วยจุดประสงค์บางอย่างแอบแฝงและเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อพระราชสำนักอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับการทำลายชาติโดยมหาอำนาจตะวันตก จึงหันไปสนับสนุนและอวยถวายทูลกระหม่อมทีปังกรแทน (อ่านบทความเดิม “เลือดราชันย์หวนคืนปฐพีเพื่อล้างมนต์?” http://bitly.ws/RWu4)
ดังนั้น อนาคตของราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่จับตาดูกันต่อไป แน่นอนว่าสิ่งที่ประชาชนทำได้เพียงอย่างเดียว คือการจับเข่าคุยกันเท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกหรือไม่เลือกใครเป็นพระประมุขของประเทศ หากแต่สามารถนำเรื่องนี้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เนื่องจากเป็นสิ่งถูกกำหนดได้ว่า ประชาชนพร้อมและเต็มใจจะอ้าแขนต้อนรับอนาคตใหม่ของราชสำนักได้อย่างไร
อย่างน้อยภายในสองปีต่อจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่หลายๆคนคาดการณ์ไว้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และกว่าจะถึงวันนั้น “เกมอาจเปลี่ยนเล็กน้อย” หรือไม่ ระหว่าง “ลูกใกล้” หรือ “ลูกไกล” จะถูกเลือกให้เป็นรัชกาลที่ 11 ผู้กุมชะตาแห่งราชสำนักในอนาคตให้รุ่งโรจน์ หรือร่วงโรย...
----
For English language click here
·
เรียกได้ว่ายังเป็นกระแสและถูกพูดถึงอยู่ในเวลานี้ แม้คุณอ้น-วัชเรศร และคุณอ่อง-จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ได้เดินทางกลับสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังกลับมาเยือนประเทศไทยและพำนักเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งการกลับมาของพี่น้องบ้านวิวัชรวงศ์นี้ ได้ทิ้งปริศนาอันนำมาซึ่งข้อถกเถียงมากมาย ว่าการกลับมาคราวนี้มีสัญญาณหรือนัยยะสำคัญอันใดหรือไม่ และอนาคตของราชสำนักจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นของพระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ที่ยังไม่มีการสถาปนา
แน่นอนว่า หลายคนมองว่าการพูดถึงเรื่องรัชทายาทในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะถูกมองว่ามีเจตนาก้าวก่ายพระบรมราชวินิจฉัย หรืออาจถึงขั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่เป็นยังเรื่องที่ประชาชนจากทั้งกลุ่มที่จงรักภักดี และกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังหยิบยกขึ้นมาตั้งประเด็นกันในวงสนทนากันหลายครั้งหลายหน เนื่องจากเป็นเรื่องของอนาคตราชสำนักและประเทศชาติ
โดยเฉพาะเมื่อคุณอ้นได้กลับมาเดบิวต์ใหม่อย่างไม่เป็นทางการแล้วนั้น จึงมีการตั้งประเด็นสำหรับอนาคตของพระราชสำนักว่า แนวโน้มของการขึ้นสู่ตำแหน่งพระรัชทายาทจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยมีการคาดการณ์กันไว้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ ยังมีเพียงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ในฐานะพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวที่ดำรงพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการการสืบราชสันตติวงศ์ในราชสำนักไทยนั้น ไม่เหมือนกับราชสำนักอื่นที่มีการวางองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 2 3 หากแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระรัชทายาทเพียงพระองค์เดียว ซึ่งส่วนใหญ่คือพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทั้งนี้ หากพระรัชทายาทหาพระองค์ไม่แล้ว จึงจะมีการสถาปนาเลือกพระองค์ใหม่อีกครั้ง เช่นอาจทรงเลือกพระราชโอรสพระองค์รองลงมา เป็นต้น
ด้วยขณะนี้ ยังไม่มีการสถาปนาพระองค์ใดขึ้นเป็นพระรัชทายาท อีกทั้งความเป็นไปได้มากที่สุดตกอยู่ที่สมเด็จเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ ที่ดำรงพระอิสริยยศเพียงพระองค์เดียวในหมู่พระราชโอรสทั้ง 5 ด้วยทูลกระหม่อมชายยังมีพระชันษาเพียง 18 ปี อาจรออีกสองปีหลังทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจนถึงเวลานั้น ทูลกระหม่อมชายจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระยุพราชหรือไม่ ดังเช่นทูลกระหม่อมพ่อที่ทรงรับการสถาปนาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุ 20 พรรษาเช่นกัน
ทั้งนี้ การกลับมาของพระราชโอรส “ไกลต้น” ครั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามุมมองเรื่องพระรัชทายาทของหลายๆคนเปลี่ยนไป เนื่องจากพระราชสำนักขาดพลังงานและประสิทธิภาพไปพอสมควร ด้วยมีเจ้านายน้อยพระองค์ที่ทรงแอคทีฟในการทรงงานและผดุงพระเกียรติยศแห่งราชสำนัก
โดยเฉพาะตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงพระประชวร ทำให้ราชสำนักถูกมองว่าร่อยหรอลงไปมาก เนื่องจากทรงเป็นพระบรมวงศ์ที่ทรงแอคทีฟและทรงเป็นเดอะแบกองค์สำคัญของพระราชสำนัก อีกทั้งทรงถูกมองจากบุคคลหลายฝ่ายว่ามีสิทธิ์เป็นรัชทายาทหญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ถึงแม้จะขัดต่อกฎมณเฑียรบาล มาตราที่ 13 ที่ห้ามมิให้สถาปนาราชนารีขึ้นเป็นพระรัชทายาท
อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับในยุคสมัยใหม่นี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ตั้งแต่ฉบับปีพ.ศ. 2517, 2521 เรื่อยมาจนถึงฉบับปีล่าสุด 2560 ว่าสามารถเสนอพระนามพระราชธิดาเพื่อขอความเห็นชอบ ในการเป็นผู้สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป แต่กรณีนี้สามารถใช้ได้เฉพาะหากราชบัลลังก์ว่างลง และพระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้เท่านั้น
สำหรับคุณอ้นเอง แม้เป็นพระราชโอรสคนที่สอง หากแต่ถูกมองว่ามีแนวโน้มจะ “ส้มหล่น” ที่สุด เนื่องจากมีบทบาทมากที่สุดในงานสังคมและงานที่เกี่ยวเนื่องกับราชสำนักในต่างประเทศ กระทั่งเป็นตัวเปิดใบเบิกทางให้ประชาชนได้เห็นว่า ตนสามารถกลับแผ่นดินเกิดได้แล้ว และได้แสดงศักยภาพและการเข้าถึงประชาชนมากน้อยเพียงใด จึงได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดีมากตามประสงค์
สำหรับพระราชโอรสคนโตอย่างคุณอ้วน-จุฑาวัชร ซึ่งได้สมรสกับชาวต่างชาติ ถือว่าหมดสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลใดๆ ในรัชกาลที่เวลานี้มีเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้เพียงใดที่คุณอ้นจะเป็นใบเบิกทางให้พี่ชายของตนมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าน้อยมาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากไม่เคยเห็นคุณอ้วนออกสื่อสาธารณะเลยแม้แต่น้อย จึงมิอาจรู้จักคุณอ้วนได้ดีพอ
ดังนั้นจึงมีเพียงคุณอ้นเท่านั้นในเวลานี้ ที่เป็นเสมือนตัวแทนของ “ลูกไกลต้น” ที่ถูกมองว่า “ทรายจะมาทวงทุกอย่างที่เป็นของทรายคืน” ในฐานะพระราชแคนดิเดตราชบัลลังก์อีกคน ด้วยขณะนี้มีประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่จงรักภักดี ต่างเทคะแนนใจให้และย้ายมาอยู่ในด้อมคุณอ้นไม่น้อย และหวังว่าทูลกระหม่อมพ่อจะทรงเปิดโอกาส กลับมาทรงรียูเนี่ยนกับอดีตท่านชายทั้ง 4 อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน หากไม่นับกลุ่มที่ไม่นิยมสถาบันฯแล้ว ยังมีกลุ่มที่เคารพสถาบันอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่เคลือบแคลงสงสัยในตัวคุณอ้น กับการกลับมาด้วยจุดประสงค์บางอย่างแอบแฝงและเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อพระราชสำนักอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับการทำลายชาติโดยมหาอำนาจตะวันตก จึงหันไปสนับสนุนและอวยถวายทูลกระหม่อมทีปังกรแทน (อ่านบทความเดิม “เลือดราชันย์หวนคืนปฐพีเพื่อล้างมนต์?” http://bitly.ws/RWu4)
ดังนั้น อนาคตของราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่จับตาดูกันต่อไป แน่นอนว่าสิ่งที่ประชาชนทำได้เพียงอย่างเดียว คือการจับเข่าคุยกันเท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกหรือไม่เลือกใครเป็นพระประมุขของประเทศ หากแต่สามารถนำเรื่องนี้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เนื่องจากเป็นสิ่งถูกกำหนดได้ว่า ประชาชนพร้อมและเต็มใจจะอ้าแขนต้อนรับอนาคตใหม่ของราชสำนักได้อย่างไร
อย่างน้อยภายในสองปีต่อจากนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่หลายๆคนคาดการณ์ไว้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร และกว่าจะถึงวันนั้น “เกมอาจเปลี่ยนเล็กน้อย” หรือไม่ ระหว่าง “ลูกใกล้” หรือ “ลูกไกล” จะถูกเลือกให้เป็นรัชกาลที่ 11 ผู้กุมชะตาแห่งราชสำนักในอนาคตให้รุ่งโรจน์ หรือร่วงโรย...
----
For English language click here