วันอาทิตย์, สิงหาคม 27, 2566

การตั้งรัฐบาลเพื่อไทย : Democratization หรือ สืบทอดอำนาจ ??


.....
Wasana Wongsurawat
1d
·
อิฉันพูด (โพสต์พับลิก) ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้วว่าถ้าพรรคเพื่อไทยจะจับมือกับพลังประชารัฐหรือภูมิใจไทยก็ไม่ผิด อิฉันไม่มีปัญหา และทัวร์ก็ลงเยอะมากตั้งแต่ตอนนั้น
มาถึงตอนนี้ก็ยังคิดเหมือนเดิม และไม่รู้สึกว่าคิดผิดที่เลือกเพื่อเธอทั้งสองใบเพื่อไทยทั้งสองเบอร์ ทั้งนี้เพราะอิฉันเป็นคนมองโลกบนพื้นฐานของความเป็นจริง และแม้จะหวังอย่างมากแต่ลึกๆ ก็รู้ว่าเพื่อไทยจะไม่แลนด์สไลด์ และถ้าไม่มีใครแลนด์สไลด์ รัฐธรรมนูญเจ้ากรรมที่ผ่านการลงประชามติมาแล้ว ที่มี สว. 250 เสียงโหวตนายกได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบมาเพื่อให้เป็นไปไม่ได้ที่พรรคฝ่ายค้านเดิมจะตั้งรัฐบาลโดยไม่บวกกับพรรครัฐบาลเดิม (ที่คนชอบเรียกว่าเผด็จการและนั่งร้านเผด็จการนั่นแหละ) และแนวโน้มคืออย่างน้อยต้องมีภูมิใจไทยแน่นอน และความเป็นไปได้สูงมากที่พลังประชารัฐก็ต้องมา และในเงื่อนไขเครือข่ายความสัมพันธ์ก็เป็นไปได้สูงว่า พปชร มาแล้วรวมไทยสร้างชาติก็อาจจะต้องมาด้วย
สรุปแล้วอิฉันเลือกพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะลำดับความสำคัญ (priority) ที่การตั้งรัฐบาลให้ได้ก่อน และกล้าพอที่จะถูกด่าเรื่องจับมือกับสองลุง เพราะสิ่งนี้จำเป็นต้องเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราจะกลายเป็นประชาธิปไตย (democratize) ได้ในที่สุด หมายความว่าการจับมือกับหนูและงูเห่าและสองลุงของเพื่อไทยจะทำให้เราได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมีนโยบายและทีมบริหารที่พอทำงานได้มากที่สุด ถ้าเราไม่ได้สิ่งนี้รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นคือขั้วรัฐบาลเดิมล้วนบวกงูเห่าที่มาแน่นอน และอาจจะไหลมาเทมาด้วยซ้ำถ้ามีการเล่นงานยุบพรรคที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” บางพรรค
เสียงในโซเชี่ยลมีเดียดังเหลือเกิน หลายคนบอกรอ 10 เดือนให้ สว หมดอายุได้ และถึงพรรคฝ่ายเราจะต้องเป็นฝ่ายค้านก็รออีก 4 ปีเลือกตั้งใหม่ได้ เราไม่เชื่ออ่ะค่ะ ในฐานะนักประวัติศาสตร์เรารู้เราเห็นมาตลอดว่าเรื่องเกิด 3 เดือนที่แล้วคนก็ลืมกันหมดแล้ว โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องฟีเวอร์พรรคไหนเลือกพรรคไหนแลนด์สไลด์ทั้งกรุงครั้งใดพรรคที่แสนรักเหล่านั้นจบไม่สวยซักพรรค รออีก 4 ปีนอกจากประเทศจะย่อยยับป่นปี้กว่านี้อีกไม่รู้กี่เท่าด้วยการบริหารแบบรัฐบาลที่ยังรักษาการอยู่ ณ เวลานี้แล้ว เลือกตั้งครั้งหน้าอีก 4 ปี ถ้าจะมีใครแลนด์สไลด์ก็ภูมิใจไทยแหละค่ะ พรรคฝ่ายค้านที่อยู่มา 9 ปีกับตู่บวก 4 ปีรัฐบาลนี้ … ตายแล้วตายเลยค่ะ
ประชาธิปไตยคือสิ่งนี้ มันต้องเริ่มต้นแบบไม่เพอร์เฟคอยู่แล้ว แต่เราต้องเดินทีละก้าว เราต้องเก็บเกี่ยวชัยชนะเล็กๆ ไปเรื่อยๆ และเราต้องยืดหยุ่นพอที่จะชนะได้ในกฎเกณฑ์ที่บิดเบี้ยวซึ่งเผด็จการร่างมาให้เรา วาสนาไม่เคยเห็นด้วยเลยที่คุณณัฐวุฒิหรือใครคนอื่นในพรรคเพื่อไทยออกมาสัญญิงสัญญาว่า “มีเราไม่มีลุง” เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ตั้งแต่ตอนนู้น แต่วาสนาเลือกไม่ผิดที่เลือกพรรคเพื่อไทย เพราะท้ายที่สุดแล้วพรรคนี้มีกระดูกสันหลังมากพอที่จะก้าวข้ามความผิดพลาดนี้เพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของประเทศชาติและประชาชน
อยากจะยืนยันว่าเราเลือกถูกแล้ว และขอบคุณพรรคเพื่อไทยที่ไม่ทำให้เราผิดหวังค่ะ
.....

Wasana Wongsurawat
18h
·
ดีใจมากที่อาจารย์ Soraj Hongladarom กรุณาแชร์และเข้ามาให้ความเห็นกับข้อเขียนของวาสนา
อยากจะขออนุญาตตอบคำถามอาจารย์ตรงนี้ที่ว่า
“เราจะแน่ใจว่าสถานการณ์แบบนี้ คือที่เพื่อไทยข้ามขั้ว จะนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ ฝ่ายสนับสนุนเผด็จการเก่า (ทหาร สว. องค์กรอิสระ) ก็จะต้องถูกลดอำนาจ หรือมีความเป็นกลางมากขึ้น ปัญหาคือจะหาหลักประกันว่าเค้าจะยอมค่อยๆสูญเสียอำนาจไปให้ประชาชนแบบที่ว่านี้ได้จริงๆหรือ? ประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไร?”
คำตอบคือ ถ้าเราเชื่อในหลักการประชาธิปไตยจริงๆ เราย่อมจะเห็นว่าที่มาของอำนาจของประยุทธ์ประวิตรในรอบนี้ไม่เหมือนกับตอนรัฐประหาร ประยุทธ์บอกจะวางมือแล้วก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าคราวนี้ประวิตรจะได้เข้าไปนั่งในสภา เป็นรองนายกฯ หรือเป็นรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง นั่นไม่ใช่เพราะเขาทำรัฐประหารมา แต่เป็นเพราะมีประชาชนหลายล้านคนเลือก สส พรรคเขาถึง 40 กว่าคน คำตอบคือประชาชนมั่นใจได้เพราะอำนาจของเขายึดโยงกับประชาชน ตรงนี้คือข้อแตกต่างที่สำคัญ
นอกจากนี้อีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญและอยากให้ทุกคนกลับไปดูคลิปอีกหลายๆ รอบคือการรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรีในรอบนี้ พระบรมราชโองการการระบุชัดเจนว่าตั้งเศรษฐาเป็นนายกรัฐมนตรีตามมติของสภาซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาทั้งหมดได้ลงคะแนนเห็นชอบแล้ว และในสุนทรพจน์รับพระบรมราชโองการของเศรษฐาก็ระบุชัดเจนว่านอกจากจะเป็นนายกที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว ก็เป็นนายกที่สภาเลือก และก็เป็นนายกที่มีรัฐบาลจาก สส. เสียงข้างมากในสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วย
สิ่งนี้คืออำนาจการปกครองที่ยึดโยงกับประชาชน สิ่งนี้คือความไม่เหมือนเดิมของการตั้งรัฐบาลรอบนี้ และสิ่งนี้เรียกว่า democratization ค่ะ
.....
Ratthapol Supasopon
14h
·
"ถ้าใครเชื่อวาสนา​ แสดงว่าอียิปต์ก็กำลัง​ démocratisation อยู่ เพราะ​อดีตผู้นำการรัฐประหาร​มาลงเลือกตั้งแล้วชนะ​ หรือจะเอาสมัยนโปเลองก็ได้​ ทั้ง​ ๑ และ​ ๓ รัฐประหารแล้วทำประชามติ​ให้เป็นผู้นำตลอดชีวิต​ นี่คือ​ démocratisation ได้ข่าวว่าอยู่ดีๆ​ กลายเป็นระบอบจักรพรรดิ
ปัญญาอ่อน
แบบนี้เขาเรียกสืบทอดอำนาจ"
#มิตรสหายท่านหนึ่ง
.
Patthira Sukpasert
ฮิตเลอร์ คิมจองอึน ฮุนเซน มันก็ ปชต หมดละ เพราะชนะเลือกตั้ง

Patthira Sukpasert
ฮิตเลอร์ คิมจองอึน ฮุนเซน มันก็ ปชต หมดละ เพราะชนะเลือกตั้ง

 
16h
·
สำหรับนักวิชาการคนไหน ที่เห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลแบบเปลี่ยนขั้วย้ายค่าย ตระบัดสัตย์ในการหาเสียง เป็นเรื่อง ปกติของการเมือง รัฐบาลผสม
เพราะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เปลี่ยนผ่านประชาธิปไตย
แถมวิจารณ์ บรรดารัฐมนตรี ก็ไม่ได้เพราะพวกเขาก็มาจากการเลือกตั้ง
ก็คงสมใจแล้วนะครับ ที่ได้ รัฐมนตรีมาดูเรื่องการศึกษา จากพรรคภูมิใจไทย
ซึ่งเอาเข้าจริงต่อให้รัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยก็หน้าตาไม่ต่างกันเท่าไหร่หรอก