Greenpeace Thailand
14h
·
ประชาชนชนะ! ศาลปกครองเคาะรัฐผิดคดีฝุ่น PM2.5
สั่งกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำ PRTR ภายใน 60 วัน
.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW สภาลมหายใจภาคเหนือ สภาลมหายใจเชียงใหม่และประชาชน ในฐานะผู้ร่วมฟ้องคดี เดินทางมายังศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะเพื่อร่วมฟังการพิพากษาคดี #ฟ้องทะลุฝุ่น ที่ฟ้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
.
ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) หรือเรียกว่า PRTR ภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด และพิพากษายกฟ้องในประเด็นการออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่ามาตรฐานสารเจือปน ฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เนื่องจากเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองในการพิจารณาที่ศาลไม่อาจก้าวล่วง
.
สำหรับประเด็นการปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐานของ WHO ศาลเห็นว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าจริง แต่เนื่องจากได้มีการประกาศปรับค่ามาตรฐานแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 หลังจากภาคประชาชนฟ้องเร่งรัดคดีนี้เพียง 3 เดือน ศาลจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดคำบังคับในประเด็นนี้
.
ทั้งนี้คำฟ้องในคดีฝุ่น PM2.5 มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ
.
ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแก้ไขประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศทั่วไป ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (WHO-IT3) ตามที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว คือ ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
.
ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล
.
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล
.
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) และมีการกำหนดให้ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในบัญชีมลพิษและสารเคมีเป้าหมาย
.
คดี #ฟ้องทะลุฝุ่น ไม่ใช่คดีแรกที่ภาคประชาชนฟ้องต่อศาลเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศนี้ แต่ใน 2 ปีนี้ ประชาชนฟ้องคดีเรื่องฝุ่น PM2.5 ไปแล้วกว่า 5 คดี บ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐยังให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นไม่เพียงพอและไม่สามารถจัดการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้
.
สุรชัย ตรงงาม เลขาธิการ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าว
.
“คำตัดสินของศาลปกครองในวันนี้ ถือเป็นการวางมาตรฐานคดีด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยในวงกว้าง ซึ่งเราจะติดตามตรวจสอบให้รัฐมีมาตรการที่ชัดเจนในการลดฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป และจัดทำ PRTR ให้เป็นไปตามคำพิพากษา สำหรับบางประเด็นที่ศาลยกฟ้อง เช่น การกำหนดค่ามาตรฐานจากปลายปล่องโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดฝุ่น PM2.5 จากต้นทาง เรามีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน เพื่อให้ศาลสูงตัดสินให้เป็นบรรทัดฐาน โดยจะทำการปรึกษากับภาคประชาสังคมในการอุทธรณ์ต่อไป”
.
อ่านเต็มๆ >> https://act.gp/pm2-5-lawsuit-consideration
.
คำพิพากษา >> https://act.gp/3OY6nT6
.
#RightToCleanAir #ThaiPRTR
ประชาชนชนะ! ศาลปกครองเคาะรัฐผิดคดีฝุ่น PM2.5
สั่งกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำ PRTR ภายใน 60 วัน
.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กรีนพีซ ประเทศไทย มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW สภาลมหายใจภาคเหนือ สภาลมหายใจเชียงใหม่และประชาชน ในฐานะผู้ร่วมฟ้องคดี เดินทางมายังศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะเพื่อร่วมฟังการพิพากษาคดี #ฟ้องทะลุฝุ่น ที่ฟ้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
.
ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) หรือเรียกว่า PRTR ภายใน 60 วันนับแต่คดีถึงที่สุด และพิพากษายกฟ้องในประเด็นการออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่ามาตรฐานสารเจือปน ฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อมให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เนื่องจากเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองในการพิจารณาที่ศาลไม่อาจก้าวล่วง
.
สำหรับประเด็นการปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปให้เป็นไปตามมาตรฐานของ WHO ศาลเห็นว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าจริง แต่เนื่องจากได้มีการประกาศปรับค่ามาตรฐานแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 หลังจากภาคประชาชนฟ้องเร่งรัดคดีนี้เพียง 3 เดือน ศาลจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดคำบังคับในประเด็นนี้
.
ทั้งนี้คำฟ้องในคดีฝุ่น PM2.5 มีสาระสำคัญ 4 ประเด็น คือ
.
ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแก้ไขประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศทั่วไป ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (WHO-IT3) ตามที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว คือ ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
.
ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล
.
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกหรือแก้ไขประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม ให้มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดและเทียบเท่ามาตรฐานสากล
.
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) และมีการกำหนดให้ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในบัญชีมลพิษและสารเคมีเป้าหมาย
.
คดี #ฟ้องทะลุฝุ่น ไม่ใช่คดีแรกที่ภาคประชาชนฟ้องต่อศาลเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศนี้ แต่ใน 2 ปีนี้ ประชาชนฟ้องคดีเรื่องฝุ่น PM2.5 ไปแล้วกว่า 5 คดี บ่งชี้ให้เห็นว่ารัฐยังให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นไม่เพียงพอและไม่สามารถจัดการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้
.
สุรชัย ตรงงาม เลขาธิการ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าว
.
“คำตัดสินของศาลปกครองในวันนี้ ถือเป็นการวางมาตรฐานคดีด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่มีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยในวงกว้าง ซึ่งเราจะติดตามตรวจสอบให้รัฐมีมาตรการที่ชัดเจนในการลดฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป และจัดทำ PRTR ให้เป็นไปตามคำพิพากษา สำหรับบางประเด็นที่ศาลยกฟ้อง เช่น การกำหนดค่ามาตรฐานจากปลายปล่องโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดฝุ่น PM2.5 จากต้นทาง เรามีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน เพื่อให้ศาลสูงตัดสินให้เป็นบรรทัดฐาน โดยจะทำการปรึกษากับภาคประชาสังคมในการอุทธรณ์ต่อไป”
.
อ่านเต็มๆ >> https://act.gp/pm2-5-lawsuit-consideration
.
คำพิพากษา >> https://act.gp/3OY6nT6
.
#RightToCleanAir #ThaiPRTR