TODAY Bizview
1d
·
นักเศรษฐศาสตร์เตือน เงินดิจิทัล 10,000 บาท ไทยไม่อยู่ในสถานะ สร้าง ‘เงิน’ จากอากาศได้
.
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่าควรระวังเรื่องการตีราคาของเงินดังกล่าวที่อาจไม่เท่ากัน สร้างปัญหาให้กับความน่าเชื่อถือของรัฐ และอาจลามไปกระทบกับราคาเงินบาท
.
ดร.พิพัฒน์ อธิบายเรื่องราคาของเงิน โดยระบุว่า เงินก็มีราคา และไม่ได้มีแค่ราคาเดียว แต่มีถึง 4 ด้าน คือ
.
1.อัตราดอกเบี้ย คือราคาของเงินในปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าของเงินในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต เราก็ต้องการผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันนี้ธนาคารกลางมีส่วนสำคัญในการกำหนด แต่ก็คุมได้ไม่หมด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยหลายแบบ หลายระยะ และตลาดเป็นคนกำหนดดอกเบี้ยส่วนใหญ่
.
2.อัตราแลกเปลี่ยน คือราคาของเงินสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางประเทศหนึ่ง เทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ถ้ามีปัจจัยด้าน demand supply ความน่าเชื่อถือ ผลตอบแทนต่างกัน ราคาอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปได้
.
3.เงินเฟ้อ คือ ราคาของเงินเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการ ที่เงินสามารถซื้อได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงปริมาณเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ demand supply ของสินค้า
.
4.Par หรือราคาของเงินสกุลเดียวกันในรูปแบบต่างกัน เช่น เราอาจจะนับว่า ธนบัตร เหรียญ เงินฝากธนาคารที่ออกโดยแต่ละธนาคาร เงินใน wallet ที่ออกโดย provider แต่ละคนว่าเป็นเงินบาทเหมือนกัน แต่ถ้าสภาพ เงื่อนไข ข้อจำกัด และความน่าเชื่อถือต่างไป เงินที่เรียกว่าเงินบาทเหมือนกัน อาจจะมีราคาไม่เหมือนกันก็ได้
.
และราคาทั้งสี่ของเงินนี่แหละครับ (โดยเฉพาะราคาที่สี่ของเงิน) เป็นสาเหตุสำคัญที่แต่ละประเทศมีธนาคารกลางเป็น “monopoly” ในการออกเงิน หรือเป็น regulator ของคนที่ออกเงินได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ไม่งั้นคนคงมานั่งถามว่า เงินที่ได้รับมาเป็นเงินของใคร และมีราคาต่างกันหรือไม่
.
และหนึ่งในปัจจัยประเด็นสำคัญที่กำหนดราคาของเงิน คือความน่าเชื่อถือของคนที่ออกเงินและสินทรัพย์ที่หนุนหลัง “เงิน” นั้น
.
นึกภาพว่า ขนาดธนบัตรขาดคนยังกล้ารับที่เต็มมูลค่า เพราะเชื่อมั่นว่าแบงก์ชาติจะรับแลกคืนที่ราคาเต็ม
.
ประเด็นที่นโยบาย digital wallet ต้องคิดหนักๆ เลยคือ จะเอา “เงิน” อีกประเภทหนึ่งโยนเข้ามาในระบบ ที่มีเงื่อนไขการใช้ไม่เหมือนเงินบาทอื่นๆ แต่คาดหวังให้ราคาเท่ากับหนึ่งบาทตลอดเวลา โดยไม่มีกลไกในการแลกเปลี่ยน หรือมีภาระของรัฐค้ำประกัน 100% ตลอดเวลาได้อย่างไร (หรือจะใช้กฎหมายบังคับให้มันเท่ากัน ซึ่งทำไม่ได้แน่ๆ)
.
เพราะเงื่อนไขการใช้เงินที่ต่างกัน คนจะตีมูลค่าของเงินไม่เท่ากัน และเมื่อนำมาใช้ ก็จะเกิด “ราคา” ของเงินที่รัฐอาจจะบังคับไม่ได้ และอาจจะ “break the buck” ได้ และเมื่อเกิดขึ้น คนก็จะแห่ทิ้งเงินใหม่กันอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหากับความน่าเชื่อถือของรัฐได้
.
เช่น คนอาจจะยอมรับ “เงิน” แต่รับในอัตราที่ไม่เท่ากับ 1 บาท เช่น ขายของ 100 บาท ในราคา 200 เหรียญที่ออกใหม่ หรือมีคนทำธุรกิจตั้งโต๊ะรับแลกเหรียญที่ออกใหม่ ในราคาต่ำกว่า 1 บาท
.
หรือคนรับปฏิเสธการรับเอาดื้อๆ
.
ลองนึกภาพถึง stable coin หลากหลายที่ดูเหมือนว่ารักษามูลค่าได้ แต่พอคนเริ่มถามว่า stable coin นั้นมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบไหม หรือกลไกที่ทำให้ราคา stable coin คงที่น่ะ ทำงานได้จริงไหม…
.
การอธิบายว่า เราสามารถออกสิ่งที่เหมือน “เงิน” โดยไม่ต้องสร้างหนี้ ไม่ต้องขาดดุล ไม่เป็นภาระของรัฐ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่ากลัว ทั้งจากมุมมองวินัยทางการคลัง และความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงิน
.
อาจจะน่ากลัวกว่าการยอมรับว่านี่คือการแจกเงิน โดยการขาดดุลและสร้างหนี้เสียอีก
และระวังว่าปัญหาจะลามไปจนกระทบราคาทั้งสี่ของเงินบาทเลยนะครับ…
เพราะเราไม่อยู่ในสถานะที่สร้าง “เงิน” จากอากาศได้ครับ (แม้ว่าอาจจะมีบางประเทศทำได้ก็ตาม)
.
ที่มา: https://www.facebook.com/lpipat/posts/pfbid02wfUCA1FReP2ERRcTTEgPB63GgsZ9XD7rAnR41bC8Dhb7XDN7aM1Y9i5XvU61jER8l
.
#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY
·
นักเศรษฐศาสตร์เตือน เงินดิจิทัล 10,000 บาท ไทยไม่อยู่ในสถานะ สร้าง ‘เงิน’ จากอากาศได้
.
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นต่อนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่าควรระวังเรื่องการตีราคาของเงินดังกล่าวที่อาจไม่เท่ากัน สร้างปัญหาให้กับความน่าเชื่อถือของรัฐ และอาจลามไปกระทบกับราคาเงินบาท
.
ดร.พิพัฒน์ อธิบายเรื่องราคาของเงิน โดยระบุว่า เงินก็มีราคา และไม่ได้มีแค่ราคาเดียว แต่มีถึง 4 ด้าน คือ
.
1.อัตราดอกเบี้ย คือราคาของเงินในปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าของเงินในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต เราก็ต้องการผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันนี้ธนาคารกลางมีส่วนสำคัญในการกำหนด แต่ก็คุมได้ไม่หมด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยหลายแบบ หลายระยะ และตลาดเป็นคนกำหนดดอกเบี้ยส่วนใหญ่
.
2.อัตราแลกเปลี่ยน คือราคาของเงินสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางประเทศหนึ่ง เทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ถ้ามีปัจจัยด้าน demand supply ความน่าเชื่อถือ ผลตอบแทนต่างกัน ราคาอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปได้
.
3.เงินเฟ้อ คือ ราคาของเงินเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการ ที่เงินสามารถซื้อได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงปริมาณเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ demand supply ของสินค้า
.
4.Par หรือราคาของเงินสกุลเดียวกันในรูปแบบต่างกัน เช่น เราอาจจะนับว่า ธนบัตร เหรียญ เงินฝากธนาคารที่ออกโดยแต่ละธนาคาร เงินใน wallet ที่ออกโดย provider แต่ละคนว่าเป็นเงินบาทเหมือนกัน แต่ถ้าสภาพ เงื่อนไข ข้อจำกัด และความน่าเชื่อถือต่างไป เงินที่เรียกว่าเงินบาทเหมือนกัน อาจจะมีราคาไม่เหมือนกันก็ได้
.
และราคาทั้งสี่ของเงินนี่แหละครับ (โดยเฉพาะราคาที่สี่ของเงิน) เป็นสาเหตุสำคัญที่แต่ละประเทศมีธนาคารกลางเป็น “monopoly” ในการออกเงิน หรือเป็น regulator ของคนที่ออกเงินได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ไม่งั้นคนคงมานั่งถามว่า เงินที่ได้รับมาเป็นเงินของใคร และมีราคาต่างกันหรือไม่
.
และหนึ่งในปัจจัยประเด็นสำคัญที่กำหนดราคาของเงิน คือความน่าเชื่อถือของคนที่ออกเงินและสินทรัพย์ที่หนุนหลัง “เงิน” นั้น
.
นึกภาพว่า ขนาดธนบัตรขาดคนยังกล้ารับที่เต็มมูลค่า เพราะเชื่อมั่นว่าแบงก์ชาติจะรับแลกคืนที่ราคาเต็ม
.
ประเด็นที่นโยบาย digital wallet ต้องคิดหนักๆ เลยคือ จะเอา “เงิน” อีกประเภทหนึ่งโยนเข้ามาในระบบ ที่มีเงื่อนไขการใช้ไม่เหมือนเงินบาทอื่นๆ แต่คาดหวังให้ราคาเท่ากับหนึ่งบาทตลอดเวลา โดยไม่มีกลไกในการแลกเปลี่ยน หรือมีภาระของรัฐค้ำประกัน 100% ตลอดเวลาได้อย่างไร (หรือจะใช้กฎหมายบังคับให้มันเท่ากัน ซึ่งทำไม่ได้แน่ๆ)
.
เพราะเงื่อนไขการใช้เงินที่ต่างกัน คนจะตีมูลค่าของเงินไม่เท่ากัน และเมื่อนำมาใช้ ก็จะเกิด “ราคา” ของเงินที่รัฐอาจจะบังคับไม่ได้ และอาจจะ “break the buck” ได้ และเมื่อเกิดขึ้น คนก็จะแห่ทิ้งเงินใหม่กันอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหากับความน่าเชื่อถือของรัฐได้
.
เช่น คนอาจจะยอมรับ “เงิน” แต่รับในอัตราที่ไม่เท่ากับ 1 บาท เช่น ขายของ 100 บาท ในราคา 200 เหรียญที่ออกใหม่ หรือมีคนทำธุรกิจตั้งโต๊ะรับแลกเหรียญที่ออกใหม่ ในราคาต่ำกว่า 1 บาท
.
หรือคนรับปฏิเสธการรับเอาดื้อๆ
.
ลองนึกภาพถึง stable coin หลากหลายที่ดูเหมือนว่ารักษามูลค่าได้ แต่พอคนเริ่มถามว่า stable coin นั้นมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบไหม หรือกลไกที่ทำให้ราคา stable coin คงที่น่ะ ทำงานได้จริงไหม…
.
การอธิบายว่า เราสามารถออกสิ่งที่เหมือน “เงิน” โดยไม่ต้องสร้างหนี้ ไม่ต้องขาดดุล ไม่เป็นภาระของรัฐ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่ากลัว ทั้งจากมุมมองวินัยทางการคลัง และความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงิน
.
อาจจะน่ากลัวกว่าการยอมรับว่านี่คือการแจกเงิน โดยการขาดดุลและสร้างหนี้เสียอีก
และระวังว่าปัญหาจะลามไปจนกระทบราคาทั้งสี่ของเงินบาทเลยนะครับ…
เพราะเราไม่อยู่ในสถานะที่สร้าง “เงิน” จากอากาศได้ครับ (แม้ว่าอาจจะมีบางประเทศทำได้ก็ตาม)
.
ที่มา: https://www.facebook.com/lpipat/posts/pfbid02wfUCA1FReP2ERRcTTEgPB63GgsZ9XD7rAnR41bC8Dhb7XDN7aM1Y9i5XvU61jER8l
.
#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY