วันอังคาร, สิงหาคม 29, 2566

โครงการเศรษฐกิจของกองทัพ ทำไมกองทัพ มุ่งขยายภารกิจของตนออกไปสู่ด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา ดูบทเรียนจาก EEC นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก


Puangthong Pawakapan
15h
·
EEC หรือนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บางทีก็เรียกว่าโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก) เป็นมรดกบาปที่รัฐบาลประยุทธ์สร้างไว้ให้กับคนใน 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) โครงการนี้เริ่มปี 2559 เหมือนจะไม่เกี่ยวกับทหาร แต่ถ้าขุดลงไปจะพบว่ากองทัพกลับได้เค็กก้อนใหญ่ติดต่อกันทุกปีจากโครงการนี้
กระทรวงกลาโหมเริ่มตั้งงบ "แผนงานบูรณาการ EEC" ให้ตัวเองตั้งแต่ปี 2560 เพื่อจะได้ใช้งบในปี 2561
- ปี 2561 ได้งบ 443.0100 ล้านบาท
- ปี 2564 ได้งบ 1,778.0615 ล้านบาท
- ปี 2565 ได้งบ 1,103.3995 ล้านบาท
- ปี 2566 ได้งบ 706.6973 ล้านบาท
ที่ประหลาดคือ กระทรวงอุตสาหกรรมที่ควรเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง กลับไม่มีงบที่เกี่ยวกับ EEC โดยตรง แต่มีงบให้คณะกรรมการ EEC ที่ดูแลให้การทำงานเป็นไปตามนโยบายเป็นหลัก กระนั้นก็ได้งบน้อยกว่าก.กลาโหม เช่น ปี 2565 ได้งบ 414.603 ล้านบาท
จริงๆ ตั้งแต่เริ่มโครงการ พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจหัวหน้าคณะรัฐประหาร ออกคำสั่งคสช. 4/2559 และ 9/2559 ยกเว้นผังเมืองให้กับโรงไฟฟ้าขยะ เป็นเหมือนใบอนุญาให้เดินหน้าสร้างโรงงานขยะก่อนที่จะทำประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
ไม่รู้แน่ว่างบบูรณาการฯนี้ ในทางปฏิบัติกองทัพทำอะไรบ้าง แต่ก็เห็นชัดเจนว่านี่คือสภาวะทหารครองเมืองอย่างแท้จริง นอกจากเรื่อง EEC แล้ว กองทัพมีงบและแผนงานด้านเศรษฐกิจอีกมากมาย แต่ละปีรวมกันแล้วมีมูลค่าหลายพันล้านบาท เช่น
- แผนบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ
- แผนพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ
- แผนพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติคส์
- แผนป้องกันปราบปรามบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
- แผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจในประเทศ
เหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดิฉันพยายามบอกให้สังคมได้เห็นถึงความพยายามของกองทัพ ที่มุ่งขยายภารกิจของตนออกไปสู่ด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองตั้งแต่ยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา ความพยายามนี้ถูกเร่งเครื่องอย่างรวดเร็วและกว้างขวางนับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 หรือเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงมากขึ้น
การแทรกซึมของกองทัพไม่ได้มีแค่เรื่องการครอบงำทางอุดมการณ์ ผ่านการอบรมจัดตั้งมวลชนของ กอ.รมน. (มีเพื่อนบางคนคิดว่างานของดิฉันมีแค่นี้) ซึ่งจริงๆ งานด้านอุดมการณ์อาจจะเป็นส่วนที่กองทัพประสบความสำเร็จน้อยที่สุด แต่ดิฉันต้องการชี้ให้เห็นว่ากองทัพได้รุกคืบเข้ามายึดครองพื้นที่อื่นๆ ได้มากขึ้นในนามของ "การพัฒนาเพื่อความมั่นคง" "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"
คุณเศรษฐาตอบคุณพิธาว่ารัฐบาลของเขาจะไม่ใช้คำว่า "ปฏิรูป" กับกองทัพ แต่จะใช้คำว่า "พัฒนาไปด้วยกัน" คุณเศรษฐาหมายถึงการพัฒนาที่อนุญาตให้กองทัพมีบทบาทสารพัดเช่นนี้ใช่หรือไม่
จะเอาทหารออกจากโครงการเศรษฐกิจเหล่านี้ได้อย่างไรถ้าไม่คิดจะลดอำนาจทางการเมืองของกองทัพ ไม่คิดจะแตะต้องกฎหมายสารพัดชนิดที่เป็นฐานอำนาจทางการเมืองของกองทัพเลย พรรคเพื่อไทยเคยมีความคิดความกล้าที่จะท้าทายอำนาจทหารหรือไม่? ถ้าไม่มีก็ตัดคำว่า democratization ออกจากชีวิตเถอะค่ะ
สุดท้าย สภาวะข้างต้นคือรัฐราชเสนานุภาพ (a royal praetorian state) ต่อให้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งบริหารประเทศ แต่อำนาจของกองทัพก็ยังแข็งแกร่ง และสามารถแทรกแซงกิจการต่างๆ ได้ง่ายดาย การจัดตั้งรัฐบาลที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดเจนถึงอำนาจของรัฐราชเสนานุภาพที่ชักใยอยู่เบื้องหลังได้เป็นอย่างดี
Ton Veerayooth Pannika Chor Wanich Thanapol Eawsakul Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
อ่านรายละเอียดการอภิปรายของคุณชวาล พลเมืองดี สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ที่ https://www.facebook.com/photo?fbid=261675590010452&set=a.119545677556778
.....
อุบัติเมืองมลพิษแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง
August 26
·
บทเรียน EEC ที่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ยังจะขยายมาที่ชุมพร-ระนอง
.....
[ การพัฒนา EEC ไม่สอดคล้องกับพันธกิจ ขาดการมีส่วนร่วม และเพิกเฉยต่อปัญหาและผลกระทบของคนในพื้นที่ ]
.
โครงการ EEC ดำเนินโครงการไปแล้วกว่า 6 ปี แต่ผลการดำเนินงานทั้งตามรายงานที่ สกพอ. ได้เข้ามารายงานในสภาฯ รวมถึงความเป็นจริงกลับไม่มีอะไรที่จับต้องได้เป็นที่ประจักษ์เลยสักนิด
.
รัฐบาลได้วาดฝันเป้าหมายโครงการ ผ่านการเขียนพันธกิจอย่างสวยหรู แต่ผลการดำเนินงานตามความเป็นจริง กลับไม่สอดคล้องและยังขัดต่อพันธกิจซะเอง
.
อีกทั้งยังส่งผลกระทบและสร้างปัญหาให้กับคนในพื้นที่นานัปการ เหตุเพราะที่มาของโครงการดังกล่าวไร้ความชอบธรรมและโครงสร้างคณะกรรมการ EEC ไม่ได้ยึดโยงกับพื้นที่ 3 จังหวัดอย่างแท้จริง โดยตั้งแต่ประธานกรรมการ ไปจนถึงสัดส่วนอนุกรรมการทุกคณะ ในแต่ละตำแหน่ง ไม่มีสัดส่วนของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดEEC เลยสักคน
.
หมายความว่า คนในพื้นที่เหล่านี้ไม่สามารถที่จะมีสิทธิแม้กระทั่งจะร่วมสะท้อนปัญหากำหนดการใช้ทรัพยากร และความเป็นวิถีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดEEC ได้เลย แต่ให้คนจากไหนไม่รู้เข้ามากำหนดชะตะกรรมของคนในพื้นที่
.
มีเวทีการรับฟังความคิดเห็นต่างๆที่ได้จัดขึ้นท่านก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่เท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น เวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนภาพรวม ในวันที่ 3 สิงหาคม 2566 แต่ปรากฏว่าจากเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน กลายเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นข้าราชการไปเป็นที่เรียบร้อย
.
เพราะผมได้รับรายงานมาว่าทั้งเวทีเต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่ข้าราชการและชนชั้นนำในพื้นที่ชลบุรี ประชาชนมาเพียงไม่กี่คนจากสัดส่วนเป็นร้อยคนในวันนั้น และพอถึงเวลาเลิกงานราชการ ผู้เข้าร่วมเวทีหายไปกว่าครึ่งห้อง ทั้งๆ ที่เวทียังไม่จบ
.
ซึ่งถ้าการพัฒนาขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้น ผลที่ประชาชนในพื้นที่ได้รับก็คือ การเพิกเฉยต่อปัญหาและผลกระทบของคนในพื้นที่จากผู้มีอำนาจนอกพื้นที่ดังนี้ครับ
.
ประการแรกท่านเพิกเฉยต่อปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะอยู่ดีๆ อยากจะเปลี่ยนผังเมืองเป็นอย่างไรท่านก็เปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่นท่านไปเปลี่ยนผังเมืองให้สามารถสร้างนิคมในพื้นที่เขียวทแยงขาวได้ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่ ต. เขาดิน อ. บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา ซึ่งขัดกับพันธกิจของEEC ว่า "จะพัฒนา อีอีซี ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ" ย้ำว่าสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบนะครับ
.
ประการต่อมา คณะกรรมการ EEC ก็ยังเพิกเฉยต่อผลกระทบที่ตามมาจากการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัญหาซ้ำซากเรื้อรังคือการลักลอบทิ้งกากอุตหกรรมอันตรายอย่างผิดกฎหมาย ในพื้นที่รอบๆเขต EEC และภาคตะวันออก
.
จากปี 2560-2564 ปัญหาการทิ้งน้ำเสียและกากอุตสาหกรรมเกิดขึ้น 280 ครั้ง และในพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งในและรอบๆEEC การลักลอบปล่อยมลพิษและกากอุตสาหกรรมปาไปแล้วกว่า 83 ครั้ง คิดเป็น 29.6 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ
.
ปัญหาเหล่านี้ที่ผ่านมาไร้การเหลียวแลจากคณะกรรมการEEC ทั้งสิ้นครับ เพราะคณะกรรมการ EEC ไม่เคยที่จะสนใจที่จะออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้เลย
เนื่องจากพวกเขาไม่ได้มีความยึดโยงต่อพื้นที่มากพอที่จะสนใจความเป็นความตายของคนในพื้นที่ เขาทำเพียงแค่กวาดเอาปัญหาเหล่านี้ซุกไว้ใต้พรหมแล้วเพิกเฉย ทำเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น แล้วมาพูดปาวปาวปาว ในสภาแถลงแต่ด้านสวยหรูเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าโครงการของพวกเขาไร้ที่ติ
.
อ่างเก็บน้ำโครงการหลวงเขาหินซ้อน ต้นฉบับการพัฒนาอย่างยั่งยืนมรดกของในหลวงรัชกาลที่ 9 ปัจจุบันความเป็นกรดเข้มข้นสูง ทั้งอ่างเก็บน้ำไร้ชึ่งชีวิต และเป็นพิษกับผู้คน นี่ใช่ไหมคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการกำกับของคณะกรรมการ eec ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ล้วนเต็มไปด้วยผู้จงรักภักดี นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
.
และไม่เพียงแต่มีปัญหาเรื่องกากอุตสหกรรมที่มันเกลื่อนกราดทั่วภาคตะวันออกนะครับ แต่ปัญหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานก็ยังคงมีปัญหาอยู่เช่นเคย แม้พันธกิจของ EEC ที่บอกว่าจะจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
.
แต่ที่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี น้ำประปาหยุดไหลเป็นว่าเล่นครับ ใน 7 เดือนที่ผ่านมา ประปาส่วนภูมิภาคสาขาบ้านบึง มีการประชาสัมพันธ์หยุดจ่ายน้ำไปแล้วกว่า 35 ครั้ง โดยอ้างว่าท่อชำรุดต้องหยุดจ่ายน้ำเพื่อซ่อมแซม จนกลายเป็นปัญหาซ้ำซากไปแล้ว
.
และผมมีข้อมูลอีกหลายพื้นที่ที่เป็นเช่นนี้ทั้งที่จังหวัดฉะเชิงเทราประปาก็เค็มครับ ระยองก็ไม่ต่างกัน น้ำไหลบ้างไม่ไหลบ้าง หรือบางที่น้ำมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น แต่โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมกลับมีน้ำใช้ไม่เว้นวัน แบบนี้ประชาชนจะสามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคอย่างสะดวกได้อย่างไร
.
นี่ยังไม่รวมพระเอกของโครงการนี้อย่างเช่นรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่จะอยู่ในแนวพื้นที่เสี่ยงภัยท่อแก๊สระเบิดในระยะประชิดยาวถึง 8 กิโลเมตร ซึ่งเจ้าของอย่างบริษัทปตท. ก็มั่นใจว่าท่อแก๊สของเขาไม่มีวันระเบิด แต่ผมคนในพื้นที่จะเชื่อได้ไงครับ ในเมื่อเหตุการณ์ที่ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อก็ไม่ไกลจากแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูงเท่าไหร่ และถ้าเป็นปัญหาเช่นนี้ การพัฒนาEEC ก็ไม่สามารถบรรลุพันธกิจ ในการพัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยอย่างสะดวกปลอดภัย ได้อย่างแน่นอนครับ
......
Cr. ชวาล พลเมืองดี
#ผู้แทนสามัญประจำบ้าน ชลบุรี เขต 3 พรรคก้าวไกล
อภิปรายในวาระ "รับทราบรายงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สกพอ.(EEC)"