วันพุธ, สิงหาคม 16, 2566

ถ้าเขาเป็นผู้ป่วยจิตเวช ทำไมยังโดนจำคุกตั้ง 3 เดือน กรณีทำลายทรัพย์สิน?


iLaw
17h
·
 15 สิงหาคม 2566 “แต้ม” จำเลยคดีทำลายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และแม่ของเขาเดินทางโดยรถสองแถวมาฟังคำพิพากษายังศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากบ้านซึ่งอยู่ตำบลบ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งห่างออกไปเป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตรจากตัวเมืองอุบลราชธานี
.
เวลา 09.50 น. ศาลมีคำสั่งพิพากษายกฟ้องในความผิดตาม มาตรา 112 ฐาน “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์” จากเหตุทุบทำลายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ป่วยจิตเวช ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชและขณะก่อเหตุไม่ได้ทานยาทำให้เกิดภาพหลอนและอาการหูแว่ว ประกอบกับหลักฐานเอกสารและคำให้การของพยานที่เป็นจิตแพทย์และพนักงานสอบสวน
.
อย่างไรก็ตาม ศาลตัดสินให้มีความผิดฐาน “ทำให้เสียทรัพย์” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 358 ประกอบกับกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสองที่กำหนดให้สามารถลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้หากจำเลยสามารถรู้ผิดชอบได้บ้าง จึงสั่งลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 6,000 บาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 420 ต่อ ผู้เสียหาย เป็นจำนวน 20,440 บาท
.
“แต้ม” เป็นผู้ป่วยโรคทางจิตเวช อายุ 33 ปี ถูกจับกุมหลังเกิดเหตุ ถูกทุบทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชการที่ 10 บริเวณหน้าโรงเรียนตระการพืชผล, ด้านหน้าสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ และหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารตระการพืชผล รวมสามจุด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2564
.
เขารับสารภาพว่าได้ทุบทำลายป้ายจริงเพราะไม่รู้ว่าเป็นป้ายอะไร ขณะก่อเหตุไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่รู้ว่าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ เห็นเป็นเพียงป้ายคล้ายไวนิลสีดำ และได้ยินเสียงแว่วและเห็นข้อความว่า “ทำลายสิ่งกีดขวาง” หากรู้จะไม่มีทางกระทำการดังกล่าว โดยแพทย์ผู้เป็นพยานให้การว่าขณะก่อเหตุจำเลยอาจจะไม่สามารถบังคับจิตใจตัวเองได้อย่างเต็มที่เนื่องจากขาดการรักษาถ้าหากทานยาต่อเนื่องก็จะไม่มีอาการ ประกอบกับหลักฐานเอกสารว่าจำเลยได้ขาดการรักษาจริงตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 และดื่มสุราทำให้อาการทางจิตเวชกำเริบ
.
ศาลได้ชี้ว่าจำเลยไม่มีพฤติการณ์ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามคำให้การของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีพฤติกรรมที่ดูหมิ่น ดูถูก หรือมีเจตนาภายใน และตำรวจที่เข้าตรวจค้นที่พักไม่พบหลักฐานว่ามีการอาฆาตมาดร้าย จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐาน “หมิ่นกษัตริย์ฯ”
.
ศาลกำหนดให้รอการลงโทษ โดยกำหนดเงื่อนไขให้คุมประพฤติโดยให้เข้ารับการรักษาอาการทางจิตเวชที่โรงพยาบาลในระหว่างรอการลงโทษเพื่อไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ
.
หลังจากรับฟังคำพิพากษาเสร็จแล้วจำเลยและแม่ได้เดินทางไปรายงานตัวยังสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุบลราชธานี
__
อ่านเรื่องราวของแต้มและรายละเอียดการสืบพยานในคดีนี้ได้ทาง
https://tlhr2014.com/archives/58278
.....
รู้จัก “แต้ม” ผู้ป่วยจิตเวชคดี 112 จากการทุบทำลายรูป ก่อนพิพากษา

112 ALERT!
รู้จัก “แต้ม” ผู้ป่วยจิตเวช คดี ม.112 จากการทุบทำลายรูป
ก่อนพิพากษาที่ศาลอุบลฯ วันพรุ่งนี้ !
.
“แต้ม” (นามสมมติ) อดีตทหารเกณฑ์วัย 33 ปี ผู้ป่วยโรคทางจิตเวชจากการได้รับความกระทบกระเทือนต่อสมองเลือดคั่งในสมองซีกซ้าย ถูกจับกุมหลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564 พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชการที่ 10 ถูกทุบทำลายในจังหวัดอุบลราชธานีรวมสามจุด
.
“แต้ม” ถูกตั้งข้อหา “ทำให้เสียทรัพย์” จากการทุบทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ แต่เมื่อสำนวนคดีไปถึงตำรวจภูธรภาค 3 ได้มีการแจ้งข้อหา มาตรา 112 เพิ่มเติม
.
ในชั้นสอบสวน “แต้ม” ได้รับสารภาพว่าเป็นคนลงมือทุบป้ายเนื่องจากอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งการจากเบื้องบนโดยตนไม่รู้ว่าเป็นป้ายอะไร เห็นเป็นเพียงป้ายสีดำไม่มีรูปใดๆ ในวันเกิดเหตุเขาไม่ได้รับยามา 3-4 เดือนแล้ว
.
วันที่ 15 สิงหาคม 2566 แต้มจะต้องเดินทางไปยังศาลจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้ง เพื่อฟังคำพิพากษา
______
อ่านเรื่องราวของแต้มและรายละเอียดการสืบพยานในคดีนี้ได้ทาง