.....
·
“สร้างอนาคตใหม่ไปด้วยกัน”
นักกิจกรรมเมียนมา-ไทยร่วมรำลึก 35 ปี 8888 Uprising
8 สิงหาคม 2565 เวลา 19.00 - 20.30 น. นักกิจกรรมเมียนมาและไทย จัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติเมียนมาครบรอบ 35 ปี เหตุการณ์ 8888 โดยการจุดเทียนรำลึกที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนักกิจกรรมเมียนมาได้กล่าวถึงการจุดเทียนว่า “การจุดเทียนเป็นส่องสว่างความหวังให้ดำเนินต่อไป”
จากนั้นจึงเดินขบวนจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เคลื่อนเข้าสู่อ่างแก้วเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่าน Art Performance ที่มุ่งสื่อความหมายถึง เสรีภาพ ประชาธิปไตย และหยุดการกดขี่ประชาชนในเมียนมา
โดยหลังจบ Art Performance นักกิจกรรมเมียนมาได้กล่าวทิ้งท้ายในใจความว่า “ต่อให้มืดมิดขนาดไหน แต่เปลวไฟให้ความหวังมันก็ยังสว่าง และอยากให้เราเดินไปด้วยกัน ไม่อยากให้วันนี้เป็นแค่วันๆ หนึ่ง อยากให้วันนี้เป็นวันที่เรารำลึกและสร้างอนาคตใหม่ไปด้วยกัน”
วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 (พ.ศ. 2531) ประชาชนเมียนมาได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประท้วงต่อต้านรัฐประหารของรัฐบาลทหารเนวิน ภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ตั้งแต่ ค.ศ. 1962-1988 ทหารเข้ามาปกครองเมียนมา โดยสภาปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ด้วยความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาลทหาร เน วิน ซึ่งทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของอดีตนายกรัฐมนตรี อู นุ ในปี 1962 ในนาม สภาปฏิวัติแห่งสหภาพ (Union Revolutionary Council) และได้ตั้งพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party: BSPP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวแบบเผด็จการที่ปกครองและครอบงำประเทศเมียนมาหลังจากนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้สร้างความไม่พอใจแก่นักศึกษา ประชาชน รวมไปถึงพระภิกษุเป็นอย่างมาก ประชาชนชาวเมียนมากว่า 1 ล้านคน ออกมาชุมนุมในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 เรียกร้องให้นายพลเส่ง ลวิน และระบอบทหารสลายไปจากประเทศพม่า
ด้วยเหตุการณ์การประท้วงของประชาชนชาวเมียนมานี้เอง คำพูดของนายพล เน วิน ที่กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เมื่อทหารยิงนั้นเป็นการยิงเพื่อให้ถูกเป้า ไม่ใช่ยิงเพื่อขู่ให้กลัว” ก็กลายเป็นจริงโดย นายพล เส่ง ลวิน ได้สั่งปราบปรามประชาชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้อง เกิดขึ้นมีการใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน (บางแหล่งข่าวรายงานว่าผู้เสียชีวิตอาจจะสูงถึง 10,000 คน) ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลให้ประชาชนเมียนมาเป็นจำนวนมากต้องหลบหนีลี้ภัยเข้ามาสู่ประเทศไทย
.....
“สร้างอนาคตใหม่ไปด้วยกัน”
นักกิจกรรมเมียนมา-ไทยร่วมรำลึก 35 ปี 8888 Uprising
8 สิงหาคม 2565 เวลา 19.00 - 20.30 น. นักกิจกรรมเมียนมาและไทย จัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ปฏิวัติเมียนมาครบรอบ 35 ปี เหตุการณ์ 8888 โดยการจุดเทียนรำลึกที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนักกิจกรรมเมียนมาได้กล่าวถึงการจุดเทียนว่า “การจุดเทียนเป็นส่องสว่างความหวังให้ดำเนินต่อไป”
จากนั้นจึงเดินขบวนจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เคลื่อนเข้าสู่อ่างแก้วเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่าน Art Performance ที่มุ่งสื่อความหมายถึง เสรีภาพ ประชาธิปไตย และหยุดการกดขี่ประชาชนในเมียนมา
โดยหลังจบ Art Performance นักกิจกรรมเมียนมาได้กล่าวทิ้งท้ายในใจความว่า “ต่อให้มืดมิดขนาดไหน แต่เปลวไฟให้ความหวังมันก็ยังสว่าง และอยากให้เราเดินไปด้วยกัน ไม่อยากให้วันนี้เป็นแค่วันๆ หนึ่ง อยากให้วันนี้เป็นวันที่เรารำลึกและสร้างอนาคตใหม่ไปด้วยกัน”
วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988 (พ.ศ. 2531) ประชาชนเมียนมาได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประท้วงต่อต้านรัฐประหารของรัฐบาลทหารเนวิน ภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ตั้งแต่ ค.ศ. 1962-1988 ทหารเข้ามาปกครองเมียนมา โดยสภาปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน ด้วยความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาลทหาร เน วิน ซึ่งทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของอดีตนายกรัฐมนตรี อู นุ ในปี 1962 ในนาม สภาปฏิวัติแห่งสหภาพ (Union Revolutionary Council) และได้ตั้งพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (Burma Socialist Programme Party: BSPP) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวแบบเผด็จการที่ปกครองและครอบงำประเทศเมียนมาหลังจากนั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้สร้างความไม่พอใจแก่นักศึกษา ประชาชน รวมไปถึงพระภิกษุเป็นอย่างมาก ประชาชนชาวเมียนมากว่า 1 ล้านคน ออกมาชุมนุมในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 เรียกร้องให้นายพลเส่ง ลวิน และระบอบทหารสลายไปจากประเทศพม่า
ด้วยเหตุการณ์การประท้วงของประชาชนชาวเมียนมานี้เอง คำพูดของนายพล เน วิน ที่กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เมื่อทหารยิงนั้นเป็นการยิงเพื่อให้ถูกเป้า ไม่ใช่ยิงเพื่อขู่ให้กลัว” ก็กลายเป็นจริงโดย นายพล เส่ง ลวิน ได้สั่งปราบปรามประชาชนที่ออกมาชุมนุมเรียกร้อง เกิดขึ้นมีการใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน (บางแหล่งข่าวรายงานว่าผู้เสียชีวิตอาจจะสูงถึง 10,000 คน) ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลให้ประชาชนเมียนมาเป็นจำนวนมากต้องหลบหนีลี้ภัยเข้ามาสู่ประเทศไทย
.....
Myanmar 101: The 8888 Uprising
Frontier Myanmar
5 years ago
August 8, 1988 marked the beginning of one of the most turbulent moments in modern Myanmar's history. A general strike protesting repressive government policies and the country's economic decline soon erupted into nationwide unrest; six weeks later, the military reasserted its control in a bloody crackdown that ended Myanmar's democracy hopes for decades.