โมกหลวงริมน้ำ
11h
กิจกรรม Stone and Flower และหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน คืออะไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร และเพราะอะไรเราจึงอยากให้คุณมาเรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ร่วมกัน
หลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเป็นธรรมและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เป็นหลักการที่ถูกใช้ในสังคมที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากสังคมที่เผชิญความขัดแย้งไปสู่สันติภาพ จากสังคมทีเป็นเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย
ซึ่งในสังคมเช่นนี้จำเป็นต้องมีกลไกหรือมาตรการเป็นกรอบหรือฐานรองรับกระบวนการเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ให้หลงลืมหรือละเลยการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมารวมถึงไม่ทิ้งผู้ได้รับผลกระทบไว้ข้างหลัง องค์ประกอบ หรือ "4 ขาหลัก" ของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านได้แก่ 1.การค้นหาความจริงและการนำความจริงให้ปรากฏ (Truth-seeking) 2. การเยียวยา (reparations) 3.การดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด (prosecution) และ 4. การสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบหรือการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง (Institutional reform)
สำหรับกิจกรรม Stone and Flower เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เข้าร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน เกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัว และประสบการณ์ของสังคมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น และการจัดการของภาคส่วนต่างๆ ต่อความรุนแรงนั้นผ่าน 4 องค์ประกอบของ Transitional Justice
นอกจากนี้ กิจกรรม Stone and Flower จึงเป็นวิธีการเก็บข้อมูลวิจัยซึ่งมุ่งเน้นในการให้ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วม (Participatory approach) กิจกรรมนี้ออกแบบและพัฒนาโดย @AJAR องค์กรภาคประชาสังคมตั้งอยู่ที่เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็ง ขยายเครือข่าย พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน กิจกรรมถูกออกแบบเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทำความเข้าใจประเด็นปัญหาทั้งในเชิงลึกและภาพกว้าง แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ที่แต่ละคนประสบพบเจอ และถอดบทเรียนร่วมกัน โดยมี 4 ขาหลักของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นกรอบการเรียนรู้แลกเปลี่ยน
ลงทะเบียนได้ที่
https://forms.gle/znE14Rkasm82QZir6
#คืนยุติธรรม #DawnOfJustice #โมกหลวงริมน้ำ #ajar
โมกหลวงริมน้ำ
4h
เพราะโครงสร้างสังคมที่เหลื่อมล้ำ มองคนไม่เท่ากันทำให้คนบางกลุ่มถูกผลักไปเป็นคนชายขอบ ไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานอย่างที่ควรจะเป็น
ไม่เพียงภาครัฐเท่านั้น หลายครั้งประชาชนร่วมสังคมก็ยังมองผ่านพวกเขา เหมือนเขาไม่มีตัวตน
แต่แม้จะถูกมองข้าม เขาต่อสู้ดิ้นรน เพื่อสิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิภาพอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับ และเมื่อมีการต่อสู้ ย่อมมีสิ่งที่เขาต้องแลกไป เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ
เตรียมพบกับวงเสวนาวงแรกของงานคืนยุติธรรม
“คนชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐผลักเป็นคนชายขอบ”
ดำเนินรายการโดย
คุณแทนฤทัย แท่นรัตน์ ภาคีSaveบางกลอย
วิทยากร
⁃ คุณพชร คำชำนาญ ภาคีSaveบางกลอย
⁃ คุณอาหมื่อ มาเยอะ อาหมื่อ มาเยอะ
ชาติพันธุ์อาข่า-ลีซู บ้านรินหลวง จ.เชียงใหม่
ยุติการผลักเพื่อนร่วมสังคม ให้ไปเป็นคนชายขับ เพื่อสังคมที่เท่าเทียม
The Jam Factory
เวลา 17.00 - 18.30 น.