
ทะลุฟ้า - Thalufah
13h




.

.
ขนาดเดียวกันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้โทรโข่งประกาศว่าการชุมนุมโดยการฉีดสเปรย์ดังกล่าวเป็นการกระทำผิดพ.ร.บ.รักษาความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง และขอให้เลิกการกระทำดังกล่าวทันที ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 40 นายที่ถือโล่ และมีเจ้าหน้าที่ของบริษัท SCG มาอยู่หน้าบริเวณดังกล่าวด้วย
.
โดยหลังจากที่มีการทำกิจกรรมสัญลักษณ์เสร็จสิ้น มีเจ้าหน้าที่บริษัท SCG และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาสอดส่องถ่ายรูปในบริเวณดังกล่าว
_

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.52 น.
กลุ่มราษฎรหยุดAPEC2022 เดินทางมาถึงบริเวณหน้ากระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านกลุ่มทุนผูกขาดรายใหญ่ที่เข้านั่งเป็นคณะกรรมการในที่ประชุม
.
โดยคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนด้านอาหาร, คณะอนุกรรมการสาขานวัตกรรม ประธานคือ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เจ้าของกลุ่มมิตรผล และนายประวิทย์ ประกฤตศรี (กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผล)
.
มีการชูป้ายผ้า 'หยุดน้ำตาลเลือด' และแสดง art performance สาดน้ำตาลใส่ชาวบ้านที่ต่อต้านไม่เอาโรงงานน้ำตาล หลังจากนั้นกลุ่มนายทุนก็นำน้ำแดงซึ่งหมายถึงเลือดมาสาดใส่ชาวบ้าน แสดงถึงการที่นายทุนเข้ามาตั้งโรงงานน้ำตาล สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านมลพิษทางเสียง, มลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ ฯลฯ
.
ทั้งนี้ในระหว่างกำลังเดินทางกลับมาที่ลานคนเมือง พบรถตำรวจตามติดและขับปาดหน้ารถของกลุ่มราษฎรโขงชีมูนกลางสี่แยก นักกิจกรรมบนรถตะโกนประนามการขับรถที่ผิดกฏจราจรดังกล่าว
_


.
ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการเปิดเผยจากรายงานจาก Greenpeace Thailland ว่า บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) มีการการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมงนอกน่านน้ำของไทย และเคยสัมภาษณ์แรงงานประมงผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมถึงการบังคับใช้แรงงานในอินโดนีเซีย พวกเขาเผชิญกับการกดขี่ขูดรีดและไม่ได้รับอาหารบนเรือประมงนอกน่านน้ำจากประเทศไทย
.
เรือประมงนอกน่านน้ำเหล่านั้นขนถ่ายปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ ส่งให้เรือมารีนวัน(Marine one) ของบริษัท ซิลเวอร์ซี ไลน์ จำกัด ที่ดำเนินการโดยคนไทย และยังเป็นบริษัทเดียวกับที่สำนักข่าวเอพีรายงานว่าทำการขนส่งอาหารทะเลจากการบังคับใช้แรงงานประมงและเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับไทยยูเนี่ยน ทั้งนี้แรงงานบังคับ หรือผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ เคยเล่าว่า การทำร้ายร่างกายและไม่ได้รับอาหาร จะเกิดขึ้นกับใครก็ตามที่พยายามหลบหนี แรงงานบนเรือประมงปลาทูน่าถูกบังคับให้ทำงาน 20-22 ชั่วโมงต่อวัน โดยรับค่าจ้างเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้เลย หรือแม้แต่การไม่อนุญาตให้อาบน้ำ
_

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พบสติ๊กเกอร์ “สินค้าชิ้นนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชน” ติดอยู่กับสินค้าที่เป็นของกลุ่มทุนผูกขาดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลมิตรผล ไส้กรอก CP หรือเบียร์ที่มีเจ้าของเป็นกลุ่มทุนผูกขาดอย่างไทยเบฟฯ ก็ต่างมีสติ๊กเกอร์ติดตามสินค้าทั่วเซเว่นฯ
หลังจากที่เศรษฐกิจถูกผูกขาดการแข่งขันทางการค้าโดยกลุ่มทุนใหญ่ ทำให้ประชาชนหลายคนไม่สามารถเลือกที่จะปฏิเสธสินค้าที่มาจากการผูกขาด ตั้งแต่เครื่องดื่ม ไปจนสัญญาณโทรศัพท์ อย่างน้อยหากเราปฏิเสธมันไม่ได้ในยามจำเป็น ขอให้ร่วมกันส่งเสียงต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านการผลิตสินค้า หรือแม้แต่กระทั่งการผูกขาดการแข่งขันทางการค้า
ถ้าหากใครเจอสินค้าชิ้นไหนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเป็นของกลุ่มทุนผูกขาด ก็อย่าลืมร่วมกัน #แบนสินค้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้พร้อมกันที่ 7-11 ทุกสาขา !!!
-
#APEC2022
#ไล่ประยุทธ์หยุดAPEC
#ราษฎรหยุดAPEC








ก็พวกมึงไปยืนถือป้ายเค้าทำไมมันใช่หน้าที่มึงมั้ย 55555
— JNISS🏗 (@Jniisss_zJo) November 17, 2022
เขียวเละเลยมึง จะได้กลับบ้านเมื่อไหร่ไม่รู้ แม่บ้านด่าเช็ดอีก55555
"หยุดฟอกเขียวทุนเจ้า" #ม็อบ17พฤศจิกา65 #APEC2022 pic.twitter.com/gSIZm6acCy
SCG ผลประโยชน์เพื่อประชาชน หรือเพื่อใคร?
— ทะลุแก๊ซ - Thalugaz (@thalugazzz) November 17, 2022
Siam Cement Group หรือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งโดยรัชกาลที่ 6 และดำเนินธุรกิจมากว่า 100 ปี ช่วงนึงมีการปฏิรูปให้ทรัพย์สินอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ก่อนจะถูกถ่ายโอนกลับไปยังสำนักงานทรัพย์สินฯ#APEC #APEC2022THAILAND pic.twitter.com/BBjya72C01
APEC ไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จริงหรือ
— ทะลุวัง - ThaluWang (@ThaluWang_) November 16, 2022
ในเมื่อกษัตริย์ไทยก็เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศ
อย่าปล่อยให้ APEC สร้างความชอบธรรมให้ทรราช
หยุดปล่อยให้ทรราชกุมอำนาจทุนนิยม
พรุ่งนี้ 12.00 น. ที่ แยกอโศก#WhatHappenedInThailand#ApecThailand2022 #ทะลุวัง #ThaluWang pic.twitter.com/wBIsB5vW8k