อานนท์ นำภา รอหมายเรียกพร้อมสู้คดี หลังถูกแจ้งความละเมิดสถาบันกษัตริย์
ที่มา บีบีซีไทย
นายอานนท์ นำภา ทนายความที่ปราศรัยวิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยในการชุมนุมเมื่อ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า รอรับหมายเรียก และพร้อมไปรับทราบข้อกล่าวหา หลังสื่อไทยหลายแห่งรายงานว่า มีผู้ไปแจ้งความดำเนินคดีฐานปราศรัยกล่าวหาสถาบันกษัตริย์
เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 5 ส.ค. ที่ สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ นายอภิวัฒน์ ขันทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะทนายความประจำสำนักกฎหมาย อ.อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง และเพื่อน เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.อิทธิพล พงษ์ธร ผู้กำกับ สน.สำราญราษฎร์ เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายอานนท์ นำภา ทนายความ กรณีจัดชุมนุมปราศรัยละเมิดกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะ โดยนำหลักฐาน เป็นเอกสาร คลิปเสียง และคลิปวีดีโอ มามอบเป็นหลักฐาน
ตามการรายงานข่าวของข่าวสด นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า นายอานนท์ และบุคคลไม่ทราบชื่อที่ให้การสนับสนุนการชุมนุมปราศรัยที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เมื่อ 3 ส.ค. เป็นการร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎหมายอาญา หลายความผิดหลายกรรม จึงมาแจ้งความเพื่อมิให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะเสื่อมเสียพระเกียรติถูกดูหมิ่นดูแคลนประเทศชาติเกิดความเสียหายเกิดความวุ่นวายความแตกแยกมากไปกว่านี้ พร้อมฝากถึงทาง สภาทนายความให้พิจารณาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
REUTERS
คำบรรยายภาพ,
"ถ้าการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้เป็นผล ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ดอกผลของการต่อสู้จะตกแก่คนไทยทุกคน รวมถึงคนที่ออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผมกลุ่มนี้ด้วย" นายอานนท์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก
พร้อมรับทราบข้อหาและสู้คดี
ในเวลาต่อมาผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยได้สอบถามนายอานนท์ทางเมสเซนเจอร์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายอานนทร์ตอบกลับมาว่า "ก็รอรับหมายเรียกครับ" เขาระบุว่า พร้อมเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา นอกจากนี้ยังเตรียมการเรื่องประกันตัวไว้ด้วย
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันนายอานนท์ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กชื่อบัญชีของตัวเอง ว่า "กล้าดียังไงมาแจ้งจับแฮร์รี พอตเตอร์" พร้อมกับลิงก์ข่าวการแจ้งความจับที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ข่าวสด โดยการชุมนุมประท้วงวันนั้นของกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด จัดขึ้นด้วยแนวคิดตามภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ และนายอานนท์ได้แต่งตัวเลียนแบบตัวละครแฮร์รี พอตเตอร์ ขึ้นกล่าวปราศรัยนาน 30 นาที
เนื้อหาสำคัญของการปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายอานนท์ได้มุ่งเน้นไปเรื่องข้อกฎหมาย 4 เรื่องคือ
เขาประกาศด้วยว่า จะไม่ขึ้นปราศรัยในการชุมนุมครั้งต่อไป หากไม่ยอมให้เขาพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย
นายอานนท์โพสต์ข้อความหลังทราบเรื่องการแจ้งความนี้ว่า "ความสำคัญและจำเป็นที่ต้องพูดถึงการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ก็เพื่อให้สังคมร่วมกันตั้งคำถาม และหาทางแก้ปัญหาบ้านเมืองร่วมกัน เพราะบ้านเมืองไม่ใช่ของใครคนใดคนนึง แต่เป็นของพวกเราทุกคน"
"ถ้าการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้เป็นผล ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ดอกผลของการต่อสู้จะตกแก่คนไทยทุกคน รวมถึงคนที่ออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผมกลุ่มนี้ด้วย" นายอานนท์ โพสต์ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว และลงท้ายข้อความว่า "เชื่อมั่นและศรัทธาในประชาชน"
ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด มีข้อเรียกร้องดังนี้
1.ให้ยกเลิกและแก้ไขกฎหมายที่มีผลเป็นการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อาจกระทบกับระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
3.ต้องรับฟังเสียงของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในขณะนี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย
อานนท์ นำภา : ทนายความสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
วิ่งกันนะแฮมทาโร่: เมื่อการ์ตูน-เพลงกลายเป็นตัวเชื่อมโยงเยาวชนกับการเมือง
ชาวไทยในต่างประเทศ ร่วมแสดงพลังเรียกร้องประชาธิปไตย "ขับไล่เผด็จการ"
ข่าวสดรายงานว่า ผู้กำกับสน.สำราญราษฎร์ เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะรวบรวมเอกสารหลักฐานที่ผู้ร้องทุกข์มายื่นให้ เพื่อทำการตรวจสอบ พร้อมประสานไปยัง สน.ชนะสงคราม ที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบ เนื่องจากวันจันทร์ที่ 3 ส.ค. กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว มีการปราศรัย บริเวณบนพื้นทางเท้าหน้า ร้านอาหารแมคโดนัลด์ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของสน.ชนะสงคราม ต่อไป
นายอานนท์ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ได้เตรียมการเรื่องประกันตัวไว้ และจะยังขึ้นกล่าวปราศรัยในการชุมนุมครั้งต่อไปตามปกติ
เขาได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ได้รับเชิญให้ไปปราศรัยเรื่องการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย ในวันที่ 9 ส.ค. นี้ ที่ จ.เชียงใหม่ และ 10 ส.ค. ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา นายอานนท์ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินอันเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และขอให้มีการเรียกรับคืนงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็น มาใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ด้วย
รัฐธรรมนูญและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"
ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามมาตรา 9 ได้ให้อำนาจนายกฯ ออกข้อกําหนด ไว้ 6 ประเด็น ดังนี้
หากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 18 ของ พ.ร.ก. ฉบับนี้
ooo
นายอานนท์ นำภา ทนายความที่ปราศรัยวิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยในการชุมนุมเมื่อ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า รอรับหมายเรียก และพร้อมไปรับทราบข้อกล่าวหา หลังสื่อไทยหลายแห่งรายงานว่า มีผู้ไปแจ้งความดำเนินคดีฐานปราศรัยกล่าวหาสถาบันกษัตริย์
เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ของวันที่ 5 ส.ค. ที่ สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ นายอภิวัฒน์ ขันทอง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะทนายความประจำสำนักกฎหมาย อ.อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง และเพื่อน เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.อิทธิพล พงษ์ธร ผู้กำกับ สน.สำราญราษฎร์ เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายอานนท์ นำภา ทนายความ กรณีจัดชุมนุมปราศรัยละเมิดกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะ โดยนำหลักฐาน เป็นเอกสาร คลิปเสียง และคลิปวีดีโอ มามอบเป็นหลักฐาน
ตามการรายงานข่าวของข่าวสด นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า นายอานนท์ และบุคคลไม่ทราบชื่อที่ให้การสนับสนุนการชุมนุมปราศรัยที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เมื่อ 3 ส.ค. เป็นการร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 6 และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎหมายอาญา หลายความผิดหลายกรรม จึงมาแจ้งความเพื่อมิให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะเสื่อมเสียพระเกียรติถูกดูหมิ่นดูแคลนประเทศชาติเกิดความเสียหายเกิดความวุ่นวายความแตกแยกมากไปกว่านี้ พร้อมฝากถึงทาง สภาทนายความให้พิจารณาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
REUTERS
คำบรรยายภาพ,
"ถ้าการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้เป็นผล ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ดอกผลของการต่อสู้จะตกแก่คนไทยทุกคน รวมถึงคนที่ออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผมกลุ่มนี้ด้วย" นายอานนท์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก
พร้อมรับทราบข้อหาและสู้คดี
ในเวลาต่อมาผู้สื่อข่าวบีบีซีไทยได้สอบถามนายอานนท์ทางเมสเซนเจอร์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นายอานนทร์ตอบกลับมาว่า "ก็รอรับหมายเรียกครับ" เขาระบุว่า พร้อมเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา นอกจากนี้ยังเตรียมการเรื่องประกันตัวไว้ด้วย
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันนายอานนท์ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กชื่อบัญชีของตัวเอง ว่า "กล้าดียังไงมาแจ้งจับแฮร์รี พอตเตอร์" พร้อมกับลิงก์ข่าวการแจ้งความจับที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ข่าวสด โดยการชุมนุมประท้วงวันนั้นของกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด จัดขึ้นด้วยแนวคิดตามภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ และนายอานนท์ได้แต่งตัวเลียนแบบตัวละครแฮร์รี พอตเตอร์ ขึ้นกล่าวปราศรัยนาน 30 นาที
เนื้อหาสำคัญของการปราศรัยเมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายอานนท์ได้มุ่งเน้นไปเรื่องข้อกฎหมาย 4 เรื่องคือ
- การแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังผ่านประชามติ
- การแก้กฎหมายปี 2560 ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
- พ.ร.ก. ย้ายบางส่วนของกองทัพเป็นของพระมหากษัตริย์
- พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563
เขาประกาศด้วยว่า จะไม่ขึ้นปราศรัยในการชุมนุมครั้งต่อไป หากไม่ยอมให้เขาพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย
นายอานนท์โพสต์ข้อความหลังทราบเรื่องการแจ้งความนี้ว่า "ความสำคัญและจำเป็นที่ต้องพูดถึงการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ก็เพื่อให้สังคมร่วมกันตั้งคำถาม และหาทางแก้ปัญหาบ้านเมืองร่วมกัน เพราะบ้านเมืองไม่ใช่ของใครคนใดคนนึง แต่เป็นของพวกเราทุกคน"
"ถ้าการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้เป็นผล ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองและอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ดอกผลของการต่อสู้จะตกแก่คนไทยทุกคน รวมถึงคนที่ออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผมกลุ่มนี้ด้วย" นายอานนท์ โพสต์ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว และลงท้ายข้อความว่า "เชื่อมั่นและศรัทธาในประชาชน"
ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มมอกะเสด มีข้อเรียกร้องดังนี้
1.ให้ยกเลิกและแก้ไขกฎหมายที่มีผลเป็นการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อาจกระทบกับระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
3.ต้องรับฟังเสียงของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในขณะนี้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย
อานนท์ นำภา : ทนายความสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
วิ่งกันนะแฮมทาโร่: เมื่อการ์ตูน-เพลงกลายเป็นตัวเชื่อมโยงเยาวชนกับการเมือง
ชาวไทยในต่างประเทศ ร่วมแสดงพลังเรียกร้องประชาธิปไตย "ขับไล่เผด็จการ"
ข่าวสดรายงานว่า ผู้กำกับสน.สำราญราษฎร์ เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะรวบรวมเอกสารหลักฐานที่ผู้ร้องทุกข์มายื่นให้ เพื่อทำการตรวจสอบ พร้อมประสานไปยัง สน.ชนะสงคราม ที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบ เนื่องจากวันจันทร์ที่ 3 ส.ค. กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าว มีการปราศรัย บริเวณบนพื้นทางเท้าหน้า ร้านอาหารแมคโดนัลด์ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของสน.ชนะสงคราม ต่อไป
นายอานนท์ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ได้เตรียมการเรื่องประกันตัวไว้ และจะยังขึ้นกล่าวปราศรัยในการชุมนุมครั้งต่อไปตามปกติ
เขาได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ได้รับเชิญให้ไปปราศรัยเรื่องการขยายอำนาจของสถาบันกษัตริย์ที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย ในวันที่ 9 ส.ค. นี้ ที่ จ.เชียงใหม่ และ 10 ส.ค. ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา นายอานนท์ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินอันเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และขอให้มีการเรียกรับคืนงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็น มาใช้ในการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ด้วย
รัฐธรรมนูญและพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"
ส่วน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามมาตรา 9 ได้ให้อำนาจนายกฯ ออกข้อกําหนด ไว้ 6 ประเด็น ดังนี้
- ห้ามมิให้บุคคลออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ภายในระยะเวลาที่กําหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น
- ห้ามมิให้มีการชุมนุมมั่วสุมกัน หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
- ห้ามการเสนอข่าว หรือข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
- ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
- ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย
หากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 18 ของ พ.ร.ก. ฉบับนี้
ooo
การแจ้งจับทนายอานนท์ ก็จะทำให้เกิดแรงกดดัน ต่อสู้ต่อรองเช่นถ้าออกหมายเรียกหมายจับ ประชาชนก็จะเรียกร้องให้ปล่อยตัว ให้ประกัน ให้เขาเห็นว่าถ้าคุมขังโดยไม่ให้ประกัน ม็อบจะยิ่งลุกลามแน่นอน
ขณะเดียวกันก็จะเกิดการโต้แย้งถกเถียงว่าผิดตรงไหน นี่เป็นข้อเรียกร้องในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ยิ่งถกเถียงก็ยิ่งขยายประเด็นที่อานนท์พูด)
ไม่น่าแจ้งจับเลย ฝ่ายอำนาจปล่อยให้อยู่ในความเงียบยังเป็นผลดีกับตัวเองกว่า
Atukkit Sawangsuk