วันอังคาร, พฤษภาคม 05, 2563

ดูผลงานที่ก่อสร้างไว้ของ “นุรักษ์ มาประณีต” อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “นุรักษ์ มาประณีต” อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองคมนตรี
...
...



แต่งตั้ง นุรักษ์ มาประณีต อดีตตุลาการศาล รธน. 13 ปี เป็นองคมนตรี
.
วันนี้ (4 พฤษภาคม 2563) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ประกาศแต่งตั้งให้ นุรักษ์ มาประณีต อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองคมนตรี

สำหรับประวัติส่วนตัว นุรักษ์ มาประณีต เคยเป็นตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญยาวนานถึง 13 ปี ภายใต้คณะรัฐประหารถึง 2 ชุด และตัดสินยุบพรรคการเมืองไปทั้งหมดถึง 29 พรรคการเมือง

นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งมายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของศาลรัฐธรรมนูญ คือ 13 ปี

เริ่มดำรงตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (คปค.) ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการรัฐประหาร และเข้ามาปกครองประเทศร่างขึ้น

หลังจากนั้นรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมดเก้าคน และดำรงตำแหน่งได้เก้าปี ซึ่งนุรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งโดยมาจากการออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งนุรักษ์จะต้องพ้นตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2560 พร้อมกับชัช ชลวร, บุญส่ง กุลบุปผา, อุดมศักดิ์ นิติมนตรี และจรัญ ภักดีธนากุล เนื่องจากทั้งห้าคนหมดวาระเก้าปีแล้ว แต่ก็ได้อยู่ต่อ เนื่องจากวันที่ 20 เมษายน 2560 หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจ "มาตรา 44" ออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ให้งดเว้นการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งก่อนหน้านี้เอาไว้ก่อน และยืดอายุให้ตุลาการทั้ง 5 คนทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะมีการประกาศใช้ พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ พร้อมด้วยการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในบทเฉพาะกาลก็พบว่า ตุลาการทั้งชุดยังไม่ถูก "เซ็ตซีโร่" คนที่อยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่หมดวาระสามารถอยู่ในตำแหน่งต่อได้ ไม่ต้องทำการสรรหาใหม่ทั้งหมด ส่วนตุลาการที่หมดวาระแล้วแต่ คสช. ใช้ "มาตรา 44" ช่วยยืดอายุไว้ ก็ให้ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จนกว่าจะมีการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แล้วเสร็จ

กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เริ่มตั้งแต่เปิดประชุมรัฐสภาชุดใหม่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 จนถึง 6 เมษายน 2563 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่สี่คน แทนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสี่คนเดิมที่หมดวาระลงไปก่อนหน้านี้แล้วหลายปี ทำให้นุรักษ์ พ้นจากหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีประกาศแต่งตั้งเป็นองคมนตรีในวันนี้

ตลอดเวลา 13 ปีของนุรักษ์ เป็นตุลาการที่ร่วมพิจารณาตัดสินคดีการยุบพรรคมาทุกคดี ตั้งแต่ปี 2549 และร่วมตัดสินคดียุบพรรคมาแล้วทั้ง 29 พรรค รวมทั้ง
- พรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2550
- พรรคพลังประชาชน เมื่อปี 2551
- พรรคไทยรักษาชาติ เมื่อปี 2562
และพรรคอนาคตใหม่ เมื่อปี 2563
และยังเป็นตุลาการอยู่ในชุดที่ตัดสิน "ไม่ยุบ" พรรคประชาธิปัตย์ด้วย
.
ไอลอว์ยังได้รวมรวมสถิติในการตัดสินคดีของ นุรักษ์ ในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า นุรักษ์ ตัดสินไปในทางที่เป็นคุณกับ คสช.

ตัวอย่างคดีที่นาสนใจ

๐ หนึ่ง คดีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ พ.ร.บ.ประชามติฯ

นุรักษ์ ตัดสินว่า พ.ร.บ.ประชามติฯ ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

๐ สอง คดียุบพรรคไทยรักษาชาติ

นุรักษ์ ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ และตัดสินให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคตลอดชีวิต (ไม่กำหนดระยะเวลา)

๐ สาม คดีรัฐมนตรี ยุค คสช. ถือหุ้นสัมปทานรัฐ ขัดรัฐธรรมนูญ

นุรักษ์ ตัดสินให้เป็นรัฐมนตรีต่อได้

๐ สี่ คดี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นจ้าหน้าที่ของรัฐ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

นุรักษ์ ตัดสินให้ว่า พล.ประยุทธ์ ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

๐ ห้า คดีธนาธร ถือหุ้นวีลัคมีเดีย ขัดรัฐธรรมนูญ

นุรักษ์ ตัดสินให้มีความผิด พ้นสภาพ ส.ส.

๐ หก เสียบบัตรแทน ลงคะแนน พ.ร.บ.งบฯ ไม่เป็นโมฆะ

นุรักษ์ ตัดสินให้ พ.ร.บ.งบฯ ไม่เป็นโมฆะ

๐ เจ็ด คดียุบพรรคอนาคตใหม่ ล้มล้างสถาบันฯ

นุรักษ์ ตัดสินให้ยกคำร้อง

๐ แปด คดียุบพรรคอนาคตใหม่ กู้เงิน 191.2 ล้านบาท

นุรักษ์ ตัดสินให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสินให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคตลอดชีวิต (ไม่กำหนดระยะเวลา)
.
.
๐ ประกาศแต่งตั้ง นุรักษ์ มาประณีต เป็นองคมนตรี: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/…/2563/E/106/T_0001.PDF…
.
๐ เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน พบ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัยเป็นคุณกับ คสช.: https://ilaw.or.th/node/5559
.
๐ ชำแหละคำวินิจฉัยส่วนตน 9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: คดียุบพรรคอนาคตใหม่: https://ilaw.or.th/node/5607
.
๐ มาแล้ว! ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ที่ใช้เวลาสรรหาตั้งแต่ประกาศใช้ รธน.60: https://ilaw.or.th/node/5594
.
๐ เปิดเหตุผลตุลาการเสียงข้างน้อย คดียุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อยุบพรรคแล้วให้ตัดสิทธิตลอดชีวิต: https://ilaw.or.th/node/5580
...