สภาองคมนตรียังมีประโยชน์อะไรในรัชกาลที่ 10? ดิชั้นเคยเขียนเรื่องนี้ที่ New Mandala เมื่อปี 2016 เราต้องยอมรับว่า สภาองคมนตรีมีอำนาจมากในยุค ร 9 เพราะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการรวมเอาสถาบันที่จงรักภักดีต่อกษัตริย์มารวมเป็นหนึ่งเดียว ในการปกป้องผลประโยชน์ทางการเมืองของตัวเอง สภาองคมนตรีมีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่สมัย ร 5 (ในฐานที่ปรึกษากษ้ตริย์) แต่ในช่วง ร 9 มันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ มีเปรมเป็น CEO มีอิทธิพลในการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร รวมไปถึงการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองโดยการสนับสนุนการทำรัฐประหาร คนที่เป็นองคมนตรีจึงต้องเป็นคนที่รักเจ้าเท่านั้น มีตั้งแต่นายพลเกษียณ ผู้พิพากษา อดีตข้าราชการระดับสูง และต้องเป็นผู้ชาย (มีใครรู้บ้างว่ามีองคมนตรีหญิงบ้างหรือเปล่า ส่วนตัวเช็คแล้วไม่เห็นว่าเคยมี)
....แต่ยุควชิราลงกรณ์ มันเป็นการรวบอำนาจ ไอ้ส่วนที่ไม่ถูกกับเปรมก็ใช่ แต่เปรมตายห่าไปแล้ว และพฤติกรรมวชิราลงกรณ์ก็เห็นได้ว่าต้องการเล่นการเมืองโดยไม่ผ่านตัวกลางหรือ proxies อีกต่อไป นับตั้งแต่แก้ไข รธน เพื่อให้ตัวเองอยู่เมืองนอกโดยไม่ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการที่อาจเป็นประธานองคมนตรี คือในส่วนนี้ ได้ bypass สภาองคมนตรีไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีบทบาทอะไรแล้วจะเก็บไว้ทำไม แถมยังมีการแต่งตั้งคนใหม่เมื่อวาน (นุรักษ์) ส่วนตัวคิดว่า มันยังมีประโยชน์ในการยึดโยงสถาบันกษัตริย์กับหน่วยงานรอยัลลิสต์ต่างๆ ทั้งจากทหารและศาล แม้ว่าในความเป็นจริง ดิชั้นมั่นใจว่า วชิราลงกรณ์ไม่ได้พึ่งคำปรึกษาของสภาองคมนตรีอีกแล้ว
https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/posts/2512202798881468