วันพุธ, มีนาคม 11, 2563

พวกหน้าไม่อาย... กกต มีมติ ให้แจ้งความ #ธนาธร ตาม ป.อาญา ม.151 ฐาน"รู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ ยังสมัครรับเลือกตั้ง"





คอยดูศาลอาญาจะไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่าธนาธรถือหุ้นสื่อจริงหรือไม่ มีการโอนหุ้นจริงหรือไม่ เพราะศาลอาญาอาจจะอ้างว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่ายังถือหุ้นสื่อ ยังไม่ได้โอน ศาลอาญาก็จะตัดสินตามศาลรัฐธรรมนูญ ว่ารู้ตัวอยู่ว่าไม่มีสิทธิสมัคร ลงโทษสถานเดียว
ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเป็นการเอาระบบพิจารณา 2 ระบบมาผสมกัน แล้วตีขลุม ตบตาประชาชน ว่าเป็นความยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบไต่สวน ซึ่งเอาความเห็นตุลาการเป็นใหญ่ ระบบไต่สวนเอามาจากยุโรป ใช้สมัยศาลศาสนาล่าแม่มด แม่มดต้องพิสูจน์ตัวเองให้ศาลพระเชื่อ ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่งั้นเผาทั้งเป็น
ยุโรปเขาปรับปรุงเยอะมากในการใช้ระบบนี้ เพราะมันมีข้อดีที่หากตุลาการเที่ยงธรรมก็สามารถใช้ระบบไต่สวนหาพยานหลักฐานเพิ่มได้ (ตุลาการยุโรปตรวจสอบได้ แถมเอาผิดได้ถ้าบิดเบือนความยุติธรรม) แต่ตุลาการภิวัตน์ไทยฉวยมาใช้เพื่อเพิ่มอำนาจตัวเอง ในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกานักการเมือง ศาลทุจริต
ระบบไต่สวนต่างจากระบบกล่าวหา ที่ใช้ในศาลอาญาทั่วไป ซึ่งถือหลักว่าฝ่ายโจทก์ คืออัยการ ต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ต้องหาผิดจริง หากยังมีข้อสงสัยก็ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย เพราะจะอาคนเข้าคุกทั้งที่ยังไม่สิ้นสงสัยไม่ได้
แต่ระบบไต่สวนที่ ปปช.ยื่นต่อศาลนักการเมือง กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องเป็นฝ่ายหักล้าง พิสูจน์ตัวเองจนศาลสิ้นสงสัย ตราบใดที่ศาลยังสงสัยอยู่ ก็ถือว่าผิด ดังจะเห็นจากคดีธนาธร สาระสำคัญในคำวินิจฉัยคือ ตุลาการอ้างว่ายังไม่สิ้นสงสัย=ตัดสิทธิ ทั้งๆ ที่เขามีพยานหลักฐานมาแสดงเต็มไปหมด แต่ศาลก็ไปตั้งข้อสงสัยว่าทำไมการโอนหุ้นครั้งก่อนไม่ทำอย่างนี้ ทำไมไม่รีบเอาเช็คไปขึ้นเงิน บลาๆๆ
ซึ่งมันกลับกันถ้าเป็นคดีอาญา อัยการจะต้องพิสูจน์หักล้างพยานหลักฐานเอกสารที่ธนาธรยกมาว่าไม่จริงทั้งหมด จึงจะตัดสินว่าผิดได้
แต่เมื่อมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ=ผูกพันทุกองค์กร ก็เล่นง่ายไง
..
Saiseema Phutikarn
โดยหลักการแล้ว ไม่น่าจะสามารถเอาคำวินิจฉัยของศาล รธน มาใช้ได้เลยครับ ... เพราะ คดีที่ศาล รธน ตัดสินนั่นคือ ตาม พรป การเลือกตั้ง ม.54 เรื่องการขาดคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้าม ...โดยศาลเห็นว่า ธนาธร "ถือหุ้นสื่อ" ณ วันที่สมัคร .... แต่ ไม่ได้มีประเด็นเรื่อง การ "รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีคุณสมบัติ" ...
ซึ่งการฟ้อง อาญา ตาม ม.151 ต้องเป็นกรณีที่ "รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัคร" ถึงจะครบองค์ประกอบความผิด ... การถือหุ้นสื่อเฉยๆไม่ครบองค์ประกอบจะเอาผิดได้ ...
ที่สำคัญว่าตาม "สามัญสำนึก" คดีนี้ถ้าฟ้องศาล"ยุติธรรม"ปกติ ธนาธร ไม่มีทางแพ้เลย ... เพราะกรณีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากการถือหุ้นนี้ มันเป็นเรื่องที่ "ถ้ารู้อยู่แล้ว..." เจ้าตัวสามารถดำเนินการแก้ไขให้ไม่มีลักษณะต้องห้ามนี้ได้ ...
ที่มันเกิดปัญหากับผู้สมัคร สส. จนทำให้ กกต ต้องฟ้องศาลฏีกาฯ ให้ตัดสิทธิผ้สมัครหลายสิบคนเพราะกรณี "ถือหุ้นสื่อ" นี้ก็เพราะทุกคนไม่รู้ว่าตัวเองมีลักษณะต้องห้าม ... เช่นบางคนถือหุ้นบริษัทก่อสร้างก็คงไม่คิดว่าแค่มีวัตถุประสงค์จะถือว่าเป้นสื่อ ...
นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมมีผู้สมัคร สส หลายสิบคน โดนศาลฯตัดสินว่าขาดคุณสมบัติ (เนื่องจากการ "ถือหุ้นสื่อ") ผ่านมาเป็นปี กกต.ถึงไม่เคยฟ้อง อาญา ตาม ม.151 เลย ...
เท่าที่ผมค้นเจอ กกต มีการฟ้อง กรณี "รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ.." นี่เฉพาะกับกรณี ผู้สมัคร สว. ซึ่งมีคุณสมบัตต้องห้าม เพราะเคยถูกพิพากษาเอาผิดเรื่องการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราขการ ... ซึ่งกรณีนั้นจะต่างจากกรณี "ถือหุ้นสื่อ" ... เพราะ เรื่องการต้องคำพิพากษา (รวมถึงพวกเป็นบุคคลล้มละลาย เคยถูกจำคุก ) พวกนั้นเป็นการขาดคุณสมบัติที่ถึงรู้อยู่แล้ว ก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ ... แต่กรณีนั้นก็เป็นเพียงแค่การฟ้องศาลฏีกาให้เพิกถอน ... ยังไม่ได้ฟ้องอาญาแต่อย่างใด ...

Saiseema Phutikarn
นี่ครับที่คดีที่ กกต ฟ้องเรื่อง รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ ... ซึ่งเป็นกรณี ผู้สมัคร สว ที่เคยต้องโทษการใช้ตำแหน่งราชการ ... แต่เป็นแค่การฟ้องศาล ฏีกา ให้ตัดสิทธิ์ ... ยังไม่ได้ฟ้องคดีอาญาเลย ... ทั้งๆที่กรณีนี้ ถ้าฟ้อง อาญา แล้วน่าจะผิดเต็มๆ เพราะจะหาหลักฐานและเหตุผลมาต่อสู้ว่าไม่รู้อยู่แล้วยากเต็มทน