จะเป็นเผด็จการ ‘ไฮบริด’ หรือประชาธิปไตย (ไม่ถึง) ‘ครึ่งใบ’ ก็ไม่พ้น ‘สืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร’ อยู่ดี
จากข้อคิดเห็นโดย Pravit Rojanaphruk ที่ตีพิมพ์ทางสื่อออนไลน์เยอรมัน ‘DW’ ไปถึงบทความของ
TORU TAKAHASHI
ทาง ‘Nikkei’ สื่อญี่ปุ่น
ล้วนกล่าวถึงการได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ว่าไม่ใช่จากเจตนารมณ์ของประชาชน
สื่อต่างประเทศเหล่านั้นกลับมองเห็นความจริง
ว่าคณะทหารที่อ้างตนเข้าไปรักษาความสงบแห่งชาติ ด้วยการปล้นอำนาจจากรัฐบาลเลือกตั้งของแท้
คราวนี้เบียดบังอาณัติที่ประชาชนมอบให้แก่พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม คสช.
(ดู https://www.dw.com/en/opinion-thailands-democratic-dictatorship/a-49082008?maca=en-rss-en-all-1573-rdf และ https://asia.nikkei.com/Spotlight/Comment/Prayuth-s-return-as-prime-minister-takes-Thailand-back-to-1980s)
หากคำนวณจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร
อย่างไม่พลิกแพลงบิดเบี้ยวบัญญัติแห่งตัวบทกฎหมาย ดังที่ ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวานิช
ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมงานจัดทำขึ้นมาฟ้องประชาคมทั้งมวลแล้ว
จะเห็นว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย ๗
พรรคได้ ส.ส. ๒๕๓ คน” คือมี “พรรคเพื่อไทย ๑๓๖ คน พรรคอนาคตใหม่ ๘๘ คนพรรคเสรีรวมไทย
๑๑ คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ ๖ คน พรรคประชาชาติ ๖ คน พรรคเพื่อชาติ ๕ คนพรรคพลังปวงชนไทย
๑ คน”
และทางด้าน “ฝ่ายสนับสนุน
คสช. ๙
พรรคได้ ส.ส. ๒๔๗ คน พรรคพลังประชารัฐ ๑๑๗ คน พรรคประชาธิปัตย์ ๕๔ คน พรรคภูมิใจไทย
๕๒ คน พรรคชาติไทยพัฒนา ๑๑ คน พรรครวมพลังประชาชาติไทย ๕ คน พรรคชาติพัฒนา ๓ คน พรรคพลังท้องถิ่นไทย
๓ คน พรรครักษ์ผืนป่า ๑ คน พรรคพลังชาติไทย ๑ คน”
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก facebook Chuveath Dethdittharak)
ไม่ว่าพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์
(ที่อาจจะแทงโต๊ดพลาดหรือโดนหลอก) จะถูกชี้หน้าว่า “ผิดคำพูดที่ให้ไว้”
และ/หรือไม่แยแสความต้องการในหมู่ผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกตน
รัฐบาลชุดใหม่จะไปได้ยาวแค่ไหน ๒ ปี ๓ ปี หรือต่อเนื่องไปถึง ๔-๕ ปี
จนถึงกำหนดเลือกตั้งสภาชุดใหม่
แต่แน่นอนว่าจะไปไม่ได้ราบเรียบเช่นที่เป็นมา
“หลายคนแย้งว่า แม้จำนวนสส.ของรัฐบาลจะปริ่มน้ำ แต่เขาก็อาจลากยาวไปได้ถึงสี่ปี เพราะถ้ารัฐบาลแพ้โหวตร่าง
พรบ.ในสภาผู้แทนฯ ประยุทธ์ก็แค่ลาออก แล้วประชุมสองสภาให้ สว.๒๕๐+สส.โหวตประยุทธ์เป็นนายกฯ อีกทุกครั้ง วนไป”
พิชิต
ลิขิตกิจสมบูรณ์ ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาถก “แต่ปัญหาคือ
วิธีนี้เสี่ยงมากเพราะทุกฝ่ายต้องมาตะลุมบอน ต่อรองแบ่งเค็กกันใหม่ทุกครั้ง
มีโอกาสสูงมากที่แต่ละรอบจะเกิด "อุบัติเหตุ" ชื่อนายกฯไม่ใช่ประยุทธ์”
“ถ้ามีตำแหน่งแต่บริหารราชการไม่ได้
ปกครองประเทศไม่ได้ อำนาจนั้นไปไม่รอดแม้ในระยะปานกลาง
ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกอยู่ในสภาพนี้ได้ยืนยาว” ดร.พิชิตย้ำอีก “ยืนยันว่า สุดท้ายถ้าไม่ฉีก
รธน.๖๐ ทิ้ง ก็ต้องเลือกตั้งใหม่อย่างเร็ว”
หลายคนในฝั่งสัตยาบัน ๗ พรรคก็พูดอย่างนั้น
จากจุตุรนต์ ฉายแสง ถึงวัน อยู่บำรุง แม้จะมีเสียงท้วงว่าพวก
ส.ส.ไม่อยากเลือกตั้งใหม่เร็วๆ หรอก แล้วก็พวกนั้นยังมีนักการเมืองสำรอง (ความเห็น
Burapa Lekluanngarm
กับ Bow Nuttaa Mahattana)
ไม่ว่าจะเป็นอนุทิน ชาญวีรกูล
หรือกระทั่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ยังทำตัวเป็นพระเอกขณะนี้ เป็นตัวสำรองได้
ในข้อนี้ อจ.พิชิตชี้ว่า “พวกเขาไม่ใช้งานนักการเมือง (กันแล้ว)...สังเกตว่า ๕ ปีมานี้
มีนักการเมืองวิ่งเต้นขอเข้าไปรับใช้ทหารหลายคนสารพัด เขาก็ไม่ใช้งาน”
ฟังแล้วก็น่าคิดอยู่
ดูแต่พวกนักการเมืองที่ดูดมา โดยเฉพาะจากเพื่อไทยและไทยรักไทยราว ๔๐ คน
ยังไม่เห็นบทบาทออกหน้าสักราย ได้แค่เป็นฝักถั่ว
แต่กับพวกที่ร่วมหัวเกาะหางกันมาแต่ต้นอย่าง ‘สามมิตร’ งี้ เขายังไม่ยอมให้ ปชป.แหยม
อนุทินถึงได้กร้าวขึ้นมาทันใด “กระทรวงมีไว้ให้คนเข้าไปทำงาน ไม่ใช่มีไว้ให้มาเที่ยวแลกไปมา
จบข่าว” กระทั่ง พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ก็ยังพูดไม่มีหางเสียง “โควต้าเก้าอี้ไม่เปลี่ยน
แก้รัฐธรรมนูญไม่ด่วนเท่าเรื่องปากท้อง” เขาซัดซึ่งหน้าให้ราคาที่ไหน
ส่วนหัวหน้าพรรค
พปชร.นั้นแม้นุ่มหน่อย ปฏิเสธ “ไม่หักดิบหักสุกอะไรทั้งนั้น” แค่คุยกันยังไม่จบ “เราทำให้ลงตัวที่สุด
ลงตัวข้างในและลงตัวระหว่างพรรค ลงเรือลำเดียวกันแล้ว...แน่นอนมันต้องแบ่งกันว่าใครพาย”
กระนั้น อุตตม สาวนายน หัวหน้า พปชร. ปัดให้รอประยุทธ์เข้าไปจัดการ
เหล็กกำลังร้อน
ฝ่ายประชาธิปไตยไม่ต้องรอท่ามากเสียจนเหล็กแข็ง พรรคอนาคตใหม่ประกาศทันใจ “เตรียมเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี ๒๕๖๐ ในมาตรา ๒๗๒ ที่เกี่ยวข้องกับการให้วุฒิสภาสามารถยกมือโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี”
ปิยบุตร แสงกนกกุล
เลขาธิการพรรคแถลงในงานครบรอบปีของพรรค #WalkWithMeTalkWithMe ที่หอประชุมใหญ่ มธ. “รวมถึงมาตรา ๒๗๙ ที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมการกระทำต่างๆ
ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” ด้วย
ขณะที่เรื่องยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ
ส.ส.พรรคต่างๆ ๔๑ คน ถือหุ้นสื่อ ส่วนใหญ่อยู่ในพรรคพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ “ผิดแน่ๆ
เพราะเราใช้งบการเงินที่ยื่นในเดือน พ.ค. ปี ๒๕๖๒ นี้ เป็นข้อมูลการตรวจสอบ”
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคย้ำ “จึงขอให้ทุกฝ่ายช่วยตรวจสอบการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วย
เรื่องนี้ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญเมื่อไร ต้องใช้เวลา ๗ วันเท่ากับตนด้วย”