ดูเหมือนว่า ชะตากรรมของผู้ที่แสดงออกเห็นต่างจากรัฐในขณะนี้ น่ากังวลยิ่งกว่าสมัยก่อนมีการเลือกตั้งเสียอีก เพราะ "ความรุนแรง" ทางกายภาพเกิดขึ้นบ่อยครั้ง— iLaw Club (@iLawclub) June 2, 2019
รัฐบาลใหม่มีหน้าที่ต้องรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรงต่อผู้ที่แสดงความเห็นต่างทางการเมือง https://t.co/Zz4qdogAm1
ก่อนท้องฟ้าจะสดใส: ความรุนแรงต่อผู้เห็นต่างทางการเมืองคือบทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลใหม่
1 มิ.ย. 2562
โดย iLaw
ปี 2562 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย การเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นหนึ่งในก้าวสำคัญเพื่ออกจากการปกครองโดยคณะรัฐประหาร ถึงแม้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีปัญหาทั้งในส่วนของกติกาและมีความน่ากังขาในส่วนของการจัดการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิได้ออกไปแสดงออกซึ่งเจตจำนงทางการเมืองของตัวเองและมีผู้แทนที่มีความยึดโยงกับประชาชนเข้าไปออกกฎหมายในสภา
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปถูกยกเลิกส่งผลให้คดีทางการเมืองอย่างน้อย 8 คดียุติไปเพราะคำสั่งที่ใช้ฟ้องคดีถูกยกเลิก และผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ถูกตั้งข้อหาอื่นเพิ่มเติม เช่น คดีไผ่ดาวดิน และคดีไนซ์ดาวดิน ชูป้ายในโอกาสครบรอบ 1 ปีการรัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่น (เหตุการณ์เดียวกันแต่แยกฟ้องเป็นสองคดี) คดีกิจกรรมปัดฝุ่นประชาธิปไตย และคดีกลุ่มนปช.แถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงที่ห้างบิ๊กซีลาดพร้าวเป็นต้น
แต่ท่ามกลางความพยายามเดินหน้ากลับสู่การเมืองตามรัฐธรรมนูญ สถานการณ์เสรีภาพของประชาชนก็ยังอยู่ในสภวะที่น่ากังวล และผู้ที่แสดงความเห็นต่างจากก็ยังคงเผชิญการถูกคุกคาม ซึ่งบางกรณีอาจรุนแรงเสียยิ่งกว่าการคุกคามหลังการยึดอำนาจใหม่ๆ ไม่ใช่แค่การถูกดำเนินคดี ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตาม หรือถูกพาไปค่ายทหาร หากแต่ความรุนแรงได้ขยายไปถึงขั้นการทำร้ายร่างกายไปจนถึงการสังหารและการอุ้มหาย
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติก็ยังคงถูกจำกัดทั้งด้วยข้อกฎหมายและวิธีการอื่นๆ ในปีนี้มีการตั้งข้อกล่าวหากับประชาชนที่ออกมาชุมนุมด้วยข้อหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯไปแล้วอย่างน้อย 3 คดี นอกจากการดำเนินคดีอาญาแล้ว เจ้าหน้าที่ยังมีการใช้เทคนิคอื่นๆในการจำกัดการใช้เสรีภาพการชุมนุมด้วย เช่น การนำสิ่งกีดขวางมาวางบริเวณสถานที่ที่จะใช้จัดการชุมนุม หรือการส่งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไปที่บ้านของนักกิจกรรมทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรม เป็นต้น
สวัสดิภาพของผู้ที่ออกมาทำกิจกรรมก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าเป็นห่วง ในปีนี้มีนักกิจกรรมอย่างน้อยสองคน ได้แก่ เอกชัยหงษ์กังวาน และอนุรักษ์ เจนตะวนิชย์ หรือ "ฟอร์ด เส้นทางสีแดง" ที่ถูกทำร้ายร่างกาย โดยสาเหตุน่าจะมาจากการที่ทั้งสองออกมาทำกิจกรรมทางการเมือง และใช้เฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ กรณีของเอกชัยเขาถูกทำร้ายร่างกายมาแล้วอย่างน้อยเจ็ดครั้งโดยสามครั้งเกิดขึ้นในปีนี้ โดยครั้งล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เขาถูกทำร้ายจนกระดูกมือขวาแตกและซี่โครงหักหนึ่งซี่ ขณะที่ในกรณีของอนุรักษ์เขาถูกทำร้ายร่างกายแล้วอย่างน้อยสองครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมซึ่งเขาถูกชาย 6 คนรุมทำร้ายจนศีรษะแตกต้องเย็บถึงแปดเข็ม
การทำร้ายร่างกายเอกชัยและอนุรักษ์บ่งชี้ว่า แม้จะมีการจัดการเลือกตั้งไปแล้ว แต่การคุกคามหรือการใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่างทางการเมืองก็ยังคงมีอยู่ ที่สำคัญรูปแบบการคุกคามก็มีความน่ากังวลมากขึ้นจากเดิมที่เป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมมาเป็นการทำร้ายร่างกาย แม้จะไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบุคคลหรือหน่วยงานใดเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการใช้ความรุนแรง แต่การที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาตัวผู้ที่ทำร้ายร่างกายทั้งสองมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ย่อมทำให้เกิดความเคลือบแคลงต่อเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชะตากรรมของนักกิจกรรมที่ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในต่างแดนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวลอย่างที่สุด นับตั้งแต่ปี 2559 เริ่มมีรายงานว่า กลุ่มนักกิจกรรมที่ออกไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและไม่หยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกติดตามคุกคามด้วยวิธีนอกกฎหมาย ในเดือนมิถุนายน 2559 นักจัดรายการวิทยุวิจารณ์การเมืองที่ลี้ภัยไปอยู่ในประเทศลาวคนหนึ่งหายตัวไป จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2560 ก็มีรายงานว่า มีนักจัดรายการวิทยุอีกคนหนึ่งหายตัวไป
จากนั้นในระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างปลายเดือนธันวาคม 2561 จนถึง พฤษภาคม 2562 มีรายงานว่ากลุ่มคนที่จัดรายการวิทยุอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านหายตัวไปรวมหกคน สองในหกพบศพในแม่น้ำโขงและพิสูจน์ทราบตัวตนได้ ส่วนอีกสี่คนซึ่งมีสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กับชูชีพ ชีวสุทธิ์ หรือ "ลุงสนามหลวง" นักจัดรายการวิทยุวิจารณ์การเมืองชื่อดังรวมอยู่ด้วยยังไม่ทราบชะตากรรมว่าขณะนี้อยู่ที่ใด
หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่นักจัดรายการสองคนแรกหายตัวไป จะพบว่าสองคนแรกหายตัวไปในระยะเวลาที่ห่างกันราวหนึ่งปีแต่หกคนหลังหายตัวในช่วงระยะเวลาที่ห่างกันไม่นาน
แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานว่า กรณีการหายตัวของบุคคลทั้ง 8 เป็นความรับผิดชอบของบุคคลหรือหน่วยงานใด และเกิดขึ้นนอกประเทศ แต่การที่บุคคลทั้งแปดเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับรัฐไทย ก็ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในสังคมได้ว่าการหายตัวไปของบุคคลทั้งแปดอยู่ในความรับรู้หรือมีคนในรัฐบาลไทยเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ เพียงใด
ดูเหมือนว่า ชะตากรรมของผู้ที่แสดงออกในลักษณะเห็นต่างจากรัฐในขณะนี้ น่ากังวลยิ่งกว่าสมัยก่อนมีการเลือกตั้งเสียอีกเพราะ "ความรุนแรง" ทางกายภาพเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
หากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต้องการจะพิสูจน์ความจริงใจในการฟื้นฟูหลักการนิติรัฐหลังจากที่ถูกทำลายลงตลอดระยะเวลา 5 ปีของการรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรงต่อผู้ที่แสดงความเห็นต่างทางการเมือง กรณีที่มีคนถูกทำร้ายเพราะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รัฐบาลใหม่จะต้องแสดงออกซึ่งความจริงใจและกระตือรือล้นในการหาตัวผู้กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแสวงหามาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอีก ในส่วนของผู้ที่แสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายก็ให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติค้นหาความจริงและลงโทษหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง
หากรัฐบาลไทยมีความจริงใจและดำเนินการดังที่ระบุไปข้างต้น เชื่อว่า สถานการณ์ความขัดแย้งและความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศจะลดลง แต่หากรัฐบาลใหม่ยังปล่อยปละละเลยให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อผู้เห็นต่าง โดยไม่แสดงความจริงใจที่จะแสวงหาความจริงหรือหาตัวผู้กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือเข้าไปมีส่วนในการใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่างเสียเอง ก็ยากที่ประเทศจะออกจากความขัดแย้ง หรือมีแต่จะยิ่งขัดแย้งขึ้นไปอีก
...
เรื่องเกี่ยวข้อง
'จ่านิว' ถูกรุมทำร้ายร่างกาย กู้ภัยส่ง รพ. หลังโพสต์รณรงค์ ส.ว.งดโหวตนายกฯ
(https://prachatai.com/journal/2019/06/82762)
ปี 2562 ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย การเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นหนึ่งในก้าวสำคัญเพื่ออกจากการปกครองโดยคณะรัฐประหาร ถึงแม้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีปัญหาทั้งในส่วนของกติกาและมีความน่ากังขาในส่วนของการจัดการเลือกตั้ง แต่อย่างน้อยการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นก็เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิได้ออกไปแสดงออกซึ่งเจตจำนงทางการเมืองของตัวเองและมีผู้แทนที่มีความยึดโยงกับประชาชนเข้าไปออกกฎหมายในสภา
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปถูกยกเลิกส่งผลให้คดีทางการเมืองอย่างน้อย 8 คดียุติไปเพราะคำสั่งที่ใช้ฟ้องคดีถูกยกเลิก และผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ถูกตั้งข้อหาอื่นเพิ่มเติม เช่น คดีไผ่ดาวดิน และคดีไนซ์ดาวดิน ชูป้ายในโอกาสครบรอบ 1 ปีการรัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่น (เหตุการณ์เดียวกันแต่แยกฟ้องเป็นสองคดี) คดีกิจกรรมปัดฝุ่นประชาธิปไตย และคดีกลุ่มนปช.แถลงข่าวเปิดศูนย์ปราบโกงที่ห้างบิ๊กซีลาดพร้าวเป็นต้น
แต่ท่ามกลางความพยายามเดินหน้ากลับสู่การเมืองตามรัฐธรรมนูญ สถานการณ์เสรีภาพของประชาชนก็ยังอยู่ในสภวะที่น่ากังวล และผู้ที่แสดงความเห็นต่างจากก็ยังคงเผชิญการถูกคุกคาม ซึ่งบางกรณีอาจรุนแรงเสียยิ่งกว่าการคุกคามหลังการยึดอำนาจใหม่ๆ ไม่ใช่แค่การถูกดำเนินคดี ถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตาม หรือถูกพาไปค่ายทหาร หากแต่ความรุนแรงได้ขยายไปถึงขั้นการทำร้ายร่างกายไปจนถึงการสังหารและการอุ้มหาย
การใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติก็ยังคงถูกจำกัดทั้งด้วยข้อกฎหมายและวิธีการอื่นๆ ในปีนี้มีการตั้งข้อกล่าวหากับประชาชนที่ออกมาชุมนุมด้วยข้อหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯไปแล้วอย่างน้อย 3 คดี นอกจากการดำเนินคดีอาญาแล้ว เจ้าหน้าที่ยังมีการใช้เทคนิคอื่นๆในการจำกัดการใช้เสรีภาพการชุมนุมด้วย เช่น การนำสิ่งกีดขวางมาวางบริเวณสถานที่ที่จะใช้จัดการชุมนุม หรือการส่งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไปที่บ้านของนักกิจกรรมทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรม เป็นต้น
สวัสดิภาพของผู้ที่ออกมาทำกิจกรรมก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าเป็นห่วง ในปีนี้มีนักกิจกรรมอย่างน้อยสองคน ได้แก่ เอกชัยหงษ์กังวาน และอนุรักษ์ เจนตะวนิชย์ หรือ "ฟอร์ด เส้นทางสีแดง" ที่ถูกทำร้ายร่างกาย โดยสาเหตุน่าจะมาจากการที่ทั้งสองออกมาทำกิจกรรมทางการเมือง และใช้เฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ กรณีของเอกชัยเขาถูกทำร้ายร่างกายมาแล้วอย่างน้อยเจ็ดครั้งโดยสามครั้งเกิดขึ้นในปีนี้ โดยครั้งล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เขาถูกทำร้ายจนกระดูกมือขวาแตกและซี่โครงหักหนึ่งซี่ ขณะที่ในกรณีของอนุรักษ์เขาถูกทำร้ายร่างกายแล้วอย่างน้อยสองครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมซึ่งเขาถูกชาย 6 คนรุมทำร้ายจนศีรษะแตกต้องเย็บถึงแปดเข็ม
การทำร้ายร่างกายเอกชัยและอนุรักษ์บ่งชี้ว่า แม้จะมีการจัดการเลือกตั้งไปแล้ว แต่การคุกคามหรือการใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่างทางการเมืองก็ยังคงมีอยู่ ที่สำคัญรูปแบบการคุกคามก็มีความน่ากังวลมากขึ้นจากเดิมที่เป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมมาเป็นการทำร้ายร่างกาย แม้จะไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบุคคลหรือหน่วยงานใดเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการใช้ความรุนแรง แต่การที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถหาตัวผู้ที่ทำร้ายร่างกายทั้งสองมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ย่อมทำให้เกิดความเคลือบแคลงต่อเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชะตากรรมของนักกิจกรรมที่ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในต่างแดนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวลอย่างที่สุด นับตั้งแต่ปี 2559 เริ่มมีรายงานว่า กลุ่มนักกิจกรรมที่ออกไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและไม่หยุดเคลื่อนไหวทางการเมืองพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกติดตามคุกคามด้วยวิธีนอกกฎหมาย ในเดือนมิถุนายน 2559 นักจัดรายการวิทยุวิจารณ์การเมืองที่ลี้ภัยไปอยู่ในประเทศลาวคนหนึ่งหายตัวไป จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2560 ก็มีรายงานว่า มีนักจัดรายการวิทยุอีกคนหนึ่งหายตัวไป
จากนั้นในระยะเวลา 5 เดือน ระหว่างปลายเดือนธันวาคม 2561 จนถึง พฤษภาคม 2562 มีรายงานว่ากลุ่มคนที่จัดรายการวิทยุอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านหายตัวไปรวมหกคน สองในหกพบศพในแม่น้ำโขงและพิสูจน์ทราบตัวตนได้ ส่วนอีกสี่คนซึ่งมีสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กับชูชีพ ชีวสุทธิ์ หรือ "ลุงสนามหลวง" นักจัดรายการวิทยุวิจารณ์การเมืองชื่อดังรวมอยู่ด้วยยังไม่ทราบชะตากรรมว่าขณะนี้อยู่ที่ใด
หากเปรียบเทียบช่วงเวลาที่นักจัดรายการสองคนแรกหายตัวไป จะพบว่าสองคนแรกหายตัวไปในระยะเวลาที่ห่างกันราวหนึ่งปีแต่หกคนหลังหายตัวในช่วงระยะเวลาที่ห่างกันไม่นาน
แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานว่า กรณีการหายตัวของบุคคลทั้ง 8 เป็นความรับผิดชอบของบุคคลหรือหน่วยงานใด และเกิดขึ้นนอกประเทศ แต่การที่บุคคลทั้งแปดเป็นผู้เคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับรัฐไทย ก็ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในสังคมได้ว่าการหายตัวไปของบุคคลทั้งแปดอยู่ในความรับรู้หรือมีคนในรัฐบาลไทยเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ เพียงใด
ดูเหมือนว่า ชะตากรรมของผู้ที่แสดงออกในลักษณะเห็นต่างจากรัฐในขณะนี้ น่ากังวลยิ่งกว่าสมัยก่อนมีการเลือกตั้งเสียอีกเพราะ "ความรุนแรง" ทางกายภาพเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
หากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต้องการจะพิสูจน์ความจริงใจในการฟื้นฟูหลักการนิติรัฐหลังจากที่ถูกทำลายลงตลอดระยะเวลา 5 ปีของการรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรงต่อผู้ที่แสดงความเห็นต่างทางการเมือง กรณีที่มีคนถูกทำร้ายเพราะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รัฐบาลใหม่จะต้องแสดงออกซึ่งความจริงใจและกระตือรือล้นในการหาตัวผู้กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแสวงหามาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอีก ในส่วนของผู้ที่แสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายก็ให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติค้นหาความจริงและลงโทษหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง
หากรัฐบาลไทยมีความจริงใจและดำเนินการดังที่ระบุไปข้างต้น เชื่อว่า สถานการณ์ความขัดแย้งและความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศจะลดลง แต่หากรัฐบาลใหม่ยังปล่อยปละละเลยให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อผู้เห็นต่าง โดยไม่แสดงความจริงใจที่จะแสวงหาความจริงหรือหาตัวผู้กระทำความผิดมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือเข้าไปมีส่วนในการใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่างเสียเอง ก็ยากที่ประเทศจะออกจากความขัดแย้ง หรือมีแต่จะยิ่งขัดแย้งขึ้นไปอีก
...
เรื่องเกี่ยวข้อง
'จ่านิว' ถูกรุมทำร้ายร่างกาย กู้ภัยส่ง รพ. หลังโพสต์รณรงค์ ส.ว.งดโหวตนายกฯ
(https://prachatai.com/journal/2019/06/82762)
ก่อนจะถึงวันโหวตเลือกนายกฯ— จ่านิว Sirawith (@Sirawith_S) June 2, 2019
ขอเชิญชวนทุกท่านลงชื่อใน https://t.co/UDw1DctsY2 เพื่อร่วมส่งเสียงของประชาชน กระตุกมโนสำนึก สว.ให้งดออกเสียงโหวตเลือกนายกฯด้วยกัน#หยุดสวโหวตเลือกนายกฯ#สวต้องงดออกเสียง#สสเท่านั้นที่โหวตเลือกนายกได้
โพสต์สุดท้ายก่อนถูกรุมทำร้าย หลังจ่านิวกับ@tanawatofficial ทำกิจกรรมรวบรวมรายชื่อเรียกร้องให้สว.250คนจากคสช.ไม่ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่หอศิลป์เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาBow Nuttaa Mahattana @NuttaaBow 6h6 hours ago
วันก่อนมีข่าวว่าเพนกวินโดนหมายหัวเหมือนกัน ขอฝากข้อเสนอไปทาง #อนาคตใหม่ และ #เพื่อไทย นะครับ เห็นว่าอนค.กำลังรับสมัครผู้ช่วยส.ส. น่าจะเป็นโอกาสใช้สภาปกป้องนักกิจกรรมเหล่านี้ได้บ้าง ถ้าไม่ติดข้อบังคับของสภานะ— Voteจ้า (@iamasiam14) June 2, 2019
เอกชัย หงส์กังวาน โดนทำร้ายครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดจ่านิวเป็นเหยื่อรายใหม่ ความผิดเดียวของพวกเขาคือเรียกร้องถึงสังคมที่เป็นธรรมแม้ไม่มีต้นทุนทางสังคมไว้ปกป้องตัวเอง อย่ารอให้ถึงคิวลูกคุณถึงเห็นว่านี่คือความอยุติธรรม พอกันทีกับความป่าเถื่อนอำมหิตของระบอบรัฐประหาร #standwithjanew— Thanathorn Juangroongruangkit (@Thanathorn_FWP) June 2, 2019
ผมขอประณามการใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง เหตุใดการกระทำลักษณะจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งได้โดยที่ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ? ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้? ซ้ำร้ายผู้ที่ถูกคุกคามกลับโดนคดีซ้ำอีก เพื่อขัดขวางไม่ให้พวกเขาแสดงออกทางการเมือง #จ่านิว https://t.co/VtUaVKSxaD— Piyabutr Saengkanokkul (@Piyabutr_FWP) June 2, 2019
ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 3,600 บาท ไม่สามารถเบิกประกันสังคม
23.32 น. มารดาของนิว สิรวิชญ์ แจ้งว่า หลังพูดคุยกับแพทย์พร้อมลูกชายแล้ว
ตัดสินใจให้แอดมิท เนื่องจากนิวยังรู้สึกเวียนหัว ประกอบกับบ้านไกล
ค่าใช้จ่ายล่าสุด ค่าห้อง 2,600 บาทต่อคืน
ค่าตรวจร่างกาย 1,000 บาท
ทั้งหมดไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้
สำหรับเลขบัญชี นิว สิรวิชญ์ ธนาคารกรุงไทย 4750473111