วันศุกร์, ธันวาคม 01, 2560

รัฐตูดขาด... ล้วงเงินท้องถิ่นกว่าแสนล้าน เรื่องใหญ่แต่เงียบมาก อ้างว่า เป็นการเอาเงินมาใช้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ





รัฐตูดขาด สั่งแก้ระเบียบฯ ใช้เงินท้องถิ่น อนุมัติ 1.5 แสนล้าน อ้างกระตุ้นเศรษฐกิจ


BY SARA BAD
ON NOVEMBER 29, 2017
Ispace Thailand


เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา มีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่(ครม.สัญจร) ณ จังหวัดสงขลา ในที่ประชุมได้มีวาระการประชุม กล่าวถึง การแก้ระเบียบปลดล็อกการใช้งบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่มีสะสมกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานในที่ประชุม ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ได้สั่งให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังหารือเรื่องนี้ร่วมกันและวางกรอบการใช้เงินให้โปร่งใส[1]





ในที่ประชุม พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องนี้ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการใช้จ่ายเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกระทรวงมหาดไทยจะหารือกับกระทรวงการคลัง กำหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนออกมาและจะกำชับกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ให้ดูแลเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณท้องถิ่นให้ตรงวัตถุประสงค์และโปร่งใส [2] ซึ่งที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติไฟเขียวให้แก้ระเบียบการใช้จ่ายเงินท้องถิ่นได้

ในส่วนของ พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ที่ประชุมครม.มีมติรับทราบให้นำเงินสะสมท้องถิ่นไปสร้างความเข้มแข็งตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซ่อมถนน ซ่อมสนามกีฬา ซึ่งเป็นงบซ่อมแซม ไม่ใช่การสร้างใหม่[3]





โดยกระทรวงมหาดไทยเคยรายงานให้คณะรัฐมนตรีในที่ประชุมทราบว่า อปท.มีเงินสะสมประมาณ 318,000 ล้านบาท สามารถนำมาใช้จ่ายได้ประมาณ 150,000 ล้านบาท เพราะส่วนที่เหลือจากการเปิดเผยของ พล.ท.สรรเสริญ ได้อธิบายว่ารัฐบาลนำมาใช้ทั้งหมดไมได้ เพราะครึ่งหนึ่งต้องกันไว้สำหรับรายการอื่นๆ เช่นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ และเงินที่รัฐบาลยังไม่ได้อนุมัติ และไม่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของงบสำรองที่ต้องมี

ที่มาที่ไปของเรื่องนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ต้องนำงบประมาณ 2 แสนล้านบาท ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาจ้างงาน และส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งงบดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยร้อยละ 25 เป็นงบสำรองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.ทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 75 นำมาใช้ได้ ทั้งนี้เงินดังกล่าวมาจาก อปท. 7 พันกว่าแห่งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มี 2 พันกว่าแห่ง จะมีเพียงเงินสำรองสำหรับแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ขณะที่อีกประมาณ 5 พันแห่ง สามารถนำมาใช้ได้ในอัตราที่ไม่เท่ากัน โดยเงินจำนวนดังกล่าวต้องแบ่งสำรองไว้ใช้กรณีบรรเทาสาธารณภัย อีกส่วนหนึ่งก็กันไว้ สำหรับเบี้ยเลี้ยงคนชราและผู้พิการ เป็นต้น

ซึ่งจากการประมาณการแล้ว จะมีงบประมาณที่จะสามารถนำไปใช้ได้ มีประมาณ 150,000 ล้านบาท แต่การจะนำงบประมาณไปใช้ ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วย ว่าจะนำงบประมาณไปใช้อย่างไร[4] โดยนายสมคิด ก็ได้เสนอให้กระทรวงมหาดไทยนำเสนอคณะรัฐมนตรีและอนุมัติเรียบร้อย โดยข้อกล่าวอ้างของพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรี มหาดไทย ที่ว่างบประมาณดังกล่าวต้องการมาช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาประเทศในโอกาสต่าง ๆ โดยตลอดอยู่แล้ว ดังนั้นการอนุมัติใช้ไม่น่าจะเสียหายตรงไหน





ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความพยายามเร่งรัดมาก เพราะแนวคิดของนายสมคิดนี้ เพิ่งจะเสนอกระทรวงมหาดไทยไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา และ ครม.อนุมัติ วันที่ 28 พ.ย.เลย า ซึ่งจากข้อกฎหมายของการใช้เงิน อปท.นั้น ต้องระบุการใช้เงินด้วย และที่มาที่ไปของโครงการด้วย แต่มหาดไทยยังไม่มีโครงการเลย จะสั่งการให้จังหวัด อำเภอ ดำเนินการได้อย่างไร มีแต่กล่าวลอยๆว่า เป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจ และจะกำหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนออกมาในอนาคต และจะกำชับ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ให้ดูแลการใช้จ่ายงบประมาณท้องถิ่น ให้ตรงวัตถุประสงค์ และโปร่งใส[5] ซึ่งเลื่อนลอยมาก สำหรับงบประมาณมหาศาลกว่า 1.5 แสนล้านบาท เกือบเท่ากับงบประมาณกระทรวงมหาดไทยเลยทีเดียว




ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความพยายามเร่งรัดมาก เพราะแนวคิดของนายสมคิดนี้ เพิ่งจะเสนอกระทรวงมหาดไทยไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา และ ครม.อนุมัติ วันที่ 28 พ.ย.เลย า ซึ่งจากข้อกฎหมายของการใช้เงิน อปท.นั้น ต้องระบุการใช้เงินด้วย และที่มาที่ไปของโครงการด้วย แต่มหาดไทยยังไม่มีโครงการเลย จะสั่งการให้จังหวัด อำเภอ ดำเนินการได้อย่างไร มีแต่กล่าวลอยๆว่า เป็นงบกระตุ้นเศรษฐกิจ และจะกำหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนออกมาในอนาคต และจะกำชับ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ให้ดูแลการใช้จ่ายงบประมาณท้องถิ่น ให้ตรงวัตถุประสงค์ และโปร่งใส[5] ซึ่งเลื่อนลอยมาก สำหรับงบประมาณมหาศาลกว่า 1.5 แสนล้านบาท เกือบเท่ากับงบประมาณกระทรวงมหาดไทยเลยทีเดียว

ในส่วนของที่มาของเงินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) นั้น แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ รายได้ที่จัดเก็บเอง, รายได้จากภาษีและค่าธรรมเนียมที่รัฐจัดเก็บให้และจัดสรรให้ และรายได้จากเงินอุดหนุดจากรัฐบาล(อ่านเพิ่มเติม http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/morkor/km/guidebook/Local_Administrator.pdf) ซึ่งปัจจุบันรายได้รวมของ อปท.อยู่ที่ 318,000 ล้านบาท หากถูกรัฐส่วนกลางอย่างกระทรวงมหาดไทยหยิบไปใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาลทหาร 150,000 ล้านบาท

คงน่าสนใจไม่น้อยที่จะพิจารณาต่อประเด็นรัฐตูดขาด ถึงกระทั่งสั่งแก้ระเบียบ อปท.ให้ใช้เงินท้องถิ่น เพราะจากตัวเลขของการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลทหารตลอด 3 ปี กว่า 8 ล้านล้านบาท ไม่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นเลย แม้รัฐบาลจะพยายามปรับแก้ตัวเลขจีดีพีขนาดไหน ก็แทบจะรั้งท้ายประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ ตัวเลขงบประมาณขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพียงแค่ในปี 2560 รัฐบาลมีงบประมาณขาดดุลอยู่ที่ 541,740 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ และจะเห็นได้ว่าดุลของรัฐบาลไทย ปี พ.ศ. 2556-2560 มีดุลการคลับต่อเนื่องเรื่อยๆ แค่ในยุครัฐบาลทหาร มีภาวะขาดดุลไปแล้วกว่า 1,331,789 ล้านบาท ซึ่งไม่มีที่ท่าว่าจะลดลง[6]

คงเห็นแล้วว่ารัฐบาลทหารผลาญงบประมาณของประเทศไปมหาศาลแค่ไหน ที่เราเห็นๆคุ้นๆเช่น การผลาญเงินประกันสังคม และยังจะผลาญต่อไปถึงองค์กรปกครองท้องถิ่นอีก น่าสนใจว่าจะไปผลาญที่ไหนต่อ

[1]http://www.moneychannel.co.th/news_detail/19880/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%97.%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99-1.5-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81

[2] เรื่องเดียวกัน

[3] http://www.thansettakij.com/content/236508?ts

[4] http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/782111

[5]http://www.moneychannel.co.th/news_detail/19880/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%97.%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99-1.5-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81

[6]http://www.ispacethailand.org/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/14438.html


ooo





BRIEF: สามปียุคลุงตู่ จ่ายเงินเดือนข้าราชการเพิ่ม 8 หมื่นล้าน แถมเคยปูนบำเหน็จคนทำงาน คสช. มาแล้ว 3 รอบ
.
ด้วยเหตุที่ผู้มีอำนาจในรัฐบาล คสช. ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเก่า ยิ่งตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นทหารมาทั้งชีวิตก่อนจะมาเป็นนายกฯ จึงไม่แปลกอะไรที่คนบางกลุ่มจะวิจารณ์ว่ามีนโยบาย ‘ข้าราชการนิยม’ คือมักให้สิทธิประโยชน์ข้าราชการเพิ่มเติมหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องเงินเดือน
.
เร็วๆ นี้ มีการนำข้อมูล ‘รายงานการเงินรวมภาครัฐ’ ระหว่างปี 2557 – 2559 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในนั้นมีการเปิดเผยตัวเลขรายรับ รายจ่ายหลายอย่าง แต่ที่เราสนใจคือค่าใช้จ่ายบุคลากร หรือพูดง่ายๆ ว่า ‘เงินเดือนข้าราชการ’ (เฉพาะของรัฐบาลกลางและกลุ่มส่วนราชการ ไม่รวมถึง อปท. รัฐวิสาหกิจ และธนาคารของรัฐ) ซึ่งพบว่า จากเดิมซึ่งอยู่ที่ 8.05 แสนล้านบาท ในปี 2557 มาเป็น 8.49 แสนล้านบาท ในปี 2558 และเป็น 8.85 แสนล้านบาท ในปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นมากถึง 8 หมื่นล้านบาท ในระยะเวลาเพียงสามปีที่ คสช. ขึ้นมามีอำนาจ
.
โดยเมื่อนำเงินเดือนข้าราชการดังกล่าว ไปเทียบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของปีนั้นๆ จะพบว่าอยู่ระหว่าง 31– 33% หรือราว ‘หนึ่งในสาม’ ของรายจ่ายแต่ละปีของรัฐบาล
.
เหตุผลสำคัญที่ตัวเลขเงินเดือนข้าราชการเพิ่มขึ้นมากขนาดนั้น อาจเพราะรัฐบาล คสช. เคยแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ในปี 2558 ส่งผลให้เงินเดือนข้าราชการทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4%
.
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ครม. ที่ พล.อ.ประยุทธ์นั่งหัวโต๊ะ เคยมีมติเลื่อนขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ (2 ขั้น) เพื่อเป็นบำเหน็จให้กับผู้ปฏิบัติงานของ คสช. ไปแล้ว 3 ครั้ง ระหว่างปี 2558 – 2560 รวมทั้งสิ้น 2,463 คน ซึ่งแม้จะเป็นจำนวนเล็กน้อยหากเทียบกับข้าราชการทั้งประเทศ 1.3 ล้านคน (ถ้ารวมลูกจ้างและพนักงานของรัฐด้วย จะอยู่ที่ 2.2 ล้านคน) แต่ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้องจ่ายเงินเดือนข้าราชการสูงขึ้น
.
[ หมายเหตุ: แม้โดยนิยามคำว่า 'ค่าใช้จ่ายบุคลากร' จะหมายรวมถึง เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ของทั้งข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ แต่เนื่องจากเงินเดือนของข้าราชการจะเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด จึงขอเรียกรวมๆ ว่า 'เงินเดือนข้าราชการ' ]
.
.
อ้างอิงจาก

http://soc.soc.go.th/slkupload/v565.pdf

http://cfs.cgd.go.th/cgd_app/cgd/index.php

http://www.ocsc.go.th/compensation/เงินเดือน



The MATTER