วันเสาร์, ธันวาคม 30, 2560

แชร์บทความ Pornpen Hantrakool - เขียนถึงพระเจ้าตากสิน (28 ธค) ในประเด็นประวัติศาสตร์ ที่ค้างคาใจมานาน











วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อยากเขียนถึงพระเจ้าตากสิน ในประเด็นประวัติศาสตร์
ที่ค้างคาใจมานาน

เคยแปลกใจว่า ในขณะที่บ้านเมืองยังไม่สงบดี ภัยพม่าอาจ
เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การควบคุมประเทศราชอย่างเขมรก็ยังมีปัญหา
การเมืองภายในของเขมรกับการแทรกแซงจากเวียดนาม แต่
เหตุใดพระองค์จึงทรงผนวชและไปปฏิบัติกรรมฐานอยู่ที่วัดอิน

คำตอบง่ายๆ แบบสามัญทั่วไป หรือ มโนทั่วไป ก็คงจะเป็นว่า
ทรงผนวชตามขนบธรรมเนียมของชายไทย เพื่ออุทิศกุศลผลบุญ
ต่อบุพการีผู้มีคุณอันใหญ่หลวง

คำตอบแบบการเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ คือ
พระองค์ทรงมีพระสติฟั่นเฟือนวิปลาส หรือ บ้า นั่นเอง
เพราะทรงผนวชและปราถนาในพุทธภูมิเป็นพระพุทธเจ้าต่อไป

คำตอบแบบมโนสาเร่ที่พยายามเดาใจพระองค์ เช่น
ทรงเครียดจากการทำสงคราม
ทรงมีพระประสงค์จะหลบปัญหาภายใน
ทรงฝักใฝ่ในบวรพุทธศาสนา
ทรงมุ่งหวังในพระนิพพาน
ทรงสั่งสมบารมี
ฯลฯ

ส่วนตัวไม่อยากเดา และไม่ค่อยจะเชื่อประวัติศาสตร์นิพนธ์
เท่าไหร่ จนกระทั่งเกิดสะดุด สงสัยอะไรบางอย่างขึ้นมา

นั่นคือวันที่ไปปักกิ่งเพื่อร่วมการสัมมนากับมหาวิทยาลัยชิงหวา
ซึ่งเป็นเวลานานสัก 20 ปีเห็นจะได้แล้ว

เสร็จจากการประชุมได้ท่องเที่ยวชมเมืองปักกิ่งอีกครั้งหนึ่ง
คราวนี้เจาะไปเฉพาะที่ๆ อยากไป หนึ่งในนั้นก็คือ วัดลามะ
喇嘛庙 หริอ หย่งเหอกง 雍和宫 ทั้งนี้เพราะเป็นวัดที่มี
ประวัติศาสตร์น่าสนใจ เป็นวัดใหญ่ซึ่งเป็นทั้งวัดเป็นทั้งวัง

จักรพรรดิคังซี 康熙 แห่งราชวงศ์ชิง ทรงสร้างให้เป็นวังที่ประทับ
ของราชโอรส หย่งเจิ้ง 雍正 เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงยก
วังส่วนหนึ่งให้เป็นวัดของพระลามะ ซึ่งเป็นนโยบายการแก้ปัญหา
ระหว่างจีนกับรัฐทิเบต

พระราชโอรสของหย่งเจิ้งผู้ได้ครองพระราชสมบัติต่อจากพระบิดา
คือ เฉียนหลง 乾隆 ประสูติที่นี่ และหลังจากหย่งเจิ้งสวรรคต
พระศพของพระองค์ได้ตั้งประกอบพระราชพิธีอยู่ในวังนี้เอง

จักรพรรดิเฉียนหลงยังทรงดำเนินนโยบายกับทิเบตเยี่ยงเดียวกับ
พระบิดาและยิ่งกว่า ถึงกับยกวังทั้งหมดให้เป็นวัดลามะโดย
สมบูรณ์

ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิงช่วงต้นที่เกี่ยวกับศาสนานั้น
น่าสนใจมาก มีความสัมพันธ์กับลัทธิศาสนาพุทธของมงโกล
(ราชวงศ์หยวน) กับของทิเบตโดยตรง จักรพรรดิราชวงศ์ชิง
รับอิทธิพลศาสนาพุทธมหายานจากทิเบตมาสร้างภาพลักษณ์
ของกษัตริย์ดุจเป็นพระโพธิสัตว์ แทนโอรสแห่งสวรรค์ 天子 -
เทียนจื่อ แบบจีน

มีคนสันนิษฐานว่า ราชวงศ์ชิงเปลี่ยนนามสกุลของเผ่าตนจาก
Jurchen (จีนเรียกว่า 女真 - หนี่เจิน) เป็น Manchu (จีนเรียกว่า
满族 - หม่านจู๋) เหตุเพราะเสียงของแมนจูคล้องกับชื่อของ
พระโพธิสัตว์มัญชุศรี (ฺBodhisattva Mañjuśrī) ซึ่งเป็นลัทธิ
พระโพธิสัตว์ที่ชาวทิเบตนับถือมาก

จักรพรรดิหย่งเจิ้งและเฉียนหลงทรงสร้างภาพลักษณ์เป็นพระ
นักบวชห่มหลือง โดยเฉพาะเฉียนหลงพระองค์ทรงสร้างภาพ
ลักษณ์เป็นพระโพธิสัตว์มัญชุศรีด้วย

นี่ก็แสดงว่าการเมืองเข้าไปเกี่ยวศาสนาโดยดึงเข้ามาสัมพันธ์
กันเพื่อประโยขน์ทางการเมืองและการปกครองอย่างเห็นได้ชัดๆ
อยู่แล้ว

ราชวงศ์ชิงเป็นราชวงศ์ใหม่และเป็นต่างชาติต่างเผ่าพันธ์ุที่เข้า
มาปกครองจีน จึงต้องประสบกับปัญหามากมาย ทั้งกับคนจีน
และมงโกล รวมทั้งความมั่นคงของเขตแดนทางด้านมงโกเลีย
และทิเบต ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ทางศาสนาจึงเป็นจุด
สำคัญที่จะเชื่อมโยงการปกครองให้เกิดความมั่นคงโดยสันติวิธี
เหตุนี้ทำให้ราชวงศ์ชิงเข้มแข็ง สามารถแผ่อาณาจักรไปได้ทั่ว
แผ่นดินจีน ควบคุมมงโกเลียและทิเบตให้อยู่ในอำนาจได้

ย้อนมาดูพระเจ้าตาก (1734-1782) ซึ่งมีพระชนม์ร่วมสมัยกับ
จักรพรรดิเฉียนหลง (1711-1796) ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าพระองค์
ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่า ตั้งราชวงศ์และราชธานีใหม่ ซึ่งไม่ได้
อยู่ที่เดิม นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ถือเป็น
turning point ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ได้เลย

ปัญหาในการปกครองบ้านเมืองของพระองค์ต้องมีมากมาย
ทั้งในด้านประชาชนหลากหลายเชื้อชาติ ขุนนาง เจ้าเมืองและ
คนที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ไม่ยอมอยู่ในอำนาจ ตลอดจนบรรดาหัวเมือง
และประเทศราชทั้งหลาย ความมั่นคงในทางการเมืองและการ
ปกครองสมัยของพระองค์จึงยังไม่มีความเข้มแข็งพอ

ที่สำคัญในอีกแง่มุมหนึ่ง พระองค์ต้องประสบกับปัญหาการยอมรับ
ในอำนาจการปกครองของพระองค์จากจีน เหตุเพราะจีนเห็นว่า
พระองค์ไม่มีความชอบธรรมในการสืบพระราชอำนาจต่อจาก
กษัตริย์อยุธยา ต้องทรงใช้เวลานานกว่าที่จีนจะยอมรับ

และด้วยประสบการณ์ที่เป็นปัญหานี้ของพระเจ้าตาก ทำให้กลาย
เป็นทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวของรัชกาลที่ 1 ต่อมา
โดยอ้างสิทธิในการปกครองต่อจากพระเจ้าตากว่า ทรงเป็นพระ
โอรสของพระเจ้าตาก ฉะนั้น กษัตริย์ราชวงศ์จักรีในพระราชสาส์น
ที่ส่งไปพร้อมกับเคริ่องราชบรรณาการจึงใช้แซ่แต้ (鄭 - เจิ้ง)
ทุกพระองค์

คิดว่าการที่พระเจ้าตากไม่ได้รับการยอมรับจากจีน ด้วยประเด็น
เหตุผลของจีน น่าจะเป็นเหตุให้ได้รับความกดดันทางการเมือง
การปกครองยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้พระองค์ต้องทรงเอาใจจีนเป็น
พิเศษ และพิสูจน์พระองค์โดยทำตามรอยจักรพรรดิเฉียนหลง
ในภาพลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ นั่นคือ การระบุตนอยู่ในพุทธภูมิ
เป็นพระพุทธเจ้า

นอกจากนี้ การสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าวอาจถือว่าเป็นการสร้าง
divine right king ในแนวใหม่ที่ต่างจาก devaraja รวมทั้ง
dharmaraja อันเป็นแนวของฮินดูและพุทธเถรวาทในสมัย
อยุธยา

อย่าลิมว่าพระองค์เป็นลูกจีนภายใต้วัฒนธรรมพุทธมหายาน
และมีถิ่นฐานดั้งเดิมในเขตแดนที่ใกล้ชิดติดต่อค้าขายกับพวก
จีนในเวียดนามซึ่งเป็นพุทธมหายาน ดีไหมดี พระบิดาอาจเป็นจีน
ที่โยกย้ายมาจากทางเวียดนามก็ได้ ซึ่งจะทำให้พระองค์มีเครือ
ข่ายกับพวกจีนทางนั้น

พระองค์ทรงฉีกทางออกมาในแนวพระโพธิสัตว์ นี่คือปัญหา
ที่อาจทำให้ทรงประสบกับความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ
รวมทั้งถูกกล่าวหาว่า เป็นบ้า ด้วย

ถึงเวลาต้องชำระประวัติศาสตร์ใหม่
เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพระองค์

พระองค์ไม่ได้บ้า
แต่พระองค์ไม่รู้จักพวก bigots ในราชสำนักของพระองค์
เท่านั้นเอง

Images: พลังจิต; www.learn.columbia.edu; Exploring
Tourism: China Travel Agency & Tour Operator



Pornpen Hantrakool added 3 new photos.
14 hrs ·

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1197586257041322&set=pcb.1197588023707812&type=3