เราไม่ได้ฉลาดขึ้น เเต่เรามีเครื่องมือที่มีพลังมากขึ้น...ฟังเต็มๆ "ชัชชาติ" อธิบาย "Moore’s Law" ยกตัวอย่าง "รถเเดงเชียงใหม่" ตามโลกไม่ทัน เเละทำไมจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา?
เราอาจจะอธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าวด้วย Moore’s Law ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่ Gordon Moore ผู้ก่อตั้ง Intel กล่าวไว้ในปี 1965 เขาตั้งข้อสังเกตว่า “ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี” หมายความว่าพลังในการคำนวณ หรือ ความจุ ของคอมพิวเตอร์ชิปที่เราใช้ในอุปกรณ์ต่างๆจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไป
ในช่วงแรกๆอัตราการเพิ่มจะยังไม่มาก เช่น 2 ไป 4 ไป 8 เท่า แต่พอเวลาผ่านไป การยกกำลังสองจะเพิ่มเร็วขึ้น ถ้าเราคำนวณจากปี 1970 ถึงปัจจุบัน พลังในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ชิปเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ แปดล้านเท่า และจะเป็น สิบหกล้านเท่าในอีกสองปี สามสิบสองล้านเท่าในสี่ปี สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีต่างๆรวดเร็วเพราะเรามีพลังในการคำนวณและมีความจุข้อมูลเพิ่มขึ้นและราคาถูกลง
การเปลี่ยนแปลงจาก Moore’s law ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทำให้อาจจะมีบางคนที่ตามการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
ดังนั้น คำถามที่ตัวเรา ธุรกิจ หรือ แม้แต่ประเทศต้องคอยถามตัวเองอยู่เสมอคือ “Are you still relevant?” “คุณยังมีความหมายอยู่ไหม” เนื่องจากโลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจที่เรามี มันยังมีความหมายหรือความสำคัญในสภาวะปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องปรับตัว หาความรู้เพิ่ม
"สิ่งที่ยังตาม Moore’s Law ไม่ค่อยทัน ยกตัวอย่างในเชียงใหม่ คือ รถเเดง เป็นรถที่เรานั่งเเล้วทำเเชร์ริ่งโดยไม่บอกเราได้ เพิ่มระยะทางโดยไม่เสียเงินเพิ่มได้ เป็นรูปแบบของตัวอย่างที่ยังไม่ได้ตามเทคโนโลยี ตอนนี้มีการทำแอปฯเรียกรถออนไลน์ออกมาเเล้ว คงกำลังทำอยู่"
“ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บมจ.ควอลิตี้ เฮ้าส์ บรรยายพิเศษ หัวข้อ “เตือนคุณล่วงหน้า พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง” ในงานสัมมนา “เชียงใหม่ 2018 จุดเปลี่ยน…ประตูสู่โอกาส”
#สัมมนาประชาชาติฯ #เชียงใหม่2018 #สัมมนาเชียงใหม่
ooo
คลิปเต็ม
กระตุกต่อมคิดกับ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เตือนคุณล่วงหน้า พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
https://www.prachachat.net/local-economy/news-88106