E-DUANG : “ขาลง” ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ
20 ธันวาคม พ.ศ.2560
มติชนสุดสัปดาห์
พลันที่พรรคประชาธิปัตย์เรียงแถวกันออกมาเปิดโปงการเคลื่อน ไหว “พรรคทหาร”
สถานะของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็เป็น”ปัญหา”
เป็นปัญหาเหมือนสถานะของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ภายหลัง
รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549
แม้จะได้รับการปูนบำเหน็จ แต่ก็”เล็กน้อย”
และยิ่งเมื่อ “คมช.” สามารถดำเนินตามแผน”บันได 4 ขั้น”ได้สำเร็จหลังเดือนพฤศจิกายน 2551
สถานะของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ยิ่งเสื่อมทรุด ตกต่ำ
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่างโหวง โหรงเหรง กระทั่งแทบไม่เหลือ “พลัง”
เช่นเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ณ วันนี้
ในห้วงหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 บารมีของ นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ อาจยังเฟื่องฟู
สัมผัสได้จากการจัด”ปาร์ตี้ ลายพราง”
สัมผัสได้จากการเสนอ “อนุสาสน์” ผ่านยอดคำเท่”รัฐบาลของเรา” สกัดมิให้เกษตรกรชาวสวนยางเคลื่อนไหว
ตอน”ประชามติ”เดือนสิงหาคม 2559 ก็ยังคึกคัก
แต่หลังจากประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษา ยน 2560 เป็นต้น
ก็เริ่มอยู่ในระยะ “ขาลง”
กระทั่ง เมื่อร่วมกับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน เสนอแก้ไขพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง
ก็ถึงจุดที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เริ่ม “หุดหิด”
ปัจจัยอะไรทำให้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องประสบชะตากรรมเดียวกัน
คำตอบคือ “มวลชน” รู้เช่นเห็นทะลุ
รู้ว่าก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 บทบาทของ นายสน
...
เหมือนๆว่าจะมีคนตอแหล..เพื่อชาติ..!!!https://t.co/SMr7r1AAPT pic.twitter.com/BouS2WXGu7— Shutup.กะลาแลนด์ (@shutup2557) December 20, 2017