มีข่าวเล็กๆเรื่องปลาหมอสีคางดำระบาดในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยปลาหมอสีคางดำที่ขยายจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว เข้าไปกัดกินสัตว์น้ำทั้งกุ้ง ปลา ที่มีในธรรมชาติ และเข้าไปกินสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงของชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวจนเสียหาย
สืบความไปปรากฏว่า ปลาดังกล่าวถูกนำเข้ามาโดยบริษัทเกษตรใหญ่ของเจ้าสัว นำเข้ามาจากประเทศกานาเมื่อปี 2553 โดยให้เหตุผลว่า นำเข้ามาเพื่อศึกษาวิจัยและทดลองนำมาผสมกับปลาหมอ เพื่อให้ได้ปลาหมอที่แข็งแรงและทนต่อโรค
แต่ผลการทดลองให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ บริษัทเลยหยุดการทดลองและได้ทำลายปลาหมอสีคางดำ โดยการฝังกลบ แต่การทำลายบริษัทบอกว่า ไม่ได้แจ้งกรมประมงที่เป็นผู้อนุญาตให้นำเข้า
การที่มีปลาต่างถิ่นแบบปลาหมอสีคางดำเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแพร่ขยายอย่างรวดเร็วนั้น บริษัทของเจ้าสัวบอกว่า อาจมีคนเอาไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ทางบริษัทไม่ได้บอกว่า ใครเป็นคนเอาไปปล่อย และไปเอาปลามาจากไหนมาปล่อย ซึ่งบริษัทอาจจะไม่รู้ก็เป็นได้(อันนี้ผมคิด)
ผลที่ตามมาหากปัญหานี้รัฐบาลประชารัฐที่มีเจ้าสัวเป็นหุ้นส่วนอยู่ปล่อยปละละเลยให้ปลาหมอสีคางดำระบาดต่อไป กุ้ง หอย ปู ปลา ในแหล่งน้ำธรรมชาติก็จะถูกปลาหมอสีคางดำจับกินทั้งลูกเล็ก และ ตัวใหญ่ที่กินได้จนหมดไปจากธรรมชาติ จนเหลือแต่ปลาหมอชนิดดังกล่าวในแหล่งน้ำ
ซึ่งปลาหมอสีคางดำเป็นปลาที่เนื้อน้อย ก้างใหญ่และก้างเยอะ ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จับมาขายก็ไม่มีคนซื้อคนกิน ไม่รู้บริษัทเจ้าสัวที่นำเข้ามาคิดอย่างไรจึงนำเข้ามาในประเทศ
เมื่อไม่มี กุ้ง ปู ปลา ในแหล่งน้ำธรรมชาติ นึกไม่ออกเหมือนกันว่า ชาวบ้านจะไปซื้อปลา ซื้อกุ้งใครกิน
ไม่รู้ว่า การที่มีปลาเอเลี่ยนลักษณะนี้หลุดเข้าไปในระบบนิเวศน์แบบนี้เป็นความผิดพลาด หรือ ผิดพลาดแบบจงใจ แต่หากรัฐไม่สนใจแก้ปัญหา สิ่งที่ตามมาผลเสียนั้นจะใหญ่มาก และคนที่จะเสียผลประโยชน์ก็คือประชาชน
#เรียนรู้อยู่กับน้ำด้วยการทำประมง
ที่มา FB
Thuethan Prasobchoke
....
เรื่องเกี่ยวข้อง...
สมุทรสงครามร้อนใจ ปลาหมอสีคางดำระบาดหนัก ดุร้าย ปากใหญ่ ก้างเยอะ ไม่อร่อย แถมกินลูกปลาอื่นเรียบ
สมุทรสงครามร้อนใจ ปลาหมอสีคางดำระบาดหนัก ดุร้าย ปากใหญ่ ก้างเยอะ ไม่อร่อย แถมกินลูกปลาอื่นเรียบ
(มติชนออนไลน์)
(ประชาไท)