วันศุกร์, พฤศจิกายน 24, 2560

กก.สิทธิฯ ตกใจหมอควักอวัยวะ 'น้องเมย' จี้ รื้อธำรงวินัย เข้าข่ายทรมาน - ไทยรัฐออนไลน์





กก.สิทธิฯ ตกใจหมอควักอวัยวะ 'น้องเมย' จี้ รื้อธำรงวินัย เข้าข่ายทรมาน


23 พ.ย. 2560
ไทยรัฐออนไลน์


"อังคณา" ระบุปม "น้องเมย" ญาติมีสิทธิผ่าพิสูจน์กี่รอบก็ได้ หากข้องใจสาเหตุการตาย ชี้แพทย์เอาอวัยวะออกต้องให้ญาติยินยอม แนะเยียวยาครอบครัว เผย กสม.พร้อมตรวจสอบหากญาติร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.60 นางอังคณา ลีนะไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) กล่าวถึงการเสียชีวิตของนักเรียนเตรียมทหาร ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ น้องเมย ว่า รู้สึกตกใจและแปลกใจกับการที่แพทย์ออกมาระบุในทำนองว่าสามารถเอาอวัยวะภายในของน้องเมยออกไปได้ ทั้งที่ความจริงแล้วจะทำอะไรก็ควรต้องบอกกับญาติให้ทราบชัดเจนก่อน ซึ่งก็ไม่ควรทำด้วยวาจาแต่ต้องทำเป็นเอกสารและให้เซ็นยินยอม

ทั้งนี้การที่ญาติยังมีความข้องใจเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต ก็เป็นสิทธิที่จะผ่าศพพิสูจน์อีกกี่ครั้งก็ได้ เหมือนกับกรณีของนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ ที่ก็มีการผ่าพิสูจน์หลายครั้ง ส่วนกรณีดังกล่าวจะถือว่าเข้าข่ายละเมิดหรือไม่นั้น ต้องสรุปชัดเจนก่อนว่าน้องเมย เสียชีวิตเพราะอะไร หากเสียชีวิตโดยไม่ได้มีใครไปทุบทำร้ายเขา แต่เสียชีวิตเพราะถูกบังคับให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจนร่างกายรับไม่ไหว ก็ต้องถือว่าเขาเสียชีวิตโดยการที่มีคนซึ่งมีอำนาจบังคับให้เขาต้องทำแบบนั้น ซึ่งคนที่มีอำนาจคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ

นางอังคณา กล่าวต่อว่า ส่วนที่ทหารอ้างว่าเป็นเรื่องธำรงวินัย เป็นเรื่องปกติที่จะฝึกวินัย ความอดทนของนักเรียนใหม่นั้น ก็เห็นว่าประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านทรมานแล้วทั้งปี 2550 และปี 2552 ซึ่งประเทศก็มีภาระผูกพันที่ต้องทำตามอนุสัญญานี้ และอนุสัญญาต่อต้านทรมานของสหประชาชาติก็ระบุไว้ว่าไม่ว่าสถานการณ์ใด รวมถึงสภาวะสงคราม การทรมานไม่สามารถเอามาใช้เป็นเหตุผลที่จะกระทำกับบุคคลอย่างไรก็ไม่ได้ อีกทั้งปัจจุบันมีร่างกฎหมายทรมานสูญหายที่ขณะนี้อยู่ในชั้นการแก้ไขของกระทรวงยุติธรรม โดยตามร่างกฎหมายนี้การทรมานทำไม่ได้ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ และการทรมานตามนิยามนี้ไม่ได้หมายถึงการทรมานด้านร่างกายอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการทรมานด้านจิตใจ การบังคับขู่เข็ญด้วย ฉะนั้นการธำรงวินัย เช่น การชกท้อง หรือบังคับให้ทำอะไรหนักๆ เกินกว่าร่างกายจะรับไหว มันก็เข้าข่ายเป็นการทรมานอยู่แล้วซึ่งก็ทำไม่ได้

"ก็เป็นคำถามที่ท้าทายทางทหารเหมือนกันว่า ต่อไปเรามีกฎหมายต่อต้านการทรมานแล้วเรายังบอกว่าธำรงวินัยเป็นวัฒนธรรมของโรงเรียนที่จะต้องรักษาไว้ให้ยังคงอยู่อีกหรือ เพราะถ้ากฎหมายทรมานสูญหายมีผลบังคับใช้ วิธีการที่เป็นการบังคับจิตใจหรือทำให้เกิดความทุกข์ทรมานร่างกาย จิตใจ ผิดกฎหมายหมดเลย เพราะถือว่าเป็นอาชญกรรม การจะทำให้คนรู้รักษาวินัย มีวิธีการการอื่นๆ อีกมากมาย และประเพณีวัฒนธรรมอะไรที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องก็ควรจะปรับปรุง ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน หากรัฐบาลจะประกาศเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ก็ควรจะปฏิรูประบบนี้เสีย" นางอังคณา กล่าว

นางอังคณา กล่าวต่อว่า ในส่วนของญาติผู้เสียหาย หากรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถร้องต่อ กสม.ได้ ซึ่งจะมีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่ามีการละเมิดหรือไม่ แต่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เกิดความจริงได้ง่ายเพราะผู้ที่เห็นเหตุการณ์ คือนักเรียนนายร้อยด้วยกันซึ่งอยู่ที่ว่าจะพูดหรือไม่ เพราะก็อาจจะอ้างเรื่องวินัย พูดไม่ได้ เป็นความลับราชการ ก็ยากจะหาหลักฐาน จริงๆ เรื่องนี้ถ้าหากเจ้าหน้าที่ระดับสูงคิดว่า เป็นเรื่องที่ควรจะเยียวยาครอบครัวเขาก็ควรบอกความจริงกับเขาดีกว่า


ooo

ooo



หุบปาก! เจ้าหน้าที่สตาร์ลิ่ง อยากโดนแดกสมองอีกคนใช่มั้ย


หนังฝังมุก

ooo

เรื่องเล่าอดีตทหารเกณฑ์



“ก่อนเข้าไปเป็นทหารเกณฑ์ ผมเคยคุยกับเพื่อน บางหน่วยมีแค่สั่งทำโทษ แต่ไม่ถึงเนื้อถึงตัวเลย ขณะหน่วยผมค่อนข้างถึงเนื้อถึงตัว สิ่งที่ครูฝึกพูดเป็นประจำคือ ‘เดี๋ยวมึงโดนแดก!’ ซึ่งมีหลายเลเวล ตั้งแต่เอาสายยางรดน้ำต้นไม้ตัดสั้นฟาดก้น ไม้กวาด หยิบอะไรได้ก็เอา ถ้าทำโทษก็มีวิดพื้น สก็อตจั๊ม ที่บ่อยสุดคือพุ่งหลัง ช่วงแรกๆ โดน 50 ครั้งก็หนักแล้ว เวลาผ่านไปโดนเป็น 100 ครั้ง ผมเคยโดนมากสุด 500 ครั้ง มันคือการใช้พลังอำนาจ แสดงว่า ‘กูเอาอยู่!’ ผลผลิตที่เขาอยากได้คือความพร้อม ไม่ใช่ความครีเอทีฟ ไม่ใช่ความฉลาด แค่ทำตามให้ได้ก็พอ ซึ่งพอมาใช้กับโลกภายนอกที่หมุนเร็ว มันไม่เวิร์คหรอก

“สัปดาห์แรกเลย ตอนนั้นทุกคนนั่งรวมกัน แบ่งเป็นสองกลุ่ม ผมขอตัวไปเข้าห้องน้ำ แล้วพอกลับมานั่ง ผมดันไปนั่งผิดกลุ่ม พอมีการนับจำนวน คนขาด ครูฝึกถามว่า ‘ใครเข้าแถวผิด!’ ผมเลยแสดงตัว หน้าครูฝึกโกรธเหี้ยๆ โดนแน่นอน ผมเดินไปหา ครูฝึกพูดเสียงดัง ‘ถอดแว่น!’ เขาเอาแฟ้มในมือฟาดหน้าอย่างแรง ผมหน้าหันเลย ไม่มีความคิดอยากสวนกลับ จังหวะที่ทหารใหม่โดนแดก แค่เงยหน้าไปมองตา ก็มีโอกาสโดนซ้ำแล้ว มันเคยเกิดขึ้นด้วยนะ เวลาใครพยายามจะอธิบาย ครูฝึกมักพูดว่า ‘มึงชี้แจงเหรอ!’ ทางเดียวคือเราต้องยอม ครูฝึกพูดอะไรมา เราจะเงียบ อธิบายไม่ได้หรอก รูปประโยคถูกทำให้สั้น บอกแค่เหตุผล แล้วรับกรรมไปเลย

“บางวันยืนเฉยๆ ยังมีคนโดน หาว่ามองหน้าเหรอ เล็บยาว หนวดยาว กระดุมลืมติด โดนได้ทุกอย่าง ครูฝึกเคยสั่งให้หมอบตอนอาบน้ำ สั่งให้เอาหน้าไปแนบตูดเพื่อน หรือให้ตั้งแถวตอนเรียงหนึ่ง แล้วจับไข่เพื่อน เดินวนรอบห้องน้ำ บางทีก็ดึงผ้าขนหนูไปซ่อน ดึงชุดไปโยนไว้ไกลๆ ไม่มีคำอธิบายว่าทำไปทำไม เพราะไม่มีใครกล้าตั้งคำถาม โอเค มันคงมีเรื่องต้องแอ็คทีฟตลอดเวลา ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา แต่ระหว่างทางทำแล้วมันส์ไง กลายเป็นความบันเทิงของครูฝึก แล้วเหมือนอยู่ในร่องรอยการฝึกด้วยนะ แต่ผมมองว่านี่ไม่เกี่ยวกับการฝึกแน่ๆ ไม่เกี่ยวกับวินัยของทหารแล้ว

“ตอนอยู่ข้างนอก ผมให้คุณค่ากับความถูก-ผิดที่หลากหลาย แต่ทหารมีความถูกต้องหนึ่งเดียว กินข้าวแบบนี้ พูดแบบนี้ สูงต่ำแบบนี้ นอกเหนือจากภาพจำ คือผิด ถ้าผิดจะโดนลงโทษ ทำให้กลัว มันได้ผลในกลุ่มเล็กในระยะสั้น แต่พอทหารไปบริหารในสเกลประเทศ ใช้มายเซ็ตแบบนี้ อะไรไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดว่าควรเป็น คือผิด สิ่งที่ทำไม่ใช่การประนีประนอม แต่คือการลงโทษ คิดว่าคนนั้นจะกลัว แต่วิธีนั้นไม่เวิร์คกับโลกข้างนอก เขาใช้ความกลัวกดคนไม่ได้ตลอดหรอก คุณกำลังผลิตคนเป็นแสนที่ไม่ตั้งคำถาม ยินยอมกับระบบ สร้างลำดับชั้นที่ไม่ได้วัดจากความสามารถ วินัยของทหารคือการเอาทุกคนมาอยู่บนเส้นเดียวกัน ตื่นเช้าได้ ปูเตียงได้ ซักผ้าได้ โอเค เหล่านี้คือพาร์ทที่ดีขึ้น แต่มันมีพาร์ทที่กดลงเต็มไปหมด สิ่งที่รู้สึกระหว่างทางตลอด คือการถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ไปเรื่อยๆ เราไม่มีสิทธิในร่างกายตัวเองเลย”


มนุษย์กรุงเทพฯ

ooo



ooo