วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 19, 2560

“นับถอยหลังเผด็จการ สู่การเลือกตั้ง” เมื่ออำนาจกลับมาอยู่ในมือของประชาชนอีกครั้ง ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาของประเทศเสียใหม่ อย่าสิ้นหวัง - (เอาคืนเผด็จการทหาร - กี่ปีให้หลังก็ยังไม่สาย)





“นับถอยหลังเผด็จการ”

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 กรธ. จะต้องเสนอ พรป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พรป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ต่อ สนช. เพื่อพิจารณาทั้งที่กฎหมายทั้งสองฉบับถูกเรียงไว้เป็นลำดับ (1) และ (2) ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 แต่ด้วยเล่ห์ของเผด็จการกฎหมายที่ควรเสร็จก่อนกลับถูกทำให้เสร็จเป็นลำดับสุดท้ายทำให้การเลือกตั้งถูกยืดออกไป

ตามมาตรา 267 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญ สนช. จะต้องพิจารณา พรป. ทั้งสองฉบับให้เสร็จภายใน 60 วัน ถ้าไม่เสร็จถือว่าเห็นชอบ กฎหมายจึงต้องเสร็จจาก สนช. ภายในวันที่ 27 มกราคม 2561 จากนั้นใช้เวลาอีก 30 วัน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. และ กรธ. พิจารณา ผลคือภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ กฎหมายต้องเสร็จพร้อมที่นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย ซึ่งหากใช้เวลา 30 วัน แปลว่าวันที่ 28 มีนาคม 2561 จะเป็นวันนับหนึ่งของการเลือกตั้งซึ่งตามมาตรา 268 การเลือกตั้งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน กล่าวคือภายในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 จะต้องมี ส.ส. ครบตามจำนวนที่จะประชุมสภาได้ ดังนั้น การเลือกตั้งจึงต้องจัดให้มีขึ้นภายในไม่เกินวันที่ 25 มิถุนายน เพราะต้องเผื่อเวลาไว้ 60 วัน เพื่อประกาศผลและเลือกตั้งซ่อม

เมื่อมีการเลือกตั้งอำนาจจะกลับมาอยู่ในมือของประชาชนอีกครั้ง ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดกฎเกณฑ์หรือกติกาของประเทศเสียใหม่ ซึ่งรวมถึงการทำประชามติเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชนมาใช้แทนฉบับที่เผด็จการร่างขึ้น เปรียบได้กับการถูกโจรปล้น การที่เจ้าของบ้านต้องทำตามคำสั่งหรือกติกาที่โจรกำหนดไม่ได้แปลว่ายินยอมหรือเห็นด้วยกับโจร เมื่อโจรล่าถอยไปแล้วเจ้าของบ้านย่อมมีเสรีภาพที่จะใช้อำนาจของตนซึ่งรวมถึงการดำเนินคดีกับโจรด้วย อย่าสิ้นหวังมาช่วยกันนับถอยหลัง ความอัปยศที่ต้องทนอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการใกล้สิ้นสุดแล้ว อีกไม่นานเกินรอครับ

วัฒนา เมืองสุข
สมาชิกพรรคเพื่อไทย
19 พฤศจิกายน 2560


Watana Muangsook

ooo



เอาคืนเผด็จการทหาร - ๔๔ ปีให้หลังก็ยังไม่สาย
%%%%%
ศาลสูงสุดชิลีตัดสินลงโทษจำคุก ๒๐ ปีนาย ฮวน ฟรานซิสโก ลูโซโร มองเตเนโกร อดีตประธานสมาคมนักธุรกิจ และเป็นพลเรือนรายแรกที่ถูกลงโทษในฐานสังหารคนไป ๔ คนในระหว่างเข้าร่วมการปราบปรามฝ่ายค้านของรัฐบาลเผด็จการนายพลปิโนเช่ต์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๗๓ (หลังจากที่ศาลได้ตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจมาแล้วหลายรายในความผิดทำนองเดียวกัน) พร้อมกันนั้นศาลยังสั่งให้รัฐชิลีมอบค่าชดเชยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง ๔ คนเป็นเงิน ๒.๒ ล้านเปโซ (ราว ๓ พันยูโร) ด้วย

ขณะนี้ยังมีคดีเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐบาลปิโนเช่ต์คาศาลอยู่อีก ๑,๓๐๐ คดี