วันเสาร์, พฤศจิกายน 18, 2560

ระหว่าง "การวิ่งด้วยชุดกีฬาแบรนด์ไนกี้เต็มฟอร์มของตูน" กับ "การออกไปชูสามนิ้วด้วยมือตัวเองของไผ่" อะไรคือการเสียสละและทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง (?)




Tanachai Rock Piyawatsriyakun 🙄 ระหว่าง "#การวิ่งด้วยชุดกีฬาแบรนด์ไนกี้เต็มฟอร์มของตูน" กับ "#การออกไปชูสามนิ้วด้วยมือตัวเองของไผ่" อะไรคือการเสียสละและทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง (?)

และ.. ระหว่าง "โปรเจควิ่งเพื่อหาเงินซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้แก่รัฐเผด็จการทหาร" กับ "การเอาชีวิตและอิสรภาพของตัวเองเป็นเดิมพันเพื่อแลกกับการเรียกร้องขอคืนสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนจากรัฐเผด็จการ" อะไรคือความดีงามสูงส่งในประเทศ #กะลาแลนด์ แห่งนี้กันแน่(?)

เมื่อ "#อารยธรรมทางสังคมนั้นมันต่ำ" ความดีในทางสังคมก็ถูกมองหรือให้คุณค่าไปอย่างหนึ่ง..

และเมื่อ "#อารยธรรมทางสังคมนั้นสูง" คุณค่าที่สังคมยึดถือ ก็จะมีความเป็นอารยะไปคนละอย่าง เช่นกัน..

ฉะนั้น.. อันการให้นิยาม "คนดี" หรือ "ความดี" จะเป็นเช่นใด จึงขึ้นอยู่กับว่า.. "#ในสังคมนั้นๆมีอารยธรรมกันมากแค่ไหน(?)

แต่โปรดจงอย่าลืมกันว่า ที่นี่.. ประเทศไทย(#ในกะลา!) 😔

...

‘ตูน’ กับ ‘ไผ่’ ในวัฒนธรรมความดีแบบไทย




https://www.posttoday.com/social/general/524926


2017-11-14
โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ที่มา ประชาไท


หลายคนอาจถามว่า เรื่องของ “ตูน” เป็นเรื่องจิตอาสาเพื่อสาธารณกุศล ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เรื่องของ “ไผ่” เป็นเรื่องต่อสู้ทางการเมือง มันคนละเรื่องไม่มีอะไรเกี่ยวกันเลย ทำไมผมนำมาโยงกัน ใช่ครับสองเรื่องเป็นคนละปรากฏการณ์ คนละเป้าหมาย ไม่ใช่กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน แต่ก็มีลักษณะเหมือนกันอยู่คือเป็น “เรื่องสาธารณะ” เช่นกัน ประเด็นที่น่าวิเคราะห์คือสื่อและสังคมให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับสองเรื่องนี้อย่างไร

ส่วนที่ว่าเรื่องของตูนไม่ใช่เรื่องการเมืองนั้น ก็อยู่ที่ว่าเราพูดถึง “การเมือง” ในความหมายกว้างหรือแคบ เพราะในโลกสมัยใหม่ที่รัฐมีอำนาจกำกับชีวิตของปัจเจกบุคคลแทบทุกมิติ “เรื่องส่วนตัวก็เป็นเรื่องการเมือง” เช่นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ย่อมเป็นเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการต่อรอง หรือโน้มน้าวในทางการเมืองว่า เราจะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและสิทธิความเป็นส่วนตัวด้านอื่นๆ อย่างไร เป็นต้น เรื่องกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะของตูน แม้แสดงถึงความเสียสละของตูนและบรรดาประชาชนที่ร่วมบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรชื่นชม แต่ก็ย่อม “สื่อสาร” ในทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อยสองประการ

เช่น สื่อสารให้เห็นปัญหาด้านงบประมาณของโรงพยาบาล การบริหารงบประมาณที่ได้รับจากรัฐ งบฯ บริจาค ปัญหาระบบประกันสุขภาพ ที่จำเป็นต้องวางระบบการแก้ไขในระยะยาว และสื่อสารคำถามว่า หากงบประมาณเพื่อประกันสุขภาพไม่เพียงพอ เหตุใดรัฐบาล คสช.จึงทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์กว่า 7 หมื่นล้าน ดังที่ตั้งคำถามกันแซดในโลกโซเชียล




http://www.ispacethailand.org/12980.html


ที่น่าสนใจคือ เหตุใดเรื่องของตูนกับไผ่ที่เป็น “เรื่องสาธารณะ” เช่นกัน แต่กระแสสังคมที่แสดงออกถึงการยอมรับ ชื่นชม และสนับสนุน กลับต่างกันราวฟ้ากับเหว

แน่นอนว่า เรื่องของไผ่เป็นเรื่องซับซ้อนกว่ามาก เพราะเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่ย่อมมีฝ่ายเห็นด้วยและเห็นต่าง และฝ่ายที่เห็นด้วยก็ไม่สามารถแสดงออกในรูปของการเคลื่อนไหวทางการเมืองถึงการยอมรับ สนับสนุนได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีเสรีภาพทางการเมือง ขณะที่เรื่องของตูนแทบจะไม่มีเงื่อนไขทำนองนี้

แต่กระแสตอบรับและสนับสนุนที่ต่างกันชัดเจนขนาดนั้น ย่อมสะท้อนทัศนะพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องความดี ความเสียสละเพื่อส่วนรวมของสังคมไทยที่น่าขบคิด นั่นคือ บางคนมองว่าการทำความดี เสียสละแบบตูนคล้ายๆ กับ “ผ้าป่าช่วยชาติ” ที่มีลักษณะสำคัญคือ มีผู้นำการเสียสละที่ต้องเป็นผู้มีบารมีสูง มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของผู้คนทุกชนชั้นในสังคม การเกิดขึ้นของผู้มีบารมีที่สามารถนำหรือรวมจิตใจของผู้คนจำนวนมากในสังคมให้ร่วมเสียสละช่วยชาติได้ ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ฉะนั้นปรากฏการณ์ของการทำดีเพื่อชาติเช่นนี้ จึงสอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมไทย ที่เรียกว่า “พระมาโปรด” ซึ่งสะท้อนว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ในวัฒนธรรมความดีแบบพระมาโปรด

คำพูดที่ว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี” ย่อมหมายความว่า สักวันหนึ่งสังคมเราจะมี “คนดี” มาโปรด หรือเป็นผู้นำกูวิกฤตชาติบ้านเมืองเสมอ ไม่ว่าจะกู้วิกฤตในความหมายที่ได้คนดีมาเป็นผู้ปกครอง หรือในแบบผู้เสียสละอย่างตูน เป็นต้น

ถามว่าการกระทำของไผ่เป็นการ “เสียสละ” หรือไม่ ผมคิดว่าคำตอบของไผ่ตามภาพข้างล่างนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องเกินจริง




https://thaienews.blogspot.com/2016/08/blog-post_38.html


แต่ดูเหมือนว่าการเสียสละแบบไผ่ ไม่มีความหมายเป็น “ความดี” ในวัฒนธรรมความดีแบบพระมาโปรด หากแต่กลายเป็น “ความแปลกแยก” จากวัฒนธรรมดังกล่าว ความดีแบบพระมาโปรดถูกถือว่าเป็นเรื่องเพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ แต่การเสียสละแบบไผ่กลายเป็นเรื่องลักษณะนิสัยส่วนตัวที่หัวดื้อ หัวรุนแรง แกว่งเท้าหาเสี้ยน สร้างความแตกแยก ไม่รักชาติบ้านเมือง

นี่คือลักษณะเฉพาะของไทยแลนด์โอนลี่ใช่ไหม ก็น่าจะใช่ในปัจจุบัน แต่ลักษณะเช่นนี้ก็มีในสังคมอื่นๆ เช่นกัน เมื่อเราดูหนังเรื่อง “Suffragette – หัวใจเธอสยบโลก” ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเลือกตั้งของสตรีในประเทศอังกฤษช่วงปี 1900 ต้นๆ ที่นำโดยเอมเมอลีน แพงก์เฮิร์สต์ นักเรียกร้องสิทธิสตรี การต่อสู้ของผู้หญิงเหล่านั้นต้องเผชิญกับคำปรามาสว่า ธรรมชาติของสมองผู้หญิงไม่อาจรักษาความสมดุล (ระหว่างเหตุผลกับอารมณ์) จึงไม่สามารถจะมีวิจารณญาณในการใช้สิทธิเลือกตั้ง หากยอมให้ผู้หญิงโหวตโครงสร้างสังคมจะพังทลายลง สังคมภายใต้วัฒนธรรมผู้ชายมีสิทธิเหนือกว่าทุกด้านมองผู้หญิงที่ออกมาต่อสู้ว่าเป็น “ตัวประหลาด” ผู้หญิงบางคนถูกสามีซ้อม ถูกไล่ออกจากบ้าน ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องประท้วงอำนาจของผู้ชายทั้งด้วยวิธีรุนแรงและสันติวิธี จนนำไปสู่การสละชีวิตและถูกจับติดคุกกว่าพันคน จึงทำให้รัฐสภาอังกฤษแก้กฎหมายให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งได้ในปี 1918 ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปและสหรัฐต่างทยอยให้สิทธิเลือกตั้งแก่สตรีในเวลาต่อมา

ผมไม่ได้สรุปว่า สังคมไทยปัจจุบันอยู่ในยุคเดียวกับอังกฤษเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว อย่างน้อยผู้หญิงไทยก็มีสิทธิเลือกตั้งหรือมีสิทธิเท่าเทียมกับชายมากขึ้นแล้ว เพียงแต่ตอนนี้เราต่างตกอยู่ในสภาพบังคับให้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหญิงและชาย แต่ปัญหาคือคนที่เสียสละต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยยังคงไม่ถูกนับว่าเป็น “คนดี” ที่ควรยอมรับและสนับสนุนภายใต้วัฒนธรรมความดีแบบไทย

คนแบบไผ่ ดาวดิน จึงยังคงเป็นตัวประหลาดในสังคมไทยปัจจุบัน เรื่องราวในชีวิตจริงของหลายคนที่ออกมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยจึงไม่ต่างอะไรกับเรื่องราวในหนังที่ผมกล่าวถึง คือชีวิตครอบครัวพัง งานพัง และเผชิญปัญหาเพียงลำพัง เสมือนว่าพวกเขาไม่ได้กำลังเสียสละในเรื่องสาธารณะที่ควรถูกยอมรับนับถือ เฉกเช่นตูนหรือยิ่งกว่า
แสดงให้เห็นว่าไทยแลนด์โอนลี่ ก็ไม่ต่างจากสังคมอื่นๆ ในโลก เพราะเป็นสังคมที่ต้องผ่านประวัติศาสตร์การสร้างตัวประหลาด และตัวประหลาดก็หนีไม่พ้นจากการถูกกำหนดให้มีราคาที่ต้องจ่ายเพื่อแลกกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ดังที่แพงก์เฮิร์สต์กล่าวว่า "ฉันยอมเป็นกบฏดีกว่าเป็นทาส" เราไม่รู้หรอกว่าเมื่อไรเราจะชนะ รู้แต่ว่าจะชนะ เพราะในสังคมที่ปิดกั้นการสื่อสารไม่ได้ แต่ยังมีความพยายามใช้อำนาจให้ประชาชนทำตัวเป็น “กบในกะลา” ย่อมจะมีกบฏความคิดเกิดขึ้นทุกๆ วัน



นี้คือความเหี้ยระยำของเผด็จการทรราช คสช.ที่ได้กระทำต่อ ไผ่ ดาวดิน
-
ลูกหลานเราจะต้องถูก ข้าราชการชั่วที่ก้มหัวรับใช้เผด็จการ กระทำทารุณ และ เหยียดหยาม อีกสักเท่าไหร่ ถึงจะสาแก่ใจ พวกมัน
-
นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ลูกหลานฝ่ายประชาธิปไตยโดนกระทำ ครั้งก่อน ก็จับเด็กนักศึกษาสาว ตรวจภายใน.
-
กดขี่เข้าไป ทำทารุณ และ เหยียดหยามเข้าไป สร้างความกลัวให้มันมากๆเข้าไว้ ไอ้พวกข้าราชการชั่ว สักวัน เมื่อความกลัวของลูกหลานฝ่ายประชาธิปไตย ถึงที่สุด วันนั้นกรรมจะตามสนองพวกมึงอย่างสาสม
-
กูขอสัญญา
-
เสรีชนท่านหนึ่ง