(https://www.thairath.co.th/content/1133305)
ว่าด้วย "ชันสูตรพลิกศพ" ภาคต่อ (ยาวนิสนุง) ...ต้องบอกก่อนว่าข้อมูลและลำดับเหตุการณ์เรื่องนี้ เราเองก็อ่านจากหนังสือพิมพ์มาเหมือนท่านอื่น ๆ นะฮะ ซึ่งทราบแต่เพียงว่า ญาติของน้องที่เสียชีวิตได้รับแค่ "ใบมรณะบัตร" ที่แจ้งว่าหัวใจล้มเหลว แล้วก็ไปรับศพมาทำทีประกอบพิธีศพ แต่แอบเอาร่างไปให้แพทย์ชันสูตรเองตอนหลัง
เอาล่ะ...มดหมอนิติวิทยาศาสตร์ในข่าวนี้ จะยิ้มแฉ่งแถลงยังไงไม่รู้แต่ ประเด็น คือ
.
1) ถ้าญาติของผู้ตายเค้าได้รับแค่ใบมรณะบัตรเท่านั้นจริง ๆ โดยไม่มีการติดต่อเขาไปก่อนเลยว่าจะมีการ "ชันสูตร" ตามกฎหมาย แค่นี้มันก็ "ผิดกระบวนการ" (และมีพิรุธ) ตั้งแต่แรกแล้ว เพราะดังกล่าวไปแล้วว่า เป็น "หน้าที่" ของพนง.สอบสวนต้องแจ้งญาติ "ก่อนมีการชันสูตร" (ม. 150 วรรคสาม วิอาญา) ไม่ใช่แค่ก่อนผ่าศพ
.
และการแจ้งญาตินี้สำคัญมาก ๆ เนื่องจาก มันเกี่ยวกับการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย (ไม่งั้นไปงุบงิบทำกันกับผู้กระทำผิด จะว่าไง) ถ้าไม่เชื่อว่า ประเด็นการแจ้งญาติให้ทราบสำคัญจริง ๆ ให้ไปดูใน "ระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการชันสูตรฯ" ข้อ 11 เขียนกำชับอัยการ กรณีที่เข้าร่วมชันสูตร ตรวจเช็คเลยว่า พนง.สอบสวน ได้แจ้งญาติผู้ตายหรือยัง ถ้ายังต้องรีบสั่งให้แจ้ง....การไม่แจ้งจะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลพิเศษเท่านั้น และต้องบันทึกเหตุไว้เป็นหลักฐานด้วย กรณีนี้เหตุหน้าจะเกิดที่กรุงเทพฯ หรือปริมณฑล และโรงเรียนต้องมีที่อยู่ของนักเรียนแน่ ๆ (ไม่งั้นส่งใบมรณะไม่ได้) เช่นนี้ จะไม่สามารถแจ้งญาติได้หรือ ?
.
2) สืบเนื่องจากข้อ 1) มดหมอที่มานั่งกันหน้าสลอนนี้ พูดหน้าตาเฉยเลยได้อย่างไรฮะว่า ...ยังอยู่ในกระบวนการส่งไปชันสูตร ! ...ในเมื่อไม่มีการแจ้งญาติเลยว่าจะมีการชันสูตรตั้งแต่แรก แถมยังมีการส่ง "ใบมรณะบัตร" แจ้งสาเหตุการตายไปให้ญาติเขาแล้วอีกต่างหาก ...."สาเหตุการตาย" มันจะรู้หรือสรุปให้เขาได้ มันต้องผ่านการชันสูตรก่อนหรือเสร็จแล้วสิจ๊ะเทอร์ ซึ่งหมายความว่าญาติต้องได้รับแจ้งตั้งแต่แรกแล้วเปล่าจ๊ะ..
.
3) เอาล่ะ สิ่งที่บรรดาหมอ ๆ นี่มาพูดอาจถูกต้องอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในกระบวนการ "ผ่าศพ" เพื่อแยกธาตุนั้น (มาตรา 151 วิอาญา) กฎหมายไทย (วิอาญา) ไม่ได้เขียนว่าต้องขออนุญาตหรือแจ้งญาติด้วยอีกรอบ กล่าวคือ หากพนง.สอบสวน เห็นว่าจำเป็นเพื่อหาสาเหตุการตาย ก็สั่งให้ผ่าศพหรือแยกธาตุได้เลย ...แต่ ไอ้มาตรา 151 นี้ มันก็เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังจากกระบวนการแจ้งญาติเพื่อเริ่มทำการ "ชันสูตร" ไง
.
ดังนั้น ไอ้กรณีที่ จะมา "งุบ ๆ งิบ ๆ" สั่งผ่ากันโดยญาติไม่รู้ด้วยเลย แม้กระทั่งว่ามันมีกระบวนการ "ชันสูตร" ด้วย(นะโว้ย) อันนี้มันเกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้ว... กล่าวให้ง่ายก็คือ กระบวนการมันผิด (มันมีพิรุธ) มาตั้งแต่ข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว การมาบอกว่า ...การผ่าไม่ต้องแจ้งญาติ...จึงเป็นการแถ "ผิดขั้นตอน" แล้วฮะ
.
นอกจากนี้ ควรต้องบอกด้วยว่า แม้มาตรา 151 วิอาญา เรื่องผ่าศพ กม.ไม่ได้เขียนรายละเอียดอะไรไว้มาก รวมทั้งไม่ได้บอกว่าต้องแจ้งญาติด้วย... แต่หากดูเจตนารมณ์กฎหมายแล้ว ขนาดแค่การชันสูตรธรรมดาทั่วไป (ตรวจศพภายนอก) ยังต้องแจ้งเลย การจะผ่าศพญาติเขา ก็ควรต้องแจ้งด้วยใช่ไหม ? ตามหลัก "ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น" ศพพ่อแม่ ลูกหลานเขานะฮะ ไม่ใช่ ศพหมาศพแมว อยากดึงตับ จกไต งัดสมองไปแค่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้.. กรณีนี้ กฎหมายเยอรมันเขียนกระบวนการแยกธาตุนี้ไว้ชัด และต้องแจ้งญาติ แน่นวล
.
4) เอาล่ะ...ต่อให้ตัดประเด็นข้างบนทิ้งให้หมด ทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปค่าย(ทหาร)...แต่กฎหมายก็บอกว่า เมื่อแยกธาตุผ่าศพแล้วแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐต้องเขียนรายงานสรุปสาเหตุการตายส่งพนักงานสอบสวน หรืออัยการ (แล้วแต่กรณี) ด้วย (ม. 152 วิอาญา) และส่งตามกำหนดเวลา หากจะขยายเวลาต้องมีบันทึกเหตุผล....ไม่ใช่เอามาดองเค็มเก็บไว้เงียบเฉียบ จนต้องให้ญาติ ๆ เขามาร้องทวงถามว่า อ้าว..มันหายไปไหน ? จึงค่อย ๆ "กางโต๊ะ" ออกมาแถลงกันแบบนี้...(เอาจริง ๆ เลยนะฮะ ..ถ้าญาติไม่ถาม เราจะรู้กันไหมล่ะ)
.
ที่สำคัญอย่างที่บอก คุณส่ง "ใบมรณะบัตร" แจ้งสาเหตุการตายเสร็จสรรพให้เขาไปแล้ว ไม่พอ ส่งศพลูกเค้าให้ไปเผาแล้วด้วย... ยังจะมาแก้ตัวว่า "กำลังจะส่งชิ้นส่วนอื่นไปชันสูตร" เพื่อหาสาเหตุการตายต่อ....นี่มันไปกันแบบสีข้างถลอกเลือดอาบเลยนะฮะ
.
5) ม. 150 ทวิ วิอาญา บอกว่าผู้กระทำใด ๆ แก่ศพจนส่งผลต่อรูปคดี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี แลถด้าเป้าหมายเพื่ออำพรางคดีด้วย โทษดีดเป็นสองเท่าฮะ...(นี่ยังไม่นับความผิดอื่น ๆ อีกตามป.อาญา)...อาเมน
ooo
เห็นด้วยกับมิตรสหายหลายท่านเรื่องชันสูตรฮะ (ไม่ได้ดูซีรีย์เมกา แต่ชักอยากหามาดูบ้าง) สำหรับการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายไทยนั้น มิได้ซับซ้อนอะไรจนปชช.ทั่วไปจะจับไม่ได้ว่าใครมั่ว ไม่มั่ว หรือใครแถ ไม่แถ ดังนี้
1) ถ้ามีการตายผิดธรรมชาติเมื่อไหร่ ต้องมีการชันสูตรเสมอ ยกเว้นตายโดยประหารชีวิต (ม.148 วิอาญา) เป้าหมายแค่เพื่อ ทราบว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน ตายอย่างไร มีใครทำให้ตายหรือไม่ (ยังไม่ชี้ว่ามีใครต้องรับผิดหรือไม่) เท่านั้น
2) ถ้ากรณีปกติ ผู้ชันสูตรคือ พนง.สอบสวน (ในท้องที่ที่พบศพ) ร่วมกับแพทย์นิติเวชฯ (หรือแพทย์อื่นๆ กรณีหาไม่ได้จริงๆ) โดยเป็นหน้าที่พนง.สอบสวนต้องแจ้งแพทย์ และแจ้ง “ญาติ” (คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ฯลฯ) อย่างน้อยหนึ่งคนทราบ (ม.150 วิอาญา)
3) แต่ถ้ากรณีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ (อันนี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาฆ่า) หรือ ตายในระหว่างอยู่ในการควบคุมของจพง. ผู้ชันสูตรจะต้องมีถึง 4 ฝ่ายด้วยกันคือ อัยการ พนักงานฝ่ายปกครองเทียบเท่าปลัดอำเภอ พนง.สอบสวน และแพทย์นิติเวชฯ โดยเช่นเดียวกัน พนง.สอบสวนมีหน้าที่แจ้งทุกฝ่ายดังกล่าว รวมทั้ง “ญาติ” (ม. 150 วรรคสาม วิอาญา)
4) กรณีน้องนักเรียนเตรียมทหารที่เสียชีวิต คือ ข้อ 3) นั่นแหละ
5) การชันสูตรการตายตามข้อ 3 กม.ได้เพิ่มขั้นตอนพิเศษเพื่อให้ญาติมั่นใจได้ว่าไม่มีการเข้าข้างกันไว้อีกหนึ่งขั้นตอน คือ ต้องส่งให้ “ศาล” ทำการ “ไต่สวนการตาย” ด้วยซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องทำ (ไม่เกี่ยวกับว่าการตายนั้นเกิดจากการกระทำผิดหรือไม่) กล่าวอีกอย่างก็คือ ให้ศาลเป็นผู้ชันสูตรอีกฝ่ายด้วยนั่นเอง (ม. 150 วรรคห้าเป็นต้นไป วิอาญา)
6) การชันสูตรไม่จำเป็นต้อง “ผ่าศพ” เพื่อแยกธาตุทุกครั้ง จะทำก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น คือ ชันสูตรจากภายนอกแล้ววินิจฉัยสาเหตุการตายไม่ได้ (ม. 151 -153 วิอาญา) อันนี้คนมักเข้าใจผิดว่าต้องผ่าเสมอ และก็มีแพทย์ไม่ค่อยดีบางคน หากินกับเรื่องนี้ด้วย เพราะค่าตอบแทนการชันสูตรแบบไม่ต้องผ่า กับแบบผ่า ราคาไม่เท่ากัน
7) พรบ.ธรรมนูญทหารฯ ไม่ได้บัญญัติเรื่องการ “ชันสูตร” เอาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น ต้องใช้ ป.วิอาญา ดำเนินการตามขั้นตอนปกติ จึงจะมาอ้างกันมั่วๆ ซั่วๆ ไม่ได้ว่า เป็นเรื่องภายนงภายใน หรือมีวิธีการพิส่งพิเศษทางทหาร
8)ถ้าในที่สุดศาลไต่สวนการตาย แล้วพบว่า การตายเกิดขึ้นจากการมีผู้อื่นทำให้ตาย และอาจเป็นการกระทำความผิด การสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป ต้องทำร่วม 2 ฝ่ายคือ พนง.สอบสวน กับอัยการ (ม.155/1 วิอาญา) และถ้าเป็นคดีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้กระทำการฆาตรกรรมด้วย ต้องให้อัยการสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี (ม.143 วรรคท้าย วิอาญา)
RIP ฮะ
ปล. เพิ่มเติมฮะ กรณีนี้หากไต่สวนการตายมาแล้วพบว่ามีทหารด้วยกันทำให้ตาย ตามกฎหมายให้เป็นคดีในศาลทหาร ดังนั้น ผู้สอบวนคดีอาญา และกระบวนการในช่วงของการทำคดีก็จะเป็นไปตามกม.ทหาร (ซึ่งใครๆ ก็รู้และคาดเดาได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น) ทางที่จะขึ้นศาลอาญาทั่วไปได้นี่ เห็นอยู่ทางเดียว คือ ต้องมีพลเรือนเข้ามาเกี่ยวพัน (แบบนี้ ลองหาเบาะแสจากอวัยวะที่หายไปดูฮะ)
ที่มา FB
Sawatree Suksri
ว่าด้วย "ชันสูตรพลิกศพ" ภาคต่อ (ยาวนิสนุง) ...ต้องบอกก่อนว่าข้อมูลและลำดับเหตุการณ์เรื่องนี้ เราเองก็อ่านจากหนังสือพิมพ์มาเหมือนท่านอื่น ๆ นะฮะ ซึ่งทราบแต่เพียงว่า ญาติของน้องที่เสียชีวิตได้รับแค่ "ใบมรณะบัตร" ที่แจ้งว่าหัวใจล้มเหลว แล้วก็ไปรับศพมาทำทีประกอบพิธีศพ แต่แอบเอาร่างไปให้แพทย์ชันสูตรเองตอนหลัง
เอาล่ะ...มดหมอนิติวิทยาศาสตร์ในข่าวนี้ จะยิ้มแฉ่งแถลงยังไงไม่รู้แต่ ประเด็น คือ
.
1) ถ้าญาติของผู้ตายเค้าได้รับแค่ใบมรณะบัตรเท่านั้นจริง ๆ โดยไม่มีการติดต่อเขาไปก่อนเลยว่าจะมีการ "ชันสูตร" ตามกฎหมาย แค่นี้มันก็ "ผิดกระบวนการ" (และมีพิรุธ) ตั้งแต่แรกแล้ว เพราะดังกล่าวไปแล้วว่า เป็น "หน้าที่" ของพนง.สอบสวนต้องแจ้งญาติ "ก่อนมีการชันสูตร" (ม. 150 วรรคสาม วิอาญา) ไม่ใช่แค่ก่อนผ่าศพ
.
และการแจ้งญาตินี้สำคัญมาก ๆ เนื่องจาก มันเกี่ยวกับการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย (ไม่งั้นไปงุบงิบทำกันกับผู้กระทำผิด จะว่าไง) ถ้าไม่เชื่อว่า ประเด็นการแจ้งญาติให้ทราบสำคัญจริง ๆ ให้ไปดูใน "ระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการชันสูตรฯ" ข้อ 11 เขียนกำชับอัยการ กรณีที่เข้าร่วมชันสูตร ตรวจเช็คเลยว่า พนง.สอบสวน ได้แจ้งญาติผู้ตายหรือยัง ถ้ายังต้องรีบสั่งให้แจ้ง....การไม่แจ้งจะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลพิเศษเท่านั้น และต้องบันทึกเหตุไว้เป็นหลักฐานด้วย กรณีนี้เหตุหน้าจะเกิดที่กรุงเทพฯ หรือปริมณฑล และโรงเรียนต้องมีที่อยู่ของนักเรียนแน่ ๆ (ไม่งั้นส่งใบมรณะไม่ได้) เช่นนี้ จะไม่สามารถแจ้งญาติได้หรือ ?
.
2) สืบเนื่องจากข้อ 1) มดหมอที่มานั่งกันหน้าสลอนนี้ พูดหน้าตาเฉยเลยได้อย่างไรฮะว่า ...ยังอยู่ในกระบวนการส่งไปชันสูตร ! ...ในเมื่อไม่มีการแจ้งญาติเลยว่าจะมีการชันสูตรตั้งแต่แรก แถมยังมีการส่ง "ใบมรณะบัตร" แจ้งสาเหตุการตายไปให้ญาติเขาแล้วอีกต่างหาก ...."สาเหตุการตาย" มันจะรู้หรือสรุปให้เขาได้ มันต้องผ่านการชันสูตรก่อนหรือเสร็จแล้วสิจ๊ะเทอร์ ซึ่งหมายความว่าญาติต้องได้รับแจ้งตั้งแต่แรกแล้วเปล่าจ๊ะ..
.
3) เอาล่ะ สิ่งที่บรรดาหมอ ๆ นี่มาพูดอาจถูกต้องอยู่อย่างหนึ่ง คือ ในกระบวนการ "ผ่าศพ" เพื่อแยกธาตุนั้น (มาตรา 151 วิอาญา) กฎหมายไทย (วิอาญา) ไม่ได้เขียนว่าต้องขออนุญาตหรือแจ้งญาติด้วยอีกรอบ กล่าวคือ หากพนง.สอบสวน เห็นว่าจำเป็นเพื่อหาสาเหตุการตาย ก็สั่งให้ผ่าศพหรือแยกธาตุได้เลย ...แต่ ไอ้มาตรา 151 นี้ มันก็เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังจากกระบวนการแจ้งญาติเพื่อเริ่มทำการ "ชันสูตร" ไง
.
ดังนั้น ไอ้กรณีที่ จะมา "งุบ ๆ งิบ ๆ" สั่งผ่ากันโดยญาติไม่รู้ด้วยเลย แม้กระทั่งว่ามันมีกระบวนการ "ชันสูตร" ด้วย(นะโว้ย) อันนี้มันเกิดขึ้นไม่ได้อยู่แล้ว... กล่าวให้ง่ายก็คือ กระบวนการมันผิด (มันมีพิรุธ) มาตั้งแต่ข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว การมาบอกว่า ...การผ่าไม่ต้องแจ้งญาติ...จึงเป็นการแถ "ผิดขั้นตอน" แล้วฮะ
.
นอกจากนี้ ควรต้องบอกด้วยว่า แม้มาตรา 151 วิอาญา เรื่องผ่าศพ กม.ไม่ได้เขียนรายละเอียดอะไรไว้มาก รวมทั้งไม่ได้บอกว่าต้องแจ้งญาติด้วย... แต่หากดูเจตนารมณ์กฎหมายแล้ว ขนาดแค่การชันสูตรธรรมดาทั่วไป (ตรวจศพภายนอก) ยังต้องแจ้งเลย การจะผ่าศพญาติเขา ก็ควรต้องแจ้งด้วยใช่ไหม ? ตามหลัก "ยิ่งต้องเป็นเช่นนั้น" ศพพ่อแม่ ลูกหลานเขานะฮะ ไม่ใช่ ศพหมาศพแมว อยากดึงตับ จกไต งัดสมองไปแค่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้.. กรณีนี้ กฎหมายเยอรมันเขียนกระบวนการแยกธาตุนี้ไว้ชัด และต้องแจ้งญาติ แน่นวล
.
4) เอาล่ะ...ต่อให้ตัดประเด็นข้างบนทิ้งให้หมด ทำเป็นเอาหูไปนาเอาตาไปค่าย(ทหาร)...แต่กฎหมายก็บอกว่า เมื่อแยกธาตุผ่าศพแล้วแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐต้องเขียนรายงานสรุปสาเหตุการตายส่งพนักงานสอบสวน หรืออัยการ (แล้วแต่กรณี) ด้วย (ม. 152 วิอาญา) และส่งตามกำหนดเวลา หากจะขยายเวลาต้องมีบันทึกเหตุผล....ไม่ใช่เอามาดองเค็มเก็บไว้เงียบเฉียบ จนต้องให้ญาติ ๆ เขามาร้องทวงถามว่า อ้าว..มันหายไปไหน ? จึงค่อย ๆ "กางโต๊ะ" ออกมาแถลงกันแบบนี้...(เอาจริง ๆ เลยนะฮะ ..ถ้าญาติไม่ถาม เราจะรู้กันไหมล่ะ)
.
ที่สำคัญอย่างที่บอก คุณส่ง "ใบมรณะบัตร" แจ้งสาเหตุการตายเสร็จสรรพให้เขาไปแล้ว ไม่พอ ส่งศพลูกเค้าให้ไปเผาแล้วด้วย... ยังจะมาแก้ตัวว่า "กำลังจะส่งชิ้นส่วนอื่นไปชันสูตร" เพื่อหาสาเหตุการตายต่อ....นี่มันไปกันแบบสีข้างถลอกเลือดอาบเลยนะฮะ
.
5) ม. 150 ทวิ วิอาญา บอกว่าผู้กระทำใด ๆ แก่ศพจนส่งผลต่อรูปคดี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี แลถด้าเป้าหมายเพื่ออำพรางคดีด้วย โทษดีดเป็นสองเท่าฮะ...(นี่ยังไม่นับความผิดอื่น ๆ อีกตามป.อาญา)...อาเมน
ooo
เห็นด้วยกับมิตรสหายหลายท่านเรื่องชันสูตรฮะ (ไม่ได้ดูซีรีย์เมกา แต่ชักอยากหามาดูบ้าง) สำหรับการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายไทยนั้น มิได้ซับซ้อนอะไรจนปชช.ทั่วไปจะจับไม่ได้ว่าใครมั่ว ไม่มั่ว หรือใครแถ ไม่แถ ดังนี้
1) ถ้ามีการตายผิดธรรมชาติเมื่อไหร่ ต้องมีการชันสูตรเสมอ ยกเว้นตายโดยประหารชีวิต (ม.148 วิอาญา) เป้าหมายแค่เพื่อ ทราบว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน ตายอย่างไร มีใครทำให้ตายหรือไม่ (ยังไม่ชี้ว่ามีใครต้องรับผิดหรือไม่) เท่านั้น
2) ถ้ากรณีปกติ ผู้ชันสูตรคือ พนง.สอบสวน (ในท้องที่ที่พบศพ) ร่วมกับแพทย์นิติเวชฯ (หรือแพทย์อื่นๆ กรณีหาไม่ได้จริงๆ) โดยเป็นหน้าที่พนง.สอบสวนต้องแจ้งแพทย์ และแจ้ง “ญาติ” (คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ฯลฯ) อย่างน้อยหนึ่งคนทราบ (ม.150 วิอาญา)
3) แต่ถ้ากรณีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติการตามหน้าที่ (อันนี้ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาฆ่า) หรือ ตายในระหว่างอยู่ในการควบคุมของจพง. ผู้ชันสูตรจะต้องมีถึง 4 ฝ่ายด้วยกันคือ อัยการ พนักงานฝ่ายปกครองเทียบเท่าปลัดอำเภอ พนง.สอบสวน และแพทย์นิติเวชฯ โดยเช่นเดียวกัน พนง.สอบสวนมีหน้าที่แจ้งทุกฝ่ายดังกล่าว รวมทั้ง “ญาติ” (ม. 150 วรรคสาม วิอาญา)
4) กรณีน้องนักเรียนเตรียมทหารที่เสียชีวิต คือ ข้อ 3) นั่นแหละ
5) การชันสูตรการตายตามข้อ 3 กม.ได้เพิ่มขั้นตอนพิเศษเพื่อให้ญาติมั่นใจได้ว่าไม่มีการเข้าข้างกันไว้อีกหนึ่งขั้นตอน คือ ต้องส่งให้ “ศาล” ทำการ “ไต่สวนการตาย” ด้วยซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องทำ (ไม่เกี่ยวกับว่าการตายนั้นเกิดจากการกระทำผิดหรือไม่) กล่าวอีกอย่างก็คือ ให้ศาลเป็นผู้ชันสูตรอีกฝ่ายด้วยนั่นเอง (ม. 150 วรรคห้าเป็นต้นไป วิอาญา)
6) การชันสูตรไม่จำเป็นต้อง “ผ่าศพ” เพื่อแยกธาตุทุกครั้ง จะทำก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น คือ ชันสูตรจากภายนอกแล้ววินิจฉัยสาเหตุการตายไม่ได้ (ม. 151 -153 วิอาญา) อันนี้คนมักเข้าใจผิดว่าต้องผ่าเสมอ และก็มีแพทย์ไม่ค่อยดีบางคน หากินกับเรื่องนี้ด้วย เพราะค่าตอบแทนการชันสูตรแบบไม่ต้องผ่า กับแบบผ่า ราคาไม่เท่ากัน
7) พรบ.ธรรมนูญทหารฯ ไม่ได้บัญญัติเรื่องการ “ชันสูตร” เอาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น ต้องใช้ ป.วิอาญา ดำเนินการตามขั้นตอนปกติ จึงจะมาอ้างกันมั่วๆ ซั่วๆ ไม่ได้ว่า เป็นเรื่องภายนงภายใน หรือมีวิธีการพิส่งพิเศษทางทหาร
8)ถ้าในที่สุดศาลไต่สวนการตาย แล้วพบว่า การตายเกิดขึ้นจากการมีผู้อื่นทำให้ตาย และอาจเป็นการกระทำความผิด การสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป ต้องทำร่วม 2 ฝ่ายคือ พนง.สอบสวน กับอัยการ (ม.155/1 วิอาญา) และถ้าเป็นคดีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้กระทำการฆาตรกรรมด้วย ต้องให้อัยการสูงสุดเท่านั้นเป็นผู้สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี (ม.143 วรรคท้าย วิอาญา)
RIP ฮะ
ปล. เพิ่มเติมฮะ กรณีนี้หากไต่สวนการตายมาแล้วพบว่ามีทหารด้วยกันทำให้ตาย ตามกฎหมายให้เป็นคดีในศาลทหาร ดังนั้น ผู้สอบวนคดีอาญา และกระบวนการในช่วงของการทำคดีก็จะเป็นไปตามกม.ทหาร (ซึ่งใครๆ ก็รู้และคาดเดาได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น) ทางที่จะขึ้นศาลอาญาทั่วไปได้นี่ เห็นอยู่ทางเดียว คือ ต้องมีพลเรือนเข้ามาเกี่ยวพัน (แบบนี้ ลองหาเบาะแสจากอวัยวะที่หายไปดูฮะ)
ที่มา FB
Sawatree Suksri
ooo
ooo
ooo