สิ้นแสงฉาน Twilight Over Burma (ซับอังกฤษ) full HD
https://www.youtube.com/watch?v=9SMobIKmpC8
Published on Jul 11, 2016
ooo
Twilight over Thailand
โดย อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ
07 กรกฏาคม 2559
เวป TCIJ Thai
ผมไม่แปลกใจเท่าไหร่เมื่อได้ทราบว่าท้ายที่สุดแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Twilight Over Burma หรือ สิ้นแสงฉานถูกห้ามฉายในประเทศพม่า แต่ค่อนข้างผิดหวังที่ภาพยนตร์ถูกถอนจากงาน Thailand Film Destination Festival ซึ่งจัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แม้ว่าในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมาได้รับการยืนยันเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่จะได้รับการฉาย
หากใครเคยอ่านหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยและขายดีจนมีการพิมพ์ฉบับแปลหลายครั้ง (มากกว่าต้นฉบับภาษาอังกฤษ) จะพบว่าเนื้อหาของหนังสือซึ่งแต่งจากประสบการณ์โศกนาฏกรรมรักของมหาเทวีสุจันทรี ชาวออสเตรีย (Inge Eberhard หลังจากแต่งงานครั้งที่สองเธอใช้นามสกุลสามีใหม่ Sargent) มหาเทวีของเจ้าจ่าแสงแห่งเมืองสีป้อ มีความสนุกตื่นเต้นไม่แพ้ละครหลังข่าว แม้เนื้อหาบางส่วนในหนังสือ (รวมทั้งในหนัง) จะแตกต่างจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไปบ้างแต่ก็เข้าใจได้ว่านี่คือ “นวนิยาย” จากเหตุการณ์จริงที่เธอประสบ และเป็นการตีความเหตุการณ์และสถานการณ์โดยมุมมองผู้เขียน ซึ่งผมคิดว่าเขียนออกมาได้ดีและใกล้เคียงความเป็นจริง มากกว่านิยายที่เขียนถึงช่วงสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 3 “พม่าเสียเมือง” ของ คุณชายคึกฤทธิ์ เสียอีก
นับว่าโชคดีไม่น้อย ที่ผมมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ Twilighlight Over Burma นี้ถึงสองครั้ง ต้องขอขอบคุณ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ได้กรุณาแนะนำให้ผมได้รู้จักกับกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรีย ประจำเชียงใหม่ ทำให้ผมมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ในรอบที่ฉายเป็นการส่วนตัวที่บ้านของท่านอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ รวมทั้ง เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง ราชบุตร ของเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย นอกจากนี้ผมยังได้รับเชิญเข้าร่วมชมในรอบพิเศษที่จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตที่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สองวันหลังจากได้ฉายรอบพิเศษที่จัดขึ้นที่หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ
ผมทราบมาว่า ความพยายามในการที่จะยับยั้งการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งจัดฉายรอบพิเศษแล้ว ต้องอาศัย “สายสัมพันธ์” พิเศษพอสมควรกว่าจะมีการยินยอมให้ฉายรอบพิเศษที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ได้อย่างหวุดหวิด สำหรับการถอดภาพยนตร์ออกจาก Thailand Film Destination Festival เหตุผลที่ผู้จัดแจ้งในตอนแรกคือมีความขัดข้องทาง ”เทคนิค” ซึ่งในความเป็นจริงไม่น่าจะขัดข้องอะไรเพราะเท่าที่ทราบตัวหนังที่ผู้สร้างเตรียมไว้ให้อยู่ในรูปแผ่นบลูเรย์ ซับไตเติ้ลภาษาไทยก็มีอยู่พร้อมแล้ว และหากเป็นไปตามที่มติชนออนไลน์เสนอข่าวว่าภาพยนตร์ถูกถอดเพราะเกรงจะกระทบความสัมพันธ์ ไทย-พม่า ก็ยิ่งไม่เข้าท่ายิ่งกว่า ก็ทีตำนานสมเด็จพระนเรศวรที่ทำออกมาตั้งหลายภาคนั้น ผมคิดว่าอาจจะมีเนื้อหากระทบความสัมพันธ์ ไทย-พม่า ยิ่งกว่านี้หลายเท่า
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในประเทศไทยหลายจังหวัด ช่วงระหว่างวันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2557 ภาพยนตร์ที่จะมาถ่ายทำในประเทศไทยจะต้องมีการขออนุญาตจากกองกิจการภาพยนตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการตรวจสอบสคริปต์ นอกจากนี้คณะกรรมการกองกิจการภาพยนตร์จะส่งตัวแทนไปควบคุมระหว่างถ่ายทำ ผู้สร้างมีความสงสัยว่าถ้าเนื้อหาของภาพยนตร์มีปัญหาทำไมจึงอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทย ผู้จัดงานให้คำตอบว่าคณะกรรมการชุดที่ให้อนุญาตใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำและคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์นั้นเป็นกรรมการคนละชุดกัน
ผมคิดว่าเหตุผลเดียวที่หนังเรื่องนี้ถูกถอด คือเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความเลวร้ายป่าเถื่อนของรัฐบาลทหารในพม่า นายพล เน วิน ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนซึ่งมาจากการเลือกตั้งของอูนุ ในปี 1962 ด้วยข้ออ้างว่าต้องการให้ประเทศมีความสงบจากการขัดแย้งและสงครามกลางเมือง เน วิน อยู่ในอำนาจนถึง 26 ปี เปลี่ยนแปลงพม่าไปมากจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเน่าๆ
หนึ่งปีก่อนหน้าที่ นายพล เน วิน จะลงจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดในปี 1988 องค์การสหประชาชาติประกาศให้พม่าเป็นหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด
ทันทีที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายึดอำนาจ ก็กวาดล้างจับกุมผู้เห็นต่าง หนึ่งในนั้นก็คือเจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ จนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบว่าหลังจากรัฐบาลทหารคุมตัวเจ้าจ่าแสงไป ชะตากรรมของเจ้าจะเป็นอย่างไร
ในสภาปฏิวัติ (Revolutionary Council) ซึ่ง เน วิน ตั้งขึ้นมาบริหารประเทศแทนรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งนั้นนั้น ไม่มีพลเมืองอยู่เลยสักคนเดียว สภาปฏิวัติ ส่งนายทหารเข้าควบคุมกิจการของรัฐ ดำเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งไปสู่เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ยึดกิจการของเอกชนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร วิสาหกิจขนาดใหญ่ โรงงาน กิจการคมนาคมขนส่ง ร้านค้า แม้กระทั่งโรงเรียนก็ถูกยึดมาเป็นของรัฐ (Burmanization) แล้วแต่งตั้งนายทหารมาบริหาร ขับไล่ชาวจีนและอินเดียซึ่งเป็นเจ้าของกิจการเล็กน้อยๆ กว่าแสนคนออกนอกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงว่าพ่อค้าชาวจีนและอินเดียเหล่านี้เป็นเจ้าของเครือข่ายที่สามารถกระจายสินค้าจากเมืองไปสู่ชนบท เมื่อเครือข่ายเหล่านี้ถูกทำลาย ไม่นานหายนะทางเศรษฐกิจก็มาเยือน เพราะรัฐบาลทหารมุ่งแต่ใช้งบประมาณในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อปราบปรามชนกลุ่มน้อยและคอมมิวนิสต์ และนายทหารที่บริหารประเทศนั้นไม่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังมีการทุจริตกันอย่างแพร่หลาย
ก่อนหน้าที่จะถูกทหารยึดอำนาจ พม่าไม่ได้ยากจน เมื่อเทียบกับประเทศไทย พม่าอาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ ด้วยความที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้พม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอย่างจริงๆ จังๆ ก่อนประเทศไทย ทุนนิยมในพม่าพัฒนาไปไกลกว่าไทยมาก เพราะเจ้าอาณานิคมอังกฤษทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) ในพม่า ซึ่งมีมาก่อนประเทศไทยเกือบร้อยปี มหาวิทยาลัยในพม่าถูกจัดเป็นลำดับต้นๆ ของทวีปเอเชีย ประเทศไทยเสียอีกที่ต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากพม่า
กว่าครึ่งศตวรรษที่ทหารเข้ามามีอำนาจนับจาก 1962 พม่าที่เคยรุ่งเรืองก็เป็นอย่างที่เราเห็น จากที่เคยผลิตสินค้าส่งออกมาขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน พม่าเป็นประเทศที่ซื้อเกือบทุกอย่างจากเพื่อนบ้าน ชาวพม่าต้องออกหนีออกไปทำงานยังประเทศเพื่อนบ้าน ถูกเอารัดเอาเปรียบตั้งแต่ขบวนการจัดหาแรงงาน นายหน้า ผู้นำทาง นายจ้าง เจ้าหน้าที่ของประเทศปลายทาง และยังถูกดูแคลนจากประชาชนของประเทศนั้นๆ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกย่ำยีแทบไม่เหลือ แต่ที่ต้องทนก็เพราะไม่มีทางเลือก
ผมว่าสาเหตุที่ภาพยนตร์ Twilight Over Burma ไม่ได้ฉาย ไม่มีเหตุผลอื่นใดนอกเหนือไปจากเนื้อหาของภาพยนตร์ อาจทำให้คนในสังคมไทยที่ได้รับชมตั้งคำถาม ว่า นี่ตกลงเราอาศัยอยู่ในพม่าหลัง 1962 หรือ ประเทศไทย 2016 กันแน่
โดย อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ
07 กรกฏาคม 2559
เวป TCIJ Thai
ผมไม่แปลกใจเท่าไหร่เมื่อได้ทราบว่าท้ายที่สุดแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง Twilight Over Burma หรือ สิ้นแสงฉานถูกห้ามฉายในประเทศพม่า แต่ค่อนข้างผิดหวังที่ภาพยนตร์ถูกถอนจากงาน Thailand Film Destination Festival ซึ่งจัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แม้ว่าในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมาได้รับการยืนยันเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่จะได้รับการฉาย
หากใครเคยอ่านหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยและขายดีจนมีการพิมพ์ฉบับแปลหลายครั้ง (มากกว่าต้นฉบับภาษาอังกฤษ) จะพบว่าเนื้อหาของหนังสือซึ่งแต่งจากประสบการณ์โศกนาฏกรรมรักของมหาเทวีสุจันทรี ชาวออสเตรีย (Inge Eberhard หลังจากแต่งงานครั้งที่สองเธอใช้นามสกุลสามีใหม่ Sargent) มหาเทวีของเจ้าจ่าแสงแห่งเมืองสีป้อ มีความสนุกตื่นเต้นไม่แพ้ละครหลังข่าว แม้เนื้อหาบางส่วนในหนังสือ (รวมทั้งในหนัง) จะแตกต่างจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไปบ้างแต่ก็เข้าใจได้ว่านี่คือ “นวนิยาย” จากเหตุการณ์จริงที่เธอประสบ และเป็นการตีความเหตุการณ์และสถานการณ์โดยมุมมองผู้เขียน ซึ่งผมคิดว่าเขียนออกมาได้ดีและใกล้เคียงความเป็นจริง มากกว่านิยายที่เขียนถึงช่วงสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 3 “พม่าเสียเมือง” ของ คุณชายคึกฤทธิ์ เสียอีก
นับว่าโชคดีไม่น้อย ที่ผมมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ Twilighlight Over Burma นี้ถึงสองครั้ง ต้องขอขอบคุณ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ได้กรุณาแนะนำให้ผมได้รู้จักกับกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรีย ประจำเชียงใหม่ ทำให้ผมมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ในรอบที่ฉายเป็นการส่วนตัวที่บ้านของท่านอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ รวมทั้ง เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง ราชบุตร ของเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงองค์สุดท้าย นอกจากนี้ผมยังได้รับเชิญเข้าร่วมชมในรอบพิเศษที่จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตที่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สองวันหลังจากได้ฉายรอบพิเศษที่จัดขึ้นที่หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ
ผมทราบมาว่า ความพยายามในการที่จะยับยั้งการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นมีมาตั้งแต่เมื่อครั้งจัดฉายรอบพิเศษแล้ว ต้องอาศัย “สายสัมพันธ์” พิเศษพอสมควรกว่าจะมีการยินยอมให้ฉายรอบพิเศษที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ได้อย่างหวุดหวิด สำหรับการถอดภาพยนตร์ออกจาก Thailand Film Destination Festival เหตุผลที่ผู้จัดแจ้งในตอนแรกคือมีความขัดข้องทาง ”เทคนิค” ซึ่งในความเป็นจริงไม่น่าจะขัดข้องอะไรเพราะเท่าที่ทราบตัวหนังที่ผู้สร้างเตรียมไว้ให้อยู่ในรูปแผ่นบลูเรย์ ซับไตเติ้ลภาษาไทยก็มีอยู่พร้อมแล้ว และหากเป็นไปตามที่มติชนออนไลน์เสนอข่าวว่าภาพยนตร์ถูกถอดเพราะเกรงจะกระทบความสัมพันธ์ ไทย-พม่า ก็ยิ่งไม่เข้าท่ายิ่งกว่า ก็ทีตำนานสมเด็จพระนเรศวรที่ทำออกมาตั้งหลายภาคนั้น ผมคิดว่าอาจจะมีเนื้อหากระทบความสัมพันธ์ ไทย-พม่า ยิ่งกว่านี้หลายเท่า
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในประเทศไทยหลายจังหวัด ช่วงระหว่างวันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2557 ภาพยนตร์ที่จะมาถ่ายทำในประเทศไทยจะต้องมีการขออนุญาตจากกองกิจการภาพยนตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการตรวจสอบสคริปต์ นอกจากนี้คณะกรรมการกองกิจการภาพยนตร์จะส่งตัวแทนไปควบคุมระหว่างถ่ายทำ ผู้สร้างมีความสงสัยว่าถ้าเนื้อหาของภาพยนตร์มีปัญหาทำไมจึงอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทย ผู้จัดงานให้คำตอบว่าคณะกรรมการชุดที่ให้อนุญาตใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำและคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์นั้นเป็นกรรมการคนละชุดกัน
ผมคิดว่าเหตุผลเดียวที่หนังเรื่องนี้ถูกถอด คือเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความเลวร้ายป่าเถื่อนของรัฐบาลทหารในพม่า นายพล เน วิน ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนซึ่งมาจากการเลือกตั้งของอูนุ ในปี 1962 ด้วยข้ออ้างว่าต้องการให้ประเทศมีความสงบจากการขัดแย้งและสงครามกลางเมือง เน วิน อยู่ในอำนาจนถึง 26 ปี เปลี่ยนแปลงพม่าไปมากจากหน้ามือเป็นหลังเท้าเน่าๆ
หนึ่งปีก่อนหน้าที่ นายพล เน วิน จะลงจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดในปี 1988 องค์การสหประชาชาติประกาศให้พม่าเป็นหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด
ทันทีที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ายึดอำนาจ ก็กวาดล้างจับกุมผู้เห็นต่าง หนึ่งในนั้นก็คือเจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ จนบัดนี้ยังไม่มีใครทราบว่าหลังจากรัฐบาลทหารคุมตัวเจ้าจ่าแสงไป ชะตากรรมของเจ้าจะเป็นอย่างไร
ในสภาปฏิวัติ (Revolutionary Council) ซึ่ง เน วิน ตั้งขึ้นมาบริหารประเทศแทนรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งนั้นนั้น ไม่มีพลเมืองอยู่เลยสักคนเดียว สภาปฏิวัติ ส่งนายทหารเข้าควบคุมกิจการของรัฐ ดำเนินนโยบายชาตินิยมทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งไปสู่เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ยึดกิจการของเอกชนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร วิสาหกิจขนาดใหญ่ โรงงาน กิจการคมนาคมขนส่ง ร้านค้า แม้กระทั่งโรงเรียนก็ถูกยึดมาเป็นของรัฐ (Burmanization) แล้วแต่งตั้งนายทหารมาบริหาร ขับไล่ชาวจีนและอินเดียซึ่งเป็นเจ้าของกิจการเล็กน้อยๆ กว่าแสนคนออกนอกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงว่าพ่อค้าชาวจีนและอินเดียเหล่านี้เป็นเจ้าของเครือข่ายที่สามารถกระจายสินค้าจากเมืองไปสู่ชนบท เมื่อเครือข่ายเหล่านี้ถูกทำลาย ไม่นานหายนะทางเศรษฐกิจก็มาเยือน เพราะรัฐบาลทหารมุ่งแต่ใช้งบประมาณในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อปราบปรามชนกลุ่มน้อยและคอมมิวนิสต์ และนายทหารที่บริหารประเทศนั้นไม่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังมีการทุจริตกันอย่างแพร่หลาย
ก่อนหน้าที่จะถูกทหารยึดอำนาจ พม่าไม่ได้ยากจน เมื่อเทียบกับประเทศไทย พม่าอาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ ด้วยความที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้พม่าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอย่างจริงๆ จังๆ ก่อนประเทศไทย ทุนนิยมในพม่าพัฒนาไปไกลกว่าไทยมาก เพราะเจ้าอาณานิคมอังกฤษทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) ในพม่า ซึ่งมีมาก่อนประเทศไทยเกือบร้อยปี มหาวิทยาลัยในพม่าถูกจัดเป็นลำดับต้นๆ ของทวีปเอเชีย ประเทศไทยเสียอีกที่ต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากพม่า
กว่าครึ่งศตวรรษที่ทหารเข้ามามีอำนาจนับจาก 1962 พม่าที่เคยรุ่งเรืองก็เป็นอย่างที่เราเห็น จากที่เคยผลิตสินค้าส่งออกมาขายให้ประเทศเพื่อนบ้าน พม่าเป็นประเทศที่ซื้อเกือบทุกอย่างจากเพื่อนบ้าน ชาวพม่าต้องออกหนีออกไปทำงานยังประเทศเพื่อนบ้าน ถูกเอารัดเอาเปรียบตั้งแต่ขบวนการจัดหาแรงงาน นายหน้า ผู้นำทาง นายจ้าง เจ้าหน้าที่ของประเทศปลายทาง และยังถูกดูแคลนจากประชาชนของประเทศนั้นๆ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกย่ำยีแทบไม่เหลือ แต่ที่ต้องทนก็เพราะไม่มีทางเลือก
ผมว่าสาเหตุที่ภาพยนตร์ Twilight Over Burma ไม่ได้ฉาย ไม่มีเหตุผลอื่นใดนอกเหนือไปจากเนื้อหาของภาพยนตร์ อาจทำให้คนในสังคมไทยที่ได้รับชมตั้งคำถาม ว่า นี่ตกลงเราอาศัยอยู่ในพม่าหลัง 1962 หรือ ประเทศไทย 2016 กันแน่
ooo
Book Review
สิ้นแสงฉาน
เขียน: มนันยา
แปลจาก: Twilight Over Burma: My Life as a Shan Princess ของ Inge Sergent
สำนักพิมพ์: มติชน
เรื่องย่อ:
เรื่องราวชีวิตของอิงเง่ ซาเจนท์ นักศึกษาสาวชาวออสเตรียที่พบรักกับหนุ่มชาวพม่า โดยที่เธอไม่รู้ว่าเขาจะทำให้เธอกลายเป็นมหาเทวีสุจันทรีในเจ้าฟ้าจาแสง ผู้ครองนครรัฐสีป่อแห่งรัฐฉาน
ทั้งคู่มีความแตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการปกครองที่ฝ่ายหนึ่งมาจากประเทศเสรี ส่วนอีกฝ่ายมาจากสังคมปิดโดยรัฐบาลทหาร
เจ้าฟ้าจาแสงเป็นผู้ปกครองนครที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในรัฐฉาน ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และมีความตรงไปตรงมาในเรื่องระบบระเบียบและการปกครอง และด้วยการนี้ทำให้ทรงตกอยู่ในอันตรายเพราะได้สร้างความขัดแย้งให้กับนายพลเนวิน และพระองค์ถูกจับตัวไปในวันที่นายพลเนวินทำรัฐประหาร
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มหาเทวีและพระธิดาทั้งสองก็ไม่ได้พบกับเจ้าฟ้าจาแสงอีกเลย และรัฐบาลพม่าก็เงียบและปฏิเสธว่าไม่ได้จับเจ้าฟ้าที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยจนถึงปัจจุบัน
Review:
ได้ยินชื่อเรื่องนี้มาก็นานอยู่ และเคยได้ยินเรื่องราวที่เกี่ยวกับรัฐฉานมาบ้าง พอเห็นเรื่องนี้ในร้านขายการ์ตูน ย้ำ! ว่าร้านขายการ์ตูน เลยหยิบมาด้วย
ตอนแรกคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะใช้การเขียนบรรยายแบบหนังสือที่เกี่ยวกับในรั้วในวัง เช่น เกิดวังปารุสก์ นายในรัชกาลที่ 6 หรือหนังสือพงศาวดารอื่นๆ ที่เคยอ่าน แต่ไม่ใช่... เรื่องนี้ใช้วิธีการดำเนินเรื่องแบบนวนิยาย อารมณ์ประมาณสี่แผ่นดิน ชั่วฟ้าดินสลาย โดยมี 'มหาเทวีสุจันทรี' ดำเนินเรื่อง พร้อมแทรกด้วยเกร็ดทางปนะเพณี วัฒนธรรมของชาวพม่า และไทยใหญ่ในรัฐฉาน รวมไปถึงเกร็ดการเมืองในพม่าแทรกอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งเล่าถึงความบาดหมางระหว่างรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ โดยเฉพาะในรัฐฉานที่กินพื้นที่ใหญ่เกือบครึ่งของประเทศรวมไปถึงประชาชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และสอดแทรกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
มหาเทวีสุจันทรีถือได้ว่าเป็นภาพทับซ้อนกับอองซาน ซูจี เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเนวินยึดอำนาจ เจ้าฟ้าถูกจับ มหาเทวีก็ถูกกักบริเวณภายในหอตะวันออกอันเป็นที่ประทับของพระสวามี ในฐานะที่เป็นผู้หญิง เป็นแม่ และต้องเป็นผู้ปกครองแทนเจ้าฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มหาเทวีจะคงต้องทำตัวเข้มแข็งเพื่อให้เห็นว่าทหารพม่าทำอะไรตนเองไม่ได้ แต่แท้ที่จริงแล้วความเปราะบางภายในใจจสกความเครียดและความเป็นห่วงเจ้าฟ้าก็หนักข้อขึ้นทุกที จนทำให้มหาเทวีมีอาการซึมเศร้าและหมดหวังในการที่จะได้ตัวเจ้าฟ้ากลับคืนมา และสุดท้ายด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนพ้องและผู้ที่ยังจงรักภักดี มหาเทวีก็สามารถนำพระธิดาทั้งสองออกนอกประเทศไปยังบ้านเกิดคือประเทศออสเตรียและหวังที่จะใช้วิธีกดดันรัฐบาลพม่าจากนอกประเทศเพื่อให้ปล่อยตัวเจ้าฟ้า
ด้วยความที่เขียนแบบนวนิยาย ความโรแมนติกระหว่างเจ้าฟ้ากับมหาเทวีจึงเป็นใจความหลักของหนังสือเล่มนี้ แต่ก็ถือว่าไม่มากและหวานเอียน มหาเทวีถือว่าเป็นคนช่างสังเกตและเป็นฝรั่งที่ใจกล้า และปรับตัวเก่ง คือกล้าลองทุกอย่างตั้งแต่วันแรกที่เหยียบพม่า วันเดียวกับที่รู้ว่าสามีตัวเองเป็นเจ้าฟ้า เกร็ดเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีจะมีมากกว่าเรื่องการเมือง แต่ก็มีฉากให้รู้ว่านิสัยและการกระทำของเจ้าฟ้าเป็นการ'เหยียบเท้า' ทหารพม่าและนายพลเนวินอย่างจังหลายต่อหลายรอบ จนทำให้พระองค์ตกอยู่ใน blacklist ของทหารและตกอยู่ในอันตราย
ประโยคที่ชอบ:
สุจันทรีร้องถามอย่างวางอำนาจว่ามีเหตุผลอันใดทหารจึงบุกรุกเข้ามาในหอหลวงของเจ้าฟ้าสีป่อแบบนี้ เมื่อไม่ได้รับคำตอบจากบรรดานายทหารแม้แต่คนเดียว หล่อนจึงชิงฉวยโอกาสเทศนาคนเหล่านั้นยืดยาวว่าเป็นการกระทำที่เลวร้ายยิ่งใช้กำลังทหารบุกรุกรังแกบ้านที่มีแต่ผู้หญิงและเด็กแบบนี้
พันเอกและกองกำลังของเขาโดนเข้าแบบนี้ก็ตะลึงงัน พูดอะไรไม่ออกไปตามๆ กัน ทุกคนคาดหวังว่าจะมาเจอหญิงสาวซึ่งตกใจเสียขวัญและร้องห่มร้องไห้ขอความกรุณา ไม่ได้นึกแม้แต่น้อยว่าจะมาเจอหญิงต่างชาติซึ่งด่าเป็นภาษาพม่าไฟแล่บและยาวเหยียดไม่มีติดขัดแบบนี้เลย
จากข้างบน -> ชิงลงมือก่อนได้เปรียบ มหาเทวี Good job!
สิ้นแสงฉาน ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นระบบเจ้าฟ้าของรัฐฉานหลังจากการยึดอำนาจของนายพลเนวิน และเป็นการสิ้นแสงชีวิตของมหาเทวีในรัฐฉาน ประเทศพม่า และสิ้นแสงของเจ้าฟ้าผู้เป็นพระสวามีเช่นเดียวกัน
จบ
ที่มา FB
อ่านแล้วมาเล่า เล่าแล้วไปอ่าน