เหมือนผีซ้ำนะนี่ ข่าวเอเอฟพีชี้การลงทุนต่างชาติในไทยร่วงไม่เป็นท่า ๗๘ เปอร์เซ็นต์
อาทิตย์ที่แล้ว ธนาคารโลกเพิ่งบอกว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าที่สุดในอาเซียน
คนของทั่นผู้นำยังย้ำจะเป็น “a regional and international trading hub.”
เนื่องจาก “But BoI deputy secretary general Ajarin Pattanapanchai said the drop-off was due to new investment incentives...favouring projects that employ high-tech, encourage innovation,”
(http://news.yahoo.com/foreign-investment-plummets-junta-rul…)
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุน (บีโอไอ) อาการร่วงหล่นของเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเกิดจากมีแรงกระตุ้นเพื่อการลงทุนแนวใหม่ เน้นโครงการที่จ้างงานด้านไฮเท็ค (และ) กระตุ้นการคิดค้นใหม่ๆ
ผู้ช่วยเลขาฯ บีโอไอ บอกด้วยว่านโยบายเพื่อการลงทุนแนวใหม่นี้เริ่มมาแต่ปีที่แล้ว (โฆษกไก่อูเพิ่งเอามาเปิดเผยต่อสาธารณะเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เรื่อง ‘หนึ่งตำบลหนึ่งเอสเอ็มอี’ ไง
กลับมาที่รายงานของเอฟพีอีกที คริสตอล แทน นักเศรษฐศาสตร์เรื่องเอเซียซึ่งประจำอยู่ที่ แค้ปปิตอล เอ็คคอนอมิคส์ วิเคราะห์ว่า แนวโน้มก็คือ (การลงทุนจากนอกประเทศหล่นฮวบเช่นนี้) ชี้ให้เห็นว่า “แผลฉีกในเศรษฐกิจไทยจะลึกลงไปอีก”
ข่าวเอเอฟพีระบุว่ารายละเอียดต่างๆ ที่นำมารายงานได้จากตัวเลขทางการของบีโอไอทั้งนั้น เมื่อวันอังคารนี้เอง
“ปริมาณการลงทุนทั้งหมดที่บรรษัทต่างชาติยื่นขอระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน ๒๕๕๘ หล่นลงไป ๗๘ เปอร์เซ็นต์จากเมื่อปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ ๙๓.๘ พันล้านบาท (๙๓,๘๐๐ ล้าน)”
“การลงทุนจากญี่ปุ่น ซึ่งโดยประวัติที่เป็นมาจัดว่าเป็นทุนขนาดใหญ่ที่สุดกว่าใครในประเทศไทย ตกฮวบจากเดิมไป ๘๑ เปอร์เซ็นต์”
การลงทุนของอียู (ยุโรป) ร่วงจาก ๘๖,๗๐๐ ล้านบาทในปี ๒๕๕๗ ลงไปเหลือแค่ ๒,๐๐๐ ล้านบาทเมื่อปีที่แล้ว นี่มันกี่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่หล่นธรรมดา ตกหน้าผา หล่นเหว ท่าจะใช่
สาเหตุของการร่วงหล่นไม่เป็นท่าของการลงทุนต่างประเทศในไทย แวดวงเศรษฐศาสตร์นอกกะลาเขามองเห็นว่า “the kingdom's once-vibrant economy continues to falter under prolonged military rule.”
ไม่แปลแระ ทั่นนายกฯ ให้ อจ.นราพรแปลให้ดูดีกว่า อาจารย์ท่านเก่งภาษาปะกิต เดี๋ยวจะหาว่าต่างชาติใส่ไคล้ ไม่เข้าใจทั่นเข้ามาด้วยเจตนาดี ช่วยชาติ
นั่นอาจไม่สำคัญเท่าไหร่ มีน้ำยาหรือไม่ ไม่เกี่ยง แต่ก็ต้องฟังเรื่องนี้ไว้ด้วยนะ
“But analysts say years of political instability, including two military coups, have hampered the country's economic potential -- often referred to locally as the "lost decade".
นักวิจัยแจ้งว่าความไม่มั่นคงทางการเมืองนับสิบๆ ปี รวมทั้งการรัฐประหารยึดอำนาจสองครั้ง กระหน่ำตีฐานะทางเศรษฐกิจที่น่าจะโดดเด่นของไทย มักเอ่ยถึงกันในภูมิภาคต่อปรากฏการณ์นี้ว่า ‘ทศวรรษที่สูญไป’
สำคัญยิ่งกว่านั้นอีก เวียตนามรายงานการเติบโตทางเศรษฐกิจของตนในปี ๒๕๕๘ ว่าโตเร็วที่สุดในช่วง ๕ ปี ที่อัตรา ๖.๖๘ เปอร์เซ็นต์
“ประเทศไทยเคยเป็นทางเลือกแรกๆ ของการลงทุนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม มีแรงงานคุณภาพรองรับ และตั้งอยู่ในยุทธศาสตร์เหมือนประตูสู่ลุ่มน้ำโขง” เอเอฟพีเอ่ยถึงตอนหนึ่ง
แต่ทว่าปีนี้ She is no more