ที่มา มติชนออนไลน์
30 ม.ค. 59
อุทัย ตั้งชื่อ รธน.ฉบับมีชัย รธน.ใส่หมวก เพื่อปกปิดบางอย่าง ติง ส.ว.แขนคอก ไม่ใช่เพื่อ ปวงชน เหน็บบิ๊กตู่ ไม่มีความอดทน เลือกตั้งมาตกแน่ ชี้ ผู้นำต้องมีความกล้าหาญแต่ไม่ใช่กล้าหาญแบบทหาร เตือน ฟังรุ่นพี่ทหารที่เคยปฏิวัติ ไม่มีใครมีจุดจบดี อย่าอ้างปรองดองเป็นสาระสำคัญ สภาจะจัดการเรื่องนี้เอง ร้องเพลงไม่ช่วย
เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่โรงแรมรามา การ์เดนส์ ถ.วิภาวดีรังสิต สภาพัฒนาการเมืองได้จัดงานวันสถาปนาพัฒนการเมืองครบรอบรอบ 8 ปี ภายใต้แนวคิดที่ว่า “พลเมืองไทยร่วมใจพัฒนาการเมือง” ภายในงานประกอบผลงานการวิจัย บทความเชิงวิชารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การสัมมนาเชิงวิชาการและการแสดงนิทรรศการต่างๆ โดยนาย ธีรภัทร์ เสรรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ทำหน้าที่เป็นประธานเปิดงานและกล่าวว่า สภาพัฒนาการเมืองเป็นขั้นตอนแรกของการกล่อมเกลาทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมไทยต่อไป โดยสภาพัฒนาการเมือง ตั้งขึ้น ตาม พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมและจริยรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง ทั้งนี้การจัดงานในวันนี้ก็เป็นถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งทางการเมือง
ต่อมานายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในเรื่อง การพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ว่า การเมืองทุกวันนี้ถูกย่ำยี น่าอับอายขายหน้า จนคนไม่เห็นประโยชน์ของการเมือง คำว่านักการเมืองถูกมองเป็นเหมือนตัวเสนียดจัญไรของบ้านเมือง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ตนต้องมาพูดในวันนี้และตนรอไม่ได้ให้บ้านเมืองไม่มีการเมือง โดยหากพูดถึงการเมืองระบอบประชาธิปไตย บางคนไม่เข้าว่าคืออะไร นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของของสหรัฐอเมริกาได้อธิบาย ว่าคือ การปกครองเพื่อประชาชนโดยประชาชนของประชาชน จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ ไม่ใช่การปกครองโดยประยุทธเพื่อประยุทธ อันนั้นไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้ท่านก็เข้าใจว่าตัวเองไม่ใช่ประชาธิปไตย รอเพียงเวลาเปลี่ยน แต่เวลาเปลี่ยนผ่านนั้นจะนานเท่าไหร่เราก็เดาใจยากเพราะเลื่อนไปเรื่อยๆ
นายอุทัย กล่าวว่า การปกครองเพื่อประชาชนโดยประชาชนของประชาชน นั้นต้องมีการตกลงปรึกษาหารือกัน มีการเลือกตั้ง มีสภาที่ดี โดยสภา คือ ที่พูด ให้พูดกันเพื่อไม่ให้ตีกันหรือคว้างแฟ้มกัน ซึ่งตรงนี้อยากให้นักการเมืองอธิบายให้ประชาชนเจ้าใจ ว่าทำไมสภาถึงมีแต่คนเลว เปิดสภาก็มีแต่การพูดเรื่องเลว ขอทำความเข้าใจ ว่าเพราะสภาเป็นที่พูด ให้พูดเรื่องเลวกับคนเลวเท่านั้น เรื่องดีไม่ต้องพูด มีคนเลวช่วยกันรุม เพื่อป้องกันคนเลวกระเทือนความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้ประชาชนเสียโอกาส ทำหน้าที่ปกป้องประชาชน ใครมาทำร้ายประชาชนผู้แทนต้องสู้อภิปรายอย่าทำเลย ไม่ควรอยู่ไปเลยจึงมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ อย่างไรก็ดีคนทั้งสภาไม่มีเสียหมด อย่างดีก็เสียเพียงสองสามคน และการพูดในที่สภาก็จะทำให้เราทราบว่าต่อไปอย่าเลือกคนเลวนี้มาอีก และโอกาสนี้เพื่อให้ประชาชนเป็นใหญ่
นายอุทัย กล่าวว่า ทั้งนี้การเลือกตั้งใกล้เข้ามา รัฐธรรมนูญกำลังจะคลอด โดยรัฐธรรมนูญหลายฉบับมีฉายา บางฉบับก็ว่าฉบับฟันปลอม มาคราวนี้นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธาน กรธ.กลับมาร่างอีกและเมื่อเวลาร่างก็ใส่หมวกทุกครั้ง ฉบับนี้จึงน่าจะมีฉายาฉบับใส่หมวก การใส่หมวกเพื่อปกปิดบางอย่าง จะกันลมเพราะกระหม่อมบางเป็นไปได้ กันเย็นเป็นไปได้ก็แล้วแต่ แต่ทั้งนี้การใส่หมวกนั้นก็เพื่อปกปิดอะไรบ้างอย่าง เช่น การบอกว่าให้ผู้แทนมาจากการคัดสรรดีกว่าเลือกตั้ง ซึ่งคนภูมิใจ ว่าการคัดสรรบุคคลมาเป็น ส.ว. คือ ได้ตัวแทนแต่ละกลุ่มอาชีพมีความรู้จริง แต่ท่านรู้ไหมผู้แทนกลุ่มอาชีพมา กลายเป็นผู้แทนแขนคอก คือ ยืดแขนไกลตัวไม่ได้ เข้าหาตัวได้ แต่ไกลตัวไปไม่ได้ ดังนั้นเลือกคนจากกลุ่มอาชีพก็จะเกาะอาชีพตัวเป็นหลักไม่ไปอย่างอื่นไม่งั้นเสียประโยชน์ กลายเป็นคอกใครคอกมัน อย่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 มีผู้แทนแขนคอกเข้ามา ยืดอายุข้าราชการจาก 60 ปีเป็น 70 ปี ซึ่งผู้แทนกลุ่มอาชีพเป็นผู้แทนปวงชนไม่ได้ เป็นผู้แทนอาชีพใครผู้แทนอาชีพมัน ดังนั้นจึงให้มีการเลือกตั้งเพราะการเลือกตั้งเป็นระบบคัดผู้นำ
นายอุทัย กล่าวต่อว่า เราเป็นมนุษย์และมนุษย์เป็นสัตว์ฝูง สัตว์ไปไปไหนไปตามกันเพราะผู้นำชำนาญ โดยมนุษย์ต้องมีผู้นำ ซึ่งการหาผู้นำก็ด้วยการเลือกตั้งเป็นระบบคัดผู้นำที่ดี โดยพระพุทธเจ้ากล่าวว่าการเป็นผู้นำที่ดีตามหลักพุทธศาสนานั้นสามารถนำมาจับกับการเมืองได้คือ ต้องมีความกล้าหาญ แต่ต้องขอทำความเข้าใจ ว่า ทหารกับความกล้าหาญคนละเรื่องกัน ซึ่งผู้ที่มีความกล้าหาญต้องมีคุณสมบัติในตัว 5 อย่าง คือ 1.มีศรัทธา เช่น หากบอกว่ามาเพื่อความจำเป็นก็ให้รีบไปให้เร็ว ถ้าบอกว่ามาเพราะชอบเชื่อ มั่นใจ ข้อที่หนึ่งผ่าน 2.มีศีล 3.รู้มาก ฟังมากเห็นมาก และที่เขาบังคับให้หาเสียก็เพื่อให้คุณรู้มาก ฟังมาก เห็นมาก บางที่ตำบลนั้นเราไม่รู้เป็นไงก็ไปฟังให้รู้ ไม่รู้เขาสอนก็ต้องฟัง แล้วนำมาประกอบการพิจารณาการปกครอง 4.มีความอดทน โดยเฉพาะความอดทนกับประชาชน ถึงแม้จะโดนด่าก็ต้องทนฟัง แต่นายกรัฐมนตรีเราเก่งนะแต่ความอดทนไม่มี ถ้าเลือกตั้งก็ตกแน่ แต่ดีที่ท่านไม่คิดเลือกตั้ง อีกอย่างผู้ช่วยรัฐมนตรีท่านหนึ่งไปฟังปัญหายางไปไม่ถึงครึ่งทาง คนถามอะไรไม่รู้หนีเลย นี้ขาดภาวะผู้นำแต่ตนไม่ว่าท่านนะเพราะท่านไม่คิดเป็นผู้นำและ 5.มีปัญญา คือต้องเป็นคนฉลาด แต่ทั้งนี้ซึ่งที่เหนือกว่าปัญญา คือ ปาก หากรู้ดีแต่ปากหมาก็เจ๊งเหมือนกัน
นายอุทัย กล่าวว่า ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กล่าวว่าคนที่จะเป็นผู้นำได้ต้องมีความกล้าหาญและคนที่มีความกล้าหาญได้ต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติสำคัญดังข้างต้น ซึ่งทหารกล้าหาญมันคนละเรื่อง ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะหลายคนมองว่าประชิปไตยไว้ก่อน ปากท้องก่อน เนื่องจากคนจนเยอะ ทำให้คณะปฏิวัติทุกคณะที่ประสบความสำเร็จเนื่องจากบอกว่าขณะนี้บ้านเมืองแตกความสามัคคีประชาชนยากจน คนเลวเข้าสภา ก็เข้ามาปฏิวัติ แต่ถามว่านักปฏิวัติอยู่รอดปลอดภัยกี่คน อย่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประชาชนขับไล่ด้วยซ้ำ จอมพล ผินไปไหน นี้ระดับจอมพล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดียมบาลนำตัวไปก่อนอยู่นานก็โดนประชาชนขับไล่เหมือนกัน นี่ทหารทั้งนั้นที่ยุ่งการเมืองไปไม่รอดสักราย ไปไม่ช้าด้วยไปเร็ว
“ไหนพูดแล้วมีทหารมาฟังหรือไม่ ถ้าฟังขอบใจมาก ถ้าไม่มีพูดแล้วไร้ค่า ผมอยากปรับทัศนคติบางคน ว่า นี่ดูรุ่นพี่ๆบ้างนะ ล้วนเป็น พล.อ. จอมพลทั้งนั้นจุดจบตรงไหน คุณก็เป็นรุ่นน้อง หากคิดว่าเก่งกว่าเขาก็อยู่ต่อไปแต่หากคิดว่าไม่เก่งกว่าเขาก็รีบถอยออกไป และทุกวันนี้อย่าไปเชื่อคำพูดคนสองพวกที่พูดว่าอยู่ต่ออย่างนี้ต่อไปดีแล้ว และที่บอกว่าให้อยู่ต่อเพราะยังทำหลายเรื่องที่ไม่เรียบร้อยจะทำให้การปฏิรูปเสียของ แต่ผมห่วงว่าจะเสียคนมากกว่าซึ่งเป็นการเสียคนทางการเมือง และผมอยากให้มีคนดีเหลือไว้บ้าง เพื่อมีวิกฤติจะได้เข้ามาได้อีก ทั้งนี้คนที่บอกนายกฯว่าให้อยู่ต่อไป คนพวกนั้นคือคนที่สบายแล้ว มีอันจะกิน แต่คนพวกอื่นนั้นเขาสบายหรือไม่ก็ไม่รู้ และหากเรื่องที่ค้างอยู่ เรื่องที่ทำไม่ได้ก็ปล่อยให้รัฐบาลที่เขามาจากการเลือกตั้งทำต่อไปก็ได้”นายอุทัยกล่าว
นายอุทัย กล่าวว่า ทั้งนี้คำพูดของผู้นำถือเป็นสัญญาประชาคม ท่านพูดทำตามโรดแมป ทำไปเถอะ ไม่มีบ้านเมืองไหนเรียบร้อยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะในต่างประเทศแม้จะสถานการณ์ไม่สงบ มีสงครามกับต่างประเทศก็ยังมีเลือกตั้ง และการเลือกตั้งทำให้ผู้มีข้อขัดแย้งได้มาพบกันในสภา ไม่งั้นคนที่มีความขัดแย้งคงต้องไปพบกันตามป่าเขา และอย่าห่วงเรื่องการปรองดอง ตนเป็นห่วงแทนฟังที่ท่านพูดเพลงที่ท่านร้อง ท่านคงยังไม่รู้ว่าปรองดองไม่ได้เกิดได้เพราะเสียงเพียง เพราะงั้นอย่าเอาคำว่าปรองดองมาเป็นสาระสำคัญมากนัก ขนาดพี่น้องพ่อแม่เดียวกันมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ยังไม่ปรองดองกันเลย บางครั้งฆ่ากัน แล้วประชาชนผลประโยชน์ต่างกันจะปรองดองได้อย่างไร อย่าฝืนธรรมชาติเป็นไปไม่ได้ หากต้องการทำให้บ้านเมืองสงบหาผลประโยชน์ให้ลงตัว โดยวิธี คือ ปล่อยให้เลือกตั้ง อยู่ในสภาเจอกัน มันต้องพูดกันได้ด้วยเหตุผลชัดเจน ตรงนี้คือที่มาของความปรองดอง ตรงนี้ทั่วโลกห่วงไทย เนื่องจากประชาธิปไตยมีค่า มีราคา มีความหมาย แต่ตนก็ยังกังวลว่าหากมีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใส่หมวกอย่างนี้ก็ไม่แน่ใจ แต่ทั้งนี้คนไทยไม่ได้กินแกล็บ ซ้อนอะไรไว้เขาเห็น และนี่ก็ใกล้วันรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆซึ่งคิดว่าจะไม่มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเพราะเขาคิดว่าเขาทำดีแล้ว แต่ถ้าประชาชนบอกไม่ดีก็อย่ามาโทษประชาชน เพราะคุณทำผิดมาตลอด และ อย่าบอกว่าที่ไปไม่รอดต้องโทษคนที่บอกว่าไปไม่รอด เพราะมันจะเหมือนทำของบูดให้กินแล้วคนท้องเสีย จะโทษคนกินไม่ได้ และนี่ก็พูดเพื่อผู้นำทั้งหลาย ใครทำไม่ดีก็ไปไม่รอด เพราะสภาทำให้คนไม่ดีไปไม่รอดอย่างจอมพลถนอม เจอสภาเล่าความเลวร้ายก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น หากมีประชาธิปไตย อย่าห่วง ทั้งนี้การที่ผู้นำจะอยู่ได้นานเมื่อมีปัญหา ต้องมีการถ่ายยา นั้น คือการยุบสภา โดยในยุคพล.อ.เปรม ที่ถือว่าอยู่นานสุด ก็ยุบสภาบ่อยสุดเพราะถ่ายยานั้นเอง ซึ่งถือว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุด ยุบเอาคนไม่ดีออก คนดีเข้ามาแทน
ต่อมานายอุทัย ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติหรือไม่ผ่าน ตนไม่อยากชี้นำ เดี๋ยวร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะมาโทษตนอีก ซึ่งแนวทางประชาธิปไตยจะไปอย่างไร คิดว่าประชาชนมีความรู้เยอะอยู่แล้ว โดยตนเสนอว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็อาจให้นายกฯมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้วอยู่ต่อ 4 ปีและถ้านายกฯมาจากการเลือกตั้งโดยตรงก็ไม่ต้องห่วงว่า ส.ส.จะมีความผูกพันกับรัฐบาลอย่างไรเพราะสามารถแยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารได้ และให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมถึงการตรวจสอบงบประมาณว่าเหมาะสมหรือไ
ooo
https://www.youtube.com/watch?v=S7H84U6WV54
pdcvdo
Streamed live 16 hours ago
วันสถาปนาสภาพัฒนาการเมือง ครบรอบ 8 ปี และงานสมัชชาพัฒนาการเมือง ประจำปี พ.ศ. 2559
พลเมืองไทย ร่วมใจพัฒนาการเมือง