ไทยขอ 'กูเกิล' ลัดขั้นตอน เซ็นเซอร์เนื้อหา ไม่ต้องรอคำสั่งศาล
ที่มา ประชาไท
Thu, 2016-01-28กมธ.สื่อ ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศหารือกูเกิล ขอปิดกั้นเว็บเนื้อหากระทบความมั่นคง แบบไม่ต้องรอคำสั่งศาล พร้อมขอให้นึกถึงความสัมพันธ์อันดีที่ประชาชนมีต่อสหรัฐอเมริกา และความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกูเกิลฯ ชี้หากมีปัญหาในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ขอให้เสนอรัฐบาลไทยได้ โดย กมธ.พร้อมพิจารณาผลักดันและให้ความช่วยเหลือเต็มที่
28 ม.ค. 2559 วานนี้ เพจเฟซบุ๊กกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway: Thailand Internet Firewall #opsinglegateway เผยแพร่เอกสาร "สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 11" ซึ่งระบุถึงการพูดคุยระหว่างคณะกรรมาธิการฯ กับตัวแทนจากบริษัท กูเกิล
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบกับเว็บไซต์ของสภาขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศ พบว่ามีเอกสารตรงกัน (ดูเอกสาร)
เอกสารนี้ จิ๊กจกในห้องประชุม(ห้อง ๒๑๙ อาคาร๒ รัฐสภา) คาบเอามาให้
ช่างไม่อายเลยนะครับ ที่ไปขอให้กูเกิ้ล ทำผิดกฎหมาย(ละเมิดสิทธิ์ของประชาชนผุ้ใช้บริการ)แบบนั้น แล้วโดนทางกูเกิ้ลตอกกลับหน้าหงายว่า ทางกูเกิ้ลยินดีปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายที่นานาชาติปฏิบัติอยู่ คือให้มีคำสั่งศาล มาครับ....
หน้าแตก แหลกละเอียดไหมละครับ ทีนี้........
เรื่องการละเมิดสิทธิ์ เสรีภาพ ของประชาชน นี่เป็นที่เชี่ยวชาญกันเหลือเกินนะครับ แต่ตอนท้ายอ่านดูแล้วรู้สึกเหมือนไปข่มขู่ กูเกิ้ล ยังไงก็ไม่รู้นะ.....
อยากรู้จังว่า ใครสั่งมาให้ทำเรื่องน่าอายแบบนี้.....
ลุงตู่ อีกหรือเปล่า.....
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
บางส่วนของเอกสาร
"....คณะกรรมาธิการฯจึงมีความประสงค์ที่จะให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และ บริษัท กูเกิลฯ ในการป้องกันหรือสอดส่องการกระทำที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบและก่อให้ความเสียหายตามมา โดยขอให้ทางบริษัท กูเกิ้ล ฯ ช่วยถอดเว็บไซด์ที่มีลักษณะดังกล่าว ที่เผยแพร่ผ่านเครือข่าย กูเกิ้ล เช่น ยูทูป เป็นต้น ไม่ให้ออกเผยแพร่ เพื่อสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นต่อไป
....ผู่้แทน บริษัท กูเกิ้ล ฯได้ให้ข้อมูลว่า...บริษัท กูเกิล ฯ มีบริการและนโยบายที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก การถอดถอนหรือป้องกันการเผยแพร่เว็บไซด์ผิดกฎหมายของประเทศใด ประเทศหนึ่งนั้น บริษัท กูเกิลฯ ไม่อาจพิจารณาหรือตัดสินใจเองได้ จำต้องได้รับการร้องขอจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศนั้นและมีขั้นตอน กระบวนการอันเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล นั้นคือการขอให้ศาลมีคำสั่งระงับ ยับยั้งการเผยแพร่เว็บไซด์ดังกล่าว ซึ่งทางกูเกิลฯ ได้ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศทั่วโลก...."
".....ในท้ายที่สุด คณะกรรมาธการได้ขอให้ กูเกิลฯ คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่ประชาชนมีต่อประเทศสหรัฐอเมริกา และความรู่้สึกดีที่มีต่อ กูเกิลฯ นำไปเป็นข้อพิจารณาด้วย พร้อมกันนี้หากมีปัญหาหรือความกังวลใดๆในการประกอบธุรกิจของ กูเกิลฯ ในประเทศไทย และอยากให้ช่วยเหลือ ขอให้เสนอทางรัฐบาลไทยได้และทางคณะกรรมาธิการพร้อมพิจารณาผลักดันและให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่....."
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
หมายเหตุ : สามารถขยายอ่านได้เองนะครับ.....
เอกสารดังกล่าวระบุว่า เป็นการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 219 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา โดยมีเรื่องที่พิจารณาคือ แนวทางและมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการส่งเสริมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญนาย Matt Sucherman รองประธานและที่ปรึกษากฎหมายในประเด็นระหว่างประเทศ บริษัท กูเกิล เอเชีย แปซิฟิก จำกัด เข้าร่วมประชุม
เอกสารดังกล่าวระบุว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวกับผู้แทนบริษัท กูเกิล ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เป็นไปในทางสร้างสรรค์นั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดผลกระทบต่อความมั่นคง ทั้งด้านการมุ่งทำลายสถาบันสำคัญของชาติ หรือละเมิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงอยากขอความร่วมมือให้ทางบริษัท กูเกิลฯ ช่วยถอดเว็บไซต์ที่มีลักษณะดังกล่าว ที่เผยแพร่ผ่านเครือข่ายของกูเกิล เช่น ยูทูบ เป็นต้น ไม่ให้ออกเผยแพร่ เพื่อสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นต่อไป
ขณะที่ตัวแทนกูเกิล ระบุว่า ทราบดีว่าการเผยแพร่เว็บไซต์บางเรื่องเป็นสิ่งต้องห้ามและอาจมีปัญหาจากแนวคิดทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม กูเกิลฯ มีบริการและนโยบายที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลก การถอดถอนหรือป้องกันการเผยแพร่เว็บไซต์ผิดกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น บริษัท กูเกิลฯ ไม่อาจพิจารณาหรือตัดสินใจเองได้ จำต้องได้รับการร้องขอจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศนั้นและมีขั้นตอน กระบวนการอันเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล คือการขอให้ศาลมีคำสั่งระงับ ยับยั้งการเผยแพร่เว็บไซด์ดังกล่าว ซึ่งทางกูเกิลฯ ได้ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศทั่วโลก
จากนั้น คณะกรรมาธิการฯ ระบุว่าที่ผ่านมา มีการขออำนาจศาลอยู่แล้ว เพียงแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน อยากให้กูเกิลฯ เร่งรัดกระบวนการในการถอดเว็บไซต์หากมีคำขอจากหน่วยงานที่มีอำนาจ เพื่อให้ทันต่อการยับยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจไม่ทันการหากต้องรอให้ผ่านกระบวนการทางศาล พร้อมระบุว่าขั้นตอนการร้องขอดังกล่าว อย่างไรก็ต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่มีอำนาจยับยั้งการกระทำผิดกฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกระทรวงไอซีที
ด้านผู้แทน กูเกิล ระบุว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณา โดยจะคำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน พร้อมแนะนำว่า วิธีป้องกันการเผยแพร่เว็บที่มีปัญหาได้พอสมควร คือ หากประชาชนเห็นว่าเว็บใดมีเนื้อหาไม่พึงประสงค์เพราะขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี สามารถใช้วิธีปักธง (flagging) เว็บนั้น ซึ่งจะทำให้บุคลากรของกูเกิลที่มีความรู้และประสบการณ์คอยสอดส่องเว็บดังกล่าว หากเห็นว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่สมควรเผยแพร่ก็จะระงับหรือถอดออกจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่อไป
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าว ระบุด้วยว่า ในตอนท้าย คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ กูเกิลฯ คำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่ประชาชนมีต่อประเทศสหรัฐอเมริกา และความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกูเกิลฯ นำไปเป็นข้อพิจารณาด้วย พร้อมกันนี้หากมีปัญหาหรือความกังวลใดๆ ในการประกอบธุรกิจของ กูเกิลฯ ในประเทศไทย และอยากให้ช่วยเหลือ ขอให้เสนอทางรัฐบาลไทยได้และทางคณะกรรมาธิการฯ พร้อมพิจารณาผลักดันและให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่
เว็บ สปท. เผยแพร่ภาพการประชุม
เอกสารสรุปผลการประชุม เผยแพร่ในเว็บ สปท.
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
กมธ.ปฏิรูปสื่อ ขอความร่วมมือกูเกิล หาทางเล่นงานสื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม
รัฐบาลหารือปราบหมิ่นสถาบันฯ เผยประสานยูทูบ-กูเกิล-เฟซบุ๊ก บล็อค
เล็งเสนอใช้ ม.44 จัดการสื่อออนไลน์กระทบมั่นคง เผยปีหน้าคุย กูเกิล-ไลน์-เฟซบุ๊ก
ooo
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙ มีรายงานข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาระบุว่า
"กมธ.สื่อ สปท. หารือกูเกิล วางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้สื่อออนไลน์
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน สปท. วางแนวทางร่วมกับบริษัทกูเกิล ป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการใช้สื่อออนไลน์ย้ำมาตรการคัดกรองเว็บไซต์ พร้อมเตรียมเสนอแก้กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพประชาชน
เรื่องเกี่ยวข้อง...
"กมธ.สื่อ สปท. หารือกูเกิล วางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้สื่อออนไลน์
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน สปท. วางแนวทางร่วมกับบริษัทกูเกิล ป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการใช้สื่อออนไลน์ย้ำมาตรการคัดกรองเว็บไซต์ พร้อมเตรียมเสนอแก้กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพประชาชน
พลตำรวจตรี พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ นายอภิชาติ จงสกุล โฆษกกรรมาธิการร่วมแถลงผลการประชุมถึงแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการใช้สื่อออนไลน์ และการส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ ว่าได้เชิญตัวแทนของบริษัทกูเกิล เอเชียแปซิฟิก จำกัด เข้าพูดคุย หลังพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้าเรื่องดิจิตอลอิโคโนมี ส่งผลให้การแข่งขันทางธุรกิจเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ประสานกับบริษัทกูเกิล ให้ดำเนินการกับผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ไม่เหมาะสม หรือกระทำผิดทางเว็บไซต์ เพื่อทำให้การใช้สื่อเกิดประโยชน์และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ นอกจากที่ บริษัท กูเกิล มีมาตรการคัดกรองเว็บไซต์เนื้อหาที่เป็นภัยต่อเด็กและเยาวชน ขณะเดียวกัน กรรมาธิการฯ จะเร่งแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้มีความทันสมัย โดยไม่ให้กระทบกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อออนไลน์ของประชาชน
นอกจากนี้ บริษัทกูเกิล จะร่วมมือกับรัฐบาลไทยจัดอบรมนักเรียนนักศึกษา รวมทั้งกลุ่มคนที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันและใช้สื่อได้อย่างสร้างสรรค์ ควบคู่กับการมีคุณธรรมจริยธรรม"
Computer Crime Act Has Issues, Google Tells Censorship Committee