ที่มา มติชนออนไลน์
20 ม.ค. 59
ยุทธบทความ
มติชนสุดสัปดาห์ (15/1/2016)
“ในประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า เราไม่กังวลกับการรัฐประหาร…แต่ถึงกระนั้น การบริหารจัดการทหารเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องยาก”
Steve Saideman
Coding Crisis in Civil-Military Relations (2014)
ในการเริ่มต้นปีใหม่ทุกปี สื่อต่างๆ มีคอลัมน์คล้ายๆ กันที่จะต้องพูดถึงอนาคตของการเมืองไทยในปีที่เริ่มขึ้น
แต่ด้วยความผันผวนอย่างต่อเนื่องของการเมืองไทย ทำให้ในหลายปีที่ผ่านมา อนาคตของประเทศถูกนำเสนอในรูปแบบของ “การทำนาย”
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะพบว่า หนึ่งในหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์มติชนก็คือ “ศาสตร์แห่งโหร”
ดังจะเห็นได้ว่าในหลายปี หนังสือเล่มนี้ติดอันดับหนังสือขายดีมาตลอด… ใครยังไม่มีไปลองหาอ่านดู (ขออนุญาตโฆษณาให้หน่อยครับ!) เพราะจะเห็นถึงการบอกเล่าถึงการเมืองไทยในปี 2559 ที่ผ่านการเดินทางของดวงดาว
และแน่นอนว่าศูนย์กลางของปัญหาในการเดินทางของ “ดาวจร” ทำให้มีคำตอบในเรื่องของ “ดวงเมือง” สภาพเช่นนี้มักจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ในวงสนทนาเรื่องการเมืองไทย ที่จะมีคำถามติดปากประการหนึ่งก็คือ “ดวงเมืองปี 2559” เป็นอย่างไร
ซึ่งก็แน่นอนว่า ศาสตร์แห่งโหรช่วยตอบคำถามนี้ได้
ในขณะเดียวกัน เราอาจจะเห็นปัญหาในอีกมุมหนึ่งว่านักวิชาการดูจะตอบคำถามของอนาคตได้ไม่มากเท่ากับเรื่องราวที่ปรากฏใน “ศาสตร์แห่งโหร” อาจจะเป็นเพราะอย่างน้อยสำหรับนักพยากรณ์แล้ว พวกเขาเห็นการเดินทางของ “ดาวจร” ทั้งปี จนพอที่จะนำมาบอกเล่าให้พวกเราได้เห็นถึงอนาคต
หากนักวิชาการจะประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้บ้างแล้ว ก็คงอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านๆ มาเป็นฐานข้อมูล กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และในขณะเดียวกันก็ต้องประมวลข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ พร้อมกับนำเอาทฤษฎีในแต่ละสาขาเข้ามาเสริมการมองถึงแนวโน้มข้างหน้า
ดังนั้น หากจะทดลองนำเสนอจากมุมมองของนักวิชาการรัฐศาสตร์แล้ว เราอาจจะพอคาดการณ์สำหรับทิศทางในปี 2559 ได้บ้าง
ดังนี้
1)ถ้าการเมืองยังไม่ถึงจุดของการพลิกผันจนเกิดปรากฏการณ์ของ “การเปลี่ยนรัฐบาล” (หรือในแบบ regime change) การเมืองในปี 2559 ก็จะยังดำรงความตึงเครียดต่อไป
ผลของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เห็นได้มาตลอดปี 2558 จนอาจกล่าวได้ว่าความตึงเครียดดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปสู่ปี 2559 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารจะมีความเชื่อมั่นใน “อำนาจปืน” ว่า ปืนยังคุมการเมืองได้ ซึ่งความเชื่อของผู้มีอำนาจเช่นนี้จะถูกท้าทายมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปีใหม่ที่เริ่มขึ้น
คงไม่ผิดนักที่จะคาดการณ์ว่าปี 2559 จะเป็นปีที่ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารจะต้องเผชิญกับ “ความท้าทาย” มากขึ้น
สิ่งที่คาดไม่ได้ก็คือ ความท้าทายนี้จะนำไปสู่จุดใด
แต่ก็อาจคาดการณ์ต่อได้ว่าปัญหาเช่นนี้จะมีผลอย่างมากต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคต
จนอาจจะนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
บางทีอาจจะต้องประเมินว่า ปี 2559 จะเป็นปีที่รัฐบาลทหารไม่มีความสุขเท่าใดนักก็คงได้
2)ความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใน 2 ระดับ
คือ ความตึงเครียดที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้มีอำนาจด้วยกันเอง
กับความตึงเครียดที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจกับประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีความเห็นต่าง
ซึ่งปัญหาทั้งสองระดับดังกล่าวน่าสนใจว่าจะนำไปสู่การ “เผชิญหน้า” ทางการเมืองในปี 2559 หรือไม่
และหากนำไปสู่สถานการณ์เช่นนั้นจริงแล้ว สิ่งที่คาดเดาได้ยากก็คือ อะไรคือจุดจบของสถานการณ์ดังกล่าว
แต่อย่างน้อยสิ่งที่เห็นมากขึ้นในช่วงปลายปี 2558 ก็คือ ปรากฏการณ์ของความตึงเครียดในทั้งสองระดับนี้มีมากขึ้น แม้รัฐบาลและกองทัพจะยังสามารถประคับประคองสถานการณ์เช่นนี้ได้ แต่ก็ไม่มีใครคาดเดาได้จริงๆ ว่าการประคับประคองเช่นนี้จะมีปัจจัยแทรกซ้อนอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหรือไม่
และที่สำคัญก็คือ หากความตึงเครียดไม่ว่าจะในระดับใดระดับหนึ่งขยายตัวมากขึ้นแล้ว ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารที่อยู่ในอำนาจจะยังสามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ได้เพียงใด
แต่ก็คาดได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสถานะของรัฐบาลและกองทัพอย่างแน่นอน
3)ความผันผวนของสถานการณ์ทางการเมืองตลอดปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี 2558 อาจจะส่งผลให้อิทธิพลของ “สายเหยี่ยว” เพิ่มมากขึ้น
เพราะเชื่อว่าการจะควบคุมสถานการณ์ให้ได้จริง จะต้องใช้มาตรการจับกุมและการกดดันทางกฎหมายต่อผู้เห็นต่างมากขึ้น
การจับกุมหรือการออกหมายเรียกของตำรวจอาจจะเป็นเครื่องมือที่ “สายเหยี่ยว” มักเชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากในการสร้างการ “ข่มขู่” ทางการเมือง
ฉะนั้น หากประเมินจากปลายปี 2558 ก็อาจคาดได้ว่าการจับกุมผู้เห็นต่างน่าจะมีมากขึ้นในปี 2559
และขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้ “สายเหยี่ยว” ขยายบทบาทมากขึ้น
ถ้าสถานการณ์เป็นไปในทิศทางเช่นนี้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในสังคมการเมืองไทยมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย
4)หากแนวทางของ “สายเหยี่ยว” ด้วยการใช้มาตรการข่มขู่ทางการเมืองและการจับกุมทางกฎหมายขยายวงมากขึ้นในปี 2559 แล้ว
สิ่งที่จะตามมาอย่างหนีไม่พ้นก็คือรัฐบาลทหารที่กรุงเทพฯ จะถูกกดดันด้วยปัญหาการขาดสิทธิเสรีภาพและการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
แม้ในช่วงปลายปี 2558 จะมีการประเมินว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลตะวันตกอาจจะต้องยอมที่จะอยู่กับรัฐบาลไทย เพื่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะการแข่งขันกับการขยายอิทธิพลของจีน
แต่ถึงกระนั้นก็มิได้หมายความว่าการกดดันเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน จะถูกเก็บไว้ใน “ลิ้นชัก” โดยรัฐบาลทหารไทยจะลอยตัวจากเรื่องเหล่านี้ได้
เพราะสิ่งสำคัญก็คือ นักลงทุนจากต่างประเทศต้องการความชัดเจนในกระบวนการเมืองไทย ไม่มีใครอยากลงทุนบนพื้นฐานความไม่แน่นอนของประเทศ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรหรือไม่ แรงกดดันเช่นนี้จะมีอยู่ต่อไปและอาจจะมากขึ้น หากรัฐบาลทหารจะเป็น “เหยี่ยว” มากขึ้น
ซึ่งพอคาดการณ์ได้ว่า แรงกดดันเรื่องประชาธิปไตยจากตะวันตกในปี 2559 จะไม่หายไปไหนแน่นอน
5)ความน่ากังวลจากปัญหาในข้อ 4. ก็คือ หลายๆ ฝ่ายเกรงว่ายิ่งกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลทหารไทย พวกเขาก็จะยิ่งเดินไปหาจีน
ดังปรากฏการณ์ที่เกิดแก่รัฐบาลทหารพม่าหลังการรัฐประหาร 2531 มาแล้ว
แต่แม้แรงกดดันจากตะวันตกจะไม่สูงกว่าที่เป็นอยู่ ก็ใช่ว่าผู้นำรัฐบาลและทหารจะไม่เข้าไปใกล้ชิดกับจีน
เพราะปรากฏการณ์ทางยุทธศาสตร์ของไทยหลังรัฐประหาร 2557 ก็คือ การดำเนินนโยบายที่มี “หมุดจีน” เป็นหลักทดแทนต่อ “หมุดตะวันตก” ในแบบเดิม
นโยบายต่างประเทศและความมั่นคงไทยเป็นไปดังคำกล่าวของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศไทยที่กล่าวว่า เขา “ตกหลุมรักจีน” เสียแล้ว
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไทย “มีรักใหม่” แล้ว
ความใกล้ชิดอาจนำไปสู่การลงนามในสัญญาแบบเสียเปรียบในการสร้างรถไฟความเร็วปานกลางในไทย
หรืออาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางทหารที่จะต้องติดตามดูกันต่อไป
จนอาจต้องกล่าวว่า ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ “ห้ามกะพริบตา” ในปี 2559
เพราะรัฐบาลทหารไทยพร้อมจะ “flirt” กับจีนอย่างเต็มที่
กล่าวคือ ไทยพร้อมจะเล่นบท “เจ้าชู้” กับจีน หลังจากแสดงอาการ “งอน” และทิ้ง “ลุงแซม” จนกลายเป็น “Ugly American” ในสายตาของผู้นำไทยไปแล้ว
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะพบว่า นักสังเกตการณ์ต่างก็เฝ้ามองว่าปี 2559 นี้ ไทยจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นข่าวใหญ่ในเวทีระหว่างประเทศอีก
6)คดีและความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ที่หัวหิน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แต่เมื่อเรื่องนี้กลายเป็น “ประเด็นร้อน” มาตั้งแต่ปี 2558 แล้ว ก็คาดได้ไม่ยากนักว่าปัญหานี้จะกลายเป็นคดีที่ “ปิดฉากไม่ได้”
ดังจะเห็นว่าความพยายามในการตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆ กลับถูกตอบโต้ทั้งในทางกฎหมายและการเมือง จนส่งผลให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่บานปลาย
คาดได้ไม่ยากว่า แม้จะล่วงเลยเข้าปีใหม่แล้ว ประเด็นนี้ก็จะอยู่ในความสนใจ และจะยังมีผู้ติดตามต่อไปไม่ต่างจากเดิม
ความน่าสนใจก็คือ ปัญหานี้จะเป็นเสมือนกับกรณีทุ่งใหญ่นเรศวรในช่วงต้นปี 2516 ที่รัฐบาลทหารของ จอมพลถนอม กิตติขจร พยายามออกมาปกป้องความทุจริตทุกอย่างที่เกิดขึ้น จนในที่สุดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็หมดลงอย่างรวดเร็ว
และในที่สุดปัญหานี้ก็คือ จุดเริ่มต้นหนึ่งที่นำไปสู่จุดจบของรัฐบาลทหารในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั่นเอง
7)ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งในชีวิตจริงของผู้คนโดยทั่วไปก็คือ ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะลงทุนโฆษณาหรือแถลงใหญ่อย่างไร แต่หากคนไม่มีสตางค์ในกระเป๋าของเขาแล้ว คำแถลงเช่นนั้นก็ไม่มีความน่าเชื่อถือแต่ประการใดทั้งสิ้น
และแม้รัฐบาลจะพยายามสร้างความมั่นใจด้วยการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ
แต่ก็ใช่ว่าเศรษฐกิจปี 2558 จะขยับขึ้น แม้นว่าจะมีการสร้างความหวังในปี 2559 แต่ก็ดูจะไม่ง่ายนัก
เพราะหากพิจารณาดูปัจจัย 4 ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการภาคการส่งออก ภาคเกษตร ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ภาคท่องเที่ยว ล้วนแต่ยังไม่อยู่ในภาวะสดใสเท่าใดนัก ยิ่งพิจารณาตัวเลขของภาคส่งออกและภาคเกษตรแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจปี 2559 ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นความน่ากังวลมากกว่า
ยิ่งพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแล้ว ก็จะพบว่าสถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง
หลายๆ ฝ่ายยังกังวลว่าปี 2559 อาจจะเป็นปีของการ “ล้มละลายใหญ่” ของบริษัทเอกชนในตลาดเกิดใหม่ (emerging market) อันเป็นผลจากการผลิตที่มีจำนวนสูงขึ้น แต่ความต้องการในตลาดกลับลดลง (over supply)
ขณะเดียวกัน ความหวังว่าเศรษฐกิจจีนจะโตและเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโลก ก็อาจไม่เป็นจริงเท่าใดนัก ความน่ากังวลที่สำคัญก็คือ เราอาจจะเห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2559 ซึ่งก็จะส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาทด้วย
ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการขยับตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จึงต้องตั้งอยู่ในความเป็นจริง และตั้งอยู่บนความไม่ประมาทเป็นอย่างยิ่ง
8)หนึ่งในการประชุมใหญ่ของโลกก่อนสิ้นปี 2558 ก็คือ การประชุมเรื่องสภาวะความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่กรุงปารีส ตลอดรวมถึงย้อนพินิจถึงสภาวะของอากาศในบ้านเราเอง ก็จะตอกย้ำว่าภูมิอากาศของโลกกำลังบ่งบอกถึงความผันผวน อันทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2559 จะต้องเผชิญกับความแห้งแล้งขนาดใหญ่
และปรากฏการณ์ดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากระดับน้ำในเขื่อนหลักๆ ของประเทศ
ดังจะเห็นได้ว่าปีใหม่ยังไม่ทันจะเริ่มขึ้น ระดับน้ำในเขื่อนหลักก็ส่งสัญญาณถึงความอันตราย
และปฏิเสธไม่ได้ว่าความแห้งแล้งจะกระทบต่อทั้งชีวิตและต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงอยู่กับเกษตรกรรมอย่างมาก
แนวโน้มเช่นนี้บ่งบอกว่าถ้าปี 2554 จะเป็นปีของ “มหาอุทกภัย” แล้ว ปี 2559 อาจจะเป็นปีของ “มหาแล้ง” ซึ่งก็จะท้าทายต่อรัฐบาลทั้งการบริหารน้ำและการบริหารการทำนา…
นาปรังอาจจะจบแล้ว แต่นาปีในบางพื้นที่จะจบด้วยหรือไม่
อาจจะต้องยอมรับว่า ปัญหานี้ใหญ่และผันผวนเกินกว่าอำนาจปืนจะควบคุมได้
9)แรงสนับสนุนรัฐบาลทหารจะมีต่อไปอีกนานเท่าใด
ผู้นำทหารและนักวิชาการสายอำนาจนิยมอาจจะยังเชื่อว่า ปืนยังคุมทุกอย่างได้ และชนชั้นกลางในเมืองยังเป็นฐานสนับสนุนหลักของทหารไม่เปลี่ยนแปลง
ความเชื่อเช่นนี้เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในปี 2559
ซึ่งก็หมายความว่า รัฐบาลทหารยิ่งจะต้องโหมการโฆษณาทางการเมืองให้หนักหน่วงขึ้นในปี 2559
และมาพร้อมกับรายการ “คืนความสุข” ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนไม่ผันผวนไปจากรัฐบาลทหาร
10)ความผันผวนประการสุดท้ายเป็นปัญหากระบวนการเมืองของคณะรัฐประหาร
ไม่ว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งที่จะทำให้คำสัญญาในการพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้จริง กระบวนการคืนอำนาจดูจะมีความน่าเชื่อถือลดลง
เพราะจนถึงวันนี้ไม่มีความมั่นใจจากประชาคมระหว่างประเทศว่าการเมืองไทยจะกลับคืนสู่สภาวะปกติได้หรือไม่
ผลจากปัจจัยเช่นนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าการเมืองไทยคือ “ความไม่แน่นอน” และไม่ชัดเจนว่าจะเดินไปสู่อนาคตอย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดภาพเปรียบเทียบกับระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย หรือในพม่าก็ตาม อีกทั้งรัฐบาลยังต้องเผชิญกับ “วิกฤตความชอบธรรม” อยู่ตลอดเวลาด้วย
ข้อสังเกตทั้ง 10 ประการข้างต้นไม่ใช่คำพยากรณ์ แต่เป็นเพียงการคาดคะเนแนวโน้มในปี 2559 ในมุมมองทางรัฐศาสตร์ เพื่อที่จะบอกว่าปีนี้ไม่ใช่ “ลิงเชื่อง” แต่จะเป็นปี “วานรอาละวาด” มากกว่า!
“ในประเทศประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า เราไม่กังวลกับการรัฐประหาร…แต่ถึงกระนั้น การบริหารจัดการทหารเป็นเรื่องสำคัญและเป็นเรื่องยาก”
Steve Saideman
Coding Crisis in Civil-Military Relations (2014)
ในการเริ่มต้นปีใหม่ทุกปี สื่อต่างๆ มีคอลัมน์คล้ายๆ กันที่จะต้องพูดถึงอนาคตของการเมืองไทยในปีที่เริ่มขึ้น
แต่ด้วยความผันผวนอย่างต่อเนื่องของการเมืองไทย ทำให้ในหลายปีที่ผ่านมา อนาคตของประเทศถูกนำเสนอในรูปแบบของ “การทำนาย”
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะพบว่า หนึ่งในหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์มติชนก็คือ “ศาสตร์แห่งโหร”
ดังจะเห็นได้ว่าในหลายปี หนังสือเล่มนี้ติดอันดับหนังสือขายดีมาตลอด… ใครยังไม่มีไปลองหาอ่านดู (ขออนุญาตโฆษณาให้หน่อยครับ!) เพราะจะเห็นถึงการบอกเล่าถึงการเมืองไทยในปี 2559 ที่ผ่านการเดินทางของดวงดาว
และแน่นอนว่าศูนย์กลางของปัญหาในการเดินทางของ “ดาวจร” ทำให้มีคำตอบในเรื่องของ “ดวงเมือง” สภาพเช่นนี้มักจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ในวงสนทนาเรื่องการเมืองไทย ที่จะมีคำถามติดปากประการหนึ่งก็คือ “ดวงเมืองปี 2559” เป็นอย่างไร
ซึ่งก็แน่นอนว่า ศาสตร์แห่งโหรช่วยตอบคำถามนี้ได้
ในขณะเดียวกัน เราอาจจะเห็นปัญหาในอีกมุมหนึ่งว่านักวิชาการดูจะตอบคำถามของอนาคตได้ไม่มากเท่ากับเรื่องราวที่ปรากฏใน “ศาสตร์แห่งโหร” อาจจะเป็นเพราะอย่างน้อยสำหรับนักพยากรณ์แล้ว พวกเขาเห็นการเดินทางของ “ดาวจร” ทั้งปี จนพอที่จะนำมาบอกเล่าให้พวกเราได้เห็นถึงอนาคต
หากนักวิชาการจะประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้บ้างแล้ว ก็คงอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านๆ มาเป็นฐานข้อมูล กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และในขณะเดียวกันก็ต้องประมวลข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ พร้อมกับนำเอาทฤษฎีในแต่ละสาขาเข้ามาเสริมการมองถึงแนวโน้มข้างหน้า
ดังนั้น หากจะทดลองนำเสนอจากมุมมองของนักวิชาการรัฐศาสตร์แล้ว เราอาจจะพอคาดการณ์สำหรับทิศทางในปี 2559 ได้บ้าง
ดังนี้
1)ถ้าการเมืองยังไม่ถึงจุดของการพลิกผันจนเกิดปรากฏการณ์ของ “การเปลี่ยนรัฐบาล” (หรือในแบบ regime change) การเมืองในปี 2559 ก็จะยังดำรงความตึงเครียดต่อไป
ผลของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เห็นได้มาตลอดปี 2558 จนอาจกล่าวได้ว่าความตึงเครียดดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปสู่ปี 2559 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารจะมีความเชื่อมั่นใน “อำนาจปืน” ว่า ปืนยังคุมการเมืองได้ ซึ่งความเชื่อของผู้มีอำนาจเช่นนี้จะถูกท้าทายมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปีใหม่ที่เริ่มขึ้น
คงไม่ผิดนักที่จะคาดการณ์ว่าปี 2559 จะเป็นปีที่ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารจะต้องเผชิญกับ “ความท้าทาย” มากขึ้น
สิ่งที่คาดไม่ได้ก็คือ ความท้าทายนี้จะนำไปสู่จุดใด
แต่ก็อาจคาดการณ์ต่อได้ว่าปัญหาเช่นนี้จะมีผลอย่างมากต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคต
จนอาจจะนำไปสู่การปรับคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
บางทีอาจจะต้องประเมินว่า ปี 2559 จะเป็นปีที่รัฐบาลทหารไม่มีความสุขเท่าใดนักก็คงได้
2)ความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใน 2 ระดับ
คือ ความตึงเครียดที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้มีอำนาจด้วยกันเอง
กับความตึงเครียดที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจกับประชาชนในสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีความเห็นต่าง
ซึ่งปัญหาทั้งสองระดับดังกล่าวน่าสนใจว่าจะนำไปสู่การ “เผชิญหน้า” ทางการเมืองในปี 2559 หรือไม่
และหากนำไปสู่สถานการณ์เช่นนั้นจริงแล้ว สิ่งที่คาดเดาได้ยากก็คือ อะไรคือจุดจบของสถานการณ์ดังกล่าว
แต่อย่างน้อยสิ่งที่เห็นมากขึ้นในช่วงปลายปี 2558 ก็คือ ปรากฏการณ์ของความตึงเครียดในทั้งสองระดับนี้มีมากขึ้น แม้รัฐบาลและกองทัพจะยังสามารถประคับประคองสถานการณ์เช่นนี้ได้ แต่ก็ไม่มีใครคาดเดาได้จริงๆ ว่าการประคับประคองเช่นนี้จะมีปัจจัยแทรกซ้อนอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหรือไม่
และที่สำคัญก็คือ หากความตึงเครียดไม่ว่าจะในระดับใดระดับหนึ่งขยายตัวมากขึ้นแล้ว ผู้นำรัฐบาลและผู้นำทหารที่อยู่ในอำนาจจะยังสามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ได้เพียงใด
แต่ก็คาดได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสถานะของรัฐบาลและกองทัพอย่างแน่นอน
3)ความผันผวนของสถานการณ์ทางการเมืองตลอดปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี 2558 อาจจะส่งผลให้อิทธิพลของ “สายเหยี่ยว” เพิ่มมากขึ้น
เพราะเชื่อว่าการจะควบคุมสถานการณ์ให้ได้จริง จะต้องใช้มาตรการจับกุมและการกดดันทางกฎหมายต่อผู้เห็นต่างมากขึ้น
การจับกุมหรือการออกหมายเรียกของตำรวจอาจจะเป็นเครื่องมือที่ “สายเหยี่ยว” มักเชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากในการสร้างการ “ข่มขู่” ทางการเมือง
ฉะนั้น หากประเมินจากปลายปี 2558 ก็อาจคาดได้ว่าการจับกุมผู้เห็นต่างน่าจะมีมากขึ้นในปี 2559
และขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้ “สายเหยี่ยว” ขยายบทบาทมากขึ้น
ถ้าสถานการณ์เป็นไปในทิศทางเช่นนี้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในสังคมการเมืองไทยมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย
4)หากแนวทางของ “สายเหยี่ยว” ด้วยการใช้มาตรการข่มขู่ทางการเมืองและการจับกุมทางกฎหมายขยายวงมากขึ้นในปี 2559 แล้ว
สิ่งที่จะตามมาอย่างหนีไม่พ้นก็คือรัฐบาลทหารที่กรุงเทพฯ จะถูกกดดันด้วยปัญหาการขาดสิทธิเสรีภาพและการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
แม้ในช่วงปลายปี 2558 จะมีการประเมินว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลตะวันตกอาจจะต้องยอมที่จะอยู่กับรัฐบาลไทย เพื่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะการแข่งขันกับการขยายอิทธิพลของจีน
แต่ถึงกระนั้นก็มิได้หมายความว่าการกดดันเรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน จะถูกเก็บไว้ใน “ลิ้นชัก” โดยรัฐบาลทหารไทยจะลอยตัวจากเรื่องเหล่านี้ได้
เพราะสิ่งสำคัญก็คือ นักลงทุนจากต่างประเทศต้องการความชัดเจนในกระบวนการเมืองไทย ไม่มีใครอยากลงทุนบนพื้นฐานความไม่แน่นอนของประเทศ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรหรือไม่ แรงกดดันเช่นนี้จะมีอยู่ต่อไปและอาจจะมากขึ้น หากรัฐบาลทหารจะเป็น “เหยี่ยว” มากขึ้น
ซึ่งพอคาดการณ์ได้ว่า แรงกดดันเรื่องประชาธิปไตยจากตะวันตกในปี 2559 จะไม่หายไปไหนแน่นอน
5)ความน่ากังวลจากปัญหาในข้อ 4. ก็คือ หลายๆ ฝ่ายเกรงว่ายิ่งกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลทหารไทย พวกเขาก็จะยิ่งเดินไปหาจีน
ดังปรากฏการณ์ที่เกิดแก่รัฐบาลทหารพม่าหลังการรัฐประหาร 2531 มาแล้ว
แต่แม้แรงกดดันจากตะวันตกจะไม่สูงกว่าที่เป็นอยู่ ก็ใช่ว่าผู้นำรัฐบาลและทหารจะไม่เข้าไปใกล้ชิดกับจีน
เพราะปรากฏการณ์ทางยุทธศาสตร์ของไทยหลังรัฐประหาร 2557 ก็คือ การดำเนินนโยบายที่มี “หมุดจีน” เป็นหลักทดแทนต่อ “หมุดตะวันตก” ในแบบเดิม
นโยบายต่างประเทศและความมั่นคงไทยเป็นไปดังคำกล่าวของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศไทยที่กล่าวว่า เขา “ตกหลุมรักจีน” เสียแล้ว
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไทย “มีรักใหม่” แล้ว
ความใกล้ชิดอาจนำไปสู่การลงนามในสัญญาแบบเสียเปรียบในการสร้างรถไฟความเร็วปานกลางในไทย
หรืออาจนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางทหารที่จะต้องติดตามดูกันต่อไป
จนอาจต้องกล่าวว่า ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ “ห้ามกะพริบตา” ในปี 2559
เพราะรัฐบาลทหารไทยพร้อมจะ “flirt” กับจีนอย่างเต็มที่
กล่าวคือ ไทยพร้อมจะเล่นบท “เจ้าชู้” กับจีน หลังจากแสดงอาการ “งอน” และทิ้ง “ลุงแซม” จนกลายเป็น “Ugly American” ในสายตาของผู้นำไทยไปแล้ว
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะพบว่า นักสังเกตการณ์ต่างก็เฝ้ามองว่าปี 2559 นี้ ไทยจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นข่าวใหญ่ในเวทีระหว่างประเทศอีก
6)คดีและความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ที่หัวหิน เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แต่เมื่อเรื่องนี้กลายเป็น “ประเด็นร้อน” มาตั้งแต่ปี 2558 แล้ว ก็คาดได้ไม่ยากนักว่าปัญหานี้จะกลายเป็นคดีที่ “ปิดฉากไม่ได้”
ดังจะเห็นว่าความพยายามในการตรวจสอบจากฝ่ายต่างๆ กลับถูกตอบโต้ทั้งในทางกฎหมายและการเมือง จนส่งผลให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่บานปลาย
คาดได้ไม่ยากว่า แม้จะล่วงเลยเข้าปีใหม่แล้ว ประเด็นนี้ก็จะอยู่ในความสนใจ และจะยังมีผู้ติดตามต่อไปไม่ต่างจากเดิม
ความน่าสนใจก็คือ ปัญหานี้จะเป็นเสมือนกับกรณีทุ่งใหญ่นเรศวรในช่วงต้นปี 2516 ที่รัฐบาลทหารของ จอมพลถนอม กิตติขจร พยายามออกมาปกป้องความทุจริตทุกอย่างที่เกิดขึ้น จนในที่สุดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลก็หมดลงอย่างรวดเร็ว
และในที่สุดปัญหานี้ก็คือ จุดเริ่มต้นหนึ่งที่นำไปสู่จุดจบของรัฐบาลทหารในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั่นเอง
7)ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งในชีวิตจริงของผู้คนโดยทั่วไปก็คือ ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะลงทุนโฆษณาหรือแถลงใหญ่อย่างไร แต่หากคนไม่มีสตางค์ในกระเป๋าของเขาแล้ว คำแถลงเช่นนั้นก็ไม่มีความน่าเชื่อถือแต่ประการใดทั้งสิ้น
และแม้รัฐบาลจะพยายามสร้างความมั่นใจด้วยการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจ
แต่ก็ใช่ว่าเศรษฐกิจปี 2558 จะขยับขึ้น แม้นว่าจะมีการสร้างความหวังในปี 2559 แต่ก็ดูจะไม่ง่ายนัก
เพราะหากพิจารณาดูปัจจัย 4 ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการภาคการส่งออก ภาคเกษตร ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ภาคท่องเที่ยว ล้วนแต่ยังไม่อยู่ในภาวะสดใสเท่าใดนัก ยิ่งพิจารณาตัวเลขของภาคส่งออกและภาคเกษตรแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจปี 2559 ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นความน่ากังวลมากกว่า
ยิ่งพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแล้ว ก็จะพบว่าสถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง
หลายๆ ฝ่ายยังกังวลว่าปี 2559 อาจจะเป็นปีของการ “ล้มละลายใหญ่” ของบริษัทเอกชนในตลาดเกิดใหม่ (emerging market) อันเป็นผลจากการผลิตที่มีจำนวนสูงขึ้น แต่ความต้องการในตลาดกลับลดลง (over supply)
ขณะเดียวกัน ความหวังว่าเศรษฐกิจจีนจะโตและเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจโลก ก็อาจไม่เป็นจริงเท่าใดนัก ความน่ากังวลที่สำคัญก็คือ เราอาจจะเห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในปี 2559 ซึ่งก็จะส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจไทยและค่าเงินบาทด้วย
ดังนั้น ความฝันที่จะเห็นการขยับตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จึงต้องตั้งอยู่ในความเป็นจริง และตั้งอยู่บนความไม่ประมาทเป็นอย่างยิ่ง
8)หนึ่งในการประชุมใหญ่ของโลกก่อนสิ้นปี 2558 ก็คือ การประชุมเรื่องสภาวะความเปลี่ยนแปลงของอากาศที่กรุงปารีส ตลอดรวมถึงย้อนพินิจถึงสภาวะของอากาศในบ้านเราเอง ก็จะตอกย้ำว่าภูมิอากาศของโลกกำลังบ่งบอกถึงความผันผวน อันทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2559 จะต้องเผชิญกับความแห้งแล้งขนาดใหญ่
และปรากฏการณ์ดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนจากระดับน้ำในเขื่อนหลักๆ ของประเทศ
ดังจะเห็นได้ว่าปีใหม่ยังไม่ทันจะเริ่มขึ้น ระดับน้ำในเขื่อนหลักก็ส่งสัญญาณถึงความอันตราย
และปฏิเสธไม่ได้ว่าความแห้งแล้งจะกระทบต่อทั้งชีวิตและต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงอยู่กับเกษตรกรรมอย่างมาก
แนวโน้มเช่นนี้บ่งบอกว่าถ้าปี 2554 จะเป็นปีของ “มหาอุทกภัย” แล้ว ปี 2559 อาจจะเป็นปีของ “มหาแล้ง” ซึ่งก็จะท้าทายต่อรัฐบาลทั้งการบริหารน้ำและการบริหารการทำนา…
นาปรังอาจจะจบแล้ว แต่นาปีในบางพื้นที่จะจบด้วยหรือไม่
อาจจะต้องยอมรับว่า ปัญหานี้ใหญ่และผันผวนเกินกว่าอำนาจปืนจะควบคุมได้
9)แรงสนับสนุนรัฐบาลทหารจะมีต่อไปอีกนานเท่าใด
ผู้นำทหารและนักวิชาการสายอำนาจนิยมอาจจะยังเชื่อว่า ปืนยังคุมทุกอย่างได้ และชนชั้นกลางในเมืองยังเป็นฐานสนับสนุนหลักของทหารไม่เปลี่ยนแปลง
ความเชื่อเช่นนี้เป็นความท้าทายอย่างยิ่งในปี 2559
ซึ่งก็หมายความว่า รัฐบาลทหารยิ่งจะต้องโหมการโฆษณาทางการเมืองให้หนักหน่วงขึ้นในปี 2559
และมาพร้อมกับรายการ “คืนความสุข” ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนไม่ผันผวนไปจากรัฐบาลทหาร
10)ความผันผวนประการสุดท้ายเป็นปัญหากระบวนการเมืองของคณะรัฐประหาร
ไม่ว่าจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งที่จะทำให้คำสัญญาในการพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้จริง กระบวนการคืนอำนาจดูจะมีความน่าเชื่อถือลดลง
เพราะจนถึงวันนี้ไม่มีความมั่นใจจากประชาคมระหว่างประเทศว่าการเมืองไทยจะกลับคืนสู่สภาวะปกติได้หรือไม่
ผลจากปัจจัยเช่นนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าการเมืองไทยคือ “ความไม่แน่นอน” และไม่ชัดเจนว่าจะเดินไปสู่อนาคตอย่างไร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดภาพเปรียบเทียบกับระยะเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย หรือในพม่าก็ตาม อีกทั้งรัฐบาลยังต้องเผชิญกับ “วิกฤตความชอบธรรม” อยู่ตลอดเวลาด้วย
ข้อสังเกตทั้ง 10 ประการข้างต้นไม่ใช่คำพยากรณ์ แต่เป็นเพียงการคาดคะเนแนวโน้มในปี 2559 ในมุมมองทางรัฐศาสตร์ เพื่อที่จะบอกว่าปีนี้ไม่ใช่ “ลิงเชื่อง” แต่จะเป็นปี “วานรอาละวาด” มากกว่า!