วันอาทิตย์, มกราคม 17, 2559

การทำถนนผสมยางพารา‬ดีขนาดนี้ แล้วทำไมเพิ่งเริ่มคิดสร้างกันตอนนี้วะ ?? (กลัวเจ้าของโรงปูนโกรธเหรอเลยไม่กล้าทำ)





‪#‎ถนนยางพารา‬ ที่จ.ตรัง 27เส้น รวมความยาว 30กิโลเมตร ใช้น้ำยาง 6 หมื่น กก. ใช้งบรวม 119,364,000 ล้านบาท สร้างทั้ง 2 แบบ คือ พาราเคปซีล และพาราแอสฟัลติกคอนกรีต ..

การใช้ยางพาราผสมยางแอสฟัลต์เพื่อทำถนน มี 2 แบบ คือ

1.แบบพาราเคปซีล ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมประมาณร้อยละ 5 ของยางอิมัลชั่นแอสฟัลต์ จากสัดส่วนการราดยางผิวจราจรถนนปัจจุบันกว้าง 6 เมตร จะต้องใช้ยางพาราประมาณ 300 กิโลกรัมต่อความยาวถนน 1 กิโลเมตร น้ำยางพาราที่ชาวสวนกรีดได้จะมีเปอร์เซ็นต์ยางพาราประมาณ 30-35% ดังนั้นใน 1 กิโลเมตร จะต้องใช้น้ำยางพาราประมาณ 1,000 กิโลกรัม

2.แบบพาราแอสฟัลติกคอนกรีต ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมประมาณร้อยละ 5 ของยางแอสฟัลต์ จากสัดส่วนการราดยางผิวจราจรถนนหนา 0-0.4 เมตร กว้าง 6 เมตร ยาว 1 กิโลเมตร จะต้องใช้ยางพารา 1,440 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำยางพาราที่ชาวสวนกรีดได้ประมาณ 4,800 กิโลกรัม

‪#‎ข้อดีของถนนผสมยางพารา‬ คือ ..

- สามารถเปิดใช้งานผิวจราจรได้เร็วขึ้นกว่าเดิม พูดง่ายๆคือ สร้างได้เร็วกว่าเดิม
- ช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการซ่อมบำรุงผิวทาง เพราะใช้เวลาซ่อมเร็ว ซ่อมง่ายกว่าปกติที่เป็นแอลฟัสต์อย่างเดียว
- ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาผิวถนนในระยะยาว เนื่องจากอายุการใช้งานถนนยาวนานกว่าเดิมประมาณ 2 เท่า

หมายเหตุ : ดีแบบนี้ ขนาดนี้ แล้วทำไมเพิ่งเริ่มคิดสร้างกันตอนนี้วะ ?? ที่ผ่านๆมาทำไมไม่ทำกัน ?? ทั้งๆที่ผลผลิตในประเทศก็ล้นแล้วล้นอีกทุกปี

ซ่อมเลย สร้างเลย ทั่วประเทศ เพื่อระบายยางในสต๊อครัฐช่วยชาวสวนยาง เพื่อสุขภาพจิตของผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อความนิ่มนวลในการขับขี่ ..ฯลฯ

‪#‎เงินช่วยชาวสวนยางควรมาจากการขายยางเท่านั้น‬ : ใครไม่รุกล่าวเอาไว้ ซึ่งกูเห็นด้วยสุดๆ ก็เหมือนกับที่สลิ่มยกพวกกันลากหางไปปิดแบงค์ เพื่อต่อต้านการจ่ายเงินให้ชาวนา ด้วยเหตุผลคลาสสิคสุดๆที่ว่า ‪#‎เงินช่วยชาวนาต้องมาจากการขายข้าวเท่านั้น‬ ..




นี่ไม่ใช่การมุ่งแต่จะเอาชนะคะคานกันนะยะ แต่มันเป็นเหตุเป็นผลที่เหล่าคนดีศรีสยามทั้งหลาย ‪#‎ยึดมั่นถือมั่นไว้ไม่ใช่หรือ‬ ?? ถ้าจะพูดแบบบ้านๆก็คือ..

‪#‎มึงพูดเองนะ‬

ที่มา เพจ


Alongkorn Cheurkit


...